วรรคที่ ๗ กถาวัตถุ ทุติยปัณณาสก์
โดย บ้านธัมมะ  17 ก.พ. 2565
หัวข้อหมายเลข 42094

[เล่มที่ 81] พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒

พระอภิธรรมปิฏก เล่มที่ ๔

กถาวัตถุ ภาคที่ ๒

ทุติยปัณณาสก์

วรรคที่ ๗

สังคหิตกถาและอรรถกถา 1127/42

สัมปยุตตกถาและอรรถกถา 1134/46

เจตสิกกถาและอรรถกถา 1136/49

ทานกถาและอรรถกถา 1139/52

ปริโภคมยปุญญกถาและอรรถกถา 1145/60

อิโตทินนกถาและอรรถกถา 1153/69

ปฐวีกัมมวิปาโกติกถาและอรรถกถา 1158/74

ชรามรณวิปาโกติกถาและอรรถกถา 1169/82

อริยธัมมวิปากกถาและอรรถกถา 1179/88

วิปาโกวิปากธัมมธัมโมติกถาและอรรถกถา 1187/94


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 81]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 42

วรรคที่ ๗

สังคหิตกถา

[๑๑๒๗] สกวาที ธรรมบางเหล่าที่ท่านสงเคราะห์เข้าไว้ด้วยธรรม บางเหล่า ไม่มีหรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ธรรมบางเหล่า ที่นับเข้าได้ จัดเข้าหัวข้อได้ นับเนื่อง แล้ว ด้วยธรรมบางเหล่า มีอยู่ มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ธรรมบางเหล่า ที่นับเข้าได้ จัดเข้าหัวข้อได้ นับเนื่องแล้ว ด้วยธรรมบางเหล่า มีอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ธรรมบางเหล่า ที่ท่านสงเคราะห์เข้าไว้ด้วยธรรมบางเหล่าไม่มี.

[๑๑๒๘] ส. จักขายตนะนับเข้าได้ในขันธ์ไหน?

ป. นับเข้าได้ในรูปขันธ์.

ส. หากว่า จักขายตนะนับเข้าได้ในรูปขันธ์ ด้วยเหตุนั้น นะท่าน จึงต้องกล่าวว่า จักขายตนะท่านสงเคราะห์เข้าไว้ด้วยรูปขันธ์.

ป. โสตายตนะ ฯลฯ ฆานายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ ฯลฯ กายายตนะ นับเข้าได้ในขันธ์ไหน?

ส. นับเข้าได้ในรูปขันธ์.

ป. หากว่า กายายตนะนับเข้าได้ในรูปขันธ์ ด้วยเหตุนั้น นะท่าน จึงต้องกล่าวว่า กายายตนะท่านสงเคราะห์เข้าไว้ด้วยรูปขันธ์.

[๑๑๒๙] ส. รูปายตนะ ฯลฯ สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ นับเข้าได้ในขันธ์ไหน?


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 43

ป. นับเข้าได้ในรูปขันธ์.

ส. หากว่า โผฏฐัพพายตนะนับเข้าได้ในรูปขันธ์ ด้วย เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า โผฏฐัพพายตนะ ท่านสงเคราะห์เข้าไว้ด้วย รูปขันธ์.

[๑๑๓๐] ส. สุขเวทนานับเข้าได้ในขันธ์ไหน?

ป. นับเข้าได้ในเวทนาขันธ์.

ส. หากว่า สุขเวทนานับเข้าได้ในเวทนาขันธ์ ด้วยเหตุนั้น นะ ท่านจึงต้องกล่าวว่า สุขเวทนาท่านสงเคราะห์เข้าไว้ด้วยเวทนาขันธ์.

ป. ทุกขเวทนา ฯลฯ อทุกขมสุขเวทนา นับเข้าได้ในขันธ์ ไหน?

ส. นับเข้าได้ในเวทนาขันธ์.

ป. หากว่า อทุกขมสุขเวทนานับเข้าได้ในเวทนาขันธ์ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า อทุกขมสุขเวทนาท่านสงเคราะห์เข้าไว้ ด้วยเวทนาขันธ์.

[๑๑๓๑] ส. สัญญาอันเกิดแต่จักขุสัมผัส นับเข้าได้ในขันธ์ไหน?

ป. นับเข้าได้ในสัญญาขันธ์.

ส. หากว่า สัญญาอันเกิดแต่จักขุสัมผัส นับเข้าได้ใน สัญญาขันธ์ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า สัญญาอันเกิดแต่จักขุสัมผัส ท่านสงเคราะห์เข้าไว้ด้วยสัญญาขันธ์.

ป. สัญญาอันเกิดแต่โสตสัมผัส ฯลฯ สัญญาอันเกิดแต่ มโนสัมผัส นับเข้าได้ในขันธ์ไหน?

ส. นับเข้าได้ในสัญญาขันธ์.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 44

ป. หากว่า สัญญาอันเกิดแต่มโนสัมผัส นับเข้าได้ใน สัญญาขันธ์ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า สัญญาอันเกิดแต่มโนสัมผัส ท่านสงเคราะห์เข้าไว้ด้วยสัญญาขันธ์.

[๑๑๓๒] ส. เจตนาอันเกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เจตนาอันเกิดแต่ มโนสัมผัส นับเข้าได้ในขันธ์ไหน?

ป. นับเข้าได้ในสังขารขันธ์.

ส. หากว่า เจตนาอันเกิดแต่มโนสัมผัส นับเข้าได้ใน สังขารขันธ์ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เจตนาอันเกิดแต่มโนสัมผัส ท่านสงเคราะห์เข้าไว้ด้วยสังขารขันธ์.

[๑๑๓๓] ส. จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ นับเข้าได้ในขันธ์ไหน?

ป. นับเข้าได้ในวิญญาณขันธ์.

ส. หากว่า มโนวิญญาณนับเข้าได้ในวิญญาณขันธ์ ด้วย เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า มโนวิญญาณท่านสงเคราะห์เข้าไว้ด้วย วิญญาณขันธ์.

ป. ธรรมเหล่านั้น ท่านสงเคราะห์เข้าด้วยธรรมเหล่านั้น ก็เหมือนอย่างโคพลิพัทท์คู่ ๑ ที่เขาสงเคราะห์ คือล่าม ไว้ด้วยทามหรือ เชือก บิณฑบาตที่เขาสงเคราะห์ คือแขวน ไว้ด้วยสาแหรก สุนัขที่เขา สงเคราะห์ คือผูก ไว้ด้วยเชือกผูกสุนัข.

ส. หากว่า โคพลิพัทท์คู่หนึ่ง เขาสงเคราะห์ คือล่าม ไว้ ด้วยทามหรือเชือก บิณฑบาตสงเคราะห์ คือแขวน ไว้ได้ด้วยสาแหรก สุนัขเขาสงเคราะห์ คือผูก ไว้ด้วยเชือกผูกสุนัข ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้อง กล่าวว่า ธรรมบางเหล่า ที่ท่านสงเคราะห์ไว้ด้วยธรรมบางเหล่า มีอยู่.

สังคหิตกถา จบ


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 45

อรรถกถาสังคหิตกถา

ว่าด้วย ธรรมที่สงเคราะห์กันได้

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องธรรมที่สงเคราะห์กันได้. ในปัญหานั้น ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายราชคิริกะ และสิทธัตถิกะทั้งหลายว่า ธรรมบางเหล่าชื่อว่า สงเคราะห์กันได้กับธรรมบางเหล่า ดุจโคคู่หนึ่ง มีโคพลิพัทเป็นต้น ที่เขาผูกไว้ด้วยเชือกเป็นต้น ย่อมไม่มี เหตุใด เพราะ เหตุนั้น ธรรมทั้งหลายบางอย่างที่สงเคราะห์กับธรรมทั้งหลายบางอย่าง จึงไม่มี ครั้นเมื่อความเป็นเช่นนี้มีอยู่คำเป็นต้นว่า การสงเคราะห์รูปโดย ความเป็นอันเดียวกันได้ ก็ไม่มีประโยชน์ ดังนี้ คำถามของสกวาที หมาย ถึงชนเหล่านั้น เพื่อจะแสดงความที่ธรรมสงเคราะห์กันได้ด้วยอรรถ อย่างหนึ่ง คำตอบรับรองเป็นของปรวาทีด้วยสามารถแห่งลัทธิของตน. บัดนี้การสงเคราะห์ธรรม อันบัณฑิตย่อมหาได้ด้วยอรรถอันใด เพื่อแสดง อรรถอันนั้น พระสกวาทีจึงเริ่มคำว่า ธรรมบางเหล่าที่ท่านสงเคราะห์ เข้าไว้ด้วยธรรมบางเหล่าไม่มีหรือ. คำทั้งหมดนั้นมีอรรถง่ายทั้งนั้น เหมือนอย่างโคพลิพัทคู่ ๑ ที่เขาล่ามไว้ด้วยทามหรือเชือก นี้เพื่อตั้ง ลัทธิของตน บัณฑิตพึงทราบว่า ลัทธิของปรวาทีนั้นถูกสกวาทีผู้ไม่ยินดี คำอุปมานั้น ไม่คัดค้านคำอุปมานั้นทำลายเสียแล้ว ด้วยคำว่า หากว่าโค พลิพัทคู่ ๑ เขาล่ามไว้ด้วยทามหรือเชือก ... ด้วยเหตุนั้นนะ ท่านจึงต้อง กล่าวว่าธรรมบางเหล่าที่ท่านสงเคราะห์ไว้ด้วยธรรมบางเหล่ามีอยู่ ดังนี้. ในข้อนี้ พึงทราบเนื้อความว่า ถ้าว่า ชื่อว่าโคพลิพัทเป็นต้นที่เขาสงเคราะห์ กัน คือผูกไว้คู่หนึ่งสำหรับเทียมแอก ด้วยเชือกเป็นต้น ตามลัทธิของท่าน ไม่มีไซร้ ธรรมทั้งหลายบางอย่างที่สงเคราะห์กันได้ก็ไม่มี ดังนี้.

อรรถกถาสังคหิตกถา จบ


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 46

สัมปยุตตกถา

[๑๑๓๔] สกวาที ธรรมบางเหล่า ที่สัมปยุตด้วยธรรมบางเหล่า ไม่มีหรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ธรรมบางเหล่า ที่สหรคต เกิดร่วม ระคน เกิดกับดับ พร้อม มีวัตถุอันเดียวกัน มีอารมณ์อันเดียวกันกับด้วยธรรมบางเหล่า มีอยู่ มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ธรรมบางเหล่า ที่สหรคต เกิดร่วม ระคน เกิดกับดับพร้อม มีวัตถุอันเดียวกัน มีอารมณ์อันเดียวกันกับด้วยธรรม บางเหล่า มีอยู่ก็ต้องไม่กล่าวว่า ธรรมบางเหล่า ที่สัมปยุตด้วยธรรมบางเหล่า ไม่มี.

[๑๑๓๕] ส. เวทนาขันธ์เกิดร่วมกับสัญญาขันธ์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า เวทนาขันธ์ เกิดร่วมกับสัญญาขันธ์ ด้วยเหตุ นั้นนะ ท่านจึงต้องกล่าวว่า เวทนาขันธ์สัมปยุตด้วยสัญญาขันธ์.

ส. เวทนาขันธ์ เกิดร่วมกับสังขารขันธ์ กับวิญญาณขันธ์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า เวทนาขันธ์ เกิดร่วมกับวิญญาณขันธ์ ด้วย เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เวทนาขันธ์ สัมปยุตด้วยวิญญาณขันธ์.

ส. สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เกิดร่วมกับ


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 47

เวทนาขันธ์ กับสัญญาขันธ์ กับสังขารขันธ์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า วิญญาณขันธ์ เกิดร่วมกับสังขารขันธ์ ด้วย เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า วิญญาณขันธ์ สัมปยุตด้วยสังขารขันธ์.

