[เล่มที่ 10] พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘
พระวินัยปิฎก
เล่ม ๘
ปริวาร
กติปุจฉาวาร 368
อาบัติเป็นต้น 841/368
อาบัติ ๕ 843/368
กองอาบัติ ๕ 844/368
วินีตวัตถุ 845/369
อาบัติ๗ 846/369
กองอาบัติ ๗ 847/369
วินีตวัตถุ ๗ 848/369
ความไม่เคารพ ๖ 849/370
ความเคารพ ๖ 850/370
วินีตวัตถุ ๖ 851/370
วิบัติ ๔ 852/370
สมุฎฐานแห่งอาบัติ ๖ 853/371
มูลแห่งการวิวาท ๖ 854/371
มูลแห่งการโจท ๖ 855/375
สาราณียธรรม ๖ ประการ 856/378
เรื่องทําความแตกร้าวกัน ๑๘ 857/380
อธิกรณ์ ๔ 858/381
สมถะ ๗ 859/381
หัวข้อประจําวาร 860/382
กติปุจฉาวารวัณณนา 382
วินิจฉัยคําว่า กติอาปตฺติโยเป็นต้น 382
ว่าด้วยวิเคราะห์แห่งอารติศัพท์เป็นต้น 384
ว่าด้วยอคารวะ ๖ 385
วิวาทมูลนิทเทส 386
อนุวาทมูลนิทเทส 387
สาราณียธัมมนิทเทส 387
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 10]
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 368
กติปุจฉาวาร
อาบัติเป็นต้น
[๘๔๑] อาบัติมีเท่าไร กองอาบัติมีเท่าไร วินีตวัตถุมีเท่าไร ความ ไม่เคารพมีเท่าไร ความเคารพมีเท่าไร วินีตวัตถุมีเท่าไร วิบัติมีเท่าไร สมุฏฐานแห่งอาบัติมีเท่าไร มูลแห่งวิวาทมีเท่าไร มูลแห่งการโจทมีเท่าไร ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึงกันมีเท่าไร เรื่องทำความแตกร้าวกันมีเท่าไร อธิกรณ์มีเท่าไร สมถะมีเท่าไร.
[๘๔๒] อาบัติมี ๕ กองอาบัติมี ๕ วินีตวัตถุมี ๕ อาบัติมี ๗ กอง อาบัติมี ๗ วินีตวัตถุมี ๗ ความไม่เคารพมี ๖ ความเคารพมี ๖ วินีตวัตถุมี ๖ วิบัติมี ๔ สมุฏฐานแห่งอาบัติมี ๖ มูลแห่งวิวาทมี ๖ มูลแห่งการโจทมี ๖ ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึงกันมี ๖ เรื่องทำความแตกร้าวกันมี ๑๘ อธิกรณ์มี ๔ สมถะมี ๗.
อาบัติ ๕
[๘๔๓] ในหัวข้อเหล่านั้นอาบัติ ๕ เป็นไฉน? คือ อาบัติปาราชิก อาบัติสังฆาทิเสส อาบัติปาจิตตีย์ อาบัติปาฏิเทสนียะ อาบัติทุกกฏ นี้อาบัติ ๕.
กองอาบัติ ๕
[๘๔๔] ในหัวข้อเหล่านั้น กองอาบัติ ๕ เป็นไฉน? คือ กองอาบัติ ปาราชิก กองอาบัติสังฆาทิเสส กองอาบัติปาจิตตีย์ กองอาบัติปาฏิเทสนียะ กองอาบัติทุกกฏ นี้กองอาบัติ ๕.
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 369
วินีตวัตถุ ๕
[๘๘๕] ในหัวข้อเหล่านั้น วินีตวัตถุ ๕ เป็นไฉน? คือ การเว้น ไกล การเว้นขาด การงดเว้น เจตนาเครื่องเว้นจากกองอาบัติ ๕ ความไม่ ประกอบ ความไม่ทำ ความไม่แกล้งต้อง ความไม่ละเมิดขอบเขต การกำจัด กองอาบัติ ๕ ด้วยอริยมรรคชื่อเสตุ นี้วินีตวัตถุ ๕.
อาบัติ ๗
[๘๔๖] ในหัวข้อเหล่านั้น อาบัติ ๗ เป็นไฉน? คือ อาบัติปาราชิก อาบัติสังฆาทิเสส อาบัติถุลลัจจัย อาบัติปาจิตตีย์ อาบัติปาฏิเทสนียะ อาบัติ ทุกกฏ อาบัติทุพภาสิต นี้อาบัติ ๗.
กองอาบัติ ๗
[๘๔๗] ในหัวข้อเหล่านั้น กองอาบัติ ๗ เป็นไฉน? คือ กองอาบัติ ปาราชิก กองอาบัติสังฆาทิเสส กองอาบัติถุลลัจจัย กองอาบัติปาจิตตีย์ กอง อาบัติปาฏิเทสนียะ กองอาบัติทุกกฏ กองอาบัติทุพภาสิต นี้กองอาบัติ ๗.
วินีตวัตถุ ๗
[๘๔๘] ในหัวข้อเหล่านั้น วินีตวัตถุ ๗ เป็นไฉน? คือ การเว้นไกล การเว้นขาด การงดเว้น เจตนาเครื่องเว้นจากกองอาบัติ ๗ ความไม่ประกอบ ความไม่ทำ ความไม่แกล้งต้อง ความไม่ละเมิดขอบเขต การกำจัดกองอาบัติ ๗ ด้วยอริยมรรคชื่อเสตุ นี้วินีตวัตถุ ๗.
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 370
ความไม่เคารพ ๖
[๘๔๙] ในหัวข้อเหล่านั้น ความไม่เคารพ ๖ เป็นไฉน? คือ ความ ไม่เคารพในพระพุทธเจ้า ความไม่เคารพในพระธรรม ความไม่เคารพใน พระสงฆ์ ความไม่เคารพในสิกขา ความไม่เคารพในอัปปมาท ความไม่เคารพ ในปฏิสันถาร นี้ความไม่เคารพ ๖.
