พระพุทธเจ้าทรงฉันเนื้อสัตว์หรือไม่ครับ
โดย Prame  4 ต.ค. 2550
หัวข้อหมายเลข 5019

สวัสดีครับ รบกวนถามครับว่า พระพุทธเจ้าทรงตรัสห้ามเรื่องการกินเนื้อสัตว์หรือไม่ครับ แล้วพระองค์ทรงเคยฉันเนื้อสัตว์หรือไม่ครับ

ขอบคุณครับ



ความคิดเห็น 1    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 4 ต.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

พระพุทธองค์ทรงห้ามการฉันเนื้อสัตว์ของพระภิกษุบางประเภท เช่น เนื้อมนุษย์ เนื้อช้าง เนื้อสุนัข เนื้อเสือโคร่ง เสือดาว เสือเหลือง ราชสีห์ งู หมี เนื้อม้า และฉันได้ด้วยบริสุทธิ์ส่วนสาม คือ ไม่เห็น ไม่ได้ยิน และไม่สงสัย แต่ต้องพิจารณาก่อนฉัน และเป็นเนื้อที่ทรงห้ามหรือไม่ ส่วนเพศคฤหัสถ์ มิได้ทรงห้ามครับ

ส่วนพระพุทธเจ้าทรงฉันเนื้อ แต่ด้วยความบริสุทธิ์ส่วนสามตามที่กล่าวมา และเนื้อที่ทรงห้ามและที่ฆ่าเจาะจงถวายด้วยครับ
เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ ...

แด่ชีวิตที่ร่ำไห้ ของสัตว์โลก

เนื้อที่พระพุทธเจ้าทรงห้าม

การบริโภคเนื้อสัตว์

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


ความคิดเห็น 2    โดย chatchai.k  วันที่ 5 ต.ค. 2550

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบริโภคเนื้อสัตว์ เช่นเดียวกับพระภิกษุทั้งหลายท่านก็บริโภคเนื้อสัตว์ตามพระวินัย คือ สำหรับพระภิกษุแล้ว เมื่อไม่เห็น ไม่ได้ยิน และไม่สงสัยในเนื้อนั้น ท่านก็บริโภคได้


ความคิดเห็น 3    โดย chatchai.k  วันที่ 5 ต.ค. 2550

จากหนังสือ บทบาท อ.สุจินต์ ในการเผยแผ่พุทธธรรม โดย พระธนนาถ นิธิปญฺโญ

การบริโภคเนื้อสัตว์

คำถามนี้เป็นที่ข้องใจไม่เฉพาะสำหรับชาวพุทธ แต่ว่าอาจจะเป็นข้อโจมตีหรือข้อตำหนิของศาสนาอื่น ที่เคยได้ยินได้ฟังมาว่า คำสอนของเราดูคล้ายๆ จะปากว่าตาขยิบ คือ เมื่อไม่ให้ฆ่า แต่ก็บริโภคเนื้อสัตว์ ความจริงแล้วไม่ใช่เรื่องปากว่าตาขยิบ แต่แสดงให้เห็นว่า ตราบใดที่ยังมีกิเลส หรือกิเลสยังไม่ดับ ตราบนั้นก็ยังมีการฆ่า แต่ผู้ที่ดับกิเลส เช่น พระโสดาบันเป็นต้นไป จะไม่มีเจตนาฆ่าอีกเลย แต่ว่าบริโภคเนื้อสัตว์ได้