ป. น้ำมัน ซับอยู่ ซึมอยู่ ในงา รส ซับอยู่ ซึมอยู่ ในอ้อย ฉันใด ธรรมเหล่านั้น ก็แทรกอยู่ ซึมอยู่ กับธรรมเหล่านั้น ฉันนั้น หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

สัมปยุตตกถา จบ

อรรถกถาสัมปยุตตกถา

ว่าด้วย สัมปยุตธรรม

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องสัมปยุตตธรรม คือประกอบทั่วพร้อมโดยอาการ ๔ มี เอกุปปาทตา เป็นต้น. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิ ของนิกายราชคิริกะ และสิทธัตถิกะทั้งหลายว่า ธรรมทั้งหลายมีเวทนา เป็นต้น ไม่เข้าไปตามแล้ว คือไม่เกิดร่วม ในสัญญาเป็นต้น เหมือนน้ำมัน ซับอยู่ซึมอยู่ในงา เพราะธรรมไรๆ ไม่สัมปยุตกับธรรมไรๆ ครั้นเมื่อ ความเป็นเช่นนี้มีอยู่ คำว่า สัมปยุตแล้วด้วยญาณเป็นต้นนี้ก็หาประโยชน์ มิได้ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น เพื่อแสดงสัมปยุตตธรรม ด้วยอรรถอัน ๑ ที่สัมปยุตกันได้นั่นแหละ คำตอบรับรองเป็นของปรวาที ด้วยสามารถแห่งลัทธิของตน. คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถง่ายทั้งนั้น เพราะมี นัยเหมือนกับที่กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแหละ.


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 48

อนึ่ง อุปมาปัญหาใดว่า น้ำมันซับอยู่ซึมอยู่ในงา เป็นต้น ที่ปรวาที นำมาแล้ว อุปมาปัญหานั้นไม่มีความกำหนดความต่างกันจากลักษณะ ของงาและน้ำมัน เหมือนเวทนาและสัญญา จริงอยู่ คำว่า งาจะเป็นเมล็ดงา หรือเปลือกงาแม้ทั้งปวง สักว่าเป็นโวหาร ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ บุคคล ทั้งหลายทำให้งาเกิดแล้ว ก็ถือเอาด้วยโวหารนั้นนั่นแหละ. ชื่อว่า งา ย่อม ไม่ปรากฏโดยสัณฐานตั้งแต่ต้น เหตุใด เพราะเหตุนั้น อุปมาปัญหานี้ก็ เช่นกับไม่นำมานั่นแหละ ดังนี้แล.

อรรถกถาสัมปยุตตกถา จบ


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 49

เจตสิกกถา

[๑๑๓๖] สกวาที เจตสิกธรรมไม่มีหรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ธรรมบางเหล่า ที่สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดกับดับพร้อม มีวัตถุเดียวกัน มีอารมณ์อันเดียวกันด้วยจิตมีอยู่ มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ธรรมบางเหล่า ที่สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดกับดับพร้อม มีวัตถุอันเดียวกัน มีอารมณ์อันเดียวกันด้วยจิต มีอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า เจตสิกธรรมไม่มี.

[๑๑๓๗] ส. ผัสสะเกิดร่วมกับจิตหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ผัสสะเกิดร่วมกับจิต ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึง ต้องกล่าวว่า ผัสสะเป็นเจตสิก.

ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา เจตนา ฯลฯ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เกิดร่วมกับจิต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อโนตตัปปะเกิดร่วมกับจิต ด้วยเหตุนั้นนะ ท่านจึงต้องกล่าวว่า อโนตตัปปะ เป็นเจตสิก.

ป. เพราะทำวิเคราะห์ว่า เกิดร่วมกับจิต จึงชื่อว่าเจตสิก หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. เพราะทำวิเคราะห์ว่า เกิดร่วมกับผัสสะ ก็ชื่อว่า


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 50

ผัสสสิกหรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. เพราะทำวิเคราะห์ว่า เกิดร่วมกับจิต จึงชื่อว่าเจตสิก หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. เพราะทำวิเคราะห์ว่า เกิดร่วมกับเวทนา ฯลฯ กับ สัญญา ฯลฯ กับเจตนา ฯลฯ กับสัทธา กับวิริยะ กับสติ กับสมาธิ กับ ปัญญา กับราคะ กับโทสะ กับโมหะ ฯลฯ กับอโนตตัปปะ ก็ชื่อว่า อโนตตัปปสิก หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ส. เจตสิกธรรมไม่มีหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า จิตนี้และบรรดา เขตสิก ธรรมย่อมปรากฏแก่ผู้ทราบชัดโดยความเป็นอนัตตา ครั้นทราบ ชัดธรรมทั้ง ๒ นั้น ทั้งที่หยาบและประณีตแล้ว ก็เป็นผู้มีความเห็นโดย ชอบ ทราบชัดว่ามีอันแตกดับเป็นธรรมดา ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น เจตสิกธรรมก็มีอยู่น่ะสิ.

[๑๑๓๘] ส. เจตสิกธรรมไม่มีหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนเกวัฏฏะ ภิกษุ


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 51

ในธรรมวินัยนี้ ย่อมทายได้แม้ซึ่งจิต แม้ซึ่งการที่ตรึก แม้ ซึ่งการที่ตรอง ของสัตว์อื่นๆ ของบุคคลอื่นๆ ว่าใจของเป็นอย่างนี้ บ้าง ใจของท่านเป็นโดยประการนี้บ้าง จิตของท่านเป็นฉะนี้บ้าง ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น เจตสิกธรรมก็มีอยู่ น่ะสิ.

เจตสิกกถา จบ

อรรถกถาเจตสิกกถา

ว่าด้วย เจตสิก

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องเจตสิก คือสภาวธรรมที่ประกอบจิต. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายราชคิริกะ และสิทธัตถิกะ ทั้งหลายว่า ธรรมทั้งหลายชื่อว่า ผัสสิกะ คือธรรมที่ประกอบกับผัสสเจตสิก เป็นต้นไม่มี เหตุใด เพราะเหตุนั้น แม้เจตสิกก็ไม่พึงมี เจตสิกธรรมก็ไม่มี ดังนี้คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำว่า ผัสสะเกิดร่วมกับจิต ที่สกวาทีกล่าวแล้ว หมายเอาการเกิดพร้อม กันของสัมปยุตตธรรม. คำถามว่า ชื่อว่าผัสสิก ย่อมมีแก่สกวาทีผู้ไม่เห็น อยู่ซึ่งโวหารเช่นนั้น. เมื่อปรวาทีกล่าวคำว่า ชื่อว่า เจตสิก เพราะอรรถว่า อาศัยจิตโดยโวหารมีอยู่ ฉันใด เจตสิก แม้นั้นชื่อว่า ผัสสิก เพราะอรรถ ว่า อาศัยผัสสะฉันนั้นหรือ คำตอบรับรองเป็นของสกวาทีเพราะคำนั้น ไม่ผิด. คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.

อรรถกถาเจตสิกกถา จบ


๑. ที. สี. ๙/๓๔๐.


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 52

ทานกถา

[๑๑๓๙] สกวาที ทาน คือ เจตสิกธรรม หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. จะให้เจตสิกธรรมแก่คนอื่นๆ ก็ได้หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. จะให้เจตสิกธรรมแก่คนอื่นๆ ก็ได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จะให้ผัสสะแก่คนอื่นๆ ก็ได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. จะให้เวทนา ฯลฯ สัญญา เจตนา สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา แก่คนอื่นๆ ก็ได้หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๔๐] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ทาน คือเจตสิกธรรม หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ทาน มีผลไม่น่าปรารถนา มีผลไม่น่าใคร่ มีผลไม่ เป็นที่ฟูใจ มีผลแสลง มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ทานมีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผลเป็นที่ฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า ทาน มีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผล


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 53

เป็นที่ฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ด้วยเหตุนั้นนะ ท่านจึงต้องกล่าวว่า ทาน คือ เจตสิกธรรม.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ทานมีผลน่าปรารถนา และ ทานก็คือจีวร หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จีวร มีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผลเป็นที่ฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ทานมีผลน่าปรารถนา และ ทานก็คือ บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร มีผลน่าปรารถนา มีผล น่าใคร่ มีผลเป็นที่ฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๔๑] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ทาน คือ เจตสิกธรรม หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ธรรมเหล่านี้ คือ ศรัทธา หิริ และทานที่เป็นกุศล ไปตามสัตบุรุษ ธรรม ๓ ประการนี้แล สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวว่า เป็นทางไปสู่เทวโลก เพราะบุคคลไปสู่เทวโลก ได้ด้วยธรรม ๓ ประการนี้ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?


๑. องฺ. อฏฺก ๒๓/๑๒๒.


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 54

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น ทาน ก็คือ เจตสิกธรรม น่ะสิ.

[๑๑๔๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ทาน คือ เจตสิกธรรม หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทาน ๕ ประการนี้ เป็นทานใหญ่ ปรากฏว่าเลิศ ปรากฏโดยราตรี ปรากฏ ว่าเป็นวงศ์ เป็นธรรมเก่าแก่ อันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายมิได้ลบล้าง ไม่เคยลบล้าง ไม่รังเกียจอยู่ จักไม่รังเกียจ ไม่คัดค้านแล้ว ทาน ๕ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละปาณาติบาต เป็นผู้เว้น ขาดแล้วจากปาณาติบาต อริยสาวกผู้เว้นขาดแล้วจากปาณาติบาต ชื่อว่า ให้อภัย ให้ความเป็นผู้ไม่มีเวร ให้ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณ มิได้ ครั้นให้อภัย ให้ความเป็นผู้ไม่มีเวร ให้ความไม่เบียดเบียน แก่สัตว์ หาประมาณมิได้แล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนหาประมาณมิได้นี้เป็นทานข้อแรก ซึ่งเป็นทานใหญ่ ปรากฏว่าเลิศ ปรากฏโดยราตรี ปรากฏว่าเป็นวงศ์ เป็นธรรมเก่าแก่ อัน สมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายมิได้ลบล้าง ไม่เคยลบล้าง ไม่รังเกียจอยู่ จัก ไม่รังเกียจ ไม่คัดค้านแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก อริยสาวก ละอทินนาทาน ฯลฯ ละกาเมสุมิจฉาจาร ฯลฯ ละมุสาวาท ฯลฯ ละฐานะ อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทคือดื่มสุราเมรัย เป็นผู้เว้นขาดแล้วจาก อริยสาวกผู้เว้นขาดแล้วจากฐานะอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท คือ ดื่มน้ำเมากล่าวคือสุราเมรัย ชื่อว่า ให้อภัย ให้ความไม่มีเวร ให้ความไม่


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 55

เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้ ครั้นให้อภัย ให้ความไม่มีเวณ ให้ ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้แล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่ง ความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนหาประมาณมิได้ นี้เป็น ทานข้อคำรบ ๕ ซึ่งเป็นทานใหญ่ ปรากฏว่าเลิศ ปรากฏโดยราตรี ปรากฏ ว่าเป็นวงศ์ เป็นธรรมเก่าแก่ อันสมณพราหมณ์และผู้รู้ทั้งหลาย มิได้ ลบล้าง ไม่รังเกียจอยู่ จักไม่รังเกียจ ไม่คัดค้านแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทาน ๕ ประการนี้แล เป็นทานใหญ่ ปรากฏว่าเลิศ ปรากฏโดยราตรี ปรากฏ ว่าเป็นวงศ์ เป็นธรรมเก่าแก่ อันสมณพราหมณ์ทั้งหลาย มิได้ลบล้าง ไม่ เคยลบล้าง ไม่รังเกียจอยู่ จักไม่รังเกียจ ไม่คัดค้านแล้ว ดังนี้๑ เป็นสูตร มีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น ทาน ก็คือ เจตสิกธรรม น่ะสิ.

[๑๑๔๓] ส. ไม่พึงกล่าวว่า ทาน คือ ไทยธรรม หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลบางคนใน โลกนี้ ย่อมให้ข้าว ให้น้ำ ให้ผ้า ให้ยาน ให้ดอกไม้ ให้ของหอม ให้เครื่อง ลูบไล้ ให้ที่นอน ให้ที่พัก ให้เครื่องประทีป ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ทาน คือ ไทยธรรม น่ะสิ.


