การเปรียบเทียบทวาร 6 เสมือนสัตว์ต่างๆ เช่น ตาเปรียบเสมือนงู หูเมือนจระเข้ จมูกเสมือนนก ลิ้นเสมือนสุนัขบ้าน กายเสมือนสุนัขจิ้งจอก ใจเสมือนลิง
1. มีหลักฐานจากเอกสารใดเกี่ยวกับเรื่องนี้
2. อ่านอุปมาอุปมัยแล้วเข้าใจยากมาก
2.1 ตา งู (ป่ารก)
2.2 หู จระเข้ (น้ำ)
2.3 จมูก นก (อากาศ)
2.4 ลิ้น สุนัขบ้าน (ใต้ถุน)
2.5 ผิวกาย สุนัขจิ้งจอก (ป่าช้า)
2.6 ใจ ลิง (ป่า ต้นไม้)
ขอความกรุณาอธิบายด้วยจักเป็นพระคุณมากครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
1. มีหลักฐานจากเอกสารใดเกี่ยวกับเรื่องนี้
เชิญคลิกอ่านที่นี่ คัรบ
เปรียบ อายตนะ 6 ว่าเป็นสัตว์ 6 ชนิด [อรรถกถาฉัปปาณสูตร]
2. อ่านอุปมาอุปมัยแล้วเข้าใจยากมาก
2.1 ตา งู (ป่ารก)
งู ไม่ชอบที่ราบเรียบ แต่ ชอบที่รกรุงรัง เป็นต้น ฉันใด ตา ย่อม ไม่ชอบที่จะมองเห็น เพียง สีเรียบๆ ไม่มีลายวิจิตร แต่ ชอบที่ มีความไม่ราบเรียบ คือ มีลายวิจิตรสวยงาม ซึ่งก็เปรียบได้ กับ งู ที่ไม่ชอบอยู่ที่เรียบๆ แต่ ชอบที่อยู่ ที่ รกรุงรัง ครับ
เชิญคลิกฟังคำบรรยายท่านอาจารย์สุจินต์ที่นี่ ครับ
ตาเปรียบเหมือนงู
2.2 หู จระเข้ (น้ำ)
จระเข้ ไม่ชอบที่อาศัย อยู่บนบก ลานกว้าง แต่ชอบ ลงน้ำและ เข้าไปอยู่ในรู เมื่อเข้าในช่องรูแล้ว มันย่อมได้ความสงบ ฉันใด เปรียบกับ หู ที่ จะต้องอาศัย ช่องรูและ อากาศ จึงจะเกิดการได้ยิน ฉันนั้น ครับ
เชิญคลิกฟังคำบรรยายท่านอาจารย์สุจินต์ที่นี่ ครับ
หูเปรียบเหมือนจระเข้
2.3 จมูก นก (อากาศ)
นก ย่อมไม่ชอบเกาะอยู่กับที่ ตามต้นไม้ แต่ มันย่อมชอบที่จะได้บินในอากาศ
อาศัย อากาศทำให้มันบิน เป็นไปได้ ฉันใด จมูก ก็ต้องอาศัย อากาศ เป็นสื่อที่จะทำให้มีการได้กลิ่น ฉันนั้น
2.4 ลิ้น สุนัขบ้าน (ใต้ถุน)
ลิ้น ท่านเปรียบเหมือน ลูกสุนัข คือ ลูกสุนัข ย่อมต้องการที่อาศัยที่ปลอดภัย คือ ภายในบ้าน ฉันใด ลิ้น ก็ต้องอาศัย รสที่เกิดภายในลิ้น ที่อยู่ภายใน ฉันนั้น ครับ
2.5 ผิวกาย สุนัขจิ้งจอก (ป่าช้า)
สุนัขจิ้งจอก ย่อมไม่ยินดีในที่ภายใน แต่ ย่อมยินดี ในสถานที่ภายนอก มี ป่าช้าเป็นต้น เพราะ ความที่เป็นสัตว์ป่า ยินดีในสถานที่ภายนอกฉันใด กาย ที่เป็น กาย ปสาทรูป ก็ยินดี รูปภายนอก ที่จะมากระทบกายฉันนั้น จึงจะเกิดการรู้กระทบสัผสได้ เช่น ผู้ที่นอนย่อมยินดีหมอนอันนุ่ม แม้ไม่ได้หมอน ก็พยายามเอามือหนุน อันแสดงต้องการ การกระทบภายนอก ดั่งเช่น สุนัขจิ้งจอก ยินดีในสถานที่ภายนอก ครับ
2.6 ใจ ลิง (ป่า ต้นไม้)
ลิง ย่อมไม่ชอบอยู่กับที่ และ ไม่ชอบอยู่ตามพื้นดิน แต่ ชอบเมื่อเห็นต้นไม้ และก็กระโดดไป ตามกิ่งต่างๆ ฉันใด จิต ก็ฉันนั้น มีอารมณ์เป็นไปต่างๆ ไม่หยุดนิ่ง เหมือนลิง เที่ยวไปตามอารมณ์นั้น ครับ
ขออนุโมทนา
ขอกราบขอบพระคุณอย่างสูงต่อท่านผู้ตอบปัญหา (paderm) ครับ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 503
อรรถกถาฉัปปาณสูตร
แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนำอุปมานี้เปรียบเทียบด้วยสิ่งที่จะ
พึงเห็นสมกัน หรือด้วยสามารถแสดงให้เห็นความต่างกันแห่งอายตนะ
ทั้งหลาย. ในสองอย่างนั้น เมื่อว่าด้วยสิ่งที่เห็นสมกันก่อน กิจแห่งอัปปนา
จะไม่มีอีก แผนกหนึ่งต่างหาก ส่วนในบาลีเท่านั้น จึงจัดเป็นอัปปนา.
