๘. องคุลิมาลเถรคาถา ว่าด้วยการหยุดแล้วจากการทําความชั่ว
โดย บ้านธัมมะ  20 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 40662

[เล่มที่ 53] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 132

เถรคาถา วีสตินิบาต

๘. องคุลิมาลเถรคาถา

ว่าด้วยการหยุดแล้วจากการทําความชั่ว


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 53]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 132

๘. องคุลิมาลเถรคาถา

ว่าด้วยการหยุดแล้วจากการทำความชั่ว

[๓๙๒] พระองคุลิมาลเถระ สมัยเมื่อยังเป็นโจร ได้กล่าวคาถา กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ดูก่อนสมณะ ท่านสิกำลังเดินอยู่ กลับกล่าวว่า เรา หยุดแล้ว ส่วนข้าพเจ้าหยุดแล้ว ท่านกลับกล่าวว่าไม่ หยุด ดูก่อนสมณะ ข้าพเจ้าขอถามความข้อนี้กะท่าน ท่านกำลังเดินอยู่ เพราะเหตุไร ท่านจึงกล่าวว่าหยุดแล้ว ข้าพเจ้าสิหยุดแล้ว ท่านกลับกล่าวว่าไม่หยุด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ดูก่อนองคุลิมาล เราวางอาชญาในสัตว์ทั้งปวงแล้ว ส่วนท่านสิยังไม่สำรวมในสัตว์ทั้งหลาย ฉะนั้น เราจึงชื่อ ว่าหยุดแล้ว ส่วนท่านชื่อว่ายังไม่หยุด.

องคุลิมาลโจรกราบทูลว่า

พระองค์เป็นสมณะที่ชาวโลกกับทั้งเทวโลกบูชาด้วย เครื่องบูชามากมาย ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เพิ่ง จะเสด็จมาถึงป่าใหญ่เพื่อโปรดข้าพระองค์โดยกาลนาน หนอ ข้าพระองค์ได้สดับพระคาถา ซึ่งประกอบด้วย เหตุผลของพระองค์แล้ว จักละเลิกบาปกรรมตั้งพันเสีย.

พระสังคีติกาจารย์ได้กล่าวคาถาไว้ ๒ คาถา ความว่า

ครั้นองคุลิมาลโจรกราบทูลดังนี้แล้ว ก็โยนดาบและ อาวุธทั้งหมดหญิงลงในหนองน้ำ บ่อน้ำ และในเหว ได้


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 133

ถวายบังคมพระยุคลบาทของพระสุคตเจ้า แล้วทูลขอ บรรพชากะพระพุทธเจ้า ณ ที่นั้นเอง ทันใดนั้นแล พระพุทธเจ้าประกอบไปด้วยพระมหากรุณา ทรงแสวงหาคุณ อันยิ่งใหญ่ เป็นศาสดาของโลกกับทั้งเทวโลก ได้ตรัสว่า จงเป็นภิกษุมาเถิด เท่านี้ความเป็นภิกษุได้มีแก่องคุลิมาล โจรนั้น ในขณะนั้นทีเดียว.

เมื่อท่านพระองคุลิมาลได้บรรพชาอุปสมบทแล้ว ได้บรรลุอรหัต แล้วเสวยวิมุตติสุขอยู่ เกิดปีติโสมนัส ได้กล่าวคาถาด้วยสามารถอุทานนี้ ความว่า

ผู้ใดเคยประมาทในตอนต้น ภายหลังเขาไม่ประมาท ผู้นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้ว จากหมอกฉะนั้น บาปกรรมที่ทำไร้แล้ว อันผู้ใดย่อมปิด กั้นไว้ด้วยกุศล ผู้นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือน พระจันทร์พ้นแล้วจากหมอกฉะนั้น ภิกษุใดแล แม้จะ ยังหนุ่ม ประกอบความขวนขวายในพระพุทธศาสนา ภิกษุ นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้ว จากหมอกฉะนั้น ก็ผู้ที่เป็นข้าศึกต่อเรา ขอจงพึงธรรมกถาที่เราได้ฟังแล้วในสำนักของพระศาสดา ขอจงประกอบความขวนขวายในพระพุทธศาสนา ขอจงคบหากับ มนุษย์ผู้เป็นสัตบุรุษ ซึ่งถือมั่นแต่ธรรมอย่างเดียว ก็ผู้ที่ เป็นข้าศึกต่อเรา ขอเชิญฟังธรรมของท่านผู้กล่าวสรรเสริญความอดทน ผู้มีปกติสรรเสริญความไม่โกรธ ตาม


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 134

เวลาอันสมควร และขอจงปฏิบัติตามธรรมอันสมควรแก่ ธรรมนั้นเถิด ขออย่าเบียดเบียนเราและชาวประชาหรือ ว่าสัตว์อื่นใดเลย พึงบรรลุความสงบอย่างเยี่ยม และพึง รักษาสัตว์ทั้งปวงให้เป็นเหมือนบุตรที่รักเถิด ก็ชาวนาที่ ต้องการน้ำย่อมไขน้ำไป ช่างศรย่อมดัดลูกศร ช่างไม้ย่อม ถากไม้ บัณฑิตย่อมฝึกตน คนบางพวกฝึกช้างและม้า เป็นต้น ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยขอบ้าง ด้วยแส้บาง ส่วน เราเป็นผู้อันพระศาสดาผู้คงที่ทรงฝึกแล้ว โดยไม่ได้ทรง ใช้อาชญาและศาสตรา, เมื่อก่อนเรามีชื่อว่า อหิงสกะ ผู้ ไม่เบียดเบียน แต่เรายังเบียดเบียนผู้อื่นอยู่ วันนี้เราเป็น ผู้มีชื่อจริง ไม่เบียดเบียนใคร แต่ก่อนเราเป็นโจรลือชา ทั่วไปว่าองคุลิมาล ถูกห้วงน้ำใหญ่พัดไปจนได้มาพบพระพุทธเจ้าผู้เป็นที่พึ่งเข้า ครั้งก่อนเรามีมือเปื้อนด้วยโลหิต ลือชื่อไปทุกทิศว่าองคุลิมาล แต่บัดนี้ องคุลิมาลได้มาพบ พระพุทธเจ้าผู้เป็นที่พึ่งเข้าแล้ว ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ ภพน้อยภพใหญ่ขึ้นได้แล้ว เราได้ทำกรรมเช่นนั้นอันเป็น เหตุให้ไปสู่ทุคติเป็นอันมาก จึงต้องมารับผลกรรมที่ทำไว้ แต่บัดนี้ เราบริโภคโภชนะโดยไม่เป็นหนี้ คนพาลผู้มี ปัญญาทราม ย่อมประกอบตามความประมาท ส่วนนัก ปราชญ์ ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้ เหมือนทรัพย์ อันประเสริฐสุดฉะนั้น ท่านทั้งหลายอย่าประกอบตาม ความประมาท อย่าประกอบความสนิทสนมด้วยความ


