[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 895
ปรินิพพานญาณนิทเทส
๓๕. อรรถกถาปรินิพพานญาณนิทเทส
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 895
ปรินิพพานญาณนิทเทส
[๒๒๖] ปัญญาในความสิ้นไปแห่งความเป็นไปแห่งกิเลส และขันธ์ของบุคคลผู้รู้สึกตัว เป็นปรินิพพานญาณอย่างไร?
สัมปชานบุคคลในศาสนานี้ ย่อมยังความเป็นไปแห่งกามฉันทะให้สิ้นไป ด้วยเนกขัมมะ ฯลฯ แห่งความพยาบาทให้สิ้นไป ด้วยความไม่พยาบาท ฯลฯ แห่งถีนมิทธะให้สิ้นไป ด้วยอาโลกสัญญา ฯลฯ แห่งอุทธัจจะให้สิ้นไป ด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ แห่งวิจิกิจฉาให้สิ้นไป ด้วยการกำหนดธรรม ฯลฯ แห่งอวิชชาให้สิ้นไป ด้วยญาณ ฯลฯ แห่งความไม่ยินดี ด้วยความปราโมทย์ ยังความเป็นไปแห่งนิวรณ์ให้สิ้น ไป ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ยังความเป็นไปแห่งกิเลสทั้งปวงให้ในรูป ด้วยอรหัตตมรรค.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 896
อีกประการหนึ่ง ความเป็นไปแห่งตานี้แล ของสัมปชานบุคคลผู้นิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ย่อมสิ้นไป และความเป็นไปแห่งตาอื่นย่อมไม่เกิดขึ้น ความเป็นไปแห่งหู ฯลฯ ความเป็นไปแห่งจมูก ฯลฯ ความเป็นไปแห่งลิ้น ฯลฯ ความเป็นไปแห่งกาย ฯลฯ ความเป็นไปแห่งใจนี้แล ของสัมปชานบุคคลผู้นิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ย่อมสิ้นไป และความเป็นไปแห่งใจอื่นย่อมไม่เกิดขึ้น ปัญญาในความสิ้นไปแห่งความเป็นไปแห่งกิเลสและขันธ์ ของสัมปชานบุคคลนี้เป็นปรินิพพานญาณ.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความสิ้นไปแห่งความเป็นไปแห่งกิเลสและขันธ์ของบุคคลผู้รู้สึกตัว เป็นปรินิพพาน.
๓๕. อรรถกถาปรินิพพานญาณนิทเทส
๒๒๖] พึงทราบวินิจฉัยในปรินิพพานญาณนิทเทสดังต่อไปนี้.
บทว่า อิธ คือในศาสนานี้.
บทว่า สมฺปชาโน - ผู้รู้สึกตัว ความว่า ผู้รู้สึกตัวด้วยสัมปชัญญะ ๔ เหล่านี้ คือ
สาตถกสัมปชัญญะ - ความรู้ตัวในกิจที่ประโยชน์แก่ตัว ๑
สัปปายสัมปชัญญะ - ความรู้ตัวในปัจจัยที่สบาย ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 897
โคจรสัมปชัญญะ - ความรู้ตัวในธรรมอันเป็นโคจร ๑
อสัมโมหสัมปชัญญะ - ความรู้ตัวในความไม่หลงงมงาย ๑.
บทว่า ปวตฺตํ - ยังความเป็นไป คือ ความเป็นไปแห่งปริยุฏฐานกิเลส และความเป็นไปแห่งอนุสัยกิเลส ตามสมควรในที่ทั้งปวง
บทว่า ปริยาทิยติ - ให้สิ้นไป คือ ทำให้เป็นไปไม่ได้ ด้วยสามารถแห่งวิกขัมภนปหานในธรรมทั้งหลายที่ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งอุปจารและวิปัสสนา. ด้วยสามารถแห่งตทังคปหานในธรรมทั้งหลาย ที่ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา. ด้วยสามารถแห่งสมุจเฉทปหาน ในธรรมทั้งหลายที่ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งมรรค. จริงอยู่ ท่านย่อฌานสมาบัติมีทุติยฌานเป็นต้น มหาวิปัสสนาและมรรค ไว้ด้วย หัวข้อไปยาล. เพราะญาณอันเป็นไปแล้วแก่ผู้พิจารณาญาณนั้น ชื่อว่า ปรินิพพานญาณ. ฉะนั้น จึงเป็นอันท่านกล่าวไว้ว่า วิกฺขมฺภนปรินิพฺพานํ - ปรินิพพานด้วยการข่มไว้, ตทงฺคปรินิพฺพานํ - ปรินิพพานด้วยองค์แห่งธรรมนั้น, สมุจฺเฉทปรินิพฺพานํ - ปรินิพพานด้วยตัดเด็ดขาด. ด้วยบทเหล่านี้ ท่านจึงกล่าวถึงปัจจเวกขณญาณใน การดับกิเลส.
ด้วยบทมีอาทิว่า อถวา ปน - อีกประการหนึ่ง พระสารีบุตรเถระแสดงถึงปัจจเวกขณญาณในการดับขันธ์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 898
บทว่า อนุปาทิเสสาย นิพฺพานธาตุยา - ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ได้แก่ เพราะนิพพานธาตุ มี ๒ อย่าง คือ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑. ในนิพพานธาตุ ๒ อย่างนั้น ชื่อว่า อุปาทิ เพราะอรรถว่าอันบุคคลถือมั่น คือ ยึดถืออย่างแรงกล้าว่า เรา ของเรา. บทว่าอุปาทินี้เป็นชื่อของขันธปัญจกะ.
ชื่อว่า อุปาทิเสสะ เพราะอรรถว่าอุปาทินั่นแหละยังเหลืออยู่.
ชื่อว่า สอุปาทิเสสะ เพราะอรรถว่าเป็นไปกับด้วยอุปาทิเสสะ คือขันธ์ ๕ เหลืออยู่.
ชื่อว่า อนุปาทิเสสะ เพราะอรรถว่าไม่มีอุปาทิเสสะในนิพพานธาตุนี้.
ท่านกล่าวถึงสอุปาทิเสสะก่อน ส่วนนิพพานธาตุนี้เป็นอนุปาทิเสสะ. ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุนั้น.
บทว่า จกฺขุปวตฺตํ - ความเป็นไปแห่งตา คือ ความปรากฏเกิดขึ้นทางตา.
บทว่า ปริยาทิยติ ได้แก่ ย่อมสิ้นไป คือ ถูกย่ำยี. ในบทที่เหลือมีนัยนี้.
จบ อรรถกถาปรินิพพานญาณนิทเทส