หนทางคืออย่างนี้ ไม่ใช่ไปสำนักปฏิบัติ
โดย วันชัย๒๕๐๔  27 ก.พ. 2564
หัวข้อหมายเลข 33794

ท่านอาจารย์  ฟังธรรมะจนกว่าจะมั่นคงว่าไม่มีเรา และไม่ใช่เรา นั่นคือความเจริญขึ้น ของการที่ได้ฟังธรรมะ แล้วค่อยๆ เข้าใจความจริง จนกระทั่งเพียง "ขั้นคิด" ก็มั่นคงว่าไม่มีเรา ความเข้าใจวันนี้ มากกว่าวันก่อน

อ.วิชัย  แต่นิดเดียวเองครับ

ท่านอาจารย์  นิดเดียว ก็ยังมากกว่า ใช่ไหม? แต่ละหนึ่งขณะที่เข้าใจ เพิ่มความมาก ตามกำลังของความเข้าใจ ก็ต้องไม่ลืมว่าเป็นธรรมะและเป็นอนัตตา แล้วแต่ว่า ขณะนี้มีปัจจัยที่จะทำให้สิ่งใดเกิดขึ้น เพราะขณะที่เราคิด ที่เห็นชัด ก็คือว่า เวลานี้ เราก็คิด แต่ก็มีเห็น มีได้ยิน ทางทวารทั้ง ๕ คั่นอยู่ แต่เวลาที่ไม่มี เช่น กำลังจะนอน ก็ลดทางตาลงไป เพราะหลับตาบ้างหรืออะไรอย่างนี้ แต่ก็ยังมี "ความคิด" ซึ่งขณะนั้น ถ้าไม่เคยมีการฟังเรื่อง "สัญญาเจตสิก" ไม่มีการฟังให้เข้าใจเรื่องของ "วิตักกะเจตสิก" เราก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่าเป็นอะไร ก็ยังเป็นเราอยู่

แต่เพราะได้ฟังมา ก็มีการระลึกได้ แล้วแต่ขณะนั้นจะคิดถึงว่า เพราะเป็น วิตักกะ-ตรึก นึกถึง เราใช้คำว่า "นึกถึง" ไม่ได้ใช้คำว่า "จำ" ใช้คำว่า "นึกถึง" สิ่งที่มี ที่ผ่านมาแล้ว แล้วแต่เรื่องอะไรก็ได้ "ชื่อ" ก็ได้ "เรื่อง" ก็ได้ "สีสันวรรณะ"อะไรก็ได้ ไม่คุ้นเคยกับขณะนั้น ว่าเป็นเพราะที่คิดหรือตรึก ถึงสิ่งนั้น นั่นก็แล้วแต่เหตุปัจจัยว่า จะระลึกรู้ ที่ใช้คำว่า "จินตาญาณ" แต่จริงๆ ก็คือ "จินตามยปัญญา" ที่เกิดจาการฟัง แล้วมีปัจจัยที่จะให้นึกถึงสิ่งนั้น ไม่ใช่สิ่งอื่น แต่นึกถึงคำที่ได้ฟังมา นึกถึงแต่ละคำไป แล้วรู้ว่า "ลักษณะ" นั้น คือ ลักษณะของธรรมะที่ตรึก แต่ในโอกาสอื่น ก็อาจจะรู้ได้ว่า จำนะนี่ ถ้าไม่จำ ก็ไม่มีการคิดถึงสิ่งนั้นก็แล้วแต่ว่าขณะนั้น มีสภาพธรรมะ ซึ่งมี แต่ไม่เคยปรากฏให้รู้ 

เดี๋ยวนี้ มี "วิตักกะเจตสิก" มี "วิจารเจตสิก" มี "ฉันทะเจตสิก" มีหมด แต่ไม่เคยระลึกรู้ ถ้าไม่ระลึกรู้จะปรากฏไหม? ไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้น มีแล้ว จากการฟังขั้นเข้าใจในขั้นปริยัติ ก็จะมีปัจจัยที่จะระลึกรู้ได้ว่า ขณะนั้นก็แค่ "จำ" ไม่ว่าเป็นใครที่คิดถึง ไม่ว่าเป็นเรื่องอะไร ทำอะไร อาหารอร่อยไหม? พรุ่งนี้จะทำอะไร? ทั้งหมดเป็น "สภาพที่นึก" โดยนัยหนึ่ง โดยสภาพที่จำไว้หมดเลย ถ้าไม่จำก็ไม่สามารถจะคิดอย่างนี้ได้ ถึงสิ่งนั้นสิ่งนี้ได้ ก็แล้วแต่ว่า ขณะนั้น เป็นสภาพธรรมะหนึ่งขณะที่เกิดขึ้น แล้วดับไป แล้วไม่กลับมาอีกเลย

ต้องมีความมั่นคง ที่จะเข้าใจว่า ไม่ใช่เรา แค่เกิดขึ้น แล้วก็ดับ ในสังสารวัฏฏ์ ควรจะติดข้องไหม? กว่าจะค่อยๆ ไปถึงคำว่า ควรหรือไม่ควร ก็อีกไกล เอาแค่ไม่ควรจะเห็นผิดว่าเป็นเราเสียก่อน

และที่จะเห็นถูกต้องว่าไม่ใช่เรา ก็ต่อเมื่อมีความเข้าใจในสิ่งที่ปรากฏ เป็นการรู้ว่าไม่ใช่เรา สิ่งนั้นเป็นสิ่งนั้น ถ้าไม่เข้าใจอย่างนี้ จะถึงปฏิปัตติไหม? ก็ไม่พ้นจากปัญญาตามลำดับขั้น ที่จะเข้าใจจริงๆ ว่า ปฏิปัตติ ในภาษาบาลี ไม่ใช่ "ทำ" ในภาษาไทย แต่หมายความถึงปัญญาปฏิบัติกิจ ที่สามารถที่จะ "ถึงลักษณะ" ที่กำลังเป็นอย่างนั้น พร้อมด้วยสติ

นี่เป็นหนทางที่ยาวนาน และเป็นหนทางตรง หนทางเดียว ไม่ใช่หนทางอื่น ไม่ใช่ไปทำวิธีอื่น..."

บันทึกความสนทนาบางตอน จากคลิปใน ยูทูปช่อง "เสียงพระธรรม บ้านธัมมะ" ตอน : ก้าวแรกเริ่มที่อนัตตา(อ.สุจินต์)(รวมสาระ 13 ก.พ. 20 ก.พ.64) โปรดคลิกชมที่ลิงค์ด้านล่าง



ความคิดเห็น 1    โดย chatchai.k  วันที่ 27 ก.พ. 2564

ขออนุโมทนาครับ 


ความคิดเห็น 2    โดย เมตตา  วันที่ 28 มี.ค. 2565

    กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง และยินดีในความดีของทุกๆ ท่านค่ะ