สนทนาธรรมวันที่ 4
วันจันทร์ที่ 5 มกราคม 2558
วันนี้คนมาสนทนาธรรมแน่นห้องประชุมเหมือนเดิม ทั้งๆ ที่มีบางคนกลับไปทำงานที่ฮานอยแล้ว รวมทั้งคุณท้ายที่ต้องรีบไปเคลียร์งานให้เสร็จ ก่อนจะตามมาสนทนาธรรมที่แก่งกระจานอีก 2 อาทิตย์
คุณท้ายเล่าถึงแผนในอนาคตให้ฟังว่า จะลดงานให้น้อยที่สุด ทำงานแค่พอมีพอใช้ แล้วจะ ใช้เวลาศึกษาธรรมะให้มากขึ้น เหมือนกับคนอื่นๆ ที่คิดว่า ธรรมะกับการทำงานนั้นต้องแยกกัน ความจริงถ้าเข้าใจธรรมะแล้วจะรู้ว่า มีธรรมะเกิดปรากฏให้ระลึกศึกษาตลอดเวลา ไม่ว่าจะทำ อะไร เพียงแต่ยังไม่เข้าใจพอ ที่จะระลึกศึกษา ลักษณะ ของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏเท่านั้น และไม่มีใครสามารถศึกษาธรรมะตลอดเวลา ไม่ต้องทำอย่างอื่น เมื่อเป็นฆราวาส ผู้ครองเรือน ก็จำเป็นต้องทำงานเพื่อเลี้ยงตนเองและครอบครัวให้มีความสุข
แม้แต่พระอริยบุคคล ขั้นพระโสดาบัน อย่างท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ท่านวิสาขามหาอุบาสิกา ท่านก็ยังทำธุรกิจ พยายามพูดให้คุณท้ายเข้าใจ แต่เพราะภาษาอังกฤษไม่ค่อยแข็งแรง หรือเพราะคุณท้ายไม่เคยอ่านพระสูตร จึงไม่เข้าใจ เมื่อพูดถึงท่านอนาถะ หรือท่านวิสาขา น่าจะเป็นทั้ง 2 อย่าง เพราะมัวแต่นั่งหลับตาทำสมาธิ ไม่เคยศึกษาพระสูตร หรือคำสอนอื่นๆ เลย และ เมื่อมาสนทนากับท่านอาจารย์มีเวลาจำกัด จึงพูดถึงเรื่องสภาพธรรม ไม่เหมือนพวก เรา ที่ฟังคำบรรยายแนวทางวิปัสสนามาคนละหลายรอบ ได้ฟังพระสูตร ที่เกี่ยวข้องที่ท่าน อาจารย์ยกมาประกอบคำบรรยายพอสมควร ที่จะนำมาเทียบเคียงกับชีวิตประจำวันได้ น้องๆ พาไปทานอาหารกลางวันที่ Monsoon Restuarant เป็นอาหารนานาชาติ มีต้มยำและ ส้มตำเป็นของไทย แกงหมูคล้ายๆ พะโล้ เป็นของพม่า แกงเผ็ดปลาใส่กะทิเป็นของเขมร แม่ชี และสาวเวียดนามที่อยู่อเมริกาขอเป็นเจ้าภาพ เมื่อไปขอบคุณ เธอยกมือไหว้เรา บอกว่า คณะ ของท่านอาจารย์มาทำประโยชน์ให้พวกเธอมากมาย ทำให้ได้เข้าใจธรรมะ ตอบแทนเพียงแค่นี้ ยังเล็กน้อยมาก ตอนออกจากร้านกลับโรงแรม ฝนก็เทลงมา สมชื่อร้านว่า มรสุม น้องเวียดนาม บอกว่าฝนไซ่ง่อนเป็นอย่างนี้ อยู่ๆ ก็ตกเดี๋ยวก็หยุด แล้วก็จริงอย่างนั้น เรากลับโรงแรมเป็นคณะ แรกพร้อมทั้งอาจารย์ แม้มีร่มกางมาส่งหลายคันก็ยังถูกละอองฝน เป็นหวัดนิดหน่อย
