ชาตะรูปะระชะตะ
โดย สามเณรนะครับ  2 ก.พ. 2553
หัวข้อหมายเลข 15346

คำว่า รับเงินรับทอง เนี้ยะครับ มันใช่เงินแท้ๆ ๆ ๆ หรือว่าทองแท้ๆ ๆ หรอครับ

บางท่านบอกว่าก็เงินที่เราทั้งหลายใช้กันนะแหละ บางท่านก็บอกว่าทองคำบ้างเงินบริสุทธิ์บ้าง ผมก็เลยไม่รู้ว่าอะไรคือข้อที่ถูกต้องไม่มีหลักยึดนะครับ ผมจึงอยากให้ผู้ที่มีความรู้เชี่ยวชาญในด้านพระวินัย ช่วยอนุเคราะห์บอกสอนเกี่ยวกับวินัยข้อนี้หน่อยนะครับ



ความคิดเห็น 1    โดย prachern.s  วันที่ 3 ก.พ. 2553

ข้อความจากพระวินัย ท่านอธิบายไว้ คำว่า ทอง คือทองคำแท้ๆ ส่วนคำว่า เงินมีความหมายกว้าง คือ หมายรวมเอาสิ่งที่ใช้แทนเงินทั้งหมด เช่น ธนบัตร ตั๋วแลกเงิน เช็ค เป็นต้น ที่ชาวโลกสมมติกันว่าใช้แทน เงิน ชำระหนี้ตามกฏหมายได้.. ดังข้อความในพระวินัยปิฎกมหาวิภังค์ บางตอนมีว่า พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 941 ที่ชื่อว่า ทอง ตรัสหมายทองคำ ที่ชื่อว่า เงิน ได้แก่ กหาปณะ มาสกที่ทำด้วยโลหะ มาสกที่ทำด้วยไม้ มาสกที่ทำด้วยครั้ง ซึ่งใช้เป็นมาตราสำหรับแลกเปลี่ยนซื้อขายกันได้.
..คำอธิบายจากอรรถกถามีว่า คำว่า ชาตรูป เป็นชื่อแห่งทองคำ... บทว่า กหาปณะ กหาปณะที่เขาทำด้วยทองคำก็ดี ทำด้วยเงินก็ดี กหาปณะธรรมดาก็ดี ชื่อว่า กหาปณะ. มาสกที่ทำด้วยแร่ทองแดงเป็นต้น ชื่อว่า โลหมาสก. มาสกที่ทำด้วยไม้แก่นก็ดี ด้วยข้อไม้ไผ่ก็ดี โดยที่สุดแม้มาสกที่เขาทำด้วยใบตาลสลักเป็นรูป ก็ชื่อว่า มาสกไม้.มาสกที่เขาทำด้วยครั่งก็ดี ด้วยยางก็ดี ดุนให้เกิดรูปขึ้น ชื่อว่ามาสกยาง. ก็ด้วยบทว่า เย โวหารํ คจฺฉนฺติ นี้ ท่านสงเคราะห์เอามาสกทั้งหมดที่ใช้เป็นมาตราซื้อขายในชนบท ในเวลาซื้อขายกัน โดยที่สุดทำด้วยกระดูกบ้าง ทำด้วยหนังบ้าง ทำด้วยเมล็ดผลไม้บ้าง ดุนให้เป็นรูปบ้างมิได้ดุนให้เป็นรูปบ้าง. วัตถุทั้ง ๔ อย่าง คือ เงิน ทอง ทั้งหมดนี้อย่างนี้ (และ) มาสกทอง มาสกเงิน มีประเภทดังกล่าวแล้วแม้ทั้งหมด จัดเป็นวัตถุแห่งนิสสัคคีย์,..


ความคิดเห็น 2    โดย รากไม้  วันที่ 3 ก.พ. 2553

เรียนท่าน สามเณร

ถ้าสามเณร รับเงินมาเก็บไว้ แล้วไม่เกิดกิเลส อยากเอาเงินไปแลกโน่นแลกนี่ ซื้อโน่นซื้อนี่ , เกิดความยึิดติดว่าเป็นเงินของตน , เกิดความหวงเงิน หากใครจะมาแย่งหรือขโมยไป ก็จะโกรธเคือง อยากได้คืน , รวมถึง การเห็นคุณค่าของเงินมากกว่าพระธรรมวินัย แล้วมัวแต่สะสมเงินมากกว่าสะสมความรู้ในพระธรรม ....ก็รับไว้ได้ครับ

ธนบัตร เป็นเพียงกระดาษใบหนึ่ง ไม่มีค่าอะไรเลยสำหรับพระภิกษุสามเณร เก็บไว้กลับจะมีแต่ให้โทษล้วนๆ , แต่ธนบัตร มีค่าสำหรับฆราวาส เอาไว้จับจ่ายใช้สอย แลกซื้ออาหาร ของใช้ ทางโลก

หากภิกษุสามเณร รูปใด คิดว่า อัฏฐะบริขาร ที่มีอยู่นั้น "เพียงพอแล้ว" ย่อมไม่เห็นค่าของทรัพย์สินเงินทองอื่นใดเลย เพราะถึงมีเงิน ก็ไม่รู้จะเอาไปทำอะไร เพราะไม่เห็นจำเป็นต้องซื้ออะไรเพิ่มเติมอีกแล้ว

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 3    โดย คุณ  วันที่ 5 ก.พ. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