ขอเรียนถามว่า ผัสสเจตสิก เกิดขึ้นขณะใดคะ เกิดพร้อมกันกับขณะที่อารมณ์กระทบกับ ทวาร ใช่หรือไม่อย่างไรคะ
ขอบพระคุณอย่างสูง
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ถูกต้องครับ ผัสสเจตสิกเกิดขึ้นขณะใด ขณะนั้น ผัสสเจตสิก เกิดพร้อมกันกับขณะที่อารมณ์กระทบกับทวาร ครับ
ยกตัวอย่าง ทวาร ตา เหมือนกับว่ามีการประชุมกันของรูปารมณ์ จักขุปสาทรูป และจักขุวิญญาณจึง เป็นผัสสะ หรือ เป็นปัจจัยให้ผัสสะเกิดขึ้น เหมือนกับว่า จักขุวิญญาณ เกิดก่อน ... ผัสสะ เกิดทีหลังแต่ ความจริงแล้ว ... ผัสสะก็เกิดพร้อมกับ จักขุวิญญาณ. และ ผัสสะ ก็กระทบกับอารมณ์นั้นด้วยทางทวารตา
เพราะฉะนั้น ก็เป็นการแสดง เหตุ ผล แสดงสภาพธรรม และ การประชุมกันของสภาธรรม. เมื่อมี อารมณ์ปรากฏ ... คือ ขณะที่มี รูป มากระทบกับ จักขุปสาทรูปขณะนั้น ซึ่งจักขุปสาทรูป เป็น จักขุทวาร จึงเป็นปัจจัยให้ ผัสสะ เกิดขึ้นพร้อมกับ จักขุวิญญาณ. เพราะฉะนั้น การกระทบกัน หรือว่า การที่มีสภาพธรรมเหล่านี้ ประชุมกันเป็น "อาการปรากฏของผัสสะ"
ผัสสเจตสิกมีจริง แต่ผัสสเจตสิก เป็นสภาพธรรม ซึ่งยากที่จะรู้ได้ เช่น กำลัง เห็น ขณะนี้ ... มีใคร รู้ ลักษณะของ ผัสสเจตสิก.? เพราะว่า ผัสสเจตสิก เป็น นามธรรม ที่กระทบอารมณ์ ผัสสเจตสิก ไม่ใช่ จักขุปสาทรูป ที่กระทบกับ รูปารมณ์
จักขุปสาทรูป เป็น รูปธรรม รูปารมณ์ เป็น รูปธรรม.แต่ ต้องเป็น ผัสสเจตสิก ที่กระทบ รูปารมณ์ โดยอาศัย จักขุปสาทรูป. เพราะฉะนั้น ขณะที่ "สภาพธรรมปรากฏ" เช่น ขณะนี้ มี "การเห็น" และ มี "สิ่งที่ปรากฏทางตา" ผัสสเจตสิก ... ไม่ได้ปรากฏแต่ หมายความว่า สภาพธรรมเหล่านี้ จะปรากฏได้ ก็ต้องมี ผัสสเจตสิก เมื่อสภาพธรรมต่างๆ เหล่านี้ปรากฏได้ ก็แสดงว่า ขณะนี้ ต้องมี ผัสสเจตสิก เกิดขึ้นด้วย ครับ
ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา
ตามความเห็นที่ 1 ที่ได้กรุณาอธิบายมานั้น ที่ท่านได้กล่าวถึงการประชุมรวมกันของสภาพธรรม
ดิฉันขอเรียนถามว่า หมายความว่า สภาพธรรมนั้นๆ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกันที่ทำให้สภาพธรรมปรากฏ ผัสสเจตสิก จะเกิดขึ้นลอยๆ เดี่ยวๆ ไม่ได้ การเห็นจะเกิดขึ้นเดี่ยวๆ ไม่ได้ ถ้าไม่มีรูปมากระทบจักขุปสาท ใช่หรือไม่คะ
เรียนความเห็นที่ 2 ครับ
ถูกต้องครับ ผัสสเจตสิกจะเกิดขึ้นลอยๆ ไม่ได้ เพราะ เจตสิก มีผัสสเจตสิก จะต้องเกิดร่วมกับจิต คือ จักขุวิญญาณ ผัสสเจตสิกจะเกิดโดยไม่มีจิตไม่ได้ และ กระทบอารมณ์ มี รูปารมณ์ และจักขุปสาทรูป เพราะอาศัยสภาพธรรมประชุมกัน จึงปรากฏแห่งสภาพธรรมที่เป็นผัสสะ ครับ
ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอเรียนสอบถามครับ
จักขุวัตถุ คือดวงตาใช่ไหมครับ
และที่ตั้งของจักขุปสาทรูปนั้น ตั้งอยู่ส่วนใดของดวงตาครับ
จักขุปสาทรูปไม่รู้อารมณ์แต่จักขุปสาทรูปเป็นฐานให้เกิดจักขุวิญญาณใช่ไหมครับ
แล้วรูปารมณ์คือเปรียบเทียบได้กับเรื่องราวต่างๆ ใช่ไหมครับ
และผัสสเจตสิกไม่รู้อารมณ์แต่ผัสสเจตสิกเป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณใช่ไหมครับ
ขอเรียนสอบถามด้วยความเคารพ
ขอขอบพระคุณอย่างสูงยิ่งครับ
เรียนความเห็นที่ 5 ครับ
จักขุวัตถุ คือดวงตาใช่ไหมครับ และที่ตั้งของจักขุปสาทรูปนั้นตั้งอยู่ส่วนใดของดวงตา
- ก่อนอื่นก็ต้องแบ่ง ตาทั้งหมด เรียกว่า มังสจักษุ มี ๒ อย่าง คือ
สสัมภารจักษุ ๑, ปสาทจักษุ ๑.
ก้อนเนื้ออันใดตั้งอยู่ที่เบ้าตา พร้อมด้วยหนังหุ้มลูกตาภายนอก ทั้ง ๒ ข้างเบื้องต่ำ กำหนดด้วยกระดูกเบ้าตา เบื้องบนกำหนดด้วยกระดูก คิ้ว ผูกด้วยเส้นเอ็นอันออกจากท่ามกลางเบ้าตาโยงติดไปถึงสมอง ศีรษะ สสัมภารจักษุ.
ส่วนความใสอันใดเกี่ยวในสสัมภารจักษุนี้ เนื่องในสสัมภารจักษุนี้ อาศัยมหาภูตรูป ๔ มีอยู่, ความใสนี้ ชื่อว่า ปสาทจักษุ. ใน ที่นี้ ท่านประสงค์เอา ปสาทจักษุ นี้. หรือ จักขุปสาทรูป นั่นเองครับ ซึ่ง สสัมภารจักษุ คือ ส่วนประกอบของดวงตา ไม่ใช่ ส่วนที่เป็นสภาพธรรมที่กระทบกับสิ่งที่ปรากฏทางตา หรือ สีได้ แต่เป็นเพียงส่วนประกอบให้จักขุปสาทรูปตั้งอยู่ อาศัยอยู่ ครับ
แต่ ปสาทจักษุ หรือ จักขุปสาทรูป เป็น รูปที่สามารถกระทบกับสี สิ่งที่ปรากฏทางตาได้ ที่เรียกว่า ตา ที่ทำหน้าที่กระทบ รูป สี หมายเอา จักขุปสาทรูป ครับ ซึ่ง จักขุปสาทรูป ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า เป็นส่วนที่เล็กมาก แต่ก็อาศัยอยู่ในดวงตา ที่สมมติว่าเป็นตาดำ ตาขาวนั่นเอง ครับ
ดังนั้น จักขุปสาทรูป จึงตั้งอยู่ ในสสัมภารจักษุ ที่เรียกว่า ตาดำ ตาขาว ตามที่สมมติกันทางโลก ครับ แต่ ตาดำ ตาขาว ไม่ใช่ จักขุปสาทรูป ครับ เป็น สสัมภารจักษุ แต่ จักขุปสาทรูปเล็ก ละเอียด อยู่ใน ตาดำ ตาขาว ครับ
จักขุปสาทรูปไม่รู้อารมณ์แต่จักขุปสาทรูปเป็นฐานให้เกิดจักขุวิญญาณใช่ไหมครับ
- จักขุปสาทรูป เป็นรูป รูปเป็นสภาพธรรมที่ไม่รู้อารมณ์ จักขุปสาทรูป จึงไม่รู้อะไรเลย แต่ทำหน้าที่ระทบกับ สี สิ่งที่ปรากฏทางตา ไม่ได้ทำหน้าที่เห็น แต่ จักขุวิญญาณ ทำหน้าที่เห็น รู้สีในขณะนั้น ครับ จักขุปสาทรูป เป็นรูปที่เป็นที่เกิดของจิตทางทวารตา ทั้ง จักขุวิญญาณจิตด้วย และจิตอื่นๆ มี สัมปฏิฉันนจิต ทางจักขุทวาร เป็นต้น
แล้วรูปารมณ์ คือ เปรียบเทียบได้กับเรื่องราวต่างๆ ใช่ไหมครับ