พอจะทราบว่า พระธรรมที่ทรงแสดงนั้นเพื่อพุทธบริษัททั้งหมด ทั้งที่ยังครองเรือน และออก บวช เพื่อขัดเกลากิเลส พระธรรมที่ทรงแสดงนั้นงามในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด สามารถ ประพฤติปฏิบัติตามความเข้าใจของตน ไม่ใช่สอนให้หลุดพ้นอย่างเดียว เมื่อยังเข้าใจไม่พอ ที่จะสละอาคารบ้านเรือนออกบวช ก็ต้องใช้ชีวิตอย่างฆราวาส เมื่อยังอยู่ครองเรือน ก็ต้องหา ทรัพย์ในทางสุจริต เพราะทรงแสดงว่า สุขของผู้ครองเรือนมี 4 คือ มีทรัพย์ ใช้จ่ายทรัพย์ ไม่มี หนี้ ทำการงานที่ไม่มีโทษ ซึ่งทรัพย์จะเกิดขึ้นได้ด้วยความขยันในกิจการงานทั้งปวง เมื่อหา ทรัพย์มาได้แล้ว ก็รู้จักเก็บรักษา คบเพื่อนดีที่รู้จักทำมาหากิน ไม่เป็นทาสอบายมุข และ รู้จัก ใช้จ่าย ไม่ฟุ่มเฟือย แบ่งทรัพย์ที่หามาได้ออกเป็น 4 ส่วน ส่วนหนึ่งใช้เลี้ยงตัวเอง บุตร ภรรยา บิดามารดา ให้เป็นสุข เสียภาษี ทำบุญ อีก 1 ส่วน เก็บไว้ใช้จ่ายเมื่อจำเป็น อีก 2 ส่วนเก็บไว้ ลงทุน เพื่อเพิ่มพูนทรัพย์ให้มากขึ้น ถ้าเป็นคฤหัสถ์ไม่มีทรัพย์ก็เกิดทุกข์ 4 อย่างที่ตรงข้ามกัน เพราะไม่เข้าใจว่า ตนเองยังมีครอบครัว ยังต้องหาทรัพย์เพื่อยังชีพ ไม่ใช่นักบวชที่สละอาคาร บ้านเรือน มีชีวิตอยู่กับการขอ เพื่อศึกษาธรรมะ ขัดเกลากิเลสเท่านั้น คิดถึงตนเองเมื่อไปทำ สมาธิด้วยความไม่เข้าใจ ไม่อยากทำงานเพราะเบื่อ เหนื่อย ขี้เกียจ เลยอยากจะบวชชี คิดว่า สบายกว่า เงินก็ไม่ต้องใช้ กินข้าวก้นบาตรพระ แต่ชีวิตจริง ไม่ใช่อย่างนั้นเลย
ผู้ฟังมีทั้งพระ แม่ชี และฆราวาส ต้องชมเชยการทำงานของทีมงานเวียดนาม ที่แข็งขันมาก และน่าแปลกที่ ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง หรือผู้หญิงจะสะสมปัญญามามากกว่าผู้ชาย ก็คิดฟุ้งซ่าน ไป หญิงหรือชาย ก็เป็นเพียงรูปที่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย เกิดจากกรรมเป็นปัจจัย แล้วก็ เคยเป็นมาแล้วทั้งผู้หญิงผู้ชาย ยกเว้น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ไม่เคยปรากฏว่าเคย เกิดเป็นผู้หญิงเลย
มีคำถามจากผู้ฟังมากมาย ต่างก็ตั้งใจฟัง ตั้งใจถาม เวลาแต่ละช่วง 2 ชั่วโมง ผ่านไป อย่างรวดเร็ว ต้องตอบคำถามช่วงต่อไปบ่อยๆ ความจริงเวลา 9 วัน วันละ 4 ชั่วโมงนั้น น้อย เกินไป เขาต้องฟังแนวทางเจริญเจริญวิปัสสนาตั้งแต่เริ่มต้น เสียดายที่ไม่มีใครแปลเป็น ภาษาอังกฤษ หรือภาษาเวียดนาม
