ทาน ศีล ภาวนา เอื่อประโยชน์ต่อสติปัฏฐานได้อย่างไร
โดย samroang69  18 มิ.ย. 2554
หัวข้อหมายเลข 18579

ขอรบกวนถามหน่อยนะครับ เพราะมีบางคนว่า ทำทาน ๑๐๐ ครั้งก็ไม่เท่ารักษาศีลแค่ ๑ วัน

รักษาศีล ๑๐๐ วันก็ไม่เท่าภาวนาเพียงแค่ได้ความสงบรัดนิวมือเดียว หรือช้างกระดิกหููงู

แลบลิ้บ ก็จริงที่ว่าการภาวนามีประโยชน์ต่อการเจริญสติปัฏฐานอย่างมาก แต่ทานกับศีลก็

มีความสำคัญเช่นกันครับช่วยตอบให้หน่อยนะครับ ขอบคุณ



ความคิดเห็น 1    โดย paderm  วันที่ 19 มิ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

กุศลทุกอย่าง หากไม่ประกอบด้วยความเข้าใจในเรื่องของการเจริญสติปัฏฐานเป็น

พื้นฐานก็จะไม่เกื้อกูลการเจริญสติปัฏฐานเลยครับ ดังเช่น ผู้ที่อบรมเจริญกุศลมาก

มาย มีการให้ทาน รักษาศีลและอบรมสมถภาวนาจนได้ฌานขั้นสูงสุด ตั้งแต่ก่อนสมัย

พุทธกาล แต่ไม่ได้มีความเข้าใจในการอบรมปัญญา ในหนทางการดับกิเลส กุศลขั้น

ต่างๆ นั้นก็ไม่ได้เป็นปัจจัยให้สติปัฏฐานเกิดครับ เพราะไม่ได้มีปัญญาเป็นพื้นฐานใน

การเจริญสติปัฏฐาน แต่โดยนัยตรงกันข้าม ผู้ที่มีความเข้าใจในเรื่องของการเจริญสติ

ปัฏฐาน กุศลต่างๆ ที่เจริญก็ย่อมเกื้อกูลกับกาเรจริญสติปัฏฐานด้วย เพราะมีความเห็น

ถูกเป็นเบื้องต้น หรือมีปัญญาเป็นสำคัญอยู่แล้วครับ ดังนั้นกุศลที่เกิดขึ้นก็ย่อมทำให้

สติปัฏฐานเกิดได้ พร้อมๆ กับสติที่เกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นกุศลด้วยใน

ขณะนั้นครับ ซึ่งในพระไตรปิฎกแสดงว่า เหตุ หรือ อาหารของสติปัฏฐานคือ สุจริต 3

ก็คือ ความสุจริตทางกาย วาจาและใจ ทีเป็นกุศล อันประกอบด้วยความเข้าใจพื้นฐาน

ในเรื่องสติปัฏฐาน อันเกิดจากการฟังพระธรรมก็ย่อมทำให้สติปัฏฐานเจริญขึ้นเพราะ

กุศลอื่นๆ ก็เป็นปัจจัยให้ใจ ย่อมน้อมไปในการเจริญสติปัฏฐานเพิ่มขึ้นเพราะกุศลจิต

ระดับต่างๆ เกิดบ่อยนั่นเองครับ ดังนั้นสำคัญที่ความเข้าใจพื้นฐานเป็นสำคัญคือ

ปัญญาที่เข้าในในเรื่องสติปัฏฐานครับ เมื่อมีความเข้าใจตรงนี้ก็ไม่เข้าใจผิดว่าจะต้อง

ให้ทาน รักษาศีลก่อน เพื่อให้สติปัฏฐานเกิด แต่สติปัฏฐาน การเจริญวิปัสสนาจะเกิด

ก็อาศัยการฟังพระธรรมเรื่องสติปัฏฐาน เรื่องสภาพธรรม เมื่อปัญญาเจริญขึ้น กุศลขั้น

อื่นๆ ก็เจริญขึ้นตามไปด้วยครับ กุศลต่างๆ ก็จะเกื้อกูลกัน อันมีปัญญาเป็นแกนหลัก

สำคัญ ขออนุโมทนาครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


ความคิดเห็น 2    โดย วิริยะ  วันที่ 20 มิ.ย. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

ความคิดเห็น 3    โดย wannee.s  วันที่ 20 มิ.ย. 2554

เพราะขณะที่หลงลืมสติก็ต่างกับขณะที่มีสติแล้ว ถ้ากุศลขั้นทาน ศีล ภาวนา ยังไม่เกิด

สติปัฏฐานยิ่งเกิดยากกว่านั้นอีก เพียงสละวัตถุภายนอกยังไม่ได้ หรือวิรัติทุจริตยังไม่ได้

แล้วกิเลสที่เราสะสมมา เหนียวแน่นกว่า ยิ่งสละยาก เพราะฉะนั้นกุศลทุกอย่างที่ประกอบ

ด้วยปัญญาเป็นปัจจัยให้สติปัฏฐานเกิดค่ะ