ความเคารพ ๖
[๘๕๐] ในหัวข้อเหล่านั้น ความเคารพ ๖ เป็นไฉน? คือ ความ เคารพในพระพุทธเจ้า ความเคารพในพระธรรม ความเคารพในพระสงฆ์ ความเคารพในสิกขา ความเคารพในอัปปมาท ความเคารพในปฏิสันถาร นี้ความเคารพ ๖.
วินีตวัตถุ ๖
[๘๕๑] ในหัวข้อเหล่านั้น วินีตวัตถุ ๖ เป็นไฉน? คือ การเว้นไกล การเว้นขาด การงดเว้น เจตนาเครื่องเว้นจากความไม่เคารพ ๖ ความไม่ ประกอบความไม่ทำ ความไม่แกล้งต้อง ความไม่ละเมิดขอบเขต การกำจัด ความไม่เคารพ ๖ ด้วยอริยมรรคชื่อเสตุ นี้วินีตวัตถุ ๖.
วิบัติ ๔
[๘๕๒] ในหัวข้อเหล่านั้น วิบัติ ๔ เป็นไฉน? คือ ศีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ อาชีววิบัติ นี้วิบัติ ๔.
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 371
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
[๘๕๓] ในหัวข้อเหล่านั้น สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ เป็นไฉน? คือ อาบัติเกิดแต่กาย มิใช่วาจา มิใช่จิต ก็มี อาบัติเกิดแต่วาจา มิใช่กาย มิใช่จิต ก็มี อาบัติเกิดแต่กายกับวาจา มิใช่จิต ก็มี อาบัติเกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา ก็มี อาบัติเกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย ก็มี อาบัติเกิดแต่กายวาจาและจิต ก็มี นี้สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖.
มูลแห่งการวิวาท ๖
[๘๕๔] ในหัวข้อเหล่านั้น มูลแห่งวิวาท ๖ เป็นไฉน? คือ ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักโกรธ เป็นผู้ถือโกรธ ภิกษุผู้ที่มักโกรธ ถือโกรธนั้น ย่อมไม่มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์ ย่อมไม่ทำ ให้บริบูรณ์ในสิกขา ภิกษุผู้ที่ไม่มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมก่อวิวาทในสงฆ์ การ วิวาทย่อมมีเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็นสุขแก่ชนมาก เพื่อความ พินาศแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ แก่เทวดาและมนุษย์ ถ้า พวกเธอเล็งเห็นมูลแห่งวิวาทเห็นปานนี้ได้ ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอใน บริษัทนั้นพึงพยายามละมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้นเสีย ถ้าพวกเธอไม่เล็งเห็นมูล แห่งวิวาทเห็นปานนี้ ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้น พึงปฏิบัติ เพื่อความเป็นไปต่อไปแห่งมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้น ความละมูลแห่งวิวาทอัน ลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้ ความเป็นไปต่อไปแห่งมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้.
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 372
อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ลบหลู่ เป็นผู้ตีเสมอท่าน ภิกษุที่เป็นผู้ลบหลู่ตีเสมอ ท่านนั้น ย่อมไม่มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์ อยู่ ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ภิกษุผู้ที่ไม่มีความเคารพ ยำเกรงใน พระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมก่อวิวาทในสงฆ์ การวิวาทย่อมมีเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่ เป็นสุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ แก่เทวดาและมนุษย์ ถ้าพวกเธอเล็งเห็นมูลแห่งวิวาทเห็นปานนี้ได้ทั้งภายใน ทั้งภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้นพึงพยายามละมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้นเสีย ถ้าพวกเธอไม่เล็งเห็นมูลแห่งวิวาทเห็นปานนี้ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอใน บริษัทนั้น พึงปฏิบัติเพื่อความเป็นไปต่อไปแห่งมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้น ความ ละมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้ ความเป็นไปต่อไปแห่งมูลแห่ง วิวาทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้.
อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีปกติอิสสา เป็นผู้มีปกติตระหนี่ ภิกษุผู้ที่มีปกติ อิสสา มีปกติตระหนี่นั้น ย่อมไม่มีความเคารพ ยำเกรงในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ภิกษุผู้ที่ไม่มี ความเคารพ ยำเกรงในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขา ก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมก่อวิวาทในสงฆ์ การวิวาทย่อมมีเพื่อความไม่เกื้อกูล แก่ชนมาก เพื่อไม่เป็นสุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อความ ไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ ถ้าพวกเธอเล็งเห็นมูลแห่งวิวาทเห็น ปานนี้ได้ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้นพึงพยายามละมูลแห่ง วิวาทอันลามกนั้นเสีย ถ้าพวกเธอไม่เล็งเห็นมูลแห่งวิวาทเห็นปานนี้ทั้งภายใน
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 373
ทั้งภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้น พึงปฏิบัติเพื่อความเป็นไปต่อไปแห่งมูล แห่งวิวาทอันลามก ความละมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้ ความ เป็นไปต่อไปแห่งมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้.
อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้อวดดี เป็นผู้เจ้ามายา ภิกษุผู้ที่อวดดี เจ้ามายานั้น ย่อมไม่มีความเคารพ ยำเกรงในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ภิกษุผู้ที่ไม่มีความเคารพ ยำเกรงในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมก่อวิวาท ในสงฆ์การวิวาทย่อมมี เพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็นสุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ ถ้าพวกเธอเล็งเห็นมูลแห่งวิวาทเห็นปานนี้ได้ ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอ ในบริษัทนั้นพึงพยายามละมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้นเสีย ถ้าพวกเธอไม่เล็งเห็น มูลแห่งวิวาทเห็นปานนี้ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้น พึงปฏิบัติ เพื่อความเป็นไปต่อไปแห่งมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้น ความละมูลแห่งวิวาทอัน ลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้ ความเป็นไปต่อไปแห่งมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้
อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด ภิกษุผู้ที่มี ความปรารถนาลามก มีความเห็นผิดนั้น ย่อมไม่มีความเคารพยำเกรงใน พระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ภิกษุ ผู้ที่ไม่มีความเคารพ ยำเกรงในพระศาสดา พระธรรมและพระสงฆ์อยู่ แม้ใน สิกขาก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมก่อวิวาทในสงฆ์ การวิวาทย่อมมีเพื่อความ ไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็นสุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 374
เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ แก่เทวดาและมนุษย์ ถ้าพวกเธอเล็งเห็นมูล แห่งวิวาทเห็นปานนี้ได้ ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้น พึง พยายามละมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้นเสีย ถ้าพวกเธอไม่เล็งเห็นมูลแห่งวิวาทเห็น ปานนี้ ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้นพึงปฏิบัติ เพื่อความเป็น ไปต่อไปแห่งมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้น ความละมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้นย่อม มีด้วยอย่างนี้ ความเป็นไปต่อไปแห่งมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วย อย่างนี้
อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ถือแต่ความเห็นของตน ถืออย่างแน่นแฟ้น ปลด ได้ยากภิกษุผู้ที่ถือแต่ความเห็นของตน ถืออย่างแน่นแฟ้น ปลดได้ยากนั้น ย่อมไม่มีความเคารพ ยำเกรงในพระศาสดา พระธรรมและพระสงฆ์อยู่ ย่อม ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ภิกษุผู้ที่ไม่มีความเคารพ ยำเกรงในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมก่อวิวาท ในสงฆ์ การวิวาทย่อมมีเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็นสุขแก่ชน มาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ แก่เทวดา และมนุษย์ ถ้าพวกเธอเล็งเห็นมูลแห่งวิวาทเห็นปานนี้ได้ ทั้งภายในทั้งภาย นอก พวกเธอในบริษัทนั้นพึงพยายามละมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้นเสีย ถ้าพวก เธอไม่เล็งเห็นมูลแห่งวิวาทเห็นปานนี้ ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอในบริษัท นั้น พึงปฏิบัติ เพื่อความเป็นไปต่อไปแห่งมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้น ความ ละมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้ ความเป็นไปต่อไปแห่งมูลแห่ง วิวาทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้ นี้มูลแห่งวิวาท ๖
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 375
มูลแห่งการโจท ๖
[๘๕๕] ในหัวข้อเหล่านั้น มูลแห่งการโจท ๖ เป็นไฉน? คือ ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักโกรธ ถือโกรธ ภิกษุผู้ที่มักโกรธถือโกรธนั้น ย่อม ไม่มีความเคารพ ยำเกรง ในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ ย่อม ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ภิกษุผู้ที่ไม่มีความเคารพ ยำเกรง ในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมก่อการ โจทในสงฆ์ การโจทย่อมมีเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็นสุขแก่ชน มาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ แก่เทวดา และมนุษย์ ถ้าพวกเธอเล็งเห็นมูลแห่งการโจทเห็นปานนี้ได้ ทั้งภายในทั้งภาย นอก พวกเธอในบริษัทนั้น พึงพยายามละมูลแห่งการโจทอันลามกนั้นเสีย ถ้า พวกเธอไม่เล็งเห็นมูลแห่งการโจทเห็นปานนี้ ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอ ในบริษัทนั้น พึงปฏิบัติเพื่อความเป็นไปต่อไปแห่งมูลแห่งการโจทอันลามกนั้น ความละมูลแห่งการโจทอันลามกนั้นย่อมมีด้วยอย่างนี้ ความเป็นไปแห่งมูลแห่ง การโจทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้
อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ลบหลู่ เป็นผู้ดีเสมอท่าน ภิกษุผู้ที่ลบหลู่ดีเสมอท่าน นั้น ย่อมไม่มีความเคารพ ยำเกรง ในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์ อยู่ ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ภิกษุผู้ที่ไม่มีความเคารพ ยำเกรง ในพระ ศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อม ก่อการโจทในสงฆ์ การโจทย่อมมีเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็น สุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ แก่ เทวดาและมนุษย์ ถ้าพวกเธอเล็งเห็นมูลแห่งการโจทเห็นปานนี้ได้ ทั้งภายใน
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 376
และภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้นพึงพยายามละมูลแห่งการโจทอันลามกนั้น เสีย ถ้าพวกเธอไม่เล็งเห็นมูลแห่งการโจทเห็นปานนี้ ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้นพึงปฏิบัติ เพื่อความเป็นไปต่อไปแห่งมูลแห่งการโจทอัน ลามกนั้น ความละมูลแห่งการโจทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้ ความเป็น ไปต่อไปแห่งมูลของการโจทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้
อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีปกติอิสสา เป็นผู้มีปกติตระหนี่ ภิกษุผู้ที่มีปกติ- อิสสามีปกติตระหนี่นั้น ย่อมไม่มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขาภิกษุผู้ที่ไม่มีความเคารพยำเกรง ในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมก่อการโจทในสงฆ์ การโจทย่อมมีเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่ เป็นสุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ แก่เทวดา และมนุษย์ ถ้าพวกเธอเล็งเห็นมูลแห่งการโจทเห็นปานนี้ได้ทั้งภาย ในทั้งภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้น พึงพยายามละมูลแห่งการโจทอันลามก นั้นเสีย ถ้าพวกเธอไม่เล็งเห็นมูลแห่งการโจทเห็นปานนี้ ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้น พึงปฏิบัติ เพื่อความเป็นไปต่อไปแห่งมูลแห่งการโจท อันลามกนั้น ความละมูลแห่งการโจทอันลามกนั้นย่อมมีด้วยอย่างนี้ ความเป็น ไปต่อไปแห่งมูลของการโจทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้
อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้อวดดี เป็นผู้เจ้ามายา ภิกษุผู้ที่อวดดีเจ้ามายานั้น ย่อมไม่มีความเคารพ ยำเกรง ในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ภิกษุผู้ที่ไม่มีความเคารพ ยำเกรง ในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมก่อการ
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 377
โจทในสงฆ์ การโจทย่อมมี เพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็นสุขแก่ ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดา และมนุษย์ ถ้าพวกเธอเล็งเห็นมูลแห่งการโจทเห็นปานนี้ได้ ทั้งภายในทั้งภาย นอก พวกเธอในบริษัทนั้นพึงพยายามละมูลแห่งการโจทอันลามกนั้นเสีย ถ้า พวกเธอไม่เล็งเห็นมูลแห่งการโจทเห็นปานนี้ ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอ ในบริษัทนั้น พึงปฏิบัติ เพื่อความเป็นไปต่อไปแห่งมูลของการโจทอันลามก นั้น ความละมูลแห่งการโจทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้ ความเป็นไปต่อ ไปแต่งมูลแห่งการโจทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้
อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนาลามก เป็นผู้มีความเห็นผิด ภิกษุ เป็นผู้มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิดนั้น ย่อมไม่มีความเคารพ ยำเกรง ในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ภิกษุผู้ที่ไม่มีความเคารพ ยำเกรง ในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมก่อการโจทในสงฆ์ การโจทย่อมมีเพื่อ ความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็นสุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ แก่เทวดาและมนุษย์ ถ้าพวกเธอเล็งเห็นมูล แห่งการโจทเห็นปานนี้ ได้ ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้นพึง พยายามละมูลแห่งการโจทอันลามกนั้นเสีย ถ้าพวกเธอไม่เล็งเห็นมูลแห่งการ โจทเห็นปานนี้ ทั้งภายในทั้งภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้น พึงปฏิบัติ เพื่อ ความเป็นไปต่อไปแห่งมูลของการโจทอันลามกนั้น ความละมูลแห่งการโจทอัน ลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้ ความเป็นไปต่อไปแห่งมูลของการโจทอันลามก นั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 378
อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ถือแต่ความเห็นของตน ถืออย่างแน่นแฟ้นปลดได้ ยาก ภิกษุผู้ที่ถือแต่ความเห็นของตน ถืออย่างแน่นแฟ้นปลดได้ยากนั้น ย่อม ไม่มีความเคารพ ยำเกรงในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ ย่อม ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ภิกษุผู้ที่ไม่มีความเคารพ ยำเกรงในพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมก่อการ โจทในสงฆ์ การโจทย่อมมีเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็นสุขแก่ ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ แก่เทวดา และมนุษย์ ถ้าพวกเธอเล็งเห็นมูลแห่งการโจทเห็นปานนี้ได้ ทั้งภายในทั้ง ภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้นพึงพยายามละมูลแห่งการโจทอันลามกนั้นเสีย ถ้าพวกเธอไม่เล็งเห็นมูลแห่งการโจทเห็นปานนี้ ทั้งภายในทั้งภายนอก พวก เธอในบริษัทนั้น พึงปฏิบัติเพื่อความเป็นไปต่อไปแห่งมูลของการโจทอันลามก นั้น ความละมูลแห่งการโจทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้ ความเป็นไป ต่อไปแห่งมูลของการโจทอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้ นี้มูลแห่งการโจท ๖
สาราณียธรรม ๖ ประการ
[๘๕๖] ในหัวข้อเหล่านั้น ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึงกัน ๖ เป็นไฉน?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อน สพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งทั้งในที่ลับ ธรรมแม้นี้เป็นที่ตั้งแห่งความให้ ระลึกถึงกัน ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกัน.
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 379
อนึ่ง ภิกษุเข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบ ด้วยเมตตาในเพื่อนสพรหมจารี ทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งทั้งในที่ลับ ธรรมแม้นี้เป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึงกัน ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความ ไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
อนึ่ง ภิกษุเข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งทั้งในที่ลับ ธรรมแม้นี้เป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึก ถึงกัน ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกัน.
อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ไม่หวงลาภที่เกิดโดยธรรม ที่ตนหาได้โดยชอบธรรม โดยที่สุดแม้แต่อาหารที่นับเนื่องในบาตร ไว้บริโภคเป็นผู้บริโภคร่วมกับเพื่อน สพรหมจารีผู้มีศีล ธรรมแม้นี้เป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึงกัน ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อ ความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน. อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีศีลเสมอกับเพื่อนสพรหมจารีใน ศีลทั้งหลาย ที่ไม่ ขาด ไม่ทะลุ ไม่ต่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ อันกิเลส ไม่จับต้องเป็นไปเพื่อสมาธิ ทั้งในที่แจ้งทั้งในที่ลับอยู่ ธรรมแม้นี้เป็นที่ตั้ง แห่งความให้ระลึกถึงกัน ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความ สงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีทิฏฐิเสมอกับเพื่อนสพรหมจารีในทิฏฐิอันประเสริฐ นำออกจากทุกข์ นำไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้ทำตามพร่ำสอน ทั้งใน
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 380
ที่แจ้งทั้งในที่ลับอยู่ ธรรมแม้นี้เป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึงกัน ทำให้เป็น ที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นี้สาราณียธรรม ๖.
