[เล่มที่ 52] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 168
เถรคาถา ฉักกนิบาต
๔. กุลลเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระกุลลเถระ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 52]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 168
๔. กุลลเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระกุลลเถระ
[๓๕๐] เราผู้ชื่อว่ากุลละไปที่ป่าช้าผีดิบ ได้เห็นซากศพหญิงคนหนึ่ง เขาทิ้งไว้ในป่าช้า มีหมู่หนอนบ่อนกัดอยู่
ดูก่อนกุลละ ท่านจงดูร่างกายอันกระสับกระส่ายให้เกิดความเดือดร้อน ไม่สะอาด เป็นของเปื่อยเน่า มีของโสโครกไหลเข้าไหลออกอยู่ อันหมู่คนพาลพากันชื่นชมนัก.
เราได้ถือเอาแว่นธรรมแล้ว ส่องดูร่างกายอันไร้ประโยชน์นี้ ทั้งภายในและภายนอก ด้วยการบรรลุญาณทัสสนะ.
สรีระเรานี้ฉันใด ซากศพนั่นก็ฉันนั้น ซากศพนั้นฉันใด สรีระเรานี้ฉันนั้น ร่างกายเบื้องต่ำฉันใด ร่างกายเบื้องบนก็ฉันนั้น ร่างกายเบื้องบนฉันใด ร่างกายเบื้องต่ำก็ฉันนั้น. กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เมื่อก่อนฉันใด ภายหลังก็ฉันนั้น ภายหลังฉันใด เมื่อก่อนก็ฉันนั้น.
อิสรชนผู้เพียบพร้อมด้วยกามสุข ที่เขาบำเรอด้วยดนตรีเครื่อง ๕ ย่อมไม่ยินดีเช่นนั้น เหมือนกับเราผู้มีจิตแน่วแน่ พิจารณาเห็นธรรมแจ่มแจ้งโดยชอบ.
จบกุลลเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 169
อรรถกถากุลลเถรคาถาที่ ๔
คาถาของ ท่านพระกุลลเถระ มีคำเริ่มต้นว่า กุลฺโล สิวถิกํ ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร?
แม้พระเถระนี้ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าอันมีในกาลก่อน ได้ก่อสร้างบุญทั้งหลายไว้ในภพนั้นๆ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลกุฎุมพี ในนครสาวัตถี รู้เดียงสาแล้ว ฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา ได้ศรัทธาจึงบวช และท่านเป็นผู้มีราคะกล้ามาแต่กำเนิด เพราะเป็นผู้มีราคะจริต ด้วยเหตุนั้น กิเลสทั้งหลายจึงครอบงำจิตของท่าน ตั้งอยู่เป็นเนืองนิตย์.
ลำดับนั้น พระศาสดาทรงทราบวาระจิตของท่าน จึงทรงประทานอสุภกรรมฐานแล้วตรัสว่า ดูก่อนกุลละ เธอพึงเที่ยวจาริกไปในป่าช้า เนืองๆ. ท่านจึงเข้าป่าช้าเห็นอสุภทั้งหลายนั้นๆ มีศพพองขึ้นเป็นต้น จึงยังมนสิการถึงอสุภให้เกิดขึ้นในขณะนั้น แต่พอออกจากป่าช้าเท่านั้น ก็ถูกกามราคะครอบงำเอา. พระศาสดาทรงทราบเรื่องนั้นของเธออีก วันหนึ่ง ในเวลาที่เธอไปที่ป่าช้า จึงทรงเนรมิตแสดงรูปหญิงวัยรุ่นคนหนึ่ง ซึ่งตายยังไม่นาน มีผิวพรรณยังดีอยู่ พอเธอเห็นรูปหญิงนั้น ก็เกิดราคะ ขึ้นฉับพลัน เหมือนเกิดราคะในสิ่งที่เป็นวิสภาคคือเพศตรงกันข้ามซึ่งมีชีวิตอยู่ฉะนั้น.