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 135

ยินดีในกาม เพราะว่าผู้ไม่ประมาทเพ่งพินิจอยู่ ย่อมถึง ความสุขอันไพบูลย์ การที่เรามาสู่สำนักของพระศาสดา เป็นการมาดีแล้ว มิใช่ว่าเป็นการมาไม่ดี การที่เราคิดจะ บวชในสำนักของพระศาสดานี้ ก็ไม่ใช่เป็นความคิดที่ เลวเลย เพราะเป็นการเข้าถึงธรรมอันประเสริฐ ในธรรม ทั้งหลายที่พระศาสดาทรงจำแนกดีแล้ว การที่เรามาสู่ สำนักของพระศาสดานี้ เป็นการมาดีแล้ว มิใช่ว่าเป็น การมาไม่ดี การที่เราคิดจะมาบวชในสำนักของพระศาสดานี้ ก็ไม่ใช่เป็นความคิดที่เลวเลย เราได้บรรลุ วิชชา ๓ ตามลำดับ ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เสร็จแล้ว แต่ก่อนเราอยู่ในป่า โคนไม้ ภูเขา หรือใน ถ้ำทุกๆ แห่ง มีใจหวาดเสียวอยู่เป็นนิตย์ เราผู้อันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้วไม่ไปในบ่วงมาร จะยืน เดิน นั่ง นอนก็เป็นสุข เมื่อก่อนเรามีเชื้อชาติเป็นพราหมณ์ มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ทั้งหลายฝ่าย บัดนี้ เราเป็น โอรสของพระสุคตศาสดา ผู้เป็นพระธรรมราชา เราเป็น ผู้ปราศจากตัณหาแล้ว ไม่ถือมั่น คุ้มครองทวาร สำรวม ดีแล้ว เราตัดรากเหง้าของทุกข์ได้แล้ว บรรลุถึงความสิ้น อาสวะแล้ว เรามีความคุ้นเคยกับพระศาสดา ทำตามคำ สอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว ปลงภาระอันหนักลง แล้ว ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพขึ้นแล้ว.

จบองคุลิมาลเถรคาถา


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 136

อรรถกถาองคุลิมาลเถรคาถาที่ ๘

คาถาของท่านพระองคุลิมาลเถระ มีคำเริ่มต้นว่า คจฺฉํ วเทสิ สมณ ิโตมฺหิ ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร?

แม้พระเถระนี้ ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าแต่ ปางก่อน สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งวิวัฏฏะไว้ในภพนั้นๆ ใน พุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดเป็นบุตรพราหมณ์นามว่าภัคควะ ผู้เป็นปุโรหิต ของพระเจ้าโกศลในเมืองสาวัตถี, ในวันที่ท่านเกิด อาวุธนานาชนิดทั่ว ทั้งพระนครลุกโพลง และพระแสงมงคลของพระราชา ซึ่งวางอยู่บนตั่ง ที่บรรทมก็ลุกโพลงด้วย พระราชาทรงเห็นดังนั้นทรงกลัวหวาดเสียว บรรทมไม่หลับ.

ในเวลานั้น ปุโรหิตตรวจดูดาวนักษัตร จึงได้กระทำการตกลงว่า มีทารกเกิดแล้วในโจโรฤกษ์ ฤกษ์โจร. เมื่อราตรีสว่าง ท่านปุโรหิตเข้า ไปเฝ้าพระราชา ทูลถามถึงความบรรทมสบาย. พระราชาตรัสว่า จะนอน สบายมาแต่ไหน อาจารย์ ตอนกลางคืน พระแสงมงคลของฉันลุกโพลง ข้อนั้นจักมีผลเป็นอย่างไรหนอ. ปุโรหิตกราบทูลว่า อย่าทรงกลัวเลย พระเจ้าข้า ทารกเกิดในเรือนของข้าพระองค์, ด้วยอานุภาพของทารก นั้น แม้อาวุธนานาชนิด ทั่วทั้งพระนครก็ลุกโพลง. พระราชาตรัสถามว่า จักเป็นอย่างไรล่ะ อาจารย์. ปุโรหิตทูลว่า ทารกจักเป็นโจร พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสถามว่า จักเป็นโจรเที่ยวไปคนเดียว หรือว่าเป็นหัวหน้าคณะ. ปุโรหิตทูลว่า เป็นโจรเที่ยวไปผู้เดียว พระเจ้าข้า, จักให้พวกข้าพระองค์ ฆ่าเขาไหมพระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า ถ้าเป็นโจรเที่ยวไปคนเดียวไซร้ พวกท่านจงเลี้ยงเขาไว้ก่อน เมื่อจะตั้งชื่อเขา เพราะเหตุที่เขาเมื่อจะเกิด


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 137

ได้เกิดมาเบียดเบียนพระหฤทัยของพระราชา เพราะฉะนั้น จึงตั้งชื่อว่า หิงสกะ ภายหลังจึงเรียกชื่อว่า อหิงสกะ เหมือนที่พูดกันว่า เห็นแล้วก็ พูดเสียว่าไม่เห็นฉะนั้น.

อหิงสกะนั้น เติบโตแล้ว ทรงกำลังเท่าช้างสาร ๗ เชือก เพราะ กำลังแห่งบุรพกรรม, อหิงสกะนั้นมีบุรพกรรมดังนี้ :-

ในคราวที่โลกว่างจากพระพุทธเจ้า เขาบังเกิดเป็นชาวนา ได้เห็น พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งเปียกน้ำฝน มีจีวรชุ่ม ถูกความหนาวเบียดเบียน เข้าไปยังพื้นที่นาของตน เกิดความโสมนัสว่า บุญเขตปรากฏ แก่เราแล้ว จึงได้ก่อไฟถวาย. ด้วยกำลังแห่งกรรมนั้น เขาจึงเป็นผู้เพียบ พร้อมด้วยกำลังแรงและกำลังเชาวน์ ในที่ที่เกิดแล้วๆ ในอัตภาพสุดท้าย นี้ จึงทรงกำลังเท่าช้างสาร ๗ เชือก.