๑. องฺ. อฏฺก ๒๓/๑๒๙.


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 56

[๑๑๔๔] ป. ทาน คือ ไทยธรรม หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ไทยธรรม มีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผลเป็น ที่ฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ทานมีผลน่าปรารถนา และ ทาน ก็คือ จีวร หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. จีวร มีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผลเป็นที่ฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ทานมีผลน่าปรารถนา และ ทานก็คือ บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร มีผลน่าปรารถนา มีผล น่าใคร่ มีผลเป็นที่ฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ทาน คือ ไทยธรรม

ทานกถา จบ


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 57

อรรถกถาทานกถา

ว่าด้วย ทาน

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องทาน. ในเรื่องนั้น ชื่อว่าทานมี ๓ อย่าง คือ จาคเจตนา วิรติ ไทยธรรม. ทานชื่อว่า จาคเจตนา มีที่มาในคำว่า ศรัทธา หิริ และทานที่เป็นกุศล. ทานชื่อว่า วิรติ มีที่มาในคำว่า พระอริยสาวก ผู้เว้นขาดจากปาณาติบาตแล้ว ย่อมให้อภัยแก่สัตว์ทั้งหลายหาประมาณ มิได้ วิรติทาน คือ วิรตีเจตสิก ๓ อันเป็นเหตุงดเว้นจากอกุศลทุจริตนั้น ในอัฏฐกนิบาตอังคุตตรนิกายเรียกทานนี้ว่า มหาทานที่ ๑. ทานชื่อว่า ไทยธรรม คือวัตถุอันบุคคลพึงให้ มีที่มาในคำว่า บุคคลย่อมให้ทาน คือ ข้าวน้ำ เป็นต้น. พึงทราบวินิจฉัยในทานเหล่านี้ต่อไป บุคคลย่อมให้วัตถุ อันควรให้เพราะจาคเจตนา ฉะนั้นจาคเจตนาจึงชื่อว่า ทาน อีกอย่างหนึ่ง ชนทั้งหลายย่อมให้วัตถุที่พึงให้ด้วยจาคเจตนานี้ เพราะเหตุนั้น จาคเจตนานี้ จึงชื่อว่าทาน. วิรติ ชื่อว่าทาน เพราะอรรถว่าการตัดหรือเพราะอรรถ ว่าการทำลาย ซึ่งอกุศลจิต จริงอยู่วิรติทานนั้น เมื่อเกิดขึ้นย่อมตัดหรือ ทำลายเจตนาอันเป็นเหตุทุศีลที่บัณฑิตนับพร้อมแล้วว่าเป็นผู้มีความกลัวภัย เป็นต้น. ไทยธรรมอันใด อันเขาย่อมให้เพราะเหตุนั้น ไทยธรรมนั้น จึง ชื่อว่า ทาน ได้แก่ไทยธรรม คือวัตถุอันบุคคลพึงให้ ทานแม้ทั้ง ๓ อย่างมี ประการยังกล่าวมานี้ เมื่อว่าโดยอรรถก็มีอยู่เพียง ๒ อย่าง คือ เจตสิกธรรม และไทยธรรม.

ในปัญหานั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายราชคิริกะ และสิทธัตถิกะทั้งหลายว่า เจตสิกธรรมเท่านั้นเป็นทานไทยธรรม คือ


ความคิดเห็น 17    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 58

วัตถุอันบุคคลพึงให้ ไม่ใช่ทาน ดังนี้ คำถามสกวาทีว่า ทานคือเจตสิก เป็นต้น หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น คำถามของสกวาทีว่า จะให้เจตสิกธรรมแก่คนอื่นๆ ก็ได้หรือ ดังนี้ เพื่อท้วงปรวาทีนั้นด้วยสามารถแห่งไทยธรรม คำตอบปฏิเสธเป็นของ ปรวาที เพราะบุคคลนั้นไม่อาจเพื่อให้เจตสิกธรรม เหมือนการให้ข้าวน้ำ เป็นต้นได้. เมื่อสกวาทีถามปัญหานั้นซ้ำอีก ปรวาทีนั้นนั่นแหละก็ตอบ รับรองด้วยสามารถแห่งพระสูตรว่า พระอริยสาวกผู้เว้นขาดจากปาณา ติบาตแล้ว ย่อมให้อภัยแก่สัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้. แต่ในปัญหา ทั้งหลาย มีปัญหาว่าด้วย ผัสสะ เป็นต้น ปรวาทีเมื่อไม่เห็นโวหารว่า บุคคลจะให้ผัสสะได้ เป็นต้น จึงตอบปฏิเสธ.

คำว่า ทานมีผลไม่น่าปรารถนา เป็นต้น ท่านกล่าวแล้ว เพื่อ แสดงซึ่งความที่ธรรมอันมิใช่เจตสิกเป็นทานมีอยู่. จริงอยู่ อเจตสิกทาน คือ การให้ข้าวน้ำเป็นต้น ย่อมไม่ให้วิบากอันน่าปรารถนาต่อไป แต่คำนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ท่านกล่าวแล้ว เพื่อนิยามในความเป็นอิฏฐผล ได้แก่ นิยาม คือมรรค.

ก็ในคำแม้นี้ อธิบายว่า ผิว่า อเจตสิกทาน คือ การให้ข้าวเป็นต้น พึงเป็นทานไซร้ ก็เมื่อบุคคลให้เภสัชอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าชอบใจ ด้วยจิตเกื้อกูลอนุเคราะห์ ผลอันไม่น่าปรารถนานั้นนั่นแหละพึงเกิดขึ้น ดุจไม้สะเดาเป็นต้นยังผลสะเดาเป็นต้นให้เกิดขึ้นอยู่ แต่ในที่นี้ การให้ด้วย เจตนาอันเป็นเหตุบริจาคย่อมให้ซึ่งผลอันเป็นประโยชน์เกื้อกูลเหตุใด เพราะเหตุนั้น ครั้นเมื่อไทยธรรม คือวัตถุอันบุคคลพึงให้ แม้ไม่น่าปรารถนา ก็ย่อมชื่อว่าเป็นทานมีผลอันน่าชอบใจทั้งสิ้น ดังนี้. เมื่อปรวาทีตั้งเจตสิกธรรม


ความคิดเห็น 18    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 59

เป็นทานอย่างนี้แล้ว สกวาทีจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ทานมีผลน่าปรารถนา ดังนี้ เพื่อจะยังไทยธรรมโดยปริยายนี้ ให้สำเร็จความเป็นทาน. แต่ปรวาที เมื่อไม่เห็นความที่จีวรทานเป็นต้น มีผลอันน่าปรารถนา จึงปฏิเสธ. การชำระพระสูตรย่อมถูกต้องทั้งใน วาทะของปรวาทีและทั้งในวาทะของสกวาที แต่ย่อมไม่ถูกโดยเนื้อความ อย่างเดียวกัน.

คำว่า ไทยธรรมมีผลน่าปรารถนา นี้ สกวาทีตอบปฏิเสธสักว่า ความเป็นอิฏฐผลเท่านั้น เพราะฉะนั้นในคำว่า ถ้าอย่างนั้นก็ไม่พึงกล่าว ว่าทานคือไทยธรรม นี้ ย่อมไม่ถูก เพราะความที่ไทยธรรมนั้น บุคคล พึงกล่าวว่าเป็นอิฏฐผลทีเดียว. อนึ่ง ไทยธรรมชื่อว่า ทานนั่นแหละ เพราะ อรรถว่าอันบุคคลพึงให้. สำหรับเรื่องทานนี้ ท่านกล่าวไว้เพื่อจะปลดเปลื้อง ความปะปนกันแห่งทานทั้ง ๒ เท่านั้น ดังนี้ แล.

อรรถกถาทานกถา จบ


ความคิดเห็น 19    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 60

ปริโภคมยปุญญกถา

[๑๑๔๕] สกวาที บุญสำเร็จแต่การบริโภคเจริญได้ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ผัสสะสำเร็จแต่การบริโภคเจริญได้หรือ เวทนา สัญญา เจตนา จิต สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา สำเร็จ แต่การบริโภคเจริญได้หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๔๖] ส. บุญสำเร็จแต่การบริโภคเจริญได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เจริญได้ดุจเครือเถา ดุจเครือเถาย่างทราย ดุจต้นไม้ ดุจหญ้า ดุจแพแห่งหญ้าปล้อง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๔๗] ส. บุญสำเร็จแต่การบริโภคเจริญได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทายกให้ทานแล้วไม่สนใจก็เป็นบุญได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นได้แก่ผู้ไม่นึก เป็นได้แก่ผู้ไม่กังวล เป็นได้แก่ผู้ไม่ สนใจ เป็นได้แก่ผู้ไม่กระทำไว้ในใจ เป็นได้แก่ผู้ไม่จงใจ เป็นได้แก่ผู้ไม่ ปรารถนา เป็นได้แก่ผู้ไม่ตั้งใจ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุญเป็นได้แก่ผู้นึกถึง เป็นได้แก่ผู้กังวล เป็นได้แก่ ผู้สนใจ เป็นได้แก่ผู้ทำไว้ในใจ เป็นได้แก่ผู้จงใจ เป็นได้แก่ผู้ปรารถนา


ความคิดเห็น 20    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 61

เป็นได้แก่ผู้ตั้งใจ มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า บุญเป็นได้แก่ผู้นึกถึง เป็นได้แก่ผู้กังวล เป็น ได้แก่ผู้สนใจ เป็นได้แก่ผู้ทำไว้ในใจ เป็นได้แก่ผู้จงใจ เป็นได้แก่ผู้ปรารถนา เป็นได้แก่ผู้ตั้งใจ ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุญสำเร็จแต่การบริโภคเจริญได้

[๑๑๔๘] ส. บุญสำเร็จแต่การบริโภคเจริญได้หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทายกถวายทาน ตรึกกามวิตกอยู่ ตรึกพยาบาทวิตก อยู่ ตรึกวิหิงสาวิตกอยู่ ก็เป็นบุญได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นการประชุมแห่งผัสสะ ๒ ฯลฯ แห่งจิต ๒ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นการประชุมแห่งผัสสะ ๒ ฯลฯ แห่งจิต ๒ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่เป็นฝ่ายดำและฝ่ายขาว มารวมกันได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่เป็นฝ่ายดำและฝ่ายขาว มารวมกันได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๔ ประการนี้ไกลกัน ไกลกันนัก ๔ ประการเป็นไฉน ฟ้าและแผ่นดินนี้


ความคิดเห็น 21    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 62

ประการแรก ซึ่งไกลกัน ไกลกันนัก ฝั่งข้างนี้และฝั่งข้างโน้นแห่งสมุทร นี้ประการที่ ๒ ซึ่งไกลกัน ไกลกันนัก แดนอาทิตย์อุทัย และด้าวอัสดงคต นี้ประการที่ ๓ ซึ่งไกลกัน ไกลกันนัก ธรรมของสัตบุรุษและธรรมของ อสัตบุรุษ นี้ประการที่ ๔ ซึ่งไกลกัน ไกลกันนัก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๔ ประการนี้แล ไกลกัน ไกลกันนัก.

ท้องฟ้ากับแผ่นดิน ไกลกัน ฝั่งสมุทรเขาก็ว่าไกลกัน แดนอาทิตย์ อุทัย และด้าวอัสดงคต ก็ไกลกัน ธรรมของสัตบุรุษ กับธรรมของอสัตบุรุษ กล่าวได้ว่า ไกลกันกว่านั้นอีก.

สมาคมของพวกสัตบุรุษ ยั่งยืน คงที่ อยู่ได้แม้ตลอดกาล ที่ดำรง ชีพอยู่ แต่สมาคมของพวกอสัตบุรุษ ย่อมเสื่อมไปเร็วแท้เพราะฉะนั้น ธรรมของสัตบุรุษ จึงไกลจากอสัตบุรุษ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ธรรมที่เป็นกุศลและ อกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่เป็นฝ่ายดำและฝ่ายขาว มารวมกันได้

[๑๑๔๙] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุญสำเร็จแต่การบริโภคเจริญได้ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ชนเหล่าใด ปลูก สร้างสวน ปลูกสร้างป่า สร้างสะพาน ขุดบ่อน้ำ สระน้ำ สร้างที่พักอาศัย ให้เป็นทาน บุญย่อมเจริญมากแก่ชนเหล่านั้นทุกเมื่อ ทั้งกลางวันกลางคืน


๑. จตุกฺก ๒๑/๕๗.


