อรรถกถาสูตรที่ ๙ ประวัติพระมหากัปปินเถระ
โดย บ้านธัมมะ  16 ต.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 38375

[เล่มที่ 32] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 483

อรรถกถาสูตรที่ ๙

ประวัติพระมหากัปปินเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 32]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 483

อรรถกถาสูตรที่ ๙

ประวัติพระมหากัปปินเถระ

ในสูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ด้วยบท ภิกขุโอวาทกานํ ท่านแสดงว่า ท่านพระมหากัปปินเถระเป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวกผู้โอวาทภิกษุ. ได้ยินว่าพระเถระนี้ กล่าวธรรมกถา ในการประชุมคราวเดียวเท่านั้น ก็ทำภิกษุ ๑,๐๐๐ รูปให้บรรลุพระอรหัต เพราะเหตุนั้น ท่านจึงชื่อว่าเป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวก ผู้โอวาทภิกษุ. ในปัญหากรรมของท่านมีเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับ ดังนี้

แท้จริง พระเถระรูปนี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดในครอบครัว ในกรุงหงสวดี ต่อมากำลังฟังธรรมกถาของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งไว้ ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวก ผู้โอวาทภิกษุ ทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป จึงปรารถนาตำแหน่งนั้น. ท่านทำกุศลจนตลอดชีวิต เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ ครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ถือปฏิสนธิในครอบครัว ในกรุงพาราณสี เป็นหัวหน้าคณะของบุรุษ ๑,๐๐๐ คน สร้างบริเวณใหญ่ประดับด้วยห้อง ๑,๐๐๐ ห้อง. คนแม้ทั้งหมดนั้น กระทำกุศลจนตลอดชีวิต ยกกัปปินอุบาสกให้เป็นหัวหน้า พร้อมด้วยบุตรภริยาบังเกิดในเทวโลก เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ ตลอดพุทธันดรหนึ่ง. ครั้งนั้น ก่อนพระศาสดาของเราบังเกิด กัปปินะนี้ถือปฏิสนธิ ในราชนิเวศน์ ในนครกุกกุฎวดี ในปัจจันตประเทศ. บริษัทนอกนั้นบังเกิดในสกุลอำมาตย์ ในนครนั้น นั่นแหละ. บรรดาคน


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 484

เหล่านั้น กัปปินกุมาร ครั้นพระราชบิดาล่วงลับไป ก็เถลิงเศวตฉัตรเป็นพระราชาพระนามว่า กัปปินะ. สตรีผู้เป็นแม่เรือนของพระองค์ ครั้งสร้างกัลยาณกรรมในชาติก่อน ก็บังเกิดในราชสกุลที่มีชาติและโภคสมบัติทัดเทียมกัน เป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้ามหากัปปินะ. แต่เพราะพระนาง มีพระฉวีวรรณเสมือนดอกอังกาบ จึงมีพระนามว่าอโนชาเทวี. แม้พระเจ้ามหากัปปินะก็ทรงสนพระหฤทัยในสุตะ (การศึกษา) ตื่นบรรทมแต่เช้าตรู่ ทรงส่งทูตเร็วออกทางพระทวารทั้ง ๔ ด้วยพระดำรัสสั่งว่า พวกท่านพบเหล่าท่านพหูสูต ทรงสุตะในที่ใด กลับจากที่นั้นแล้ว จงมาบอกเรา ดังนี้.

