[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 829
ทุติยปัณณาสก์
อานิสังสวรรคที่ ๕
๘. ทุติยอโนทิสสูตร
ว่าด้วยอานิสงส์ ที่ทําให้เกิดทุกขสัญญา ๖ ประการ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 829
๘. ทุติยอโนทิสสูตร
ว่าด้วยอานิสงส์ ที่ทำให้เกิดทุกขสัญญา ๖ ประการ
[๓๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ ๖ ประการ เป็นผู้สามารถเพื่อไม่กระทำเขตจำกัด ในสังขารทั้งปวง แล้วยังทุกขสัญญาให้ปรากฏ อานิสงส์ ๖ ประการเป็นไฉน? คือ ภิกษุพิจารณาเห็นอยู่ว่า นิพพานสัญญาในสังขารทั้งปวง จักปรากฏแก่เรา เหมือนเพชฌฆาตผู้เงื้อดาบขึ้นอยู่ ๑ ใจของเราจักออกจากโลกทั้งปวง ๑ เราจักเป็นผู้มีปกติ เห็นสันติในนิพพาน ๑ อนุสัยของเราจักถือการเพิกถอน ๑ เราจักเป็นผู้กระทำตามหน้าที่ ๑ และเรา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 830
จักบำรุงพระศาสดา ด้วยความบำรุงอันประกอบด้วยเมตตา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ ๖ ประการ นี้แล เป็นผู้สามารถ เพื่อไม่กระทำเขตจำกัด ในสังขารทั้งปวง แล้วยังทุกขสัญญา ให้ปรากฏ.
จบทุติยอโนทิสสูตรที่ ๘
อรรถกถาทุติยอโนทิสสูตร
พึงทราบวินิจ ในทุติยโนทิสสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เมตฺตาวตาย ความว่า ด้วยการปรนนิบัติ ประกอบด้วยเมตตา ด้วยว่า พระเสขบุคคล ๗ จำพวก ย่อมปรนนิบัติพระตถาคตเจ้า ด้วยการบำรุง ประกอบไปด้วยเมตตา. ถึงพระขีณาสพ ก็เป็นผู้ปฏิบัติพระศาสดา (เหมือนกัน).
จบอรรถกถา ทุติยอโนทิสสูตรที่ ๘