มีผู้มาสมัครเป็นสมาชิกชมรมบ้านธัมมะ มศพ. หลายคน บางคนต้องกลับไปทำงาน แต่ ทิ้งชื่อและ email ไว้ เธอเป็นนักร้องดังของเวียดนาม นักร้อง The Voice of Vietnam เสีย ดาย ที่ไม่ได้ถ่ายภาพไว้ แต่ก็ทำให้เกิดความคิดว่า ควรทำใบสมัครของสมาชิกนานาชาติ จึงช่วยกันกับหม่อมเบตตี้ ยุคล แปลจากใบสมัครชมรมบ้านธัมมะ แล้วส่งไปให้น้องๆ ทีมงานเวียดนามให้ช่วยแปลเป็นภาษาเวียดนามอีกทีหนึ่ง น่าอัศจรรย์ใจในความสามารถ ในการเผยแพร่พระธรรมของท่านอาจารย์ที่กว้างไกล แผ่ไพศาลไปยังนานาชาติ แม้จะกลุ่ม ละเล็กละน้อย แต่ก็เป็นผู้มีศรัทธาที่จะรู้ความจริงแท้ที่ไม่เปลี่ยนเป็นอย่างอื่น
หลังสนทนาธรรมช่วงเย็นจบตอน 6 โมงเย็น ท่านอาจารย์ให้โอกาสพวกฝรั่ง สนทนาธรรมต่อเป็นภาษาอังกฤษล้วนๆ เพราะบางท่านจะกลับก่อน และในห้องสนทนารวมนั้นต้อง เสียเวลาแปลเป็นภาษาเวียดนาม และอังกฤษ เนื้อหาจึงน้อยไปครึ่งหนึ่ง เราไม่ได้อยู่ร่วมฟัง ด้วย ทั้งๆ อยากอยู่ แต่อาจารย์ฉัตรชัยคงเก็บภาพไว้แล้ว น้องฮัง ชาวเวียดนามที่เคยไปทาน ข้าวเย็นด้วยกัน ขออยู่สนทนาธรรมต่อด้วย ไม่มีใครเป็นล่ามติดต่อสื่อสารกับร้านอาหารให้ คนเวียดนามส่วนใหญ่ไม่พูดภาษาอังกฤษ จึงต้องช่วยตัวเอง ถามคนเปิดประตูว่า ร้านไหน อร่อย
เขาแนะนำ Ngon Restaurant ซึ่งอยู่ห่างไป 2 กม. จึงนั่งแท๊กซีพากันไป 9 คน ประมาณ คันละ 80 บาท อาหารร้านนี้ต้องอร่อยแน่ เพราะช่ือร้าน งอน แปลว่าอร่อยอยู่แล้ว ไปถึงเห็น คนนั่งเต็มร้าน รับประกันความอร่อย
แต่มีปัญหาเรื่องการสั่งอาหารเพราะไม่มีรูปให้ดู คุณสุภาพรรณใช้วิธีจูงบ๋อยเดินไปตาม โต๊ะ แล้วชี้ว่าอยากได้อะไร เลยได้รับประทานอาหารเวียดนามอร่อยที่สุดตั้งแต่มาเวียดนาม 4 ครั้ง ราคาก็ไม่แพงด้วย ใครไปไซ่ง่อนอย่าลืมไปชิมร้านงอน
... อ่านตอนต่อไป ...
สนทนาธรรมข้ามปีที่ไซ่ง่อน 10
... อ่านย้อนหลัง ...
สนทนาธรรมข้ามปีที่ไซ่ง่อน 8
สนทนาธรรมข้ามปีที่ไซ่ง่อน 7
สนทนาธรรมข้ามปีที่ไซ่ง่อน 6
สนทนาธรรมข้ามปีที่ไซ่ง่อน 5
สนทนาธรรมข้ามปีที่ไซ่ง่อน 4
สนทนาธรรมข้ามปีที่ไซ่ง่อน 3
สนทนาธรรมข้ามปีที่ไซ่ง่อน 2
สนทนาธรรมข้ามปีที่ไซ่ง่อน 1
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
อนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
วันนี้กระผมก็ได้เข้าฟังสนทนาธรรมทั้งช่วงเช้าและช่วงบ่ายอีกครั้งหนึ่ง ตอนเช้าชาวเวียตนาม
ยังคงมากมายจนเกือบจะเต็มห้องสนทนาธรรมเหมือนเดิม (แต่เพราะว่าพวกเราบางคนที่ร่วม
เดินทางไปจากกรุงเทพคงมีภาระกิจที่ต้องทำบางอย่าง ก็เลยไม่ต้องหาเก้าอี้เสริมมาเตียม
ไว้) ..................ขอบอกตรงๆ ว่าไม่เข้าใจภาษาอังกฤษในห้องสนทนาธรรมมากกว่าเข้าใจ
ภาษา...แต่กระผมก็นั่งฟังทุกครั้งของการสนทนาธรรมที่เวียตนาม คำตอบก็คือ..เพราะผมไม่