สมัยนั้น พระศาสดาของเราบังเกิดในโลกแล้ว ทรงอาศัยกรุงสาวัตถีประทับอยู่. เวลานั้นพวกพ่อค้าชาวกรุงสาวัตถี รับสินค้าที่เกิดขึ้นในกรุงสาวัตถีไปยังนครนั้น เก็บงำสินค้าไว้แล้ว ก็ถือบรรณาการหมายจะเฝ้าพระราชา ไปถึงประตูพระราชนิเวศน์ทราบว่า พระราชาเสด็จไปพระราชอุทยาน จึงไปที่พระราชอุทยาน ยืนใกล้ๆ ประตู บอกคนเฝ้าประตูพระราชอุทยาน. ครั้งเขาทูลให้ทรงทราบแล้ว พระราชารับสั่งให้เข้าเฝ้า พวกเขามอบถวายบรรณาการแล้ว ยืนถวายบังคม ตรัสถามว่า พ่อเอ๋ย พวกท่านพากันมาจากที่ไหน. กราบทูลว่าจากกรุงสาวัตถี พระเจ้าข้า ตรัสถามว่า แว่นแคว้นเหล่านั้น มีอาหารหาง่ายหรือ พระราชาทรงธรรมอยู่หรือ กราบทูลว่า เป็นอย่างนั้นพระเจ้าข้า ตรัสถามว่า ก็ในบ้านเมืองของท่านมีข่าวคราวอะไรบ้างเล่า. กราบทูลว่า มีอยู่พระเจ้าข้า แต่ไม่อาจกราบทูลได้ด้วย ทั้งปากที่ยังไม่สะอาด. พระราชาจึงให้พระราชทานน้ำ ด้วยพระเต้าทอง. พ่อค้าเหล่านั้น บ้วนปากแล้วหันหน้าไปทางพระทศพล ประคองอัญชลี


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 485

กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ในบ้านเมืองของข้าพระบาท พระพุทธรัตนะเกิดขึ้นแล้ว พระเจ้าข้า. พอสดับคำว่า พุทฺโธ เท่านั้น พระราชาก็ทรงเกิดปีติซาบซ่านทั่วพระวรกาย. แต่นั้นตรัสว่า พ่อเอ๋ย พวกท่านพูดว่าพุทฺโธหรือ. กราบทูลว่า พวกข้าพระบาทพูดว่า พุทฺโธ พระเจ้าข้า. ทรงให้พวกพ่อค้ากล่าวอย่างนั้น ๓ หน บทว่า พุทฺโธ หาประมาณมิได้ใครๆ ไม่อาจทำให้มีประมาณได้เลย. พระราชาทรงเลื่อมใสในบทว่า พระพุทธรัตนะเกิดขึ้นแล้วนั้น ก็พระราชทานทรัพย์แสนหนึ่ง แล้วตรัสถามว่า มีข่าวอื่นอีกไหม กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระธรรมรัตนะเกิดขึ้นแล้วพระเจ้าข้า. ทรงสดับข่าวนั้นแล้ว ทรงถือปฏิญาณอย่างนั้นเหมือนกัน พระราชทานทรัพย์อีกแสนหนึ่ง แล้วตรัสถามว่า มีข่าวอื่นๆ อีกไหม กราบทูลว่า ข้าแต่เทวะ พระสังฆรัตนะเกิดขึ้นแล้ว พระเจ้าข้า ทรงสดับข่าวนั้นแล้ว ทรงถือปฏิญาณอย่างนั้นเหมือนกัน พระราชทานทรัพย์อีกแสนหนึ่ง ทรงเขียนบอกข้อที่พระราชทานทรัพย์ลงในหนังสือ ส่งไปด้วย พระดำรัสสั่งว่า พ่อเอ๋ยพวกท่านจงไปสำนักพระราชเทวีเถิด. เมื่อพวกพ่อค้าไปกันแล้ว ตรัสถามเหล่าอำมาตย์ว่า พ่อเอ๋ย พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลกแล้ว พวกท่านจักทำอย่างไรกัน. เหล่าอำมาตย์ทูลย้อนถามว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์จะทรงทำอย่างไร. ตรัสว่า เราก็จักบวช เหล่าอำมาตย์กราบทูลว่า เหล่าข้าพระบาทก็จักบวชทั้งหมด. ต่างก็ไม่เยื่อใยเหย้าเรือน หรือทรัพย์สมบัติ พากันขึ้นม้าควบขับออกไป

เหล่าพ่อค้าไปเฝ้าพระนางอโนชาเทวี แสดงหนังสือถวาย. พระนางทรงอ่านหนังสือนั้นแล้ว ตรัสถามว่า พ่อเอ๋ย พระราชาพระราชทานกหาปณะเป็นอันมากแก่พวกท่าน พวกท่านทำอะไร. กราบทูลว่า ข้าแต่พระเทวี พวกข้าพระบาทนำข่าวที่น่ารักมาถวาย พระเจ้าข้า.


