เรื่องพระอัญญาโกณฑัญญเถระ
โดย chatchai.k  14 มิ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 34415

เรื่องพระอัญญาโกณฑัญญเถระ



ความคิดเห็น 1    โดย chatchai.k  วันที่ 3 ก.พ. 2565

ข้อความบางตอนจาก ...

เรื่องพระอัญญาโกณฑัญญเถระ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 244

    ครั้งนั้น พระเถระนี้ บังเกิดในตระกูลคฤหบดีมหาศาลกรุงหังสวดี. วันหนึ่ง ในเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเห็นชาวกรุงหังสวดี ต่างถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น ผู้น้อมไปโอนไป เงื้อมไป ทางพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ แล้วได้ไปยังที่แสดงธรรม พร้อมกับมหาชนนั้นนั่นแล. สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่ง ผู้แทงตลอดธรรมก่อนในพระศาสนาของพระองค์ ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ. กุลบุตรนั้น ได้สดับเหตุนั้นแล้ว คิดว่า ภิกษุนี้เป็นผู้ใหญ่หนอ ได้ยินว่า เว้นพระพุทธเจ้าเสีย ผู้อื่นชื่อว่าผู้แทงตลอดธรรมก่อนกว่าภิกษุนี้ ย่อมไม่มี แม้เราพึงเป็นผู้สามารถแทงตลอดธรรมก่อน ในศาสนาของพระพุทธเจ้า พระองค์หนึ่งในอนาคต ในเวลาจบเทศนา จึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า นิมนต์ว่าพรุ่งนี้ขอพระองค์โปรดทรงรับภิกษาของข้าพระองค์. พระศาสดาทรงรับนิมนต์แล้ว กุลบุตรนั้นถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วกระทำประทักษิณแล้วไปยังที่อยู่ของตน ประทับที่ประทับนั่งสำหรับพระพุทธเจ้า ด้วยของหอมและพวงมาลัยเป็นต้น ให้จับของควรเคี้ยวและควรบริโภค อันประณีต ตลอดคืนยังรุ่ง. ล่วงราตรีนั้นได้ถวายข้าวสาลีหอมมีแกงและกับข้าวต่างๆ รส มีข้าวยาคูและ


ความคิดเห็น 2    โดย chatchai.k  วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 245

ของเคี้ยวอันวิจิตรเป็นบริวาร แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีภิกษุ ๑๐๐,๐๐๐ รูปเป็นบริวาร ในที่อยู่ของตน ในเวลาเสร็จภัตกิจได้วางผ้าคู่พอทำจีวรได้สามผืน ใกล้พระบาทของพระตถาคต คิดว่าเราไม่ได้ขอเพื่อประโยชน์แก่ตำแหน่งเล็กน้อย เราปรารถนาตำแหน่งใหญ่จึงขอ แต่เราไม่อาจให้ทานเพียงวันเดียวเท่านั้นแล้วปรารถนาตำแหน่งนั้น จึงคิด (อีก) ว่า จักถวายทานตลอด ๗ วัน ติดต่อกันไป แล้วจึงจักปรารถนา. โดยทำนองนั้นนั่นเอง เขาจึงถวายมหาทาน ๗ วัน ในเวลาเสร็จภัตกิจ ได้ให้เปิดคลังผ้าวางผ้าเนื้อละเอียดอย่างดีเยี่ยม ไว้ใกล้พระบาทแห่งพระพุทธเจ้า ให้ภิกษุื ๑๐๐,๐๐๐ รูป ครองไตรจีวร แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์เจริญ ท้าย ๗ วันแต่วันนี้ ข้าพระองค์พึงเป็นผู้สามารถบวชในศาสนาของพระพุทธเจ้า ผู้จะอุบัติในอนาคตแล้วรู้แจ้งได้ก่อนเหมือนภิกษุนี้ แล้วหมอบศีรษะลงใกล้พระบาทของพระศาสดา. พระศาสดา ทรงสดับคำนั้นแล้ว ทรงส่งอนาคตังสญาณไปตรวจดูว่า กุลบุตรนี้ได้กระทำบุญญาธิการไว้มากความปรารถนาของเธอจักสำเร็จไหมหนอ เมื่อทรงรำลึกก็ทรงเห็นความสำเร็จ. จริงอยู่ เมื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงรำพึงถึงอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน ย่อมไม่มีอะไรขัดขวางเลย. เหตุที่เป็นอดีตหรือเหตุที่เป็นอนาคต ที่เป็นไปในภายในระหว่างแสนโกฏิกัปป์เป็นอันมากก็ดี ปัจจุบันระหว่างแสนจักรวาลก็ดี ย่อมเนื่องด้วยการนึก เนื่องด้วยมนสิการทั้งนั้น.

    พระผู้มีพระภาคเจ้านี้ ได้ทรงเห็นเหตุนี้ ด้วยญาณที่ไม่มีใครๆ ให้เป็นไปได้ว่า ในอนาคต ในที่สุดแสนกัป พระพุทธเจ้า


ความคิดเห็น 3    โดย chatchai.k  วันที่ 3 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 246

ทรงพระนามว่า โคตมะ จักอุบัติขึ้นในโลก ครั้งนั้นความปรารถนาของกุลบุตรนี้ จักสำเร็จ. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะกุลบุตรสิ้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนกุลบุตรผู้เจริญ ในอนาคต ในที่สุดแสนกัป พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า โคตมะ จักอุบัติขึ้นในโลก ท่านจักดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล อันถึงพร้อมด้วยนัยพันนัย พร้อมด้วยพรหม ๑๘ โกฏิ เวลาจบพระธรรมจักกัปปวัตตนสูตรอันมีวนรอบ ๓ ด้วยการแสดงธรรมครั้งแรกของพระโคดมพุทธเจ้านั้น.


ความคิดเห็น 4    โดย chatchai.k  วันที่ 3 ก.พ. 2565

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น