ความคิดเห็น 22    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 63

ชนเหล่านั้นตั้งอยู่ในธรรม ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมจะไปสู่สวรรค์ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น บุญก็สำเร็จแต่การบริโภคเจริญได้น่ะสิ.

[๑๑๕๐] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุญสำเร็จแต่การบริโภคเจริญได้หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ห้วงน้ำคือบุญ ห้วงน้ำคือกุศล ๔ ประการนี้ นำมาซึ่งความสุข มีอารมณ์ งาม มีสุขเป็นวิบาก ยังสัตว์ให้เป็นไปในสวรรค์ เป็นไปพร้อมเพื่อผล อันน่าปรารถนา เพื่อผลอันน่าใคร่ เพื่อผลอันน่าพึงใจ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ๔ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อบริโภค จีวรของบุคคลใด เข้าเจโตสมาธิหาประมาณมิได้อยู่ ห้วงน้ำคือบุญ ห้วงน้ำ คืออกุศล ของบุคคลนั้น ก็หาประมาณมิได้ นำมาซึ่งความสุข มีอารมณ์งาม มีสุขเป็นวิบาก ยังสัตว์ให้เป็นไปในสวรรค์ เป็นไปพร้อมเพื่อผลอันน่า เมื่อบริโภคคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของบุคคลใด เข้าเจโตสมาธิหาประมาณ มิได้อยู่ ห้วงน้ำคือบุญ ห้วงน้ำคือกุศล ของบุคคลนั้น ก็หาประมาณมิได้ นำมาซึ่งความสุข มีอารมณ์งาม มีสุขเป็นวิบาก ยังสัตว์ให้เป็นไปในสวรรค์ ย่อมเป็นไปเพื่อพร้อมเพื่อผลอันน่าปรารถนา น่าใคร่ เพื่อผลอันน่าพึงใจ ห้วงน้ำคือกุศล ๔ ประการนี้แล นำมาซึ่งความสุข มีอารมณ์งาม มีสุข


๑. ส.

ส. ๑๕/๑๔๖.


ความคิดเห็น 23    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 64

เป็นวิบาก ยังสัตว์ให้เป็นไปในสวรรค์ ย่อมเป็นไปเพื่อผลอันน่าปรารถนา เพื่อผลอันน่าใคร่ เพื่อผลอันน่าพึงใจ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น บุญก็สำเร็จแต่การบริโภคเจริญได้น่ะสิ.

[๑๑๕๑] ส. บุญสำเร็จแต่การบริโภคเจริญได้หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทายกให้ทาน ปฏิคาหกรับแล้วไม่บริโภค แต่ทิ้งเสีย สละเสีย เป็นบุญได้หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ทายกให้ทาน ปฏิคาหกรับแล้วไม่บริโภค แต่ ทิ้งเสีย สละเสีย เป็นบุญได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุญสำเร็จแต่การบริโภค เจริญได้

[๑๑๕๒] ส. บุญสำเร็จแต่การบริโภคเจริญได้หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทายากให้ทาน ครั้นเมื่อปฏิคาหกรับแล้ว พระราชา ริบไปเสีย หรือโจรลักไปเสีย หรือไฟไหม้เสีย หรือน้ำพัดไปเสีย หรือ ทายาทผู้ไม่เป็นที่รักนำไปเสีย เป็นบุญได้หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ทายกให้ทาน ครั้นเมื่อปฏิคาหกรับแล้ว พระ


๑. องฺ จตุกฺก ๒๑/๕๑.


ความคิดเห็น 24    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 65

ราชาริบไปเสีย หรือโจรลักไปเสีย หรือไฟไหม้เสีย หรือน้ำพัดไปเสีย หรือทายาทผู้ไม่เป็นที่รักนำไปเสีย ก็เป็นบุญได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุญ สำเร็จแต่การบริโภค ย่อมเจริญได้

ปริโภคมยปุญญกถา จบ

อรรถกถาปริโภคสมปุญญกถา

ว่าด้วย บุญสำเร็จแต่การบริโภค

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องบุญสำเร็จแต่การบริโภค คือการใช้สอย. ในปัญหา นั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายราชคิริกะ และสิทธัตถิกะ ทั้งหลายว่า บุญชื่อว่า สำเร็จแต่การบริโภคมีอยู่แก่ชนทั้งหลาย เพราะ ถือเอาพระสูตรทั้งหลายว่า บุญย่อมเจริญมากแก่ทายกเหล่านั้นทุกเมื่อ ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน และพระสูตรว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อ บริโภคจีวรของบุคคลใดเป็นต้น ดังนี้ โดยไม่พิจารณา คำถามของสกวาที ว่า บุญสำเร็จแต่การบริโภค เป็นต้น โดยหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรอง เป็นของปรวาที. ลำดับนั้นสกวาที จึงเริ่มกล่าวคำว่า ผัสสะสำเร็จแต่การ บริโภค เป็นต้น เพื่อจะท้วงด้วยคำว่า กุศลธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นต้น. ชื่อว่าบุญ นอกจากนี้ไม่ใช่ เพราะฉะนั้น ท่านพึงยังผัสสะเป็นต้นให้เจริญ ได้หรือ ดังนี้. คำนั้นทั้งหมดปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะไม่ใช่เจริญบุญให้ ทายกเหล่านั้น. คำทั้งหลายมีคำว่า เจริญได้ดุจเครือเถา เป็นต้น สกวาที กล่าว เพื่อท้วงด้วยคำว่า เครือเถาเป็นต้น แม้เว้นจากการบำรุงหรือการ ทำให้เจริญ ย่อมเจริญเองได้นั่นแหละ ฉันใด ตามลัทธิของท่าน บุญทั้งหลาย


ความคิดเห็น 25    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 66

ย่อมเจริญ ฉันนั้นหรือ? แต่คำนั้น ปรวาทีตอบปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าว อย่างนั้น เพราะบุญนั้นเจริญเช่นนั้นหาได้ไม่.

ในปัญหาว่า ทายกให้ทานแล้วไม่สนใจก็เป็นบุญได้หรือ ปรวาที ตอบรับรองด้วยสามารถแห่งลัทธิว่า ปุริมเจตนาของทายกนั้นย่อมเจริญ ได้ด้วยการบริโภคของปฏิคาหกทั้งหลาย บุญนั้นย่อมเจริญอย่างนี้. ลำดับ นั้น จึงถูกสกวาทีซักถามด้วยคำเป็นต้นว่า เป็นได้แก่ผู้ไม่นึก เป็นต้น ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะหมายเอาจาคเจตนาของทายก. ในคำเหล่านั้น คำว่า ผู้ไม่นึก ได้แก่ ภวังค์ของทายกผู้ไม่นึกไม่สละด้วยการพิจารณา อันเป็นปุเรจาริกในทานเจตนา. คำว่า ผู้ไม่กังวล ได้แก่ หาความคำนึง ถึงทานเจตนามิได้. คำว่า เป็นได้แก่ผู้ไม่สนใจ ได้แก่ ไม่มีความสนใจ ทานเจตนา จริงอยู่ อาวัชชนจิตของทายกนั้นเมื่อตัดกระแสภวังค์ขาดแล้ว ก็เกิดในวิถีของตนจึงชื่อว่าสนใจทานเจตนา สกวาทีย่อมถามว่า บุญของ ทายกเป็นได้แก่ผู้ไม่มีความสนใจย่อมมีด้วยจิตนี้ ด้วยกิจอย่างนี้. คำว่า ผู้ไม่กระทำไว้ในใจ ได้แก่ ผู้ไม่ทำซึ่งใจจริงอยู่ อาวัชชนจิตที่กำลังมี ทานเป็นอารมณ์เกิดติดต่อกันนั้น ชื่อว่า ย่อมทำไว้ซึ่งใจ อธิบายว่า เขา ไม่ทำอย่างนี้. อนึ่งคำว่า ซึ่งใจนี้ เป็นทุติยาวิภัตติ ท่านใช้เป็นสัตตมีวิภัตติ แปลว่า ในใจ. คำว่า ผู้ไม่จงใจ ได้แก่ ทายกนั้นไม่ให้เจตนาในทานเกิด ขึ้น. คำว่า ผู้ไม่ปรารถนา ได้แก่ ทายกนั้นไม่ทำฉันทะในกุศลอันบัณฑิต นับพร้อมแล้วว่าความต้องการ. คำว่า ผู้ไม่ตั้งใจ อธิบายว่า ไม่ให้จิต ตั้งอยู่ด้วยสามารถแห่งทานเจตนา. คำว่า ผู้กังวล ในข้อว่า บุญเป็น ได้แก่ผู้นึกถึงมิใช่หรือ นั้นได้แก่ เพราะคำนึงถึงทานเป็นอารมณ์. อีก อย่างหนึ่ง อธิบายว่า ความคำนึงถึงทานพึงมีแก่ทายก หรือว่า บุญของ


ความคิดเห็น 26    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 67

ทายกผู้คำนึงถึงทานนั้นย่อมเกิดติดต่อกันไ

ป. แม้ในปัญหาทั้งหลาย มีคำว่า แห่งผัสสะ ๒ หรือ เป็นต้น ปรวาทีย่อมตอบปฏิเสธ เพราะความไม่มี ผัสสะทั้ง ๒ เป็นต้น ในขณะเดียวกันของทายก ย่อมตอบรับรอง หมาย เอาผัสสะเป็นต้นอย่างละ ๒ คือผัสสะของทายกและผู้บริโภค. อีกอย่างหนึ่ง ลัทธิของปรวาทีนั้นว่า การประชุมพร้อมกันแห่งปัญจวิญญาณมีอยู่แก่ ทายก ดังนี้ จึงตอบรับรองด้วยสามารถแห่งลัทธินั้น. ลำดับนั้น สกวาที จึงถามปัญหามีคำว่า กุศล เป็นต้น กะปรวาทีนั้น เพื่อปิดทวารแห่ง การบรรยาย คือมิให้มีการพูดอ้อมค้อม แล้วก็ท้วงด้วยธรรมอันเป็นข้าศึก แก่กันและกันโดยตรง. แม้ในปัญหาว่า กุศล เป็นต้นนี้ ปรวาทีตอบปฏิเสธ หมายเอาความไม่มีการประกอบซึ่งกันและกัน แห่งกุศลและอกุศลใน ขณะเดียวกัน แต่ตอบรับรองเพราะลัทธิว่า จิตอันสำเร็จด้วยการบริโภค เป็นจิตที่ไม่ประกอบกัน. ทีนั้น สกวาทีจึงตำหนิปรวาทีนั้นด้วยพระสูตร. ในการนำพระสูตรมาอ้างนั้น ปรวาทีกล่าวแล้วว่า บุญย่อมเจริญมาก แก่ชนเหล่านั้นทุกเมื่อ หมายเอาบุญที่เกิดติดต่อกันไปด้วยสามารถแห่ง การสร้างสถานที่ทั้งหลายมีการสร้างสวน เป็นต้น และด้วยสามารถแห่ง การตามระลึกถึงกุศลทั้งหลาย อันมีการปฏิสังขรณ์เป็นต้น. คำว่า ห้วงน้ำ คือบุญของบุคคลนั้นหาประมาณมิได้ แม้นี้ ปรวาทีกล่าวกำหนดเอาคำ แห่งพระสูตรว่า ภิกษุเห็นปานนี้ ใช้สอยจีวรของเรา เพราะความที่เป็น ปัจจัยอันเราถวายแก่ภิกษุผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท และด้วยความ สามารถแห่งการแสดงความชื่นชม. ปรวาทีนั้นย่อมกำหนดบุญนั้นว่า สำเร็จด้วยการบริโภค คือใช้สอย ดังนี้.