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 486

ตรัสถามว่า พ่อเอ๋ย พวกท่านอาจให้เราฟังข่าวนั้นได้ไหม. กราบทูลว่า ข้าแต่พระเทวี ก็อาจจะได้ แต่พวกข้าพระบาทไม่อาจกราบทูล ด้วยทั้งปากที่ไม่สะอาด พระเจ้าข้า. พระนางจึงให้พระราชทานน้ำ ด้วยพระเต้าทอง. พ่อค้าเหล่านั้น บ้วนปากแล้ว ก็กราบทูล ทำนองที่กราบทูลพระราชามาแล้ว. แม้พระนางก็ทรงเกิดความปราโมทย์ ให้พวกพ่อค้ารับปฏิญา ๓ หน แต่ละบท โดยนัยนั้นเหมือนกัน พระราชทานทรัพย์บทละสามแสน ๓ บท รวมเป็นทรัพย์เก้าแสน. เหล่าพ่อค้าได้ทรัพย์รวมทั้งหมดถึงล้านสองแสน. ครั้งนั้น พระนางตรัสถามเหล่าพ่อค้าว่า พระราชาเสด็จไปไหน. เหล่าพ่อค้ากราบทูลว่า ข้าแต่พระเทวีพระราชาเสด็จออกไปหมายจะทรงผนวช พระเจ้าข้า. พระนางทรงส่งพวกพ่อค้าไป ด้วยพระดำรัสว่า พ่อเอ๋ย ถ้ากระนั้น พวกท่านจงกลับไปเสีย แล้วรับสั่ง ให้เรียกเหล่าแม่บ้านของเหล่าอำมาตย์ ที่ไปกับพระราชามาแล้ว ตรัสถามว่า แม่เอ๋ย พวกเธอรู้สถานที่ๆ พวกสามีเธอไปไหม. กราบทูลว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า ไม่ทราบเพคะ พวกสามีข้าพระบาทไปเล่นสวนกับพระราชานี่เพคะ ตรัสว่า เออ แม่เอ๋ย เขาไปกันแล้ว แต่ไปในสวนนั้นแล้ว ฟังข่าวว่า พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้ว พระธรรมเกิดขึ้นแล้ว พระสงฆ์เกิดขึ้นแล้ว ก็ไปกันหมายจะบวช ในสำนักพระทศพล พวกเธอจะทำอย่างไร. กราบทูลย้อนถามว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็พระองค์ประสงค์จะทรงทำอย่างไร. ตรัสตอบว่า เราก็จักบวช กราบทูลว่า ถ้าเป็นเช่นนั้น พวกเข้าพระบาทก็จักบวช. ทั้งหมดต่างให้เทียมรถพากันออกไป.

ฝ่ายพระราชาเสด็จถึงฝั่งแม่น้ำคงคา พร้อมกับอำมาตย์พันคน. ขณะนั้น แม่น้ำคงคาเปี่ยมน้ำ เห็นแม่น้ำคงคานั้นแล้ว ต่างก็ดำริและ


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 487

อธิษฐานว่า แม่น้ำคงคาเปี่ยมน้ำ. เกลื่อนด้วยปลาร้าย ไม่มีทาสหรือมนุษย์ที่มากับพวกเรา ซึ่งจะพึงให้เรือ หรือแพแก่พวกเราในที่นั้น แต่ธรรมดาว่า พระคุณทั้งหลายของพระศาสดา แผ่ไปเบื้องล่างแต่อเวจีมหานรก จนถึงภวัคคพรหม ก็ถ้าพระศาสดาทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไซร้ ขอหลังกีบม้าเหล่านี้ จงอย่าเปียกน้ำเลย แล้วก็ควบขับม้าไปทางหลังน้ำ. แม้เพียงกีบม้าแต่ละตัว ก็มิได้เปียกน้ำเลย. พึงฝั่งโน้นเหมือนไปโดยราชมรรคา แต่แล้วก็ถึงมหานทีอื่นๆ ข้างหน้า. ตรัสถามว่า แม่น้ำแห่งที่สอง ชื่ออะไร. กราบทูลว่า ชื่อว่า นีลวาหินี มีประมาณครึ่งโยชน์ ทั้งส่วนลึก ทั้งส่วนกว้าง พระเจ้าข้า. ในแม่น้ำนั้นไม่มีสัจจกิริยาอย่างอื่น พากันข้ามแม่น้ำที่กว้างถึงครึ่งโยชน์ ด้วยสัจจกิริยาแม้นั้น ทั้งถึงมหานทีที่สามชื่อว่า จันทรภาคา ก็พากันข้ามด้วยสัจจกิริยานั้น นั่นเอง.