ลำดับนั้น เมื่อเธอกำลังเพ่งดูอยู่นั้นแล พระศาสดาจึงทรงแสดงรูปหญิงนั้นให้มีของไม่สะอาดไหลออกจากปากแผลทั้ง ๙ (ทวาร ๙) มีหมู่ หนอนคลาคล่ำ น่ากลัว มีกลิ่นเหม็น น่าเกลียด ปฏิกูลยิ่ง, เธอเพ่งดู รูปนั้นอยู่ ได้มีจิตคลายกำหนัดแล้ว. ลำดับนั้น พระศาสดาทรงแผ่พระโอภาสแสงสว่างไป เมื่อจะยังสติให้เกิดแก่เธอ จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 170
ดูก่อนกุลละ เธอจงดูร่างกายอันให้เกิดการเดือดร้อนกระสับกระส่าย ไม่สะอาด เปื่อยเน่า ไหลเข้าไหลออกอยู่ อันหมู่คนพาล ชื่นชมกันยิ่งนัก.
พระเถระได้ฟังดังนั้น จึงพิจารณาสภาพของสรีระร่างโดยชอบทีเดียว กลับได้อสุภสัญญา ทำปฐมฌานให้บังเกิดในอสุภสัญญานั้น แล้วทำปฐมฌานนั้นให้เป็นบาท เจริญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัตแล้ว พิจารณาการปฏิบัติของตน จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ด้วยอำนาจอุทาน (๑) ว่า
เราผู้ชื่อว่ากุสละไปป่าช้าผีดิบ ได้เห็นซากศพหญิงคนหนึ่ง เขาทิ้งไว้ในป่าช้า มีหมู่หนอนบ่อนกัดอยู่. ดูก่อนกุสละ ท่านจงดูร่างกายอันกระสับกระส่าย ไม่สะอาด เป็นของเปื่อยเน่า มีของโสโครกไหลเข้าไหลออกอยู่ อันหมู่คนพาลชื่นชมกันยิ่งนัก.
เราได้ถือเอา แว่นธรรม ส่องดูร่างกายอันไร้ประโยชน์ทั้งภายในและภายนอกนี้ ด้วยการบรรลุญาณทัสสนะ.
สรีระของเรานี้ฉันใด ซากศพนั้นก็ฉันนั้น ซากศพนั่นฉันใด สรีระของเรานี้ก็ฉันนั้น. ร่างกายเบื้องต่ำฉันใด ร่างกายเบื้องบนก็ฉันนั้น ร่างกายเบื้องบนฉันใด ร่างกายเบื้องต่ำฉันนั้น. กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เมื่อก่อนฉันใด ภายหลังก็ฉันนั้น ภายหลังฉันใด เมื่อก่อนก็ฉันนั้น.
๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๕๐.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 171
อิสรชนผู้เพียบพร้อมด้วยกามสุข ที่เขาบำเรอด้วยดนตรีเครื่อง ๕ ย่อมไม่ยินดีเช่นนั้น เหมือนกับเราผู้มีจิตแน่วแน่ พิจารณาเห็นธรรมแจ่มแจ้งโดยชอบ.
บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า กุลฺโล นี้ พระเถระกล่าวถึงเฉพาะตน ทำให้เป็นเหมือนคนอื่น.
บทว่า อาตุรํ ได้แก่ ถูกความทุกข์นานัปการบีบคั้นอยู่เนืองนิตย์.
บทว่า อสุจึ ได้แก่ เว้นจากความสะอาด คือน่าเกลียดเป็นของ ปฏิกูล. บทว่า ปูตึ แปลว่า มีกลิ่นเหม็น.
บทว่า ปสฺส ความว่า จงตรวจดูโดยสภาวะ.
ด้วยบทว่า กุลละ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระเถระในเวลาประทานโอวาท. แต่ในเวลาเปล่งอุทาน พระเถระพูดกับตัวท่านเอง.
บทว่า สมุสฺสยํ ได้แก่ สรีระ. บทว่า อุคฺฆรฺนตํ ได้แก่ มีของไม่สะอาดไหลออกทางปากแผลเบื้องบน. บทว่า ปตฺฆรนฺตํ ได้แก่ และมีของไม่สะอาดไหลออกรอบๆ ปากแผลเบื้องล่าง.