-ขอเรียนถาม อาจารย์คำปั่น ถึงความหมายของคำว่ากิจแห่งอัปปนา แปลว่าอย่าไรคะ
กราบอนุโมทนาค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เป็นพระธรรมเทศนาที่แสดงให้เข้าใจความเป็นจริงของธรรมที่เป็น ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่มีจริงๆ เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย เป็นอายตนะประการต่างๆ เพราะมีสภาพธรรมเหล่านี้ จึงเป็นเหตุให้มีการรู้อารมณ์ต่างๆ ตามทวารต่างๆ เพราะอาศัยตา จึงมีการเห็นเกิดขึ้นเป็นไป เพราะอาศัยหู จึงมีการได้ยินเกิดขึ้นเป็นไป เพราะมีจมูก จึงมีการได้กลิ่น เพราะมีรส จึงมีการลิ้มรส เพราะมีกาย จึงมีการถูกต้องกระทบสัมผัส และทุกขณะไม่เคยขาดจิตเลย มีจิตเกิดขึ้นเป็นไปทุกขณะ และเพราะมีการรับรู้อารมณ์ต่างๆ จึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมเกิดขึ้นเป็นไปมากมายตามการสะสมของแต่ละบุคคล ซึ่งเมื่อไม่รู้ตามความเป็นจริง การที่จะขัดเกลาละคลายอกุศลให้เบาบาง ก็ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงแสดงพระธรรมโดยนัยต่างๆ โดยละเอียดโดยประการทั้งปวง เพื่อประโยชนืคือความเข้าใจถูกเห็นถูกตามความเป็นจริง //สำหรับในข้อความจากอรรถกถาที่ยกมานั้น กิจแห่งอัปปนา หมายถึง กิจ คือ ความแนบแน่น
ตามความเป็นจริงของอายตนะแต่ละประเภท ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
เรียนความเห็นที่ 3 ครับ
พระธรรมละเอียดลึกซึ้งมาก คือ พระวินัย ลึกซึ้งโดยกิจ พระสูตร ลึกซึ้งโดยอรรถ
พระอภิธรรม ลึกซึ้งโดยสภาวะ เพราะฉะนั้น บทพระธรรมที่ยกมานั้น อยู่ในพระสูตร
ที่ลึกซึ้งโดยอรรถ คือ โดย ใจความ ที่อธิบายให้เข้าใจ ไม่ใช่เพียงแค่ พยัญชนะ
เท่านั้น ครับ เพราะ ถ้าเพียง คำแปล ความหมายเท่านั้นแล้ว ก็จะทำให้เข้าใจเนื้อ
ความ เข้าใจพระสูตรผิดได้เลย เพราะฉะนั้น การอ่านพระไตรปิฎก พระธรรมที่
พระพุทธเจ้าทรงแสดง จะต้องอ่านย้อนในพระสูตรนั้น ก้จะเข้าใจ แม้แต่คำว่า ว่า
ทรงมุ่งหมายอะไร ที่เป็น ลึกซึ้งโดย อรรถ ทีเ่ป็นการอธิบายโดยศัทพ์ให้เข้าใจเนื้อ
ความโดยรวม
ซึ่ง พระสูตรนี้ แสดงถึง การเปรียบเทียบ อายตนะ 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ
ว่า เปรียบเหมือนสัตว์ต่างๆ 6 ชนิด ซึ่ง สัตว์ต่างๆ เหล่านี้ ก็มีความชอบ แตกต่างกัน
ไป เช่น จระเข้ ก็ชอบอยู่ในรู นก ก็ชอบอยู่ในอากาศ ลิง ก็ชอบอยู่ที่ต้นไม้ เป็นต้น
อายตนะ 6 ก็เช่นกัน ตา หู ทำหน้าที่แตกต่างจาก หู หู ก็ทำหน้าที่แตกต่างจาก
จมูก เป็นต้น ที่เป็นความแตกต่างของ อายตนะ แต่ละประเภท พระพุทธเจ้า ผู้ฉลาด