- รูปารมณ์ คือ สี ที่เป้นอารมณ์ของจิต เห็น เป็นต้น ส่วน เรื่องราว เป็นบัญญัติที่เกิดจากหลังจากการเห็นแล้ว บัญญัติ คิดนึก เป็นเรื่องราว เป็นคนนั้น เป็นคนนี้ เป็นสัตว์ บุคคล สิ่งต่างๆ
เพราะฉะนั้น ขณะที่เห็น เห็นเพียง สี รูปารมณ์ ยังไม่เป็นเรื่องราว ครับ ต่อเมื่อคิดนึกทางใจแล้ว จึงเป็นเรื่องราวต่างๆ เพราะฉะนั้น รูปารมณ์ เป็นรูป ไม่ใช่บัญญัติเรื่องราว ครับ
และผัสสเจตสิกไม่รู้อารมณ์แต่ผัสสเจตสิกเป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณใช่ไหมครับ
- ผัสสเจตสิก เมื่อเป็นเจตสิก ย่อมเป็นสภาพธรรมที่รู้อารมณ์ ผัสสเจตสิกก็รู้อารมณ์เดียวกับจิตที่เกิดนั่นเอง รู้อารมณ์เดียวกับจิตนั้น
อารมณ์ หมายถึง สิ่งที่ถูกจิตรู้ จักขุวิญญาณ มีอารมณ์ คือ สี หรือ รูปารมณ์ ขณะที่เห็น จักขุวิญญาณจิตเกิด ขณะนั้น มีสี หรือ รูปารมณ์ เป็นอารมณ์ ไม่ได้มีผัสสเจตสิกเป็นอารมณ์ แต่ผัสสเจตสิกเกิดพร้อมกับ จักขุวิญญาณจิต ผัสสเจตสิก รู้อารมณ์เดียวกับจิตประเภทนั้น เพราะฉะนั้น ผัสสเจตสิก จึงมี สี หรือ รูปารมณ์ เป็นอารมณ์เช่นเดียวกับ จักขุวิญญาณจิต ครับ
ขออนุโมทนาทื่ร่วมสนทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ผัสสเจตสิก เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นสภาพธรรมที่กระทบอารมณ์ เป็นเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตทุกขณะ ไม่ว่าจะเป็นจิตขณะใด จะไม่ปราศจากผัสสเจตสิกเลย แสดงถึงความเป็นจริง ธรรมที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น ไม่มีใครบังคับให้สภาพธรรมหนึ่งสภาพธรรมใด เกิดขึ้นได้เลย แต่ธรรมเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย แม้ผัสสเจตสิกเอง ก็ต้องอาศัยปัจจัย ด้วย เช่น ต้องอาศัยจิตเกิดขึ้น ต้องเกิดร่วมก้บเจตสิกอื่นๆ ต้องมีอารมณ์ ต้องมีที่อาศัยเกิด เป็นต้น แสดงถึงความเป็นอนัตตาของสภาพธรรมจริงๆ
จิตทุกขณะไม่ปราศจากผัสสเจตสิก ดังนั้น เมื่อจิตเกิดที่วัตถุรูปใด ผัสสเจตสิก ก็เกิดที่วัตถุรูปนั้น จิตรู้อารมณ์ใด ผัสสะ ก็กระทบในสิ่งที่จิต รู้ นั้น ทั้งหมด มีแต่ธรรมเท่านั้นที่เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ ครับ.
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ผมยังมีความคลาดเคลื่อนในพระธรรมอยู่อย่างมากครับแล้วจะได้เรียนถามต่อไปครับ
กราบขอบพระคุณอ.ผเดิม, อ.คำปั่น และสหายธรรมทุกๆ ท่านครับ
ขอบคุณ และ ขออนุโมทนาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอบพระคุณ และ ขออนุโมทนาครับ
กราบขอบพระคุณ และ ขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และ ขออนุโมทนาค่ะ