บทว่า พาลานํ อภินนฺทิตํ ความว่า อันหมู่คนพาลคือพวกอันธปุถุชน ยึดมั่นชื่นชมว่าเรา ว่าของเรา ด้วยความชื่นชม คือทิฏฐิและ ตัณหาทั้งหลาย.
บทว่า ธมฺมาทาสํ ได้แก่ แว่นอันล้วนแล้วด้วยธรรม. เหมือน อย่างว่า สัตว์ทั้งหลายเห็นคุณและโทษที่หน้าหรือกายของตน ด้วยแว่น ฉันใด วิปัสสนาญาณอันเป็นเหตุให้พระโยคาวจรเห็นตามเป็นจริงซึ่งธรรม คือความเศร้าหมอง และความผ่องแผ้ว ในอัตภาพก็ฉันนั้น ท่านเรียกว่า แว่นธรรมในที่นี้. ทำวิปัสสนาญาณนั้นให้เกิดขึ้นในสันดานของตน เพื่อบรรลุถึงญาณทัสสนะ คือดวงตาเห็นธรรม กล่าวคือมรรคญาณ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 172
บทว่า ปจฺจเวกฺขึ อิมํ กายํ ความว่า เราได้พิจารณาโดยเฉพาะ คือเห็นด้วยญาณจักษุ ซึ่งกรัชกายนี้ ชื่อว่าไร้ประโยชน์ เพราะเว้นจากความเที่ยงและแก่นสาร ชื่อว่า ทั้งภายในและภายนอก เพราะจำแนกออกเป็นสันดานตนและสันดานคนอื่น.
ก็เพื่อจะแสดงวิธีการที่เราพิจารณาเห็น จงกล่าวค่ามีอาทิว่า สรีระ ของเรานี้ฉันใด ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถา อิทํ ตถา เอตํ ความว่า อสุภ กล่าวคือสรีระของเรานี้ แสดงกิริยาอันเปรียบด้วยมายาต่างๆ ชนิด คือกริยาลวงต่างๆ เพราะ อายุ ไออุ่น และวิญญาณยังไม่ปราศจากไปฉันใด สรีระที่ตายแล้วนี้ก็ ฉันนั้นเหมือนกัน ได้มีแล้วเพราะธรรมเหล่านั้นยังไม่ปราศจากไปในกาล ก่อน. สรีระที่ตายแล้วในบัดนั้น ไม่แสดงกิริยาไรๆ เพราะธรรม เหล่านั้น (คือ อายุ ไออุ่น และวิญญาณ) ปราศจากไปฉันใด แม้สรีระของเรานี้ก็ฉันนั้น จักพินาศไปเป็นแท้ เพราะธรรมเหล่านั้นปราศจากไป
เหมือนอย่างว่า บัดนี้ สรีระของเรานี้ ยังไม่ตาย ยังไม่นอนใน ป่าช้า คือยังไม่เข้าถึงภาวะของศพที่พองขึ้นเป็นต้นฉันใด แม้สรีระที่ตาย แล้วในบัดนี้ก็ฉันนั้น ในกาลก่อนได้มีแล้ว. อนึ่ง สรีระที่ตายแล้วใน บัดนี้นั่น นอนอยู่ในป่าช้า เข้าถึงภาวะเป็นศพขึ้นพองเป็นต้นฉันใด แม้สรีระของเรานี้ก็จักเป็นฉันนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง สรีระของเรานี้ไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น น่าเกลียด เป็นของปฏิกูล ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาฉันใด แม้สรีระที่ตาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 173
แล้วนั่นก็ฉันนั้น. อีกอย่างหนึ่ง สรีระที่ตายแล้วนั่น มีสภาวะไม่สะอาด เป็นต้น และมีสภาวะไม่เที่ยงเป็นต้นฉันใด แม้สรีระของเรานี้ก็ฉันนั้น.
บทว่า ยถา อโธ ตถา อุทฺธํ ความว่า กายนี้ เบื้องล่างคือเบื้องต่ำ จากสะดือลงไป ไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น น่าเกลียด ปฏิกูล ไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตาฉันใด และในเบื้องบน คือเบื้องสูงจากสะดือขึ้นไป ก็มีสภาวะไม่สะอาดเป็นต้นฉันนั้น.
บทว่า ยถา อุทฺธํ ตถา อโธ ความว่า อนึ่ง ในเบื้องบนจากสะดือ ขึ้นไป มีสภาวะไม่สะอาดเป็นต้นฉันใด ในเบื้องต่ำคือเบื้องล่างจากสะดือลงไปก็ฉันนั้น.
บทว่า ยถา ทิวา ตถา รตฺตึ ความว่า กายนี้ ในตอนกลางวัน มีของไม่สะอาดไหลออก โดยนัยเป็นว่า ขี้ตาไหลออกจากนัยน์ตาฉันใด แม้ในตอนกลางคืนก็ฉันนั้น. บทว่า ยถา รตฺตึ ตถา ทิวา ความว่า อนึ่ง ในตอนกลางคืน กายนี้มีของไม่สะอาดไหลออกฉันใด แม้ในตอนกลางวันก็ฉันนั้น. โดย การจำแนกกาล กายนี้ไม่มีความแตกต่างกัน.
บทว่า ยถา ปุเร ตถา ปจฺฉา ความว่า กายนี้ เมื่อก่อน คือใน กาลก่อน ได้แก่ในเวลาเป็นเด็กหนุ่ม ก็เป็นของไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น น่าเกลียด ปฏิกูล ฉันใด ภายหลังคือในเวลาแก่ก็ฉันนั้น และภายหลัง คือในเวลาแก่ มีสภาวะไม่สะอาดเป็นต้นฉันใด เมื่อก่อนคือในตอนเป็น เด็กหนุ่มก็ฉันนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ในข้อนี้พึงทราบอรรถอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนคือในอดีตกาล ได้แก่ในเวลายังมีวิญาณ มีสภาวะไม่สะอาดเป็นต้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 174
และมีสภาวะไม่เที่ยงเป็นต้นฉันใด. ภายหลังคือในอนาคตกาล ได้เเก่ในเวลาไม่มีวิญญาณก็ฉันนั้น.
บทว่า ปญฺจงฺคิเกน ตูริเยน ความว่า ความยินดีเช่นนั้น คือเห็น ปานนั้น ได้แก่ความชอบใจในความสุข ย่อมไม่มีแก่อิสรชนผู้เพียบพร้อม ด้วยกามสุข ซึ่งเขาบำเรออยู่ด้วยดนตรีเครื่อง ๕ คือประกอบด้วยองค์ ๕ อย่างนี้ คือ อาตตะ กลองหุ้มหนังหน้าเดียว คือรำมะนา, วิตตะ กลองหุ้มทั้งสองหน้า คือตะโพน. อาตตะวิตตะ หุ้มทั้งหมด คือบัณเฑาะว์, สุสิระ ปี่, ฆนะ ฉิ่ง.
บทว่า ยถา เอกคฺคจิตฺตสฺส สมฺมา ธมฺมํ วิปสฺสโต ความว่า ความยินดีในกามย่อมไม่เข้าถึงแม้แต่เสี้ยวของความยินดีในธรรม แห่งพระโยคาวจรผู้กระทำสมถะและวิปัสสนาให้ยุคนัทธรรม กระทำควบคู่กัน ไป แล้วพิจารณาความเกิดและความดับแห่งขันธ์ทั้งหลายด้วยวิปัสสนา อันดำเนินตามวิถี โดยภาวะที่อินทรีย์ทั้งหลายมีรสะ คือหน้าที่เดียวกัน. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ในกาลใดๆ พระโยคีพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย ในกาลนั้นๆ ย่อมได้ความปีติและปราโมทย์ นั้นเป็นธรรมอันไม่ตายของผู้รู้แจ้งทั้งหลาย.
และคาถาเหล่านี้แหละเป็นคาถาพยากรณ์อรหัตผลของพระเถระ.
จบอรรถกถากุลลเถรคาถาที่ ๔