[เล่มที่ 16] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 192
[๒๕๕] ปัญหาพยากรณ์ ๔ ๑. เอกังสพยากรณียปัญหา ปัญหาที่จะต้องแก้โดยส่วนเดียว ๒. ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา ปัญหาที่จะต้องย้อนถามแล้วจึงแก้ ๓. วิภัชชพยากรณียปัญหา ปัญหาที่จะต้องจำแนกแล้วจึงแก้ ๔. ฐปนียปัญหา ปัญหาที่ควรงดเสีย
ในปัญหาพยากรณ์ ๔ นั้น ถูกถามว่าจักษุไม่เที่ยงหรือ พึงพยากรณ์ก่อนโดยส่วนเดียวว่าไม่เที่ยงขอรับ. ในโสตะ เป็นต้นก็มีนัยนี้. นี้ชื่อว่า เอกังสกรณียปัญหา.ถูกถามว่า จักษุหรือชื่อว่าไม่เที่ยง. พึงแจกแล้วพยากรณ์อย่างนี้ว่า ไม่ใช่จักษุเท่านั้น แม้แต่โสตะ ก็ไม่เที่ยง แม้ฆานะ ก็ไม่เที่ยง. นี้ชื่อว่า วิภัชช-พยากรณียปัญหา. ถูกถามว่า จักษุฉันใด โสตะ ก็ฉันนั้น โสตะฉันใด จักษุก็ฉันนั้นเป็นต้น. จึงย้อนถามว่า ท่านถามด้วยอรรถว่าอะไร เมื่อเขาตอบว่า ถามด้วยอรรถว่าเห็น จึงพยากรณ์ว่า ไม่ใช่. เมื่อเขาตอบว่า ถามด้วยอรรถว่าไม่เที่ยง จึงพยากรณ์ว่า ใช่. นี้ชื่อว่า ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา.แต่ถูกถามว่า นั้นก็ชีวะ นั้นก็สรีระ เป็นต้น พึงหยุดเสียด้วยกล่าวว่า ข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่พยากรณ์. ปัญหานี้ไม่พึงพยากรณ์. นี้ชื่อว่าปฐนียปัญหา.ดังนั้น เมื่อปัญหามาถึงโดยอาการนั้น ปัญหาพยากรณ์ ๔ เหล่านี้ ถือเอาเป็นประมาณได้. พึงพยากรณ์ปัญหานั้นด้วยอำนาจปัญหาพยากรณ์ ๔ นี้.
สาธุ