๑๐. ขันธสูตร ว่าด้วยอุปกิเลสแห่งจิต ...
โดย บ้านธัมมะ  9 ก.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 37041

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 541

๑๐. ขันธสูตร

ว่าด้วยอุปกิเลสแห่งจิต


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 541

๑๐. ขันธสูตร

ว่าด้วยอุปกิเลสแห่งจิต

[๕๐๘] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัดด้วย


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 542

อำนาจความพอใจในรูป เป็นอุปกิเลสแห่งจิต. ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในเวทนา เป็นอุปกิเลสแห่งจิต. ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในสัญญา เป็นอุปกิเลสแห่งจิต. ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจสังขาร เป็นอุปกิเลสแห่งจิต. ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในวิญญาณ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลสแห่งจิตในฐานะ ๖ นี้ได้ เมื่อนั้นแล จิตของเธอ ย่อมเป็นอันน้อมไปในเนกขัมมะ จิตอันเนกขัมมะอบรมแล้ว ย่อมปรากฏว่าควรแก่การงานในธรรมที่พึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา.

จบ ขันธสูตรที่ ๑๐

จบ กิเลสสังยุต

อรรถกถากิเลสสังยุต

พึงทราบวินิจฉัยในกิเลสสังยุต ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า จิตฺตสฺเสโส อุปกฺกิเลโส ความว่า (เป็นอุปกิเลส) ของจิตดวงไหน?

(เป็นอุปกิเลส) ของจิตที่เป็นไปในภูมิ ๔.

ถามว่า (ฉันทราคะเป็นอุปกิเลส) ของจิตที่เป็นไปในภูมิ ๓ นับว่าถูกต้อง (แต่) (เป็นอุปกิเลส) ของโลกุตตรจิตได้อย่างไร?

ตอบว่า เป็นได้เพราะห้ามการเกิดขึ้น (แห่งโลกุตตรจิต) อธิบายว่า ฉันทราคะนั้น พึงทราบว่าเป็นอุปกิเลสเพราะไม่ให้โลกุตตรจิตนั้นเกิดขึ้น.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 543

บทว่า เนกฺขมฺมนินฺนํ ได้แก่ (จิต) ที่น้อมไปในโลกุตตรธรรม ๙.

บทว่า จิตฺตํ ได้แก่ จิตที่เจริญสมถะและจิตที่เจริญวิปัสสนา

บทว่า อภิญฺา สจฺฉิกรณีเยสุ ธมฺเมสุ ความว่า หรือเมื่อบุคคลจะยึดถือธรรมอย่างหนึ่ง ในบรรดาธรรมคืออภิญญาข้อที่ ๖ ที่พึงรู้ แล้วทำให้แจ้งด้วยปัจจเวกขณญาณ ก็พึงยึดถือว่า เนกขัมมะ ก็คือ พระนิพพานนั่นเอง.

บทที่เหลือในสูตรทั้งหมด มีความหมายง่ายทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถากิเลสสังยุต

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. จักขุสูตร ๒. รูปสูตร ๓. วิญญาณสูตร ๔. ผัสสสูตร ๕. เวทนาสูตร ๖. สัญญาสูตร ๗. เจตนาสูตร ๘. ตัณหาสูตร ๙. ธาตุสูตร ๑๐. ขันธสูตร