ความคิดเห็น 4    โดย chatchai.k  วันที่ 5 ต.ค. 2550

เรื่องของการบริโภค ไม่ใช่ว่าเนื้อสัตว์จะทำให้เราเกิดปัญญา หรือว่าเนื้อสัตว์จะทำให้เราไม่เป็นพระอริยบุคคล ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับเนื้อสัตว์ แต่อยู่ในขณะที่กำลังบริโภคว่า เราบริโภคด้วยอกุศลจิต ด้วยกิเลสหรือด้วยจิตที่เป็นกุศล นี่เป็นข้อที่ต่างกัน เพราะเหตุว่า การฆ่านั้น แน่นอนว่าต้องเป็นอกุศลจึงฆ่า เป็นโทสมูลจิต ประกอบด้วยความไม่พอใจ ต้องการที่จะทำลายสิ่งนั้น จึงได้ฆ่า ขณะนั้นต้องเป็นอกุศล แต่ขณะที่บริโภคด้วยสติระลึกรู้ลักษณะของนามธรรม รูปธรรมโดยความเป็นอนัตตา เพราะเหตุว่าสิ่งที่บริโภคนั้น ทางตาก็เป็นแต่เพียงสีสันต่างๆ เวลาที่กระทบสัมผัสลิ้นหรือริมฝีปากก็อ่อนหรือแข็ง ก็เป็นเพียงธาตุชนิดหนึ่งเวลาที่กระทบกับลิ้นก็ปรากฏเป็นรสต่างๆ ซึ่งเกิด ดับ เพราะฉะนั้น ถ้าในขณะนั้นปัญญาเกิดขึ้นรู้ลักษณะของสภาพธรรม ก็ต่างกับผู้ไม่บริโภคเนื้อสัตว์ด้วยความพอใจ

ลองคิดถึงคนสองคน คนหนึ่งไม่บริโภคเนื้อสัตว์ แต่มีโลภะ ขณะที่กำลังบริโภค อีกคนหนึ่งบริโภคเนื้อสัตว์ แต่ว่ามีปัญญาในขณะที่บริโภค ควรเจริญอย่างไหน โดยขณะนั้นไม่ใช่ผู้ฆ่า และตราบใดที่คนทั้งโลกยังบริโภคเนื้อสัตว์ ยังมีกิเลส การบริโภคของผู้ที่เลี้ยงง่าย ก็ย่อมจะไม่มีการพิถีพิถันจนกระทั่งทำให้คนอื่นเขาลำบาก อย่างบางคนอาจจะนิยมพระภิกษุบางรูปที่มักจะถามว่า อาหารที่นำมาในบาตรนี้เป็นเนื้อสัตว์หรือเปล่า พอบอกว่าเป็นเนื้อสัตว์ก็ไม่รับ ที่จริงแล้วไม่ถูก เพราะผู้นั้นมีศรัทธาที่จะถวายภัตตาหาร

เพราะฉะนั้น พระภิกษุซึ่งเป็นผู้เลี้ยงง่าย จะต้องรับ เพื่อไม่ให้เขาขาดกุศลที่ควรเป็นไป คนที่ไม่บริโภคเนื้อสัตว์ แต่ฆ่าสัตว์ พอยุงกัดก็ตบเลย ฆ่ายุงง่ายๆ นี่ก็เป็นข้อที่น่าคิด


ความคิดเห็น 5    โดย Prame  วันที่ 5 ต.ค. 2550

ขอบพระคุณมากครับ


ความคิดเห็น 6    โดย ตุลา  วันที่ 5 ต.ค. 2550

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 7    โดย wannee.s  วันที่ 5 ต.ค. 2550

กลิ่นดิบ คือ กิเลส ไม่ใช่เนื้อสัตว์

อกุศลกรรมบถ ๑๐ ชื่อว่ากลิ่นดิบค่ะ


ความคิดเห็น 8    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 11 ต.ค. 2550

บุญอยู่ที่จิต มิใช่ที่อาหาร


ความคิดเห็น 9    โดย เจริญในธรรม  วันที่ 24 เม.ย. 2551
ขออนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 10    โดย bug  วันที่ 7 เม.ย. 2552
ขออนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 11    โดย เมตตา  วันที่ 26 ต.ค. 2552

ขอบคุณและขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 13    โดย เซจาน้อย  วันที่ 30 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณและขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 14    โดย ประสาน  วันที่ 15 ต.ค. 2558

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 16    โดย Nataya  วันที่ 12 ก.พ. 2562

กราบอนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 17    โดย chatchai.k  วันที่ 12 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 18    โดย yu_da2554hotmail  วันที่ 2 มี.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