๔. ภิกขุสูตรที่ ๒ ว่าด้วยเหตุได้ชื่อว่าเป็นผู้กําหนัดขัดเคืองและลุ่มหลง
โดย บ้านธัมมะ  6 ก.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 36793

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 76

๔. ภิกขุสูตรที่ ๒

ว่าด้วยเหตุได้ชื่อว่าเป็นผู้กําหนัดขัดเคืองและลุ่มหลง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 76

๔. ภิกขุสูตรที่ ๒

ว่าด้วยเหตุได้ชื่อว่าเป็นผู้กำหนัดขัดเคืองและลุ่มหลง

[๗๗] กรุงสาวัตถี. ฯลฯ ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอประทานวโรกาสพระเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์ฟังแล้วพึงเป็นผู้ผู้เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจมั่นคงอยู่เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ บุคคลครุ่นคิดถึงสิ่งใด ย่อมหมกมุ่นสิ่งนั้น หมกมุ่นสิ่งใด ย่อมถึงการนับเพราะสิ่งนั้น ไม่ครุ่นคิดถึงสิ่งใด ย่อมไม่หมกมุ่นสิ่งนั้น ไม่หมกมุ่นสิ่งใด ย่อมไม่ถึงการนับเพราะสิ่งนั้น.

ภิ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว.

พ. ดูก่อนภิกษุ ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวโดยย่อได้โดยพิสดารอย่างไร.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าบุคคลครุ่นคิดถึงรูป ย่อมหมกมุ่นรูปใด ย่อมถึงการนับเพราะรูปนั้น ถ้าครุ่นคิดถึงเวทนา ฯลฯ ถ้าครุ่นคิดถึงสัญญา ฯลฯ ถ้าครุ่นคิดถึงสังขาร ฯลฯ ถ้าครุ่นคิดถึงวิญญาณ ย่อมหมกมุ่นวิญญาณนั้น หมกมุ่นวิญญาณใด ย่อมถึงการนับเพราะวิญญาณนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าบุคคลไม่ครุ่นคิดถึงรูป ย่อมไม่หมกมุ่นรูปนั้น ไม่หมกมุ่นรูปใด ย่อมไม่ถึงการนับเพราะรูปนั้น ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงเวทนา ฯลฯ ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสัญญา ฯลฯ ถ้าไม่ครุ่นคิด


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 77

ถึงสังขาร ฯลฯ ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงวิญญาณย่อมไม่หมกมุ่นวิญญาณนั้น ไม่หมกมุ่นวิญญาณใด ย่อมไม่ถึงการนับเพราะวิญญาณนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยย่อได้โดยพิสดารอย่างนี้แล.

[๗๘] พ. ถูกแล้ว ถูกแล้ว ภิกษุ เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวโดยย่อได้โดยพิสดารดีนักแล ดูก่อนภิกษุ ถ้าบุคคลครุ่นคิดถึงรูป ย่อมหมกมุ่นรูปนั้น หมกมุ่นรูปใด ย่อมถึงการนับเพราะรูปนั้น ถ้าครุ่นคิดถึงเวทนา ฯลฯ ถ้าครุ่นคิดถึงสัญญา ฯลฯ ถ้าครุ่นคิดถึงสังขาร ฯลฯ