เคยเข้าไปฟังสนทนาธรรมที่มูลนิธิภาคภาษาอังกฤษแล้วผมจะรู้ใหม? แต่คนเราก็ทำประโยชน์
ให้สังคมอย่างอื่นได้ในทุกๆ กรณี ....บรรยากาศในห้องสนทนายังเข้มข้นเหมือนเดิม บางคนก็
ยังอยากจะขอวิธีที่ศึกษา บางคนก็ถามว่า ฟังท่านอาจารย์และคณะอาจารย์ชาวต่างชาติมาแล้ว
ทั้งอาทิตย์ ..ถามว่าจะพอแล้วใช่ใหม? ไม่ต้องไปอ่านหรือฟังอีกต่อไปใช่ใหม? ...ท่านอาจารย์
ท่านตอบด้วยความเมตตาและไพเราะมาก..ซึ่งคำตอบจากคำถามเช่นนี้ท่านอาจารย์ก็เคยตอบ
ผู้ร่วมสนทนาที่มูลนิธิอยู่บ่อยๆ ...ข้อสังเกตอย่างหนึ่งผู้เข้าฟังส่วนมากเวลามาฟังเขาจะนั่งฟัง
ตั้งแต่ต้นจนจบทุกครั้ง......ตอนบ่ายก่อนเข้าห้องสนทนาธรรม กระผมเห็นน้องชาวเวียตนามซึ่ง
พูดภาษาอังกฤษได้ดีนั่งอยู่กับชีสาวคนหนึ่ง ผมก็ขออนุญาตถามคำถาม...เช่น ก่อนมาฟังท่าน
อาจารย์เขาศึกษาอย่างไร? คำตอบก็คือ. เขาศึกษาโดยการนั่งสมาธิ และก็เดินทางไปศึกษาที่
ประเทศพม่า ผมไม่ถามว่าเขาสนใจการสอนของท่านอาจารย์ใหม? เพราะถ้าขณะนี้เขาให้
ความสนใจที่จะฟังการแสดงธรรมของท่านอาจารย์ ก็แสดงงว่าเขาสนใจ ทั้งที่คำตอบของท่าน
อาจารย์ได้ตอบไปแล้วว่า การศึกษาพระธรรมไม่มีทางลัด รีบไม่ได้ (แต่ก็มิได้หมายถึงไม่ใส่ใจ
ที่จะศึกษา) ผมถาต่อไปอีกศึกษากับใครที่ประเทศพม่า คำตอบก็ตรงกับคำตอบที่ชาวเวียดนาม
และชาวไทยบางคนได้เคยไปศึกษามาแล้ว.. (ด้วยความเห็นส่วนตัว ผมไม่ขอเอ่ยชื่อสำนักของ
เขา) ข้อที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งของภิกษุหนุ่ม. หรือชีสาวที่นี่ เขามีความสำรวม รักษาวินัย ไม่มี
สายตาสอดส่าย น่าเคารพครับ อีกส่วนของคำถาม ผมถามชาวเวียตนามที่เป็นผู้แปล ผมถามว่า
เตรียมการสนทนาอย่างไรถึงได้มีคนฟังเต็มห้องทุกครั้ง เขาบอกว่ามีกลุ่มสนทนาอยู่ที่นี่ และมี
การติดต่อผู้อยู่ไกลทาง internet หลายคนก็มานอนพักบ้านญาติหรือบ้านเพื่อนใกลๆ โรงแรมที่
สนทนาธรรม วันนี้ก็ขอจบการรายงานงานเพียงเท่านี้ ผมเองก็ควรเข้าห้องสนทนาธรรมก่อน
ท่านอาจารย์มาถึง เพราะเป็นมรรยาทของชาวเวียตนามที่มาฟังธรรมที่นี่ เวลาท่านอาจารย์เดิน
เข้าห้องสนทนาธรรม ทุกคนในห้องแม้แต่พระภิกษก็ลุกขึ้นยืน แล้วยกมือพนมไหว้ท่านอาจารย์
จนกระทั่งท่านนั่งลง เห็นความศรัทธาที่เขามีต่อท่านอาจารย์ใหมครับ.. วันนี้ก็ขอพอเพียงแค่นี้
ครับ เพราะมองดูเวลาบอกว่า 3.09 AM สวัสดีครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญกับทุกๆ ท่านค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนา