จะเห็นกำลังของสติในที่ไหน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 22
๕. ทัฏฐัพพสูตร
ว่าด้วยการที่จะพึงเห็นกำลัง ๕
[๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉนคือ กำลัง คือ ศรัทธา ๑ กำลัง คือ วิริยะ ๑ กำลัง คือ สติ ๑กำลัง คือ สมาธิ ๑ กำลัง คือ ปัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พึงเห็นกำลัง คือ ศรัทธาในที่ไหน พึงเห็นในโสตาปัตติยังคะ [องค์เป็นเครื่องให้บรรลุความเป็นพระโสดา] ๔ พึงเห็นกำลัง คือ ศรัทธาในที่นี้ พึงเห็นกำลัง คือ วิริยะในที่ไหน พึงเห็นในสัมมัปปธาน ๔ พึงเห็นกำลัง คือวิริยะในที่นี้ พึงเห็นกำลัง คือ สติในที่ไหน พึงเห็นในสติปัฏฐาน ๔ พึง-เห็นกำลัง คือ สติในที่นี้ พึงเห็นกำลัง คือ สมาธิในที่ไหน พึงเห็นในฌาน ๔พึงเห็นกำลัง คือ สมาธิในที่นี้ พึงเห็นกำลัง คือ ปัญญาในที่ไหน พึงเห็นในอริยสัจ ๔ พึงเห็นกำลัง คือ ปัญญาในที่นี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง๕ ประการนี้แล. จบทัฏฐัพพสูตรที่ ๕
ขณะที่ระลึกลักษณะของสภาพธรรมะที่มีจริงในขณะนี้ ขณะนั้นก็แสดงถึงกำลังของสติค่ะ
และขออนุโมทนาผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐานค่ะ
สาธุ สาธุ สาธุ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
สติเจตสิก เป็นโสภณธรรม เป็นธรรมฝ่ายดี ขณะที่กุศลจิตเกิดขึ้น ต้องมีสติเจตสิกเกิด
ร่วมด้วย ขณะที่ให้ทานก็มี สติเกิด แต่ ยังไม่เป็นพละ ไม่เป็นสติพละ ที่แสดงถึง
ลักษณะของกำลังของสติจริงๆ ขณะที่งดเว้นจากบาป เช่น ฆ่าสัตว์ ก็มีสติเกิด แต่ยังไม่
แสดงถึงกำลังของสติ แต่สติปัฏฐานที่ระลึกลักษณะของสภาพธัมมะว่าเป็นธรรมไม่ใช่
เรานั้น แสดงถึงความที่สติมีกำลัง และให้เห็นกำลังของสติ เพราะเป็นใหญ่ในการระลึก
ถึงลักษณะของสภาพธัมมะและมีปัญญาเกิดร่วมด้วย อันเป็นไปเพื่อรู้ความจริงและดับ
กิเลส สติปัฏฐาน จึงเป็นสติขั้นที่เป็นไปเพื่อดับกิเลส จึงมีกำลังและแสดงถึงกำลังของ
สติ แต่ที่สำคัญก่อนถึงขั้นนั้นก็เริ่มจากการฟังให้เข้าใจ จนถึงสติที่มีกำลัง ขณะที่สติ
ระลึกสภาพธัมมะว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา คือ สติปัฏฐานนั่นเองครับ ขออนุโมทนา ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์