อันที่จริง ไทยธรรมที่ปฏิคาหกรับแล้วยังไม่บริโภคก็ตามที บุญ


ความคิดเห็น 27    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 68

นั้นย่อมเกิดแก่ทายกนั้นทั้งนั้น เหตุใด เพราะเหตุนั้น วาทะของสกวาที จึงนับว่ามีกำลังกว่า ในปัญหานั้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความว่า ไทยธรรม อันปฏิคาหกรับแล้ว ของบทว่า ครั้นเมื่อปฏิคาหกรับแล้ว ดังนี้ คำ ที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.

อรรถกถาปริโภคมยปุญญกถา จบ


ความคิดเห็น 28    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 69

อิโตทินนกถา

[๑๑๕๓] สกวาที บุคคลผู้ไปสู่ปรโลก ยังอัตภาพให้เป็นไปได้ ในปรโลกนั้น ด้วยทานที่บุคคลให้แล้วแต่โลกนี้หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เมื่อให้จีวรแก่โลกนี้ ก็บริโภคจีวรนั้นในปรโลกหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เมื่อให้บิณฑบาตแต่โลกนี้ ... เมื่อให้เสนาสนะแต่โลกนี้ ... เมื่อให้คิลานปัจจยเภสัชชบริขารแต่โลกนี้ ... เมื่อให้ของขบเคี้ยวแต่ โลกนี้ ... เมื่อให้ของกินแต่โลกนี้ ... เมื่อให้น้ำดื่มแต่โลกนี้ ก็บริโภคน้ำดื่ม นั้นในปรโลกหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๕๔] ส. บุคคลผู้ไปสู่ปรโลก ยังอัตภาพให้เป็นไปได้ในปรโลก ด้วยทานที่บุคคลให้แล้วแต่โลกนี้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผู้อื่นเป็นผู้กระทำแก่ผู้อื่น สุขและทุกข์ผู้อื่นกระทำให้ ผู้อื่นกระทำผู้อื่นให้เสวยผลหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๕๕] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้ไปสู่ปรโลก ยังอัตภาพให้เป็น ไปได้ในปรโลกนั้น ด้วยทานอันบุคคลให้แล้วแก่โลกนี้หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พวกเปรต เห็นเขาให้ทานเพื่อประโยชน์แก่ตน ย่อม อนุโมทนา ย่อมยังจิตให้เลื่อมใส ย่อมยังปีติให้เกิดขึ้น ย่อมได้โสมนัส มิใช่


ความคิดเห็น 29    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 70

หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า เปรตเห็นเขาให้ทานเพื่อประโยชน์แก่ตน ย่อมยังจิตให้เลื่อมใส ย่อมยังปีติให้เกิดขึ้น ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าว ว่า บุคคลผู้ไปสู่ปรโลกยังอัตภาพให้เป็นไปได้ในปรโลกนั้น ด้วยทานอัน บุคคลให้แล้วแต่โลกนี้.

[๑๑๕๖] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้ไปสู่ปรโลก ยังอัตภาพให้เป็น ไปได้ในปรโลกนั้น ด้วยทานอันบุคคลให้แล้วแต่โลกนี้หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า น้ำฝนตกในที่ดอน ย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉันใด ทานที่บุคคลให้แล้วแต่โลกนี้ ย่อมเข้าไปสำเร็จ แก่บุคคลผู้ละไปแล้ว ฉันนั้นแล.

ห้วงน้ำที่เต็ม ย่อมไหลหลากยังสมุทรสาครให้เต็มรอบได้ฉันใด ทานที่บุคคลให้แล้วแต่โลกนี้ ย่อมเข้าไปสำเร็จแก่บุคคลผู้ละไปแล้ว ฉันนั้นแล.

กสิกรรมไม่มีในเปตโลกนั้นเลย โครักขกรรมก็ไม่มี ณ ที่นั้น พาณิชกรรมก็เช่นกัน การซื้อขายด้วยเงินก็ไม่มี บุคคลผู้ละไปแล้ว คือ ผู้ที่ตายไปแล้ว ย่อมยังอัตภาพให้เป็นไปในเปตโลกนั้น ด้วยทานอันบุคคล ให้แล้วแต่โลกนี้ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.


๑. ขุ.ขุ. ๒๕/๘.


ความคิดเห็น 30    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 71

ป. ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้ไปสู่ปรโลกก็ยังอัตภาพให้เป็น ไปได้ในปรโลกนั้น ด้วยทานอันบุคคลให้แล้วแต่โลกนี้ น่ะสิ.

[๑๑๕๗] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้ไปสู่ปรโลก ยังอัตภาพให้ เป็นไปได้ในปรโลกนั้น ด้วยทานอันบุคคลให้แล้วแต่โลกนี้ หรือ?

ส. ถูกแล้ว

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มารดาบิดาเล็งเห็นฐานะ ๕ ประการ จึงปรารถนาบุตรซึ่งจะเกิดในสกุล ฐานะ ๕ เป็นไฉน? เราเลี้ยงเขามาแล้ว เขาจักเลี้ยงเราตอบ เขาจักช่วยทำ กิจของเรา สกุลวงศ์จักดำรงอยู่นาน เขาจักดูแลทรัพย์มฤดกสืบไป ก็หรือ เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว เขาจักทำบุญส่งไปให้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มารดา บิดาเล็งเห็นฐานะ ๕ ประการนี้แล จึงปรารถนาบุตรซึ่งจะเกิดในสกุล.

บัณฑิตเล็งเห็นฐานะ ๕ ประการ จึงปรารถนาบุตร คือ เราเลี้ยง เขามาแล้ว เขาจักเลี้ยงเราตอบ เขาจักช่วยทำกิจของเรา สกุลวงศ์จักดำรง อยู่ได้นาน เขาจักดูแลทรัพย์มฤดกสืบไป ก็หรือเมื่อเราล่วงลับไปแล้ว เขาจักทำบุญส่งไปให้ บัณฑิตทั้งหลายเล็งเห็นฐานะ ๕ ประการนี้ จึง ปรารถนาบุตร.

เพราะฉะนั้น สัปปุริสชน คนเรียบร้อย จึงเป็นคนกตัญญูกตเวที เมื่อระลึกถึงอุปการคุณที่ท่านได้ทำก่อน ย่อมเลี้ยงมารดาบิดา ทำกิจของ ท่านตามฐานะที่ท่านเป็นบุพพการี บุตรผู้อยู่ในโอวาท บิดามารดาเลี้ยง มาแล้ว เลี้ยงตอบ ไม่ทำวงศ์สกุลให้เสื่อม มีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล เป็น บุตรที่ควรสรรเสริญ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?


๑. องฺ.ปฺจก ๒๒/๓๙.


ความคิดเห็น 31    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 72

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้ไปสู่ปรโลก ก็ยังอัตภาพให้เป็น ไปได้ในปรโลก ด้วยทานอันบุคคลให้แล้วแต่โลกนี้ น่ะสิ.

อิโตทินนกถา จบ

อรรถกถาอิโตทินนกถา

ว่าด้วย ทานที่บุคคลให้แล้วแต่โลกนี้

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องทานที่บุคคลให้แล้วแต่โลกนี้. ในเรื่องนั้น ชน เหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายราชคิริกะ และสิทธัตถิกะทั้งหลาย ว่า วัตถุอันใดมีจีวรทานเป็นต้นที่บุคคลให้แล้วจากโลกนี้มีอยู่ เปรต ทั้งหลายย่อมยังอัตภาพให้เป็นไปได้ด้วยวัตถุอันนั้นนั่นแหละ ดังนี้ เพราะ อาศัยพระบาลีว่า ชนทั้งหลายผู้ละไปแล้ว คือผู้ที่ตายไปแล้ว ย่อมยัง อัตภาพให้เป็นไปในเปตโลกนั้น ด้วยทานอันบุคคลให้แล้วแต่โลกนี้ ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า ทานที่บุคคลให้แล้วแต่โลกนี้ เป็นต้น โดยหมายถึง ชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ถูกสกวาทีซักถามปัญหา ด้วยการให้จีวรเป็นต้นอีก ก็ตอบปฏิเสธ.

ข้อว่า ผู้อื่นเป็นผู้กระทำแก่ผู้อื่น ข้อนี้ท่านอธิบายไว้ว่า ผู้อื่น เป็นผู้ทำกรรมทั้งหลายเพื่อให้วิบากเกิดแก่ผู้อื่น มิใช่ตนเองทำให้แก่ตน. ก็ปรวาทีนั้นถูกถามปัญหาอย่างนี้ ก็ตอบปฏิเสธ เพราะกลัวผิดจากพระสูตร. คำว่า พวกเปรตเห็นเขาให้ทาน อธิบายว่า เห็นบุคคลผู้ให้ทาน.

ในคำเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความว่า ก็โภคะทั้งหลาย ย่อม เกิดขึ้นแก่เปรตทั้งหลายเหล่านั้นในที่นั้น เพราะการอนุโมทนาของตน


ความคิดเห็น 32    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 73

เหตุใด เพราะเหตุนั้น ลัทธิของปรวาทีนั้น แม้ตั้งอยู่ด้วยเหตุนี้ ก็นับว่าไม่ เป็นอันตั้งอยู่ได้ เพราะว่า เปรตทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมยังอัตภาพให้เป็น ไปได้ด้วยวัตถุอันบุคคลให้แล้วแต่โลกนี้ก็หาไม่. ในการนำพระสูตรมา อ้างแม้ที่เหลือก็มีนัยนี้นั่นแหละ.

อรรถกถาอิโตทินนกถา จบ


ความคิดเห็น 33    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 74

ปฐวีกัมมวิปาโกติกถา

[๑๑๕๘] สกวาที แผ่นดินเป็นกรรมวิบาก หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. แผ่นดินมีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา มีอทุกขมสุขเวทนา ประกอบด้วยสุขเวทนา ประกอบด้วยทุกขเวทนา ประกอบด้วยอทุกขม สุขเวทนา ประกอบด้วยผัสสะ ประกอบด้วยเวทนา ประกอบด้วยสัญญา ประกอบด้วยเจตนา ประกอบด้วยจิต มีอารมณ์ ความนึก ความผูกใจ ความสนใจ ความทำไว้ในใจ ความจงใจ ความปรารถนา ความตั้งใจ ของ แผ่นดินนั้นมีอยู่หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. แผ่นดินไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ไม่มีอทุกขม สุขเวทนา ไม่ประกอบด้วยสุขเวทนา ไม่ประกอบด้วยทุกขเวทนา ไม่ ประกอบด้วยอทุกขมสุขเวทนา ไม่ประกอบด้วยผัสสะ ไม่ประกอบด้วย เวทนา ไม่ประกอบด้วยสัญญา ไม่ประกอบด้วยเจตนา ไม่ประกอบด้วย จิต ไม่มีอารมณ์ ความนึก ความผูกใจ ความสนใจ ความทำไว้ในใจ ความ จงใจ ความปรารถนา ความตั้งใจของแผ่นดินนั้น ไม่มี มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า แผ่นดินไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ ไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของแผ่นดินนั้นไม่มี ก็ต้องไม่กล่าว ว่าแผ่นดินเป็นกรรมวิบาก.

[๑๑๕๙] ส. ผัสสะ เป็นกรรมวิบาก และผัสสะมีสุขเวทนา มี ทุกขเวทนา มีอทุกขมสุขเวทนา ประกอบด้วยสุขเวทนา ประกอบด้วย


ความคิดเห็น 34    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 75

ทุกขเวทนา ประกอบด้วยอทุกขมสุขเวทนา ประกอบด้วยผัสสะ ประกอบ ด้วยเวทนา ประกอบด้วยสัญญา ประกอบด้วยเจตนา ประกอบด้วยจิต มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของผัสสะนั้น มีอยู่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. แผ่นดินเป็นกรรมวิบาก และแผ่นดินมีสุขเวทนา มี ทุกขเวทนา มีอทุกขมสุขเวทนา ประกอบด้วยสุขเวทนา ประกอบด้วย ทุกขเวทนา ประกอบด้วยอทุกขมสุขเวทนา ประกอบด้วยผัสสะ ประกอบ ด้วยเวทนา ประกอบด้วยสัญญา ประกอบด้วยเจตนา ประกอบด้วยจิต มีอารมณ์ ความนึก ความผูกใจ ความสนใจ ความทำไว้ในใจ ความจงใจ ความปรารถนา ความตั้งใจของแผ่นดิน มีอยู่หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๖๐] ส. แผ่นดินเป็นกรรมวิบาก แต่แผ่นดินไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ ไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของแผ่นดิน นั้น ไม่มีหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผัสสะ เป็นกรรมวิบาก แต่ผัสสะไม่มีสุขเวทนา ไม่มี ทุกขเวทนา ฯลฯ ไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของผัสสะนั้น ไม่มีหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๖๑] ส. แผ่นดินเป็นกรรมวิบาก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. แผ่นดินเชิดชูได้ เหยียบย่ำได้ ตัดได้ ทำลายได้หรือ?


ความคิดเห็น 35    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 76

ป. ถูกแล้ว.

ส. กรรมวิบาก เชิดชูได้ เหยียบย่ำได้ ตัดได้ ทำลายได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๖๒] ส. แผ่นดิน บุคคล จะพูน จะเพิ่ม จะถม จะก่อ จะเสริม ก็ทำได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กรรมวิบาก บุคคลจะพูน จะเพิ่ม จะถม จะก่อ จะเสริม ก็ทำได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๖๓] ส. แผ่นดินทั่วไปแก่ชนอื่นๆ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กรรมวิบากทั่วไปแก่ชนอื่นๆ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๖๔] ส. กรรมวิบาก ทั่วไปแก่ชนอื่นๆ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า นิธิ คือ บุญ ไม่ ทั่วไปแก่ชนอื่นๆ โจรลักไม่ได้ ผู้มีอันจะพึงตายเป็นสภาวะควรทำบุญ ผู้นั้นพึงประพฤติสุจริต ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า กรรมวิบากทั่วไปแก่ ชนอื่นๆ


ความคิดเห็น 36    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 77

[๑๑๖๕] ส. แผ่นดินเป็นกรรมวิบาก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. แผ่นดินตั้งอยู่ด้วยดีก่อน สัตว์ทั้งหลายจึงบังเกิดขึ้น ในภายหลัง หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิบากบังเกิดขึ้นก่อน ต่อภายหลังสัตว์ทั้งหลายจึงทำ กรรมเพื่อได้วิบาก หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๖๖] ส. แผ่นดินเป็นวิบากแห่งกรรมของสัตว์ทั้งปวงหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัตว์ทั้งปวง บริโภคแผ่นดิน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ทั้งปวง บริโภคแผ่นดินหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บางพวกบริโภคแผ่นดิน แล้วปรินิพพานมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บางพวก ไม่ยังกรรมวิบากให้สิ้นไปแล้วปรินิพพาน มีอยู่หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๖๗] ส. แผ่นดินเป็นวิบากแห่งกรรมของสัตว์ผู้จะเป็นจักรพรรดิ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 37    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 78

ส. สัตว์อื่นๆ บริโภคแผ่นดิน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัตว์อื่นๆ บริโภควิบากแห่งกรรมของสัตว์ผู้จะเป็น จักรพรรดิ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์อื่นๆ บริโภควิบากแห่งกรรมของสัตว์ผู้จะเป็น จักรพรรดิ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัตว์อื่นๆ บริโภคผัสสะ เวทนา เจตนา จิต สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของสัตว์ผู้จะเป็นจักรพรรดิ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๖๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่า แผ่นดินเป็นกรรมวิบาก หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. กรรมที่ยังสัตว์ให้ไปพร้อมเพื่อความเป็นใหญ่ กรรม ที่ยังสัตว์ให้เป็นไปพร้อมเพื่อความเป็นเจ้าเป็นใหญ่ มีอยู่ มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า กรรมที่ยังสัตว์ให้เป็นไปพร้อมเพื่อความเป็น ใหญ่ กรรมที่ยังสัตว์ให้เป็นไปพร้อม เพื่อความเป็นเจ้าเป็นใหญ่มีอยู่ ด้วย เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า แผ่นดินเป็นกรรมวิบาก.

ปฐวีกัมมวิปาโกติกถา จบ


ความคิดเห็น 38    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 79

อรรถกถาปฐวีกัมมวิปาโกติกถา

ว่าด้วย แผ่นดินเป็นกรรมวิบาก

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องแผ่นดินเป็นกรรมวิบาก คือเป็นผลของกรรม. ในเรื่องนั้น คำว่า ความเป็นแห่งชนทั้งหลายผู้เป็นใหญ่ ชื่อว่า อิสสริยะ. คือความเป็นใหญ่ ความเป็นแห่งอธิปติชนทั้งหลายชื่อว่า อาธิปัจจะ คือ ความเป็นอธิบดี หรือความเป็นเจ้าเป็นใหญ่ และกรรมมีความเกี่ยวข้อง ด้วยความเป็นอิสระและความเป็นอธิบดีในแผ่นดินมีอยู่ ดังนี้ ท่านกล่าวไว้ ในคำว่า กรรมที่ยังสัตว์ให้เป็นไปพร้อม เพื่อความเป็นใหญ่ กรรมที่ยัง สัตว์ให้เป็นไปพร้อม เพื่อความเป็นเจ้าเป็นใหญ่ มีอยู่ ดังนี้ เหตุใด เพราะ เหตุนั้น ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า แผ่นดินเป็นกรรมวิบาก ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า แผ่นดิน เป็นต้น โดยหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำว่า แผ่นดิน มีสุขเวทนา เป็นต้น สกวาทีกล่าวด้วยความสามารถการแสดงสภาพ แห่งกรรมวิบาก. ผัสสะอันต่างด้วยสุขเวทนาเป็นต้นมีอยู่ในวิบากทั้งหลาย ที่ท่านแสดงไว้ โดยนัยเป็นต้นว่า ผัสสะ เป็นกรรมวิบาก ก็ผัสสะนั้นด้วย ธรรมทั้งหลายมีสัญญาเป็นต้นด้วย สัมปยุตกันกับธรรมทั้งหลายมีสุขเวทนา เป็นต้น ธรรมทั้งหลายมีสุขเวทนาเป็นต้น ก็สัมปยุตกับธรรมทั้งหลาย มีสัญญาเป็นต้น ธรรมเหล่านี้แม้ทั้งหมดเป็นไปกับด้วยอารมณ์ คือรับ อารมณ์ได้ ก็อาวัชชนจิต กล่าวคือ การรับอารมณ์อันเป็นปุเรจาริก เป็นต้นแห่งธรรมเหล่านั้น และเจตนา อันเป็นกัมมปัจจัยแห่งธรรมเหล่านั้น ก็มีอยู่ในธรรมเหล่านั้น ธรรมใดมีวิบากที่น่าปรารถนา การปรารถนา


ความคิดเห็น 39    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 80

ธรรมนั้นมีตัณหาเป็นมูลเป็นไปทั่วแล้วด้วยสามารถแห่งความตั้งใจมีอยู่ ดังนั้นสกวาทีจึงถามว่า ตามลัทธิของท่านแผ่นดินเป็นอย่างนี้ๆ หรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธ. ปฏิโลมปุจฉาเป็นต้น มีอรรถง่ายทั้งนั้น.

ในปัญหาว่า กรรมวิบากทั่วไปแก่ชนอื่นๆ หรือ เป็นต้น ปรวาที ตอบปฏิเสธ หมายเอาธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นต้น ย่อมตอบรับรอง หมายเอารูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน และหมายเอาความที่แผ่นดินเป็นต้น เป็นของทั่วไ

ป. พระสูตรว่า นิธิคือบุญ ไม่ทั่วไปแก่ชนอื่นๆ เป็นคำที่ สกวาทีนำพระสูตรจากลัทธิของปรวาทีมาแสดง.

ในปัญหาว่า สัตว์ทั้งปวงบริโภคแผ่นดินหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธ หมายเอาสัตว์ผู้ไม่อาศัยแผ่นดิน แต่ตอบรับรองหมายเอาสัตว์ผู้อาศัย แผ่นดิน. ในปัญหาว่า สัตว์ทั้งปวงไม่บริโภคแผ่นดินย่อมปรินิพพาน หรือ ปรวาทีตอบรับรอง หมายเอาสัตว์ทั้งหลายผู้ปรินิพพานในอรูปภพ. คำว่า ไม่ยังกรรมวิบากให้สิ้นไป นี้ สกวาทีกล่าวด้วยสามารถแห่ง ลัทธิของปรวาที เพราะลัทธิของปรวาทีนั้นว่า สัตว์ทั้งหลายยังกรรม วิบากให้สิ้นไปแล้วจึงจะปรินิพพานได้ แต่ในลัทธิของสกวาที การไม่ยัง วิบากที่เกิดขึ้นจากกรรมที่ทำแล้วให้ปราศจากไปให้สิ้นไปแล้วนิพพาน ไม่มี. อนึ่ง ว่าโดยลัทธิแห่งท่านเหล่านั้น ปฐวีธาตุ ชื่อว่าเป็นวิบากที่เกิด ขึ้นแล้ว เพราะเป็นสาธารณวิบาก ก็การท้วงว่า การไม่ให้ปฐวีธาตุ ซึ่งตั้งอยู่โดยความเป็นวิบากนั้นให้สิ้นไปแล้วปรินิพพานนั้น ย่อมไม่ถูก ดังนี้ ย่อมควร. ปรวาทีตอบปฏิเสธด้วยสามารถแห่งลัทธิ. ในปัญหาว่า บริโภควิบากแห่งกรรมของพระเจ้าจักรพรรดิหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธ หมายเอาธรรมที่มีผัสสะเป็นต้นที่ไม่ทั่วไป ย่อมตอบรับรอง หมายเอา


ความคิดเห็น 40    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 81

ธรรมที่เป็นสาธารณะ. ลัทธิแห่งท่านเหล่านั้นว่า แผ่นดิน สมุทร พระจันทร์ และพระอาทิตย์ เป็นต้น เป็นกรรมวิบากทั่วไปแก่สิ่งทั้งปวง. ในคำว่า กรรมที่ยังสัตว์ให้เป็นพร้อมเพื่อความเป็นใหญ่ นี้ ความว่า ชื่อว่า ความเป็นอิสระ เพราะความเป็นผู้มีทรัพย์มาก ชื่อว่า อธิปไตย คือ ความ เป็นใหญ่ยิ่ง ความเป็นอธิบดี เพราะยังชนทั้งหมดให้เป็นไปในอำนาจ ของตน อธิบายว่า ชื่อว่า ความเป็นอธิบดีเพราะอรรถว่าควรแก่การ ยกย่องจากชนเหล่านั้น. ในปัญหานั้น กรรมชื่อว่ายังสัตว์ให้เป็นไปพร้อม เพื่อความเป็นอิสสริยะและความเป็นอธิบดีด้วยสามารถแห่งการได้เฉพาะ ซึ่งแผ่นดิน ไม่ใช่ด้วยสามารถแห่งการให้เกิดแผ่นดิน เพราะฉะนั้น คำว่า ปฐวี คือแผ่นดินนั้น จึงไม่สำเร็จในความเป็นกรรมวิบาก ด้วยประการ ฉะนี้.

อรรถกถาปฐวีกัมมวิปาโกติกา จบ


ความคิดเห็น 41    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 82

ชรามรณวิปาโกติกถา

[๑๑๖๙] สกวาที ชรามรณะ เป็นวิบาก หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ชรามรณะ มีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา มีอทุกขมสุข เวทนา ประกอบด้วยสุขเวทนา ประกอบด้วยทุกขเวทนา ประกอบด้วย อทุกขมสุขเวทนา ประกอบด้วยผัสสะ ประกอบด้วยเวทนา ประกอบด้วย สัญญา ประกอบด้วยเจตนา ประกอบด้วยจิต มีอารมณ์ ความนึก ความ ผูกใจ ความสนใจ ความทำไว้ในใจ ความจงใจ ความปรารถนา ความ ตั้งใจ ของชรามรณะนั้น มีอยู่หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ชรามรณะไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ ไม่มี อารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของชรามรณะนั้น ไม่มี มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ชรามรณะไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ ไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของชรามรณะนั้นไม่มี ก็ ต้องไม่กล่าวว่า ชรามรณะ เป็นวิบาก.

[๑๑๗๐] ส. ผัสสะ เป็นวิบาก และผัสสะมีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา ฯลฯ มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของผัสสะนั้นมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชรามรณะ เป็นวิบาก และชรามรณะมีสุขเวทนา มี ทุกขเวทนา ฯลฯ มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของชรามรณะนั้น


ความคิดเห็น 42    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 83

มีอยู่หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๗๑] ส. ชรามรณะ เป็นวิบาก แต่ชรามรณะไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ ไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งชรามรณะ นั้นไม่มี หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผัสสะ เป็นวิบาก แต่ผัสสะไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกข เวทนา ฯลฯ ไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของชรามรณะนั้น ไม่มีหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๗๒] ส. ชรามรณะแห่งอกุศลธรรม เป็นวิบากแห่งอกุศลธรรม หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชรามรณะแห่งกุศลธรรม เป็นวิบากแห่งกุศลธรรม หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๗๓] ส. ชรามรณะแห่งกุศลธรรม ไม่พึงกล่าวว่าเป็นวิบาก แห่งกุศลธรรม หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชรามรณะแห่งอกุศลธรรม ไม่พึงกล่าวว่าเป็นวิบาก แห่งอกุศลธรรม หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 43    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 84

[๑๑๗๔] ส. ชรามรณะแห่งกุศลธรรม เป็นวิบากแห่งอกุศลธรรม หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชรามรณะแห่งอกุศลธรรม เป็นวิบากแห่งกุศลธรรม หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๗๕] ส. ชรามรณะแห่งอกุศลธรรม ไม่พึงกล่าวว่าเป็นวิบาก แห่งกุศลธรรม หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชรามรณะแห่งกุศลธรรม ไม่พึงกล่าวว่าเป็นวิบาก แห่งอกุศลธรรม หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๗๖] ส. ชรามรณะแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม เป็นวิบาก แห่งอกุศลธรรม หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชรามรณะแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม เป็นวิบาก แห่งกุศลธรรม หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๗๗] ส. ชรามรณะแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม ไม่พึง กล่าวว่า เป็นวิบากแห่งกุศลธรรม หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชรามรณะแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม ไม่พึง


ความคิดเห็น 44    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 85

กล่าวว่าเป็นวิบากแห่งอกุศลธรรม หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๗๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ชรามรณะเป็นวิบาก หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. กรรมที่ยังสัตว์ให้เป็นไปพร้อมเพื่อความเป็นผู้มี ผิวพรรณขี้ริ้ว กรรมที่ยังสัตว์ให้เป็นไปพร้อมเพื่อความเป็นผู้มีอายุน้อย มีอยู่ มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า กรรมที่ยังสัตว์ให้เป็นไปพร้อมเพื่อความเป็น ผู้มีผิวพรรณขี้ริ้ว กรรมที่ยังสัตว์ให้เป็นไปพร้อมเพื่อความเป็นผู้มีอายุน้อย น้อย มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ชรามรณะเป็นวิบาก.

ชรามรณวิปาโกติกถา จบ

อรรถกถาชรามรณังวิปาโกติกถา

ว่าด้วย ชรามรณะเป็นวิบาก

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องชรามรณะเป็นวิบาก คือความแก่ความตายเป็น วิบาก. ในปัญหานั้น ชื่อว่าชรา เพราะความที่เป็นผู้มีผิวพรรณทราม ชื่อว่า มรณะ เพราะความเป็นผู้มีอายุน้อย อนึ่ง กรรมที่ยังสัตว์ให้เป็น ไปพร้อมเพื่อความเป็นผู้มีผิวพรรณทราม และให้มีอายุน้อยนั้นมีอยู่ ในคำว่า กรรมที่ยังสัตว์ให้เป็นไปพร้อมเพื่อความเป็นผู้มีผิวพรรณทราม และให้มี อายุน้อยนั้นมีอยู่ ในคำว่า กรรมที่ยังสัตว์ให้เป็นไปพร้อมเพื่อความเป็น ผู้มีผิวพรรณขี้ริ้ว กรรมที่ยังสัตว์ให้เป็นไปพร้อมเพื่อความเป็นผู้มีอายุ


ความคิดเห็น 45    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 86

น้อยมีอยู่ ดังนี้ เพราะฉะนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกาย อันธกะทั้งหลายว่า ชรามรณะเป็นวิบาก คือเป็นผล ดังนี้ คำถามของ สกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ในปัญหาปฏิโลม คำว่า ชรามรณะไม่มีอารมณ์ อธิบายว่า รูปธรรมทั้งหลายไม่มีอารมณ์ ส่วนชรามรณะแห่งอรูปทั้งหลาย คือนามธรรมทั้งหลาย ชื่อว่าไม่มี อารมณ์เพราะความไม่มีลักษณะแห่งสัมปโยคะ.

ในปัญหาว่า ชรามรณะแห่งอกุศลธรรมเป็นวิบากแห่งอกุศลธรรม หรือ ปรวาทีตอบรับรองตามลัทธิว่า ขึ้นชื่อว่าชราและมรณะพึงเป็น วิบากที่ไม่น่าปรารถนา. ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ ย่อมตอบปฏิเสธซึ่งความ ที่ชรามรณะแห่งกุศลธรรมว่าเป็นวิบากของกุศลธรรม. และย่อมตอบ รับรองชรามรณะแห่งกุศลธรรมว่าเป็นวิบากของอกุศลธรรมนั่นแหละ ข้างหน้า. อนึ่ง สกวาทีท่านรวมปัญหาให้เป็นอย่างเดียวกัน ด้วยสามารถ แห่งคำถามว่า ชรามรณะแห่งกุศลและอกุศลธรรม แต่ชราและมรณะ แห่งกุศลและอกุศลนั้นมีในขณะเดียวกันหามิได้. ชื่อว่าคำปริยาย คือ พูดอ้อมค้อม เพราะคำอันบุคคลพึงกล่าวว่า ชรามรณะเป็นวิบากของ อัพยากตะ อันมิใช่วิบากทั้งหลาย ดังนี้ ไม่มี เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจึงไม่ อธิบายปัญหาว่าด้วยอัพยากตะ.

ในข้อว่า กรรมที่ยังสัตว์ให้เป็นไปพร้อมเพื่อความเป็นผู้มีผิวพรรณ ขี้ริ้ว นี้ อธิบายว่า ชื่อว่า ความเป็นผู้มีผิวพรรณไม่ดีเพราะมีผิวพรรณ ไม่บริสุทธิ์ ชื่อว่า ความเป็นผู้มีอายุน้อยเพราะไม่สามารถให้อายุเป็น ไปได้ยั่งยืน. ในปัญหานั้น อกุศลธรรมเป็นกัมมปัจจัยแก่รูปที่มีผิวพรรณ ไม่งามซึ่งมีกรรมเป็นสมุฏฐาน. แต่วิบากแห่งอกุศลธรรมนั้น ชื่อว่าย่อม


ความคิดเห็น 46    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 87

ไม่มีแก่รูปนั้นเพราะเป็นสภาวธรรมไม่เหมือนกัน. อนึ่ง วิบากแห่งอกุศล ธรรมนั้นย่อมเป็นปัจจัยแก่สมุฏฐานทั้งหลายมีอุตุสมุฏฐานเป็นต้น ด้วย สามารถแห่งการให้ได้รูปที่มีผิวพรรณทรามนั้น และด้วยสามารถแห่ง การเข้าไปตัดซึ่งอายุ. อกุศลธรรมนั้น ชื่อว่าเกี่ยวข้องด้วยความเป็นผู้มี ผิวพรรณไม่ดี และเป็นผู้มีอายุน้อยด้วยประการฉะนี้. ธรรมนั้น ชื่อว่า ไม่ให้เป็นไปด้วยสามารถแห่งความเกิดขึ้นแห่งชราและมรณะ โดยตรง เหมือนผัสสะอันเป็นวิบากเป็นต้น เพราะฉะนั้น ชราและมรณะนั้นจึงไม่ สำเร็จในความเป็นวิบาก. คำที่เหลือในที่นี้ เช่นกับด้วยคำที่ข้าพเจ้ากล่าว แล้วในหนหลังนั่นแล.

อรรถกถาชรามรณังวิปาโกติกถา จบ


ความคิดเห็น 47    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 88

อริยธัมมวิปากกถา

[๑๑๗๙] สกวาที วิบากแห่งอริยธรรมไม่มี หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. สามัญญะ๑ มีผลมาก พรหมัญญะ๑ มีผลมาก มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า สามัญญะมีผลมาก พรหมัญญะ มีผลมากก็ ต้องไม่กล่าวว่าวิบากแห่งอริยธรรมไม่มี.

[๑๑๘๐] ส. วิบากแห่งอริยธรรมไม่มี หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โสดาปัตติผลมีอยู่ มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่าโสดาปัตติผลมีอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า วิบาก แห่งอริยธรรมไม่มี.

ส. สกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล อรหัตตผล มีอยู่มิใช่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อรหัตตผลมีอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า วิบากแห่ง อริยธรรมไม่มี.


๑. สามัญญะ - คุณเครื่องความเป็นสมณะ, พรหมัญญะ - คุณเครื่องความเป็นพรหมทั้ง ๒ นี้ หมายถึง อริยมรรค.


ความคิดเห็น 48    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 89

[๑๑๘๑] ส. โสดาปัตติผล ไม่เป็นวิบาก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผลแห่งทาน ไม่เป็นวิบาก หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โสดาปัตติผล ไม่เป็นวิบาก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผลแห่งศีล ฯลฯ ผลแห่งภาวนา ไม่เป็นวิบาก หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ อรหัตตผล ไม่ เป็นวิบาก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผลแห่งทานไม่เป็นวิบาก หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อรหัตตผลไม่เป็นวิบาก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผลแห่งศีล ฯลฯ ผลแห่งภาวนา ไม่เป็นวิบาก หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๘๒] ส. ผลแห่งทานเป็นวิบาก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โสดาปัตติผลเป็นวิบาก หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ผลแห่งทานเป็นวิบาก หรือ?


ความคิดเห็น 49    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 90

ป. ถูกแล้ว.

ส. สกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ อรหัตตผลเป็น วิบาก หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ผลแห่งศีล ฯลฯ ผลแห่งภาวนาเป็นวิบาก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โสดาปัตติผลเป็นวิบาก หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ผลแห่งภาวนาเป็นวิบาก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สกทาคามิผล ฯลฯ อานาคามิผล อรหัตตผลเป็นวิบาก หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๘๓] ส. กามาวจรกุศลมีวิบาก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โลกุตตรกุศลมีวิบาก หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูปาวจรกุศล ฯลฯ อรูปาวจรกุศลมีวิบาก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โลกุตตรกุศลมีวิบาก หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๘๔] ส. โลกุตตรกุศลไม่มีวิบาก หรือ?


ความคิดเห็น 50    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 91

ป. ถูกแล้ว.

ส. กามาวจรกุศลไม่มีวิบาก หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โลกุตตรกุศลไม่มีวิบาก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปาวจรกุศล ฯลฯ อรูปาวจรกุศลไม่มีวิบาก หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๘๕] ป. กามาวจรกุศลมีวิบาก เป็นอาจยคามี คือก่อวิปากวัฏฏ์ไป หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. โลกุตตรกุศล เป็นธรรมมีวิบาก เป็นอาจยคามี หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. รูปาวจรกุศล ฯลฯ อรูปาวจรกุศล เป็นธรรมมีวิบาก เป็นอาจยคามี หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. โลกุตตรกุศล เป็นธรรมมีวิบาก เป็นอาจยคามี หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๘๖] ป. โลกุตตรกุศล เป็นธรรมมีวิบาก แต่เป็นอปจยคามี คือหลีกวิปากวัฏฏ์ไป หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. กามาวจรกุศล เป็นธรรมมีวิบาก แต่เป็นอปจยคามี หรือ?