ในวันนั้น แม้พระศาสดา ทรงออกจากมหากรุณาสมาบัติ ตรวจดูสัตวโลก เวลาใกล้รุ่ง ก็ทรงเห็นว่า วันนี้พระเจ้ามหากัปปินะ ทรงสละราชสมบัติ มีอำมาตย์เป็นบริวาร จักเสด็จมาตลอดระยะทาง ๓๐๐ โยชน์ เพื่อทรงผนวชในสำนักเรา ทรงดำริว่า ควรที่เราจะไปทำการต้อนรับพวกเขา จึงทรงปฏิบัติสรีรกิจแต่เช้าตรู่ มีภิกษุสงฆ์เป็นบริวาร เสด็จบิณฑบาต ณ กรุงสาวัตถี ภายหลังเสวยแล้ว เสด็จกลับจากบิณฑบาต ลำพังพระองค์เอง เสด็จเหาะไปประทับนั่งสมาธิ ณ ต้นไทรใหญ่ ซึ่งมีอยู่ตรงท่าที่คนเหล่านั้นจะข้าม ริมฝั่งแม่น้ำจันทรภาคา ทรงดำรงพระสติเฉพาะหน้า เปล่งพระพุทธฉัพพัณณรังสี. คนเหล่านั้นข้ามทางท่านั้น เห็นพระพุทธรัศมี แล่นไปมา พบพระพักตร์ของพระทศพล มีพระสิริเหมือนเพ็ญจันทร์ ก็ตกลงใจโดยการเห็นเท่านั้นว่า


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 488

พวกเรา (๑) บวชเจาะจงพระศาสดาพระองค์ใด พระศาสดาพระองค์นั้น เป็นพระองค์นี้แน่แท้ ก็น้อมกายถวายบังคม ตั้งแต่สถานที่พบ มาถวายบังคมพระศาสดา พระราชาจับที่ข้อพระบาทพระศาสดา ถวายบังคมแล้วประทันนั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง พร้อมกับอำมาตย์พันหนึ่ง พระศาสดาตรัสธรรมกถา โปรดคนเหล่านั้น จบเทศนา ทุกคนก็ดำรงอยู่ในพระอรหัต ขอบรรพชา. พระศาสดาทรงทราบว่า เพราะคนเหล่านี้ ถวายจีวรทานไว้ในชาติก่อน จึงมารับบาตรจีวรของตนแล้วทรงเหยียดพระหัตถ์ มีวรรณะดั่งทอง ตรัสว่า จงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมเรากล่าวดีแล้ว พวกเธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์ โดยชอบเถิด. ก็เป็นอันท่านเหล่านั้น บรรพชาและอุปสมบทแล้ว พากันแวดล้อมพระศาสดา เหมือนพระเถระร้อยพรรษา

ฝ่ายพระนางอโนชาเทวี มีรถพันคันเป็นบริวาร เสด็จถึงฝั่งแม่น้ำคงคา ไม่เห็นหรือหรือแพ ที่จะพาข้ามไป แต่เพราะทรงเป็นคนฉลาด จึงทรงดำริว่า พระราชาก็คงจักทรงทำสัจจกิริยาเสด็จไป ก็พระศาสดานั้น มิใช่ทรงบังเกิดมา เพื่อคนพวกนั้นอย่างเดียว ถ้าพระองค์ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รถทั้งหลายของพวกเราก็อย่าจมน้ำจึงทรงขับควบรถไปทางผิวน้ำ. แม้เพียงดุมและล้อของรถทั้งหลาย ก็มิได้เปียกน้ำ. ทั้งแม่น้ำที่สอง ที่สาม ก็ทรงข้ามไปได้ ด้วยกระทำสัจจะนั้น นั่นแล เมื่อทรงข้ามไปได้นั่นเอง ทรงเห็นพระศาสดาที่โคนต้นไทร. แม้พระศาสดา ก็ทรงดำริว่า สตรีเหล่านี้เห็นสามีของตน เกิดฉันทราคะ


(๑) ปาฐะว่า ยํสตฺถารํ อุทฺทิสฺส มยํ ปพฺพชิตา สตฺถา โน เอโสติ พม่าเป็น ยํสตฺถารํ อุทฺทิสฺส มยํ ปพฺพชิตา, อทฺธา โส เจโสติ แปลตามพม่า.