ในโวหารเทศนา จึงทรงแสดง อุปมา ด้วย สัตว์ 6 ชนิด ที่ถูก ผูก ด้วยเชือก คือ
ตัณหา และ ผูกมัดปมไว้ตรงกลาง คือ อวิชชา เพราะฉะนั้น การอุปมาของพระองค์
ด้วย สัตว์ 6 ชนิด เพื่อแสดงใหเห็นความเหมือนกัน ประการหนึ่ง และ ความต่างกัน
ประการหนึ่ง
ดังนั้น ข้อความในอรรถกถาที่ว่า
แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนำอุปมานี้เปรียบเทียบด้วยสิ่งที่จะ
พึงเห็นสมกัน หรือด้วยสามารถแสดงให้เห็นความต่างกันแห่งอายตนะ
ทั้งหลาย. ในสองอย่างนั้น เมื่อว่าด้วยสิ่งที่เห็นสมกันก่อน กิจแห่งอัปปนา
จะไม่มีอีก แผนกหนึ่งต่างหาก ส่วนในบาลีเท่านั้น จึงจัดเป็นอัปปนา.
แต่เมื่อว่า โดยการแสดงให้เห็นความต่างกันแห่งอายตนะ จึงเป็นอัปปนา
ดังนี้.
@ หมายถึง พระพุทธเจ้าทรงแสดง ถึง อุปมา เปรียบเทียบ สัตว์ 6 ชนิด กับ
ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ ว่าเหมือนกัน สมกันอย่างหนึ่ง คือ ตา ย่อมเหมือนกับ
งู ดังนั้น เมือ่ว่า โดย การอุปมา ที่เหมือนกัน คือ สิ่งที่เห็นสมกันก่อน ของสัตว์นั้น
กับ อายตนะนั้น เช่น ตา กับ งู กิจแห่งอัปนา ย่อมไม่มีอีก แผนกหนึ่งต่างหาก คือ
กิจแห่งอัปนา มุ่งหมายถึง ความเหมือนกัน แนบแน่นที่เป็นสิ่งที่เดียวกัน เช่น ตา กับ
งู เป็นสิ่งที่แนบแน่น เป็นสิ่งแดียวกัน เพราะฉะนั้น เมื่อเปรียบเทียบโดยการ เป็น
สิ่งเหมือนกัน การแนบแน่นที่เหมือนกัน ย่อมไม่่มีในที่อื่น คือ ตา ก็ เหมือนกับ งู
ตา ไม่เหมือนกับ จระเข้ เป็นต้น ครับ แต่ว่าเมื่อว่า โดยความต่างกันของอายตนะ
คือ ความต่างกันของ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ จึงเป็นอัปปนา คือ เป็นการ
แสดงความเหมือนกัน ของ สภาพธรรม ที่อุปมาแต่ละอย่าง ว่าเหมือนกัน อย่างไร
คือ ตา เหมือนกับ งูอย่างไร ครับ เพราะฉะนั้น จึงไม่ใช่การไปเจริญสมาธิ อบรม
สมถภาวนา เื่มื่อได้ยินคำว่า อัปปนา กิจแห่งอัปปา ดังที่เข้าใจความหมาย เพียง
แค่ แนบแน่น แต่จะต้องเข้าใจอรรถ ของพระสูตร ว่ากำลังมุ่งหมายถึงอะไร ซึ่ง
เป็นความมุ่งหมาย ถึง การอุปมา ของสัตว์ 6 ขนิด กับ อายตนะ ที่แสดงถึง
ความแนบแน่น เหมือนกันของสภาพธรรมแต่ละอย่าง กับ สัตว์แต่ละชนิด ครับ
นี่คือ ความละเอียดของพระธรรม ในแต่ละคำ ในแต่ละพระสูตร ครับ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑- หน้าที่ 355
ชื่อว่า อัปปนา เพราะแนบแน่นในอารมณ์โดยเป็นอันเดียวกัน.
ขออนุโมทนา
กราบอนุโมทนาค่ะ
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
ขอขอบคุณท่านผู้ตอบปัญหาทุกท่าน และขออนุโมทนาทุกท่านที่เข้ามาอ่านเพิ่มพูนความเข้าใจ
สาธุค่ะ