ความคิดเห็น 51    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 92

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. โลกุตตรกุศล เป็นธรรมมีวิบาก แต่เป็นอปจยคามี หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. รูปาวจรกุศล ฯลฯ อรูปาวจรกุศล เป็นธรรมมีวิบาก แต่เป็นอปจยคามี หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

อริยธัมมวิปากกถา จบ

อรรถกถาอริยัมมวิปากกถา

ว่าด้วย วิบากแห่งอริยธรรม

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องวิบากแห่งอริยธรรม. ในปัญหานั้น ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า สามัญญผล คือ ผลแห่งความเป็นสมณะ สักว่าการละกิเลสเท่านั้นหาใช่จิตและเจตสิกธรรม ไม่ ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า วิบากแห่งอริยธรรมไม่มีหรือ โดย หมายถึงชนเหล่านั้น. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า วิบากแห่งอริยธรรม ได้แก่ ผลของอริยมรรค คำตอบรับรองของปรวาทีโดยลัทธิว่า อริยผล สักว่า เป็นการสิ้นไปแห่งกิเล

ส. คำว่า สามัญญะ ได้แก่ คุณเครื่องความ เป็นสมณะ คำนี้เป็นชื่อของอริยมรรค สมจริง ดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเป็นสมณะ และผลแห่ง ความเป็นสมณะแก่เธอทั้งหลาย ดังนี้. แม้ในคุณเครื่องความเป็นพรหม คือพรหมัญญะ ก็นัยนี้เหมือนกัน.


ความคิดเห็น 52    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 93

ในปัญหาทั้งหลาย มีคำว่า โสดาปัตติผลไม่เป็นวิบากหรือ เป็นต้น ปรวาทีตอบรับรองซึ่งความที่อริยผลทั้งหลายไม่เป็นวิบาก เพราะหมาย เอาความที่โสดาปัตติมรรคเป็นต้นไม่มีการสั่งสมวัฏฏะ ย่อมตอบปฏิเสธ ผลแห่งทานเป็นต้น คือหมายเอาเป็นวิปากวัฏฏ์. จริงอยู่ ท่านห้ามอรรถแห่ง อาจยคามีติกะ๑ ด้วยคำอย่างนี้ว่า ธรรมเหล่าใดย่อมไปสู่ที่มีการสั่งสม อันบัณฑิตนับพร้อมแล้วว่าวิบาก เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า อาจยคามี อีกอย่างหนึ่ง ธรรมเหล่าใดเมื่อสั่งสมย่อมไปสู่ที่มีการสั่งสม เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า อาจยคามี ธรรมเหล่าใดเมื่อไม่มี การสั่งสมวิบากย่อมไป เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า อปจยคามี เพราะฉะนั้น ปรวาทีจึงตอบรับรองด้วย ปฏิเสธด้วย อย่างนี้.

คำถามว่า กามาวจรกุศลมีวิบากเป็นอาจยคามี คือเป็นธรรม สั่งสมวิปากวัฏฏ์ ดังนี้ เป็นของปรวาที คำตอบรับรองและปฏิเสธเป็น ของสกวาที. จริงอยู่ โลกิยกุศลวิบาก ชื่อว่า อาจยคามี เพราะอรรถว่า มีปกติ ไม่สั่งสมจุติ ปฏิสนธิ และวัฏฏะเป็นไป โลกุตตรกุศลนี้ย่อมเป็น ธรรมมีวิบากทั้งนั้น มิใช่ไม่มีวิบากด้วยเหตุสักแต่คำว่า เป็นอปจยคามี คือเป็นธรรมไม่สั่งสมจุติ ปฏิสนธิ และวัฏฏะ. พึงทราบคำตอบรับรอง และปฏิเสธของสกวาทีในที่นี้ เพราะหมายเอาเนื้อความนี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.

อรรถกถาอริยธัมมวิปากกถา จบ


๑. คำว่า อาจยคามีติกะได้แก่หมวด ๓ แห่งอาจายคามีในติกมติกา.


ความคิดเห็น 53    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 94

วิปาโกวิปากธัมมธัมโมติกถา

[๑๑๘๗] สกวาที วิบาก เป็นธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. วิบากของวิบากนั้น ก็เป็นธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วิบากของวิบากนั้น ก็เป็นธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อเป็นอย่างนั้น วิบากนั้นๆ ก็ไม่มีการทำที่สุดทุกข์ ไม่มีความขาดตอนแห่งวัฏฏะ ไม่มีอนุปาทาปรินิพพาน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๘๘] ส. วิบาก เป็นธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คำว่า วิบาก หรือว่าธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบากก็ดี คำว่าธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก หรือว่าวิบากก็ดี คำทั้ง ๒ นี้ก็อย่างเดียว กัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๘๙] ส. วิบาก เป็นธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิบาก กับธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก ธรรมที่เป็นเหตุ แห่งวิบาก กับวิบาก สหรคตกัน เกิดร่วมกัน ระคนกัน สัมปยุตกัน เกิด-


ความคิดเห็น 54    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 95

ด้วยกัน ดับด้วยกัน มีวัตถุอันเดียวกัน มีอารมณ์อันเดียวกัน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๙๐] ส. วิบาก เป็นธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อกุศลอันนั้น วิบากแห่งอกุศลก็อันนั้นแล กุศลอันนั้น วิบากแห่งกุศลก็อันนั้นแล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๙๑] ส. วิบาก เป็นธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลฆ่าสัตว์ด้วยจิตใด ก็ไหม้ในนรกด้วยจิตนั้น แหละ บุคคลให้ทานด้วยจิตใด ก็บันเทิงในสวรรค์โดยจิตนั้นแหละ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๙๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า วิบาก เป็นธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก

ส. ถูกแล้ว.

ป. วิบาก คือ ขันธ์ ๔ ส่วนนามธรรม เป็นอัญญมัญญปัจจัย มิใช่ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า วิบาก คือ ขันธ์ ๔ ส่วนนามธรรมเป็นอัญญมัญญปัจจัย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า วิบากเป็นธรรมที่เป็นเหตุ แห่งวิบาก.

วิปาโกวิปากธัมมธัมโมติกถา จบ


ความคิดเห็น 55    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 96

อรรถกถาวิปาโกวิปากธัมมธัมโมติกถา

ว่าด้วย วิปากะเป็นวิปากธัมมธรรม

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องวิบากเป็นวิปากธัมมธรรม คือวิบากเป็นธรรม ที่เป็นเหตุให้วิปากะเกิดขึ้น. ในปัญหานั้น วิบากเป็นปัจจัยแก่วิบากด้วย อำนาจแห่งอัญญมัญญปัจจัย เป็นต้นมีอยู่ ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจ ลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า แม้วิบากก็เป็นวิปากธัมมธรรม คือ เป็นธรรมที่เป็นเหตุให้วิบากเกิดขึ้น ดังนี้ คำถามของสกวาที หมายถึง ชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำว่า วิบากของวิบากนั้น ก็เป็นธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก ความว่า สกวาทีย่อมถามว่า วิบากใด มีอยู่ วิบากแม้นั้นเป็นวิปากธัมมธรรมแก่วิบากที่เป็นวิปากธัมมธรรม นั้นหรือ? ปรวาทีตอบปฏิเสธหมายเอาภาวะแห่งการให้ผลต่อไ

ป. ถูกถาม ครั้งที่ ๒ ตอบปฏิเสธ โดยผิดไปจากลัทธิ แต่ท่านก็ย่อมตอบรับรอง หมายเอาความเกิดขึ้นแห่งวิบากอื่นเพราะเป็นปัจจัยแก่วิบากแม้นั้น. ก็ ครั้นเมื่อความเป็นเช่นนั้นมีอยู่ การไม่ตัดวัฏฏะย่อมปรากฏว่า วิบาก แห่งวิบากแม้นั้นก็เป็นวิบากแห่งวิบากแม้นั้นต่อไป ราวกะกุศลและ อกุศลหรือ? ปรวาทีถูกถามปัญหานี้ ก็ตอบปฏิเสธเพราะกลัวผิดจากลัทธิ. ก็ในการพิสูจน์ถ้อยคำว่า คำว่าวิบากหรือว่าธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก ก็ดี เป็นต้น ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะว่า ถ้าว่า ความที่วิบากเป็นอรรถ อันเดียวกับธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบากไซร้ คำว่ากุศล อกุศลและอัพยากตะ ก็จะพึงมีอรรถอันเดียวกันได้.


ความคิดเห็น 56    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 97

ในคำว่า วิบากกับธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก นี้ มีคำอธิบายว่า เมื่อปรวาทีกำหนดอยู่ซึ่งวิบากในนามขันธ์ทั้ง ๔ ขันธ์ ๑ๆ ชื่อว่าเป็น วิปากธัมมธรรม คือเป็นธรรมที่เป็นเหตุให้วิบากเกิดขึ้น เพราะอรรถว่า เป็นปัจจัยในปัจจัยทั้งหลายมีอัญญมัญญปัจจัยเป็นต้น และเพราะอรรถว่า เป็นปัจจยุบบัน ดังนั้น เมื่อถูกสกวาทีถามว่า วิบากเป็นธรรมที่เป็นเหตุ แห่งวิปากะหรือ จึงตอบรับรองว่า ใช่. ลำดับนั้น สกวาที เพื่อท้วงปรวาที นั้น จึงกล่าวคำอย่างนี้ว่า วิบากในนามขันธ์ ๔ ในขณะเดียวกันก็ดี ธรรม ที่เป็นเหตุแห่งวิบากในนามขันธ์ ๔ ก็ดี เป็นธรรมที่ท่านรับรองแล้ว เหตุใด เพราะเหตุนั้น ความที่วิบากและธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิปากเหล่านั้น ย่อมปรากฏว่าเป็นธรรมสหรคตกันหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธ หมายเอา ธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก คือ กุศล. คำว่า อกุศลอันนั้น ความว่า ถ้าวิบากเป็นธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิปากะตามลัทธิของท่านไซร้ วิบากใด เป็นอกุศลวิบาก วิบากนั้นก็ถึงความเป็นอกุศล. ถามว่า เพราะเหตุไร? แก้ว่าเพราะความที่ท่านกล่าวว่าอกุศลวิบากเป็นสภาวะอย่างเดียวกันกับ ด้วยธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิปากะ. แม้ในคำว่า กุศลอันนั้น เป็นต้น ก็นัยนี้ นั่นแหละ.

คำว่า อัญญมัญญปัจจัย นี้ ปรวาทีกล่าวแล้วด้วยสามารถสัก แต่ว่าเป็นปัจจัยแห่งสหชาตธรรมทั้งหลาย เพราะฉะนั้น คำว่า อัญญมัญญปัจจัย นี้จึงไม่สำเร็จประโยชน์. แม้การกล่าวถึงความที่มหาภูตรูป ทั้งหลายเป็นปัจจัยซึ่งกันและกันนั้นก็หาใช่เป็นวิบากไม่ ทั้งไม่เป็นธรรม ที่เป็นเหตุแห่งวิบากด้วย ด้วยประการฉะนี้แล.

อรรถกถาวิปาโกวิปากธัมมธัมโมติกถา จบ


ความคิดเห็น 57    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 98

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ

๑. สังคหิตกถา ๒. สัมปยุตตกถา ๓. เจตสิกกถา ๔. ทานกถา ๕. ปริโภคมยปุญญกถา ๖. อิโตทินนกถา ๗. ปฐวีกัมมวิปาโกติกถา ๘. ชรามรณวิปาโกติกถา ๙. อริยธัมมวิปากกถา ๑๐. วิปาโกวิปากธัมมธัมโมติกถา.

วรรคที่ ๗ จบ