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 489

ก็จะพึงทำอันตรายต่อมรรคผล ทั้งไม่อาจฟังธรรมได้ จึงทรงกระทำโดยวิธีการที่พวกเขา จะไม่เห็นกันและกันได้ สตรีเหล่านั้นทั้งหมด ขึ้นจากท่าน้ำแล้ว ซึ่งถวายบังคมพระทศพลแล้วนั่ง พระศาสดาตรัสธรรมกถาโปรดสตรีเหล่านั้น. จบเทศนา สตรีทุกคนก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล จึงเห็นซึ่งกันและกัน พระศาสดาทรงดำริว่า อุบลวรรณาจงมาพระเถรี ก็มาให้สตรีทุกคนบรรพชา แล้วพาไปสำนักภิกษุณี พระศาสดา ทรงพาภิกษุพันรูป เสด็จไปพระเชตวันทางอากาศ. ครั้งนั้น ท่านพระมหากัปปินะเถระ รู้ว่ากิจตนถึงที่สุดแล้ว ก็เป็นผู้ขวนขวายน้อย ทำเวลาให้ล่วงไป ด้วยสุขในผลสมาบัติ อยู่ป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่เรือนว่างก็ดี ก็เปล่งอุทานเนืองๆ ว่า อโห สุขํ อโห สุขํ (โอ สุขจริง โอ สุขจริง). ภิกษุทั้งหลายเกิดพูดกันขึ้นว่า ท่านพระกัปปินเถระ ระลึกถึงสุขในราชสมบัติ จึงเปล่งอุทาน พากันไปกราบทูลพระตถาคต. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า บุตรเราปรารภสุขในมรรค สุขในผล จึงเปล่งอุทาน แล้วตรัสพระคาถาในพระธรรมบท ดังนี้ว่า

ธมฺมปีติ สุขํ เสติ วิปฺปสนฺเนน เจตสา

อริยปฺปเวทิเต ธมฺเม สทา รมติ ปณฺฑิโต

บัณฑิตมีใจผ่องใสแล้ว มีปีติในธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข ยินดีในธรรมที่พระอริยประกาศแล้วทุกเมื่อ

ต่อมาวันหนึ่ง พระศาสดาทรงเรียกภิกษุพันรูป อันเตวาสิกของท่านมาแล้ว ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาจารย์ของเธอแสดงธรรมบ้างไหม กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า อาจารย์ของข้าพระองค์ มิได้แสดงธรรมเลย ท่านเป็นผู้ขวนขวายน้อย ประกอบ


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 490

เนืองๆ แต่สุขวิหารธรรมในปัจจุบันอยู่ ไม่ให้แม้แต่เพียงโอวาทแก่ใครๆ. พระศาสดารับสั่งให้เรียกท่านมา แล้วตรัสถามว่า กัปปินะ เขาว่าเธอ ไม่ให้แม้แต่เพียงโอวาทแก่อันเตวาสิกทั้งหลาย จริงหรือ.ท่านกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า จริงพระเจ้าข้า. ตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ เธออย่าทำอย่างนี้ ตั้งแต่วันนี้ไป เธอจงแสดงธรรมแก่อันเตวาสิกทั้งหลาย. ท่านรับพระพุทธดำรัส ด้วยเศียรเกล้าว่า ดีละพระเจ้าข้า แล้วแสดงธรรมสอนสมณะพันรูป ในการประชุมคราวเดียวเท่านั้น ให้เธอบรรลุพระอรหัตหมดทุกรูป. ต่อมาพระศาสดาประทับกลางสงฆ์ กำลังทรงสถาปนาพระเถระทั้งหลาย ในตำแหน่งต่างๆ ตามลำดับ จึงทรงสถาปนาท่านพระมหากัปปินเถระไว้ ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวก ผู้โอวาทภิกษุแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๙