อหิงสกะนั้นไปเมืองตักกศิลา เป็นธัมมันเตวาสิก (คือศิษย์ชนิดทำ การงานให้อาจารย์) ในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ เรียนศิลปะ ปฏิบัติ พราหมณ์ผู้อาจารย์ และภรรยาของอาจารย์โดยเคารพ. ด้วยเหตุนั้น นางพราหมณีนั้น จึงได้ทำการสงเคราะห์เขาด้วยอาหารเป็นต้นที่มีอยู่ใน เรือน. พวกมาณพอื่นๆ อดทนไม่ได้ ซึ่งการสงเคราะห์นั้น จึงได้ทำ ให้แตกกับอาจารย์. พราหมณ์ไม่เชื่อคำของมาณพเหล่านั้น ๒ - ๓ วาระ มาภายหลังเชื่อ คิดว่า มาณพมีกำลังมาก ใครๆ ไม่อาจฆ่าได้ เราจักฆ่า เขาด้วยอุบาย จึงกล่าวกะมาณพผู้เรียนจบศิลปะแล้ว มาลาเพื่อจะไปเมือง ของตนว่า พ่ออหิงสกะ ธรรมดาศิษย์ผู้เรียนจบศิลปะแล้ว จะต้องให้ของ คำนับครู แก่อาจารย์ เจ้าจงให้ของคำนับครูนั้น แก่เรา. อหิงสกะกล่าว ว่า ดีแล้วท่านอาจารย์ ผมจักให้อะไร. พราหมณ์กล่าวว่า เจ้าจงนำเอา นิ้วมือขวาของพวกมนุษย์มา ๑,๐๐๐ นิ้ว. ได้ยินว่า พราหมณ์ได้มีความ


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 138

ประสงค์ต่อเขาดังนี้ว่า เมื่อฆ่าคนจำนวนมาก คนๆ หนึ่งจักฆ่าเขาได้ โดยแท้.

อหิงสกะได้ฟังดังนั้น จึงมุ่งหน้าว่า คนไม่มีความกรุณาที่สะสมไว้ นาน ผูกสอดอาวุธ ๕ อย่าง เข้าไปยังป่าชาลินวัน ในแคว้นของพระเจ้าโกศล อยู่ในระหว่างเขาใกล้หนทางใหญ่ ยืนยอดเขาเห็นพวกมนุษย์ผู้ เดินไปตามทาง จึงรีบไป (ฆ่าตัด) เอานิ้วมือมาห้อยไว้ที่ยอดไม้. แร้งบ้าง กาบ้าง กินนิ้วมือเหล่านั้น ที่หล่นลงบนพื้นดินก็เปื่อยเน่าไป. เมื่อนิ้วมือ ไม่ครบจำนวนอย่างนี้ จึงเอาด้ายร้อยนิ้วมือที่ได้แล้วๆ กระทำให้เป็นพวง แล้วสะพายไหล่ เหมือนคล้องสายยัชโญปวีตฉะนั้น ตั้งแต่นั้นมา เขาจึง ได้มีสมัญญาว่า องคุลิมาล.

เมื่อเขาฆ่าพวกมนุษย์อยู่อย่างนี้ หนทางก็ไม่มีคนใช้เดินทาง. เขา ไม่ได้มนุษย์ในหนทาง จึงไปยังอุปจารบ้าน แอบฆ่ามนุษย์ที่มาแล้วๆ เอานิ้วมือไป. มนุษย์ทั้งหลายรู้เข้าก็พากันหลีกออกไปจากบ้าน บ้านทั้งหลายก็ร้าง นิคมและชนบทก็เหมือนกัน. ประเทศนั้นได้ถูกเขาทำให้อยู่กัน ไม่ได้ ด้วยประการฉะนี้. องคุลิมาลได้รวบรวมนิ้วมือได้พันนิ้ว หย่อน อยู่หนึ่งนิ้ว. ลำดับนั้น มนุษย์ทั้งหลายได้กราบทูลถึงอันตรายเพราะโจร นั้นแด่พระเจ้าโกศล. พระราชาจึงรับสั่งให้เที่ยวตีกลองไปในพระนครแต่ เช้าตรู่ว่า พวกเรารีบจับองคุลิมาลโจร, พลนิกายจงมา.

นางพราหมณีชื่อว่ามันตานีผู้เป็นมารดาขององคุลิมาล กล่าวกะบิดา ขององคุลิมาลนั้นว่า ข่าวว่าบุตรของท่านเป็นโจรกระทำดังนี้ๆ ท่านจง ไปเกลี้ยกล่อมเขาว่า อย่าทำเช่นนี้ แล้วพามา พระราชาจะพึงฆ่าเขาโดย ประการอื่น. พราหมณ์กล่าวว่า เราไม่ต้องการบุตรเช่นนั้น พระราชา


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 139

จงทรงกระทำตามพอพระทัยเถิด. ลำดับนั้น พราหมณีมีความรักบุตร จึงถือเอาเสบียงทางแล้วเดินทางไปด้วยหวังใจว่า เราจักยังบุตรของเรา ให้ยินยอมแล้วพามา.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า พราหมณีนี้จะไปด้วยหวังว่าจักนำ องคุลิมาลมา ถ้านางจักไป องคุลิมาลก็จักฆ่ามารดาเสีย ด้วยคิดว่าจะให้ ครบ ๑,๐๐๐ นิ้ว. ก็องคุลิมาลนั้นเป็นปัจฉิมภวิกสัตว์ ถ้าเราจักไม่ไปไซร้ ความเสื่อมใหญ่จักได้มีแล้ว จึงเสด็จกลับจากบิณฑบาตภายหลังภัต ทรง ถือบาตรและจีวรด้วยพระองค์เอง ทรงดำเนินไปด้วยพระบาทสิ้นหนทาง ๓๐ โยชน์ เฉพาะเจาะจงองคุลิมาล ในระหว่างทาง แม้คนเลี้ยงโคเป็นต้น ห้ามปรามก็เสด็จเข้าถึงป่าชาลินวัน.

ก็ขณะนั้น พอดีเขาได้เห็นมารดาของเขา ครั้นเขาเห็นมารดา แต่ไกล จึงเงื้อดาบวิ่งเข้าไปหมายใจว่า แม้มารดาเราก็จักฆ่า ท่านนิ้วที่ หย่อนให้ครบเต็มพันในวันนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระองค์ใน ระหว่างคนทั้งสองนั้น. องคุลิมาลได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงคิดว่า เรา จะประโยชน์อะไรด้วยการฆ่ามารดาแล้วถือเอานิ้วมือ มารดาเราจงมีชีวิต อยู่เถิด ถ้ากระไรเราพึงปลงชีวิตพระสมณะนี้แล้วถือเอานิ้วมือ จึงเงื้อดาบ ติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าไปข้างหลังๆ.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงอิทธาภิสังขาร โดย ประการที่องคุลิมาลแม้จะวิ่งจนสุดแรง ก็ไม่อาจทันพระองค์ทั้งที่พระองค์ เสด็จไปโดยพระอิริยาบถปกติได้. เขาถอยความเร็วลง หายใจครืดๆ เหงื่อไหลออกจากรักแร้ทั้งสองข้าง ไม่อาจแม้จะยกเท้าขึ้น จึงยืนเหมือน ตอไม้ กล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า หยุดเถิด หยุดเถิด สมณะ พระผู้มี-


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 140

พระภาคเจ้าแม้เสด็จดำเนินอยู่ จึงตรัสว่า เราหยุดแล้ว องคุลิมาล เธอแหละ จงหยุด. เขาคิดว่า พระสมณศากยบุตรเหล่านี้แล มีปกติพูดคำสัจจริง สมณะนี้ทั้งๆ ที่เดินไปก็พูดว่า เราหยุดแล้ว องคุลิมาล เธอนั่นแหละ จงหยุด. ก็เราเป็นผู้หยุดแล้ว สมณะนี้มีความประสงค์อย่างไรแล เราจัก ถามให้รู้ความประสงค์นั้น จึงได้กล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

ดูก่อนสมณะ ท่านสิกำลังเดินอยู่ กลับกล่าวว่า เรา หยุดแล้ว ส่วนข้าพเจ้าหยุดแล้ว ท่านกลับกล่าวว่าไม่ หยุด ดูก่อนสมณะ ข้าพเจ้าขอถามความนี้กะท่าน ท่าน กำลังเดินอยู่ เพราะเหตุไร จึงกล่าวว่าหยุดแล้ว ส่วน ข้าพเจ้าสิ หยุดแล้ว ท่านกลับกล่าวว่าไม่หยุด.

บรรดาบทเหล่านั้น องคุลิมาลเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า สมณะ,

บทว่า มํ แปลว่า ข้าพเจ้า.

บทว่า กถํ แปลว่า โดยอาการอย่างไร. ก็ในคาถานี้ มีเนื้อความ ดังต่อไปนี้ :- ดูก่อนสมณะ ท่านกำลังเดินอยู่แท้ๆ กลับกล่าวว่า เรา หยุดแล้ว. ส่วนข้าพเจ้าผู้หยุดแล้ว ท่านกลับกล่าวคือพูดว่า ยังไม่หยุด ในข้อนี้น่าจะมีเหตุ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าขอถามความนั้นกะท่าน คือ กะพระสมณะว่า อย่างไร คือโดยอาการอะไร ท่านได้เป็นผู้หยุดแล้ว และข้าพเจ้าเป็นผู้ยังไม่หยุด. เมื่อองคุลิมาลกล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสกะเขาด้วยพระคาถาว่า.

ดูก่อนองคุลิมาล เราวางอาชญาในสัตว์ทั้งปวงเสีย แล้ว ส่วนท่านสิ ยังไม่สำรวมรวมสัตว์ทั้งหลาย ฉะนั้น เราจึงชื่อว่าหยุดแล้ว ส่วนท่านชื่อว่ายังไม่หยุด.


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 141

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ิโต อหํ องฺคุลิมาล สพฺพทา สพฺเพสุ ภูเตสุ นิธาย ทณฺฑํ ความว่า ดูก่อนองคุลิมาล ในทุกกาล คือในกาลทั้งปวง ได้แก่ในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด เราวางอาชญา เสียแล้วในสัตว์ทั้งปวง ชนิดที่เคลื่อนไหวได้และชนิดอยู่กับที่ ชื่อว่าวาง อาชญา วางศาสตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู ชื่อว่าหยุดแล้วโดยอาการ เห็นปานนั้นนั่นแหละ เพราะไม่เป็นไปโดยประการอื่นจากนั้น.

บทว่า ตุวํ จ ปาเณสุ อสญฺโตสิ ความว่า ส่วนท่านเป็นผู้ เว้นความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย หยาบช้า มีมือเปื้อนเลือด ยึดมั่นในการ ฆ่าและการประหาร ไม่มีความเอ็นดู เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าไม่หยุด ด้วย อำนาจการงดเว้นจากความไม่สำรวม, เพราะเหตุนั้นแหละ คือแม้เพราะ การหมุนไปรอบๆ ในคตินั้นๆ บัดนี้ ท่านแม้จะหยุดโดยอิริยาบถ ก็ชื่อ ว่าเป็นผู้ยังไม่หยุด ส่วนเราเป็นผู้หยุดแล้วโดยประการดังกล่าวมาแล้ว. ลำดับนั้น องคุลิมาลเกิดความปีติโสมนัสว่า พระสมณะนี้ คือพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เพราะเคยได้ฟังเกียรติศัพท์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประกาศคุณตามความเป็นจริง ผู้ทรงทำชาวโลกทั้งสิ้นให้เอิบอาบอยู่ ดุจน้ำมันเอิบอาบอยู่บนพื้นน้ำฉะนั้น และเพราะเหตุสมบัติและญาณถึง ความแก่กล้าแล้ว จึงคิดว่าการบันลือสีหนาทใหญ่นี้ การกระหึ่มใหญ่นี้ จักไม่มีแก่ผู้อื่น การกระหึ่มนี้เห็นจะเป็นของพระสมณโคดม เราเป็นผู้ อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณใหญ่ทรงเห็นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาที่นี้ เพื่อกระทำการสงเคราะห์เรา จึงได้กล่าวคาถานี้ว่า

พระองค์เป็นสมณะที่ชาวโลกกับทั้งเทวโลกบูชาด้วย เครื่องบูชามากมาย ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เพิ่ง


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 142

จะเสด็จมาถึงป่าใหญ่ เพื่อโปรดข้าพระองค์โดยกาลนาน หนอ ข้าพระองค์ได้สดับพระคาถาซึ่งประกอบด้วยเหตุ ผลของพระองค์แล้ว จักละเลิกบาปกรรมตั้งพันเสีย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จิรสฺสํ วต ได้แก่ โดยกาลนานหนอ.

บทว่า เม ได้แก่ เพื่ออนุเคราะห์ข้าพระองค์.

บทว่า มหิโต ความว่า ผู้อันชาวโลกกับทั้งเทวโลกบูชาแล้วด้วย การบูชาอันยิ่งใหญ่. ชื่อว่าพระมเหสี เพราะทรงหาคือแสวงหาคุณมี ศีลขันธ์เป็นต้นอันใหญ่.

บทว่า มหาวนํ สมโณ ปจฺจปาทิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงระงับบาปทั้งปวงได้แล้ว ได้เสด็จดำเนินมาถึงป่าใหญ่นี้.

บทว่า โสหํ จชิสฺสามิ สหสฺสปาปํ สุตฺวาน คาถํ ตว ธมฺมยุตฺตํ ความว่า ข้าพระองค์นั้นได้สดับคาถาของพระองค์อันประกอบด้วยธรรม ข้าพระองค์นั้นครั้นได้ฟังดังนั้นแล้วจึงคิดว่า แม้นาน คือแม้โดยกาลนาน เราจักละบาปตั้งพันที่รวมกันอยู่ คือที่สั่งสมไว้ บัดนี้จักละมันได้โดยแท้. ก็ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เพื่อจะแสดงประการที่ตนปฏิบัติ และประการที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุเคราะห์ พระสังคีติกาจารย์จึงได้ตั้งคาถา ๒ คาถานี้ว่า

ครั้นองคุลิมาลโจรกราบทูลดังนี้แล้ว ก็โยนดาบและ อาวุธทั้งหมดทิ้งลงในหนองน้ำ บ่อน้ำ และเหว ได้ ถวายบังคมพระยุคลบาทของพระสุคตเจ้า แล้วทูลขอ บรรพชากะพระพุทธเจ้า ณ ที่นั้นเอง ทันใดนั้นแล พระพุทธเจ้าผู้ทรงประกอบไปด้วยพระกรุณา ทรงแสวงหา


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 143

คุณอันยิ่งใหญ่ เป็นศาสดาของโลกกับทั้งเทวโลก ได้ ตรัสว่า จงเป็นภิกษุมาเถิด เท่านี้ ความเป็นภิกษุได้มีแก่ องคุลิมาลโจรนั้นในขณะนั้นทีเดียว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิจฺเจว ได้แก่ ครั้นกล่าวแล้วดังนี้ คืออย่างนี้ ติดต่อกันไปทีเดียว. บทว่า โจโร ได้แก่ องคุลิมาล. บทว่า อสึ แปลว่า ดาบ. บทว่า อาวุธํ ได้แก่ อาวุธที่เหลือ.

บทว่า โสพฺเภ ได้แก่ บ่อที่มีตลิ่งขาดรอบด้าน (บึง).

บทว่า ปปาเต ได้แก่ บ่อที่มีตลิ่งขาดด้านเดียว (เหว).

บทว่า นรเก ได้แก่ ช่องที่แผ่นดินแยก. ก็ในที่นี้ ท่านกล่าว ถึงเฉพาะระหว่างภูเขาซึ่งสิ่งของตกลงไปแล้ว คนอื่นไม่อาจถือเอา ด้วยบท แม้ทั้ง ๓.

บทว่า อนฺวกาสิ ตัดเป็น อนุ อกาสิ ความว่า องคุลิมาลทิ้งลงๆ คือโยนทิ้งอาวุธของตนแม้ทั้ง ๕ ชนิด ครั้นโยนทิ้งอาวุธเหล่านั้นแล้ว ก็ซบศีรษะลงที่พระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลว่า ขอจงให้ข้าพระองค์บวชเถิด พระเจ้าข้า. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

องคุลิมาลโจรได้ถวายบังคมพระยุคลบาทของพระสุคต แล้วทูลขอ บรรพชากะพระพุทธเจ้า ณ ที่นั้นเอง. เมื่อองคุลิมาลโจรนั้นทูลขอ บรรพชาอย่างนี้ พระศาสดาทรงตรวจดูกรรมในก่อนของเขา ทรงเห็น เหตุสมบัติแห่งความเป็นเอหิภิกษุ จึงทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวาออกไป แล้วตรัสว่า จงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมเรากล่าวดีแล้ว จงประพฤติ พรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 144

ก็พระวาจานั้นนั่นแล ได้เป็นบรรพชาและอุปสมบทขององคุลิมาล นั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระพุทธเจ้าได้ตรัสกะองคุลิมาลนั้นว่า จงเป็นภิกษุมาเถิด เท่านี้ความเป็นภิกษุได้มีแก่องคุลิมาลนั้น ใน ขณะนั้นทีเดียว.

พระเถระได้การบรรพชาและอุปสมบท โดยความเป็นเอหิภิกขุอย่าง นี้แล้ว กระทำวิปัสสนากรรมได้บรรลุพระอรหัตแล้ว เสวยวิมุตติสุขอยู่ เกิดความปีติโสมนัส จึงกล่าวคาถา ๓ คาถาโดยอุทานว่า

ผู้ใดประมาทแล้วในตอนต้น ภายหลังเขาไม่ประมาท ผู้นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้ว จากหมอกฉะนั้น. บาปกรรมที่ทำไว้แล้วอันผู้ใดปิดกั้นไว้ ด้วยกุศล ผู้นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากหมอกฉะนั้น. ภิกษุใดแล แม้จะยังหนุ่ม ประกอบความขวนขวายในพระพุทธศาสนา ภิกษุนั้นย่อม ทำโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากหมอก ฉะนั้น.

เนื้อความแห่งคำที่เป็นคาถานั้นว่า บุคคลใดจะเป็นคฤหัสถ์หรือ บรรพชิตก็ตาม ในกาลก่อนแต่การคบทากับกัลยาณมิตร ประมาทแล้ว โดยการเกี่ยวข้องกับมิตรชั่ว หรือโดยภาวะที่ตนไม่มีการพิจารณา คือถึง ความประมาทในสัมมาปฏิบัติ ภายหลังความแยบคายผุดขึ้น เพราะการ เกี่ยวข้องกับกัลยาณมิตร ชื่อว่าย่อมไม่ประมาท คือปฏิบัติชอบอยู่ หมั่น ประกอบเนืองๆ ซึ่งสมถะและวิปัสสนา ย่อมบรรลุวิชชา ๓ อภิญญา ๖


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 145

บุคคลนั้นย่อมทำโลกมีขันธโลกเป็นต้นนี้ ให้สว่างไสวด้วยวิชชาและ อภิญญาที่ตนบรรลุ เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากหมอกเป็นต้น ทำโอกาสโลกให้สว่างอยู่ฉะนั้น.

กรรมชั่วที่บุคคลใดทำไว้แล้ว คือสั่งสมไว้แล้ว ย่อมปิดคือกั้นด้วย การปิดกั้นทวารในอันที่จะยังวิบากให้เกิดขึ้น เพราะภาวะที่โลกุตรกุศลอัน กระทำกรรมให้สิ้นไป นำเอาภาวะที่ไม่ควรแก่วิบากมาให้. คำที่เหลือ มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นเอง.

บทว่า ทหโร แปลว่า เป็นหนุ่ม, ด้วยบทว่า ทหโร นั้น ท่าน แสดงถึงความที่พระเถระเป็นผู้มีร่างกายอดทนต่อการประกอบความเพียร. จริงอยู่ พระเถระนั้นสามารถครอบงำอันตรายจากลมและแดดที่เกิดขึ้น แล้วกระทำตามเพียรเป็นเครื่องประกอบ. ย่อมประกอบความขวนขวาย ในพระพุทธศาสนา คือเป็นผู้ประกอบความขวนขวายในสิกขา ๓ อธิบายว่า ยังสิกขา ๓ ให้ถึงพร้อมโดยความเคารพ.

พระเถระเกิดปีติโสมนัสอย่างนี้ อยู่ด้วยวิมุตติสุข ในกาลใดเข้าไป บิณฑบาตในนคร ในกาลนั้น ก้อนดินแม้คนอื่นขว้างมา ก็ตกลงที่ร่างกาย ของพระเถระ ท่อนไม้แม้ที่คนอื่นปามา ก็ตกลงที่ร่างกายของพระเถระนั้น เหมือนกัน. พระเถระนั้นมีบาตรแตก เข้าไปยังพระวิหารเข้าเฝ้าพระศาสดา. พระศาสดาทรงโอวาทพระเถระว่า เธอจงอดกลั้นเถิดพราหมณ์ เธอจงอดกลั้นเถิดพราหมณ์ เธอจงเสวยวิบากของกรรม ที่จะทำให้ไหม้ ในนรกหลายพันปีนั้น เฉพาะในปัจจุบันเถิดพราหมณ์.

ลำดับนั้น พระเถระจึงเข้าไปตั้งเมตตาจิตในสรรพสัตว์ทั้งหลายโดย ไม่เจาะจง แล้วได้กล่าวคาถาทั้งหลายนี้ว่า


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 146

ก็ผู้เป็นข้าศึกต่อเรา จงฟังธรรมกถาที่เราได้ฟังแล้ว ในสำนักของพระศาสดา ขอจงประกอบความขวนขวาย ในพระพุทธศาสนา ขอจงคบหากับมนุษย์ผู้เป็นสัตบุรุษ ผู้ถือมั่นแต่ธรรมอย่างเดียว ก็ผู้เป็นข้าศึกต่อเรา ขอเชิญ ฟังธรรมของท่านผู้กล่าวสรรเสริญความอดทน ผู้มีปกติ สรรเสริญความไม่โกรธ ตามเวลาอันควร และขอจง ปฏิบัติตามธรรมอันสมควรแก่ธรรมนั้นเถิด ขออย่า เบียดเบียนเราและประชาชนหรือว่าสัตว์อื่นใดเลย พึง บรรลุความสงบอย่างเยี่ยม และพึงรักษาสัตว์ทั้งปวง ให้ เป็นเหมือนบุตรที่รักเถิด. ก็ชาวนาที่ต้องการน้ำย่อมไขน้ำ ไป ช่างศรย่อมดัดลูกศร ช่างไม้ย่อมถากไม้ บัณฑิต ย่อมฝึกตน. คนบางพวกย่อมฝึกช้างและม้าเป็นต้น ด้วย ท่อนไม้บ้าง ด้วยขอบ้าง ด้วยแส้บ้าง ส่วนเราเป็นผู้อัน พระศาสดาผู้คงที่ทรงฝึกแล้ว โดยไม่ได้ทรงใช้อาชญา และศาสตรา. เมื่อก่อนเรามีชื่อว่า อหิงสกะ ผู้ไม่เบียดเบียน แต่เรายังเบียดเบียนผู้อื่นอยู่ วันนี้ เราเป็นผู้มีชื่อ จริง ไม่เบียดเบียนใคร แต่ก่อนเราเป็นโจรลือชาทั่วไป ว่าองคุลิมาล แต่บัดนี้ องคุลิมาลได้มาพบพระพุทธเจ้า ผู้เป็นที่พึ่งเข้าแล้ว ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพน้อยใหญ่ ขึ้นได้แล้ว เราได้ทำกรรมเช่นนั้นอันเป็นเหตุให้ไปสู่ทุคติ เป็นอันมาก จึงต้องมารับผลกรรมที่ทำไว้ แต่บัดนี้ เรา


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 147

บริโภคโภชนะโดยไม่เป็นหนี้ คนพาลผู้มีปัญญาทราม ย่อมประกอบตามความประมาท ส่วนนักปราชญ์ ย่อม รักษาความไม่ประมาทไว้ เหมือนทรัพย์อันประเสริฐสุด ฉะนั้น. ท่านทั้งหลายอย่าประกอบตามความประมาท อย่าประกอบความสนิทสนมด้วยความยินดีในกาม เพราะ ว่าผู้ไม่ประมาทเพ่งพินิจอยู่ ย่อมถึงความสุขอันไพบูลย์. การที่เรานาสู่สำนักของพระศาสดา เป็นการมาดีแล้ว มิใช่ว่าเป็นการมาไม่ดี การที่เราคิดจะมาบวชในสำนัก ของพระศาสดานี้ ก็ไม่ใช่เป็นความคิดที่เลวเลย เพราะ เป็นการเข้าถึงธรรมอันประเสริฐ ในธรรมทั้งหลายที่ พระศาสดาทรงจำแนกดีแล้ว การที่เรามาสู่สำนักของ พระศาสดาทรงจำแนกดีแล้ว การที่เรามาสู่สำนักของ การที่เราคิดจะมาบวชในสำนักของพระศาสดานี้ ก็ไม่ใช่ เป็นความคิดที่เลวเลย. เราได้บรรลุวิชชา ๓ ตามลำดับ ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว. แต่ก่อน เราอยู่ในป่า โคนไม้ ภูเขา หรือในถ้ำทุกแห่ง มีใจ หวาดเสียวอยู่เป็นนิตย์ เราผู้อันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์ แล้ว ไม่ไปในบ่วงมาร จะยืน เดิน นั่ง นอน ก็เป็นสุข. เมื่อก่อนเรามีเชื้อชาติเป็นพราหมณ์ มีครรภ์เป็นที่ถือ ปฏิสนธิ บริสุทธิ์ทั้งสองฝ่าย บัดนี้เราเป็นโอรสของ พระสุคตผู้ศาสดา ผู้เป็นพระธรรมราชา เราเป็นผู้


ความคิดเห็น 17    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 148

ปราศจากตัณหาแล้ว ไม่ถือมั่น คุ้มครองทวาร สำรวม ดีแล้ว เราตัดรากเหง้าของทุกข์ได้แล้ว บรรลุถึงความ สิ้นอาสวะแล้ว เรามีความคุ้นเคยกับพระศาสดา ทำตาม คำสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว ปลงภาระอันหนักลง แล้ว ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพเสียแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิสาปิ ความว่า แม้โจรผู้ปรากฏ คือ แม้ข้าศึกผู้ไม่เป็นมิตรต่อเราเหล่าใด ย่อมว่าร้ายเราอย่างนี้ว่า พวกเราถูก ทุกข์เพราะพลัดพรากจากญาติครอบงำ ย่อมได้รับทุกข์ด้วยอำนาจของ องคุลิมาลฉันใด แม้องคุลิมาลก็จงได้รับความทุกข์ฉันนั้น.

บทว่า เม ธมฺมกถํ สุณนฺตุ ความว่า จงฟังกถาอันปฏิสังยุตด้วย สัจธรรมทั้ง ๔ ซึ่งเราได้ฟังมาแล้วในสำนักของพระศาสดา.

บทว่า ยุญฺชนฺตุ ความว่า ก็ครั้นได้ฟังแล้ว จงปฏิบัติเพื่อประโยชน์ แก่สัจธรรม ๔ นั้น.

บทว่า เต มนุเช ภชนฺตุ ความว่า จงคบ คือจงเสพกัลยาณมิตร ผู้เป็นสัปบุรุษเช่นนั้น.

บทว่า เย ธมฺมเมวาทปยนฺติ สนฺโต ความว่า สัปบุรุษเหล่าใดให้ ถือเอา คือให้สมาทาน ให้ยึดถือเฉพาะกุศลธรรม เฉพาะอุตริมนุสธรรม และเฉพาะโลกุตรธรรมที่บังเกิดแล้ว.

บทว่า ขนฺติวาทานํ ได้แก่ ผู้กล่าวเฉพาะอธิวาสนขันติ, เพราะเหตุ นั้นแหละ จึงเป็นผู้สรรเสริญความไม่โกรธ อธิบายว่า เป็นผู้มีปกติ สรรเสริญเฉพาะเมตตาอันเป็นความไม่โกรธกับใครๆ.


ความคิดเห็น 18    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 149

บทว่า สุณนฺตุ ธมฺมํ กาเลน ได้แก่ จงฟังธรรมในสำนักของ สัปบุรุษเหล่านั้น ในกาลประกอบความขวนขวายแล้ว.

บทว่า ตญฺจ อนุวิธียนฺตุ ความว่า และจงเรียนธรรมตามที่ได้ฟัง นั้นโดยชอบแล้วกระทำตาม คือจงปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.

บทว่า น หิ ชาตุ โส มมํ หึเส ความว่า ข้าศึกคือศัตรูของเรา นั้น จงเกิดมี แต่ไม่พึงเบียดเบียนเราเลย.

บทว่า อญฺํ วา ปน กญฺจิ นํ ความว่า ไม่ใช่ไม่เบียดเบียนเรา เท่านั้น แม้สัตว์ไรๆ อื่นก็ไม่พึงเบียดเบียน. บทว่า ปปฺปุยฺย ปรมํ สนฺตึ ความว่า พึงบรรลุความสงบคือพระนิพพานอย่างเยี่ยม คือสูงสุด, ก็ครั้น บรรลุแล้วพึงรักษาสัตว์ทั้งหลาย อธิบายว่า พึงรักษาสัตว์ทั้งปวงด้วยการ รักษาอย่างยอดเยี่ยม คือพึงรักษาศิษย์เหมือนบุตรฉะนั้น.

พระเถระปลดเปลื้องคนอื่นจากบาป ด้วยคาถาเหล่านี้อย่างนี้แล้ว จึงกระทำ ชื่อว่าปริตตกิริยา คือกระทำพระปริตร เมื่อจะประกาศการ ปฏิบัติของตน จึงกล่าวคาถามีอาทิว่า อุทกํ หิ ดังนี้.

บรรดาชนเหล่านั้น ชนทั้งหลายใด ขุดที่ดอนของแผ่นดินแล้วทำ ที่ลุ่มให้เต็ม ทำเหมืองน้ำหรือวางรางไม้ แล้วนำน้ำไปยังที่ที่ตนปรารถนา แล้วๆ เพราะเหตุนั้น ชนทั้งหลายนั้น ชื่อว่า เนตฺติกา คือผู้ชักน้ำไป.

บทว่า เตชนํ ได้แก่ ลูกศร. อธิบายว่า คนผู้ไขน้ำย่อมนำน้ำไป ตามความชอบใจของตน ฝ่ายช่างศร เอาลูกศรอังไฟให้ร้อน เมื่อทำไม่ ให้คด ชื่อว่าดัดลูกศร คือทำให้ตรง, ฝ่ายนายช่างถาก เมื่อถากเพื่อต้อง การดุมเป็นต้น ชื่อว่าย่อมถากไม้, คือทำให้ตรงหรือคดตามความชอบใจ ของตนฉันใด บัณฑิตคือคนผู้มีปัญญาก็ฉันนั้น การทำเหตุการณ์เท่านี้ให้


ความคิดเห็น 19    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 150

เป็นอารมณ์ ทำอริยมรรคให้เกิดขึ้น ชื่อว่าย่อมฝึกตน ส่วนท่านผู้บรรลุ พระอรหัตแล้ว ย่อมชื่อว่าเป็นผู้ฝึกเสร็จแล้ว.

บัดนี้ พระเถระเมื่อจะประกาศอาการที่พระศาสดาผู้ทรงเป็นดุจสารถี ฝึกบุรุษที่ควรฝึกได้ฝึกตน และความกตัญญู จึงได้กล่าวคาถา ๕ คาถา มีอาทิว่า ทณฺเฑเนเก ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทณฺเฑเนเก ทมยนฺติ ความว่า พระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชาเป็นต้น ย่อมฝึกข้าศึกเป็นต้น ด้วย อาชญา และด้วยหมู่พลมีช้างและม้าเป็นต้น และนายโคบาลเป็นต้น ย่อม ฝึกโคเป็นต้น ด้วยท่อนไม้และด้วยไม้เท้า นายควาญช้างย่อมฝึกช้างด้วย ขอ และอาจารย์ผู้ฝึกม้า ย่อมฝึกม้าด้วยแส้.

บทว่า อทณฺเฑน อสตฺเถน อหํ ทนฺโตมฺหิ ตาทินา ความว่า ส่วนเราเป็นผู้อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ถึงภาวะเป็นผู้คงที่ในอารมณ์ มีอิฏฐารมณ์เป็นต้น ทรงเว้นจากอาชญา ทรงเว้นจากศาสตรา ฝึกแล้ว คือทรมานแล้วได้แก่กระทำให้หมดพยศแล้ว โดยภาวะที่ทรงวางอาชญา และวางศาสตรา.

บทว่า อหึสโกติ เม นามํ หึสกสฺส ปุเร สโต ความว่า ในกาล ก่อนแต่ได้สมาคมกับพระศาสดา เราเป็นผู้เบียดเบียน ได้มีแต่เพียงชื่อว่า ผู้ไม่เบียดเบียน.

บทว่า อชฺชาหํ ความว่า ก็บัดนี้ เราเป็นผู้มีนามจริง คือนามแท้ ว่า อหิงสกะ ผู้ไม่เบียดเบียน เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่เบียดเบียน คือไม่ เบียดเบียนสัตว์แม้ไรๆ , ศัพท์ว่า เป็นเพียงนิบาต.

บทว่า วิสฺสุโต ได้แก่ เป็นผู้ปรากฏ โดยนัยมีอาทิว่า เป็นผู้มัก ฆ่าสัตว์ หยาบช้า มีมือเปื้อนเลือด.


ความคิดเห็น 20    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 151

บทว่า มโหเฆน ได้แก่ ห้วงน้ำใหญ่ มีห้วงน้ำคือกามเป็นต้น, เราได้ถึง คือเข้าถึงพระพุทธเจ้าผู้ทรงการทำการตัดขาดห้วงน้ำนั้น เป็น สรณะที่พึ่ง ได้แก่สรณะคือพระพุทธเจ้า.

บทว่า โลหิตปาณี ได้แก่ ผู้มีมือเปื้อนโลหิต คือเลือดของคน เหล่าอื่น โดยการทำสัตว์มีลมปราณให้ตกล่วงไป.

ด้วยบทว่า สรณคมนํ ปสฺส นี้ พระเถระร้องเรียกเฉพาะตนเองว่า ท่านจงดูสรณคมน์ของเรา อันมีผลมาก.

บทว่า ตาทิสํ กมฺมํ ได้แก่ กรรมชั่วอันทารุณเห็นปานนั้น มีการ ฆ่าคนหลายร้อย.

บทว่า ผุฏฺโ กมฺมวิปาเกน ได้แก่ เป็นผู้อันวิบากของกรรมชั่ว ที่ทำไว้ในกาลก่อนถูกต้องแล้ว คือละกรรมได้สิ้นเชิง เสวยแต่เพียง วิบาก.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ผุฏฺโ กมฺมวิปาเกน ความว่า เป็นผู้อัน โลกุตรมรรคซึ่งเป็นผลแห่งกุศลกรรมอันเป็นอุปนิสัย หรืออันวิมุตติสุข อันเป็นผลของโลกุตรกรรมนั่นแหละ ถูกต้องแล้ว.

เราชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีหนี้บริโภคโภชนะ เพราะกิเลสทั้งหลายสิ้นไป แล้วโดยประการทั้งปวง พระเถระพูดถึงปัจจัยทั้ง ๔ โดยอ้างโภชนะ.

บัดนี้ พระเถระเมื่อจะสรรเสริญการปฏิบัติ ในความไม่ประมาทใน ภายหลัง โดยมุขคือการติเตียนการอยู่ด้วยความประมาทของตนในกาลก่อน และเมื่อจะทำความอุตสาหะของคนเหล่าอื่นให้เกิด ในความไม่ประมาทนั้น จึงได้กล่าวคาถามีอาทิว่า ประกอบตามความประมาท ดังนี้.


ความคิดเห็น 21    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 152

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พาลา ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความ เป็นคนพาล ไม่รู้จักประโยชน์โลกนี้และประโยชน์โลกหน้า.

บทว่า ทุมฺเมธิโน แปลว่า ผู้ไม่มีปัญญา, คนไม่มีปัญญาเหล่านั้น ไม่เห็นโทษในความประมาท ประกอบตามความประมาทอยู่ คือยังความ ประมาทให้ดำเนินไป ได้แก่ ทำกาลเวลาให้ล่วงเลยไปด้วยความประมาท เท่านั้น.

บทว่า เมธาวี ความว่า ส่วนบัณฑิตประกอบด้วยปัญญามีโอชะอัน เกิดแต่ธรรม ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้ เหมือนทรัพย์คือรัตนะ ๗ อันประเสริฐ คือสูงสุดอันเป็นของมีอยู่ในวงศ์ตระกูล. เหมือนอย่างว่า ชนทั้งหลายเห็นอานิสงส์ในทรัพย์ว่า เราอาศัยอุดมทรัพย์ จักบรรลุ โภคสมบัติ จักพอเลี้ยงลูกและเมีย จักชำระทางไปสู่สุคติ ย่อมรักษาทรัพย์ ไว้ฉันใด แม้บัณฑิตก็ฉันนั้น เห็นอานิสงส์ในความไม่ประมาทว่า เพราะ อาศัยความไม่ประมาท เราจักได้เฉพาะปฐมฌานเป็นต้น จักบรรลุมรรคผล จักยังวิชชา ๓ และอภิญญา ๖ ให้ถึงพร้อม ย่อมรักษาความไม่ประมาท ไว้ เหมือนทรัพย์อันประเสริฐฉะนั้น.

บทว่า มา ปมาทํ ความว่า ท่านทั้งหลาย จงอย่าประกอบตามความ ประมาท คืออย่ายังกาลให้ล่วงเลยไปด้วยความประมาท.

บทว่า กามรติสนฺถวํ ความว่า ท่านทั้งหลายจงอย่าประกอบตาม คืออย่าประสบ อย่าได้เฉพาะแม้ตัณหาสันถวะ กล่าวคือความยินดีใน วัตถุกามและกิเลสกามทั้งหลาย.

บทว่า อปฺปมตฺโต หิ ความว่า บุคคลผู้ไม่ชื่อว่าประมาท เพราะ


ความคิดเห็น 22    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 153

มีสติเข้าไปตั้งไว้ เพ่งอยู่คือ ขวนขายในการเพ่ง ย่อมบรรลุนิพพานสุข อันยอดเยี่ยม คือสูงสุด.

บทว่า สุวาคตํ นาปคตํ ความว่า การที่เรามาในสำนักของพระศาสดาในกาลนั้น หรือในการที่พระศาสดาเสด็จมาในป่ามหาวันนั้น เป็น การมาดีแล้ว คือเป็นการมาที่ดี ไม่ใช่เป็นการมาไม่ดี คือเป็นการมาที่ไม่ ไปปราศจากประโยชน์.

บทว่า เนตํ ทุมฺมนฺติตํ มม ความว่า ข้อที่เราคิดไว้ในคราวนั้นว่า จักบวชในสำนักของพระศาสดา แม้นี้ก็ไม่ใช่เป็นความคิดไม่ดีของเรา คือเป็นความคิดดีทีเดียว. เพราะเหตุไร? เพราะได้บรรลุในธรรมทั้งหลาย ที่มีจำแนกไว้แล้ว. อธิบายว่า บรรดาธรรมทั้งหลายที่ทรงจำแนกไว้เป็น อย่างๆ เช่นธรรมที่มีโทษและธรรมที่ไม่มีโทษเป็นต้น เราบรรลุพระนิพพานอันประเสริฐ คือสูงสุดประเสริฐสุด ได้แก่เข้าถึงพระนิพพานนั้น นั่นแล.

พระเถระเมื่อจะแสดงภาวะแห่งธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขว่า ในกาลนั้น ในเวลาที่ยังเป็นปุถุชน เราอยู่ลำบากในป่าเป็นต้น เพราะเป็นผู้มีประโยค และอาสยวิบัติ บัดนี้ เราอยู่เป็นสุขในป่าเป็นต้นนั้น เพราะเป็นผู้สมบูรณ์ ด้วยประโยคและอาสยะ และเมื่อจะแสดงความเป็นพราหมณ์โดยปรมัตถ์ว่า เมื่อก่อนเราเป็นพราหมณ์แต่เพียงชาติกำเนิด แต่บัดนี้ ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เพราะเป็นบุตรอันเกิดแต่พระอุระของพระศาสดา จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อรญฺเ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุขํ สยามิ ความว่า เราแม้นอนอยู่ก็


ความคิดเห็น 23    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 154

ปราศจากทุกข์ทางใจ นอนเป็นสุข โดยสุขไม่มีทุกข์ เพราะไม่มีความ สะดุ้งจิตเป็นต้น.

บทว่า ายามิ แปลว่า ยืน.

บทว่า อหตฺถปาโส มารสฺส ได้แก่ ไม่เป็นที่โคจรของกิเลส เป็นต้น.

บทว่า อโห สตฺถานุกมฺปิโต ความว่า โอ! พระศาสดาทรง อนุเคราะห์แล้ว.

บทว่า พฺรหฺมชจฺโจ แปลว่า ผู้มีชาติกำเนิดเป็นพราหมณ์.

บทว่า อุทิจฺโจ อุภโต ได้แก่ ผู้เกิดขึ้นแล้ว คือมีครรภ์บริสุทธิ์ ทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายบิดาและฝ่ายมารดา. คำที่เหลือในที่นั้นๆ มีนัยดังกล่าว แล้วแล.

จบอรรถกถาองคุลิมาลเถรคาถาที่ ๘