เรื่องทำความแตกร้าว ๑๘
[๘๕๗] ในหัวข้อเหล่านั้น เรื่องทำความแตกร้าวกัน ๑๘ เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. แสดงสภาพมิใช่ธรรมว่า เป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่า สภาพมิใช่ธรรม
๓. แสดงสภาพมิใช่วินัยว่า เป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่า สภาพมิใช่วินัย
๕. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ทรงภาษิต มิได้ตรัสไว้ว่า พระตถาคต ทรงภาษิต ตรัสไว้
๖. แสดงสิงที่พระตถาคตได้ทรงภาษิต ตรัสไว้แล้วว่า พระตถาคต มิได้ทรงภาษิต มิได้ตรัสไว้
๗. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ทรงประพฤติมาว่า พระตถาคตทรง ประพฤติมา
๘. แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงประพฤติมาว่า พระตถาคตมิได้ทรง ประพฤติมา
๙. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติไว้ว่า พระตถาคตทรง บัญญัติไว้
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 381
๑๐. แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงบัญญัติไว้ว่า พระตถาคตมิได้ทรง บัญญัติไว้
๑๑. แสดงอาบัติว่า มิใช่อาบัติ
๑๒. แสดงสิ่งมิใช่อาบัติว่า เป็นอาบัติ
๑๓. แสดงอาบัติเบาว่า อาบัติหนัก
๑๔. แสดงอาบัติหนักว่า อาบัติเบา
๑๕. แสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่า อาบัติหาส่วนเหลือมิได้
๑๖. แสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ว่า อาบัติมีส่วนเหลือ
๑๗. แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า อาบัติไม่ชั่วหยาบ
๑๘. แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า อาบัติชั่วหยาบ.
นี้เรื่องทำการแตกร้าว ๑๘.
อธิกรณ์ ๔
[๘๕๘] ในหัวข้อเหล่านั้น อธิกรณ์ ๔ เป็นไฉน? คือวิวาทาธิกรณ์ ๑ อนุวาทาธิกรณ์ ๑ อาปัตตาธิกรณ์ ๑ กิจจาธิกรณ์ ๑ นี้ อธิกรณ์ ๔.
สมณะ ๗
[๘๕๙] ในหัวข้อเหล่านั้น สมถะ ๗ เป็นไฉน? คือสัมมุขาวินัย ๑ สติวินัย ๑ อมูฬหวินัย ๑ ปฏิญญาตกรณะ ๑ เยภุยยสิกา ๑ ตัสสปาปิยสิกา ๑ ติณวัตถารกะ ๑ นี้ สมถะ ๗.
กติปุจฉาวาร จบ
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 382
หัวข้อประจำวาร
[๘๖๐] อาบัติ กองอาบัติ วินีตวัตถุ และอาบัติ กองอาบัติ วินีตวัตถุ อีกอย่างละ ๗ ความไม่เคารพ ความเคารพ วินีตวัตถุอีก ๗ วิบัติ สมุฏฐาน แห่งอาบัติ มูลแห่งการวิวาท และการโจท ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึก ถึงกัน เรื่องทำการแตกร้าว อธิกรณ์และสมถะ ๗ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ แล้ว รวมเป็น ๑๗ บท.
กติปุจฉาวารวัณณนา
[วินิจฉัยในคำว่า กติ อาปตฺติโย เป็นต้น]
บัดนี้ พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย ตั้งบทมาติกาโดยนัย มีคำว่า กติ อาปตฺติโย เป็นอาทิแล้ว กล่าววิภังค์ด้วยอำนาจนิทเทสและปฏินิทเทส เพื่อให้เกิดความฉลาด ในส่วนทั้งหลายมีอาบัติเป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กติ อาปตฺติโย เป็นคำถามถึงอาบัติ ซึ่งมาในมาติกาและในวิภังค์. แม้ในบทที่ ๒ ก็มีนัยเหมือนกัน. จริงอยู่ ใน บทที่ ๒ นี้ อาบัติสิ้นเชิงทีเดียว ท่านกล่าวว่า กอง ด้วยอำนาจแห่งหมวด.
คำที่ว่า วินีตวตฺถูนิ เป็นคำถามถึงความระงับอาบัติเหล่านั้น.
จริงอยู่ ๓ บทว่า วินีตํ วินโย วูปสโม นี้ โดยใจความเป็นอัน เดียวกัน.
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 383
เนื้อความแห่งบทในคำว่า วินีตวตฺถูนิ นี้ พึงทราบดังนี้ว่า วัตถุ เป็นเครื่องกำจัดอาบัตินั่นเอง ชื่อว่าวินีตวัตถุ.
บัดนี้ เมื่ออคารวะเหล่าใดมีอยู่ อาบัติจึงมี, เมื่ออคารวะเหล่าใดไม่มี อาบัติย่อมไม่มี, เพื่อแสดงอคารวะเหล่านั้น ท่านจึงกล่าวคำถาม ๒ ข้อว่า กติ อคารวา เป็นต้น. ส่วนคำว่า วินีตวตฺถูนิ นี้ เป็นคำถามถึงการกำจัด อคารวะเหล่านั้น.
ก็เพราะอาบัติเหล่านั้น ที่จัดว่าไม่ถึงความวิบัติย่อมไม่มี ฉะนั้น
คำที่ว่า กติ วิปตฺติโย นี้ จึงเป็นคำถามถึงความมีวิบัติแห่งอาบัติทั้งหลาย.
คำที่ว่า กติ อาปตฺติสมุฏานา นี้ เป็นคำถามถึงสมุฏฐานแห่ง อาบัติเหล่านั้นเอง.
คำที่ว่า วิวาทมูลานิ อนุวาทมูลานิ เหล่านี้ เป็นคำถามถึงมูลแห่ง วิวาทและอนุวาทที่มาว่า วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์.
คำที่ว่า สาราณียา ธมฺมา นี้ เป็นคำถามถึงธรรมที่ทำความไม่มี แห่งมูลของวิวาทและอนุวาท.
คำที่ว่า เภทกรวตฺถูนิ นี้ เป็นคำถามถึงวัตถุที่ก่อความแตก ซึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในคำว่า อธิกรณ์เป็นไปเพื่อแตกกันก็ดี เป็นอาทิ.
คำที่ว่า อธิกรณานิ นี้ เป็นคำถามถึงธรรมที่เกิดขึ้น ในเมื่อมี เภทกรวัตถุ.
คำที่ว่า สมถา นี้ เป็นคำถามถึงธรรมที่สำหรับระงับอธิกรณ์ เหล่านั้นแล.
คำที่ว่า ปญฺจ อาปตฺติโย ตรัสด้วยอำนาจอาบัติซึ่งมาในมาติกา.
คำที่ว่า สตฺต ตรัสด้วยอำนาจอาบัติซึ่งมาในวิภังค์.
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 384
[ว่าด้วยวิเคราะห์แห่งอารติศัพท์เป็นต้น]
ที่ชื่อว่า อารติ เพราะวิเคราะห์ว่า เว้นไกลจากกองอาบัติเหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชาติที่เว้นอย่างกวดขันจากกองอาบัติเหล่านั้น ชื่ออารติ.
ที่ชื่อว่า วิรติ เพราะวิเคราะห์ว่า เว้นเสียต่างหากจากกองอาบัติ เหล่านั้น.
ที่ชื่อว่า ปฏิวิรติ เพราะวิเคราะห์ว่า เว้นเฉพาะหนึ่งๆ จากกอง อาบัติเหล่านั้น.
ที่ชื่อว่า เวรมณี เพราะวิเคราะห์ว่า ขับเวรสีย คือยังเวรให้สาบสูญ
ที่ชื่อว่า อกิริยา เพราะวิเคราะห์ว่า วิรัตินั่น เป็นเหตุอันภิกษุไม่ ทำกองอาบัติเหล่านั้น.
ที่ชี่อว่า อกรณํ เพราะเป็นข้าศึกต่อความกระทำกองอาบัติที่จะพึง เกิดขึ้น ในเมื่อวิรัตินั้นไม่มี.
ที่ชื่อว่า อนชฺฌาปตฺติ เพราะเป็นข้าศึกต่อความต้องกองอาบัติ.
ที่ชื่อว่า เวลา เพราะเป็นเหตุผลาญ. อธิบายว่า เพราะเป็นเหตุคลอน คือเพราะเป็นเหตุพินาศ.
ที่ชื่อว่า เสตุ เพราะวิเคราะห์ว่า ผูกไว้ คือตรึงไว้ ได้แก่ คุมไว้ ซึ่งทางเป็นที่ออกไป. คำว่า เสตุ นี้ เป็นชื่อแห่งกองอาบัติทั้งหลาย. เสตุนั้น อันภิกษุย่อมสังหารด้วยวิรัตินั่น เพราะฉะนั้น วิรัตินัน จึงชื่อ เสตุฆาโต.
แม้ในนิทเทสแห่งวินีตวัตถุที่เหลือทั้งหลาย ก็นัยนี้แล.
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 385
[ว่าด้วยอคาวะ ๖]
วินิจฉัยในคำว่า พุทฺเธ อคารโว เป็นอาทิ พึงทราบดังนี้:-
ผู้ใด เมื่อพระพุทธเจ้ายังทรงอยู่ไม่ไปสู่ที่บำรุง เมื่อพระพุทธเจ้า ปรินิพพานแล้ว ไม่ไปสู่เจติยสถาน โพธิสถาน ไม่ไหว้เจดีย์หรือต้นโพธิ กางร่มและสวมรองเท้าเที่ยวไปบนลานเจดีย์ พึงทราบว่า ผู้นั้น ไม่มีความ เคารพในพระพุทธเจ้า.
ฝ่ายผู้ใด อาจอยู่แท้ แต่ไม่ไปสู่ที่ฟังธรรม ไม่สวดสรภัญญะไม่กล่าว ธรรมกถา ทำลายโรงธรรมสวนะเสียแล้วไป มีจิตฟุ้งซ่านหรือไม่เอื้อเฟื้อนั่งอยู่ พึงทราบว่า ผู้นั้น ไม่มีความเคารพในพระธรรม.
ผู้ใด ไม่ประจงตั้งไว้ซึ่งความยำเกรง ในพระเถระ ภิกษุใหม่และ ภิกษุผู้ปูนกลาง แสดงความคะนองกาย ในทีทั้งหลายโรงอุโบสถและโรงวิตก เป็นต้น ไม่ไหว้ตามลำดับผู้แก่ พึงทราบว่า ผู้นั้น ไม่มีความเคารพใน พระสงฆ์.
ฝ่ายผู้ใด ไม่สมาทานศึกษาไตรสิกขาเสียเลย พึงทราบว่า ผู้นั้น ไม่ มีความเคารพในสิกขา.
ฝ่ายผู้ใด ทั้งอยู่ในความประมาท คือในความอยู่ปราศจากสติเท่านั้น ไม่พอกพูนลักษณะความไม่ประมาท พึงทราบว่า ผู้นั้นไม่มีความเคารพใน ความไม่ประมาท
อนึ่ง ผู้ใด ไม่กระทำเสียเลย ซึ่งปฏิสันถาร ๒ อย่างนี้ คือ อามิสปฏิสันถาร ธรรมปฏิสันถาร พึงทราบว่า ผู้นั้น ไม่มีความเคารพในปฏิสันถาร.
เนื้อความในคาวรนิทเทส พึงทราบโดยบรรยายอันแผกจากที่กล่าวแล้ว.
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 386
[วิวาทมูลนิทเทส]
วินิจฉัยในวิวาทมูลนิทเทส พึงทราบดังนี้:-
เนื้อความแห่งข้อว่า สตฺถริปิ อคารโว เป็นอาทิ พึงทราบตามนัย ที่กล่าวแล้ว ในความไม่มีความเคารพในพระพุทธเจ้าเป็นต้นนั่นแล.
บทว่า อปฺปฏิสฺโส ได้แก่ ไม่ประพฤติถ่อมตน คือ ไม่ยกพระศาสดาให้เป็นใหญ่อยู่.
บทว่า อชฺฌตฺตํ วา ความว่า (ถ้าว่า ท่านทั้งหลายพึงเล็งเห็น มูลแห่งวิวาทเห็นปานนั้น) ในสันดานของตนก็ดี ในพวกของตนก็ดี ในบริษัท ของตนก็ดี.
บทว่า พทิทฺธา วา ความว่า ในสันดานของผู้อื่นก็ดี ในพวกของ ผู้อื่นก็ดี.
สองบทว่า ตตฺถ ตุมฺเห ความว่า ทั้งในสันดานของตนและผู้อื่น หรือทั้งในบริษัทของตนและผู้อื่น อันต่างกันด้วยมีในภายในและมีในภายนอก นั้น.
สองบทว่า ปหานาย วายเมยฺยาถ มีความว่า ท่านทั้งหลายพึง พยายามเพื่อละมูลแห่งวิวาทอันลามกนั่นแล ด้วยนัยทั้งหลาย มีเมตตาภาวนา เป็นอาทิ.
จริงอยู่ วิวาทมูลนั้น ทั้งที่มีในภายใน ทั้งที่มีในภายนอกย่อมละเสีย ได้ ด้วยนัยมีเมตตาภาวนาเป็นต้น.
บทว่า อนวสฺสวาย ได้แก่ เพื่อความไม่เป็นไป.
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 387
บทว่า สนฺทิฏฺิปรามาสี มีความว่า ย่อมยึดถือความเห็นของตน เท่านั้น คือ ข้อใด อันตนได้เห็นแล้ว ย่อมยึดข้อนั้นว่า ข้อนี้เท่านั้น เป็น จริง.
บทว่า อาธานคาหี ได้แก่ มักยึดไว้อย่างมั่นคง.
[อนุวาทมูลนิทเทส]
อนุวาทมูลนิทเทส เสมอด้วยวิวาทมูลนิทเทสนั่นเอง ก็จริง ถึงกระนั้น ในวิวาทมูลนิทเทสและอนุวาทมูลนิทเทสนี้ ย่อมมีความแปลกกันดังนี้ว่า โทษ ทั้งหลาย มีความโกรธและความผูกโกรธกันเป็นต้น ของภิกษุทั้งหลาย ผู้ วิวาทกันอาศัยเภทกรวัตถุ ๑๘ จัดเป็นมูลแห่งวิวาท ก็แลเมื่อวิวาทกันอย่างนั้น ย่อมถึงวิบัติอย่างใด อย่างหนึ่ง ในวิบัติเป็นต้นแล้ว โจทกันและกันว่า ภิกษุ ชื่อโน้น ต้องวิบัติชื่อโน้น บ้าง ว่า ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิก บ้าง ว่า ท่าน เป็นผู้ต้องสังฆาทิเสส บ้าง. โทษทั้งหลาย มีความโกรธและความผูกโกรธ กันเป็นต้น ของภิกษุทั้งหลายผู้โจทกันและกันอย่างนั้น จัดเป็นมูลแห่งอนุวาท.
[สาราณีธัมมนิทเทส]
วินิจฉัยในสาราณียธัมมนิทเทส ดังนี้:-
กายกรรมที่กระทำด้วยจิตประกอบด้วยเมตตา ชื่อเมตตากายกรรม.
สองบทว่า อาวิ เจว รโห จ ได้แก่ ทั้งต่อหน้า ทั้งลับหลัง. ในกายกรรม ๒ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งต่อหน้าและลับหลังนั้น การถึงความเป็น สหาย ในการงานทั้งหลายมีจีวรกรรมเป็นอาทิ ของภิกษุใหม่ทั้งหลาย ชื่อ เมตตากายกรรมต่อหน้า. ส่วนสามีจิกรรมทั้งปวง แม้ต่างโดยกิจมีล้างเท้าและ พัดลมเป็นต้นให้พระเถระทั้งหลาย ชื่อเมตตากายกรรม ต่อหน้า.
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 388
การเก็บงำ ภัณฑะทั้งหลายมีภัณฑะไม้เป็นต้น ที่ภิกษุใหม่และพระเถระทั้ง ๒ พวกเก็บงำไว้ไม่ดี ไม่ทำความดูหมิ่นในภิกษุใหม่และพระเถระ เหล่านั้น ประหนึ่งเก็บงำสิ่งของที่ตนเก็บไว้ไม่ดีฉะนั้นชื่อเมตตากายกรรม ลับหลัง.
ข้อว่า อยมฺปิ ธมฺโม สาราณีโย มีความว่า ธรรมกล่าว คือ เมตตากายกรรมนี้ อันเพื่อพรหมจรรย์ทั้งหลายพึงระลึกถึง. อธิบายว่า บุคคล ใด ยังสติให้เกิด กระทำธรรมกล่าวคือเมตตากายกรรมนั้น ธรรมคือเมตตา กายกรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นทำแล้วแก่ชนเหล่าใด ชนเหล่านั้นมีจิต เลื่อมใสแล้ว ย่อมระลึกถึงบุคคลนั้นว่า ผู้นี้เป็นสัตบุรุษจริง.
บทว่า ปิยกรโณ มีความว่า ธรรมคือเมตตากายกรรมนั้นย่อมทำ บุคคลนั้น ให้เป็นที่รักของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย.
บทว่า ครุกรโณ มีความว่า ธรรมนั้น ย่อมทำบุคคลนั้น ให้เป็น ที่เคารพของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย.
วินิจฉัยในคำว่า สงฺคหาย เป็นต้น พึงทราบดังนี้:-
ธรรมนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้อันเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย พึงสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความเป็นผู้พร้อมเพรียง เพื่อความ เป็นพวกเดียวกัน กับเพื่อนพรหมจรรย์เหล่านั้น.
วินิจฉัยในคำว่า เมตฺตํ วจีกมฺมํ เป็นต้น พึงทราบดังนี้:-
การกล่าวยกย่องอย่างนี้ว่า ท่านเทวเถระ ท่านติสสเถระ ชื่อเมตตา วจีกรรม ต่อหน้า. ส่วนการกล่าวถ้อยคำที่ส่อความรัก ของบุคคลผู้สอบถาม
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 389
ถึงท่าน ในเมื่อท่านไม่อยู่ในสำนัก อย่างนี้ว่า ท่านเทวเถระของพวกเรา ไปไหน? ท่านติสสเถระของพวกเรา ไปไหน? เมื่อไรหนอ ท่านจักมา? ดังนี้ ชื่อเมตตาวจีกรรม ลับหลัง.
ก็แลการลืมตาอันสนิทสนมด้วยความรัก กล่าวคือเมตตาแลดูด้วยหน้า อันชื่นบาน ชื่อเมตตามในกรรม ต่อหน้า. การคำนึงถึงเสมอว่า ท่านเทวเถระ ท่านติสสเถระ จงเป็นผู้ไม่มีโรค มีอาพาธน้อย ชื่อเมตตามโนกรรม ลับหลัง.
บทว่า อปฺปฏิวิภตฺตโภคี มีความว่า ย่อมแบ่งอามิสไว้สำหรับตัว แล้ว บริโภคหามิได้ แบ่งไว้เฉพาะบุคคลแล้ว บริโภคหามิได้.
ก็ภิกษุใด ย่อมแบ่งไว้บริโภคว่า เราจักให้แก่ภิกษุเหล่าอื่นเท่านั้น จักบริโภคด้วยตนเองเท่านี้ หรือว่า เราจักให้แก่ภิกษุโน้นและภิกษุโน้นเท่านี้ จักบริโภคด้วยตนเองเท่านี้ ภิกษุนี้ ชื่อว่าผู้แบ่งบริโภคโดยเฉพาะ.
ฝ่ายภิกษุผู้ตั้งอยู่ในสาราณียธรรมนี้ ไม่ทำอย่างนั้น ถวายบิณฑบาต อันตนนำมาตั้งแต่ที่พระเถระ แล้วฉันส่วนที่ยังเหลือจากที่พระเถระรับเอาไว้.
พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า แม้จะไม่ให้แก่บุคคลผู้ทุศีล ก็ ควร เพราะพระบาลีว่า สีลวนฺเตหิ, แต่อันภิกษุผู้บำเพ็ญสาราณียธรรม พึงให้แก่ผู้มีศีลและผู้ทุศีลทั้งปวงทีเดียว.
แม้เลือกให้แก่ภิกษุผู้อาพาธและพยาบาลไข้ ผู้อาคันตุกะ ผู้เตรียมจะ ไปและผู้ขวนขวายในการงานมีจีวรกรรมเป็นต้น ก็ควร. เพราะว่า ภิกษุเลือก บุคคลเหล่านั้นแล้วให้อยู่ จะชื่อว่าเป็นอันทำการจำแนกบุคคลหามิได้. จริงอยู่ เพราะภิกษุทั้งหลายผู้เช่นนี้ เป็นผู้มีลาภฝืดเคือง จึงควรทำให้เป็นส่วนพิเศษ แท้ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้บำเพ็ญสาราณียธรรมนี้ จึงทำการเลือกให้.
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 390
วินิจฉัยในบทว่า อขณฺฑานิ เป็นต้น พึงทราบดังนี้:-
บรรดาอาบัติ ๗ กอง สิกขาบทของภิกษุใดเป็นคุณสลายเสียข้างต้น หรือข้างปลาย ศีลของภิกษุนั้น ชื่อว่าด้วน เปรียบเหมือนผ้าขาดที่ชายโดยรอบ ฉะนั้น.
ฝ่ายสิกขาบทของภิกษุใด ทำลายเสียตรงท่ามกลาง ศีลของภิกษุนั้น ซึ่งว่า เป็นช่อยทะลุ เปรียบเหมือนผ้าที่เป็นช่องทะลุตรงกลางฉะนั้น.
สิกขาบทของภิกษุใด ทำลายเสีย ๒ - ๓ สิกขาบทโดยลำดับ ศีลของ ภิกษุนั้น ชื่อว่าด่าง เปรียบเหมือนแม่โคซึ่งมีสีตัวดำและแดงเป็นต้น อย่างใด อย่างหนึ่ง สลับกับสีซึ่งไม่เหมือนกันที่ผุดขึ้นที่หลังหรือที่ท้อง ฉะนั้น.
สิกขาบทของภิกษุใด ทำลายเสียในระหว่างๆ ศีลของภิกษุนั้นชื่อว่า พร้อย เปรียบเหมือนแม่โคที่พราวเป็นดวงด้วยสีไม่เหมือนกันในระหว่างๆ ฉะนั้น.
ส่วนศีลของภิกษุใด ไม่ทำลายโดยประการทั้งปวง ศีลเหล่านั้นของ ภิกษุนั้น ชื่อว่า ไม่ด้วน ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย.
ก็ศีลเหล่านี้นั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นไท เพราะทำ ความเป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ เพราะเป็นศีลที่ท่านผู้รู้ยกย่อง อันกิเลสไม่ จับต้อง เพราะเป็นศีลที่ตัณหาและทิฏฐิจับต้องไม่ได้ เป็นไปเพื่อสมาธิ เพราะ ยังอุปจารสมาธิหรืออัปปนาสมาธิให้เป็นไปพร้อม.
สองบทว่า สีลสามญฺคโต วิหรติ มีความว่า ผู้มีศีลเข้าถึงความ เป็นผู้เสมอกัน กับภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลงาม ซึ่งอยู่ในทิศาภาคเหล่านั้นๆ.
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 391
สองบทว่า ยายํ ทิฏฺิ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ ที่สัมปยุตด้วยมรรค.
บทว่า อริยา ได้แก่ หาโทษมิได้.
บทว่า นิยฺยาติ ได้แก่ พาออกไป.
บทว่า ตกฺกรสฺส ได้แก่ ผู้มีปกติทำอย่างนั้น.
บทว่า ทุกฺขกฺขยาย ได้แก่ เพื่อสิ้นไปแห่งทุกข์ทั้งปวง.
คำที่เหลือ จนถึงประเภทสมถะเป็นที่สุด มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น.
กติปุจฉาวาร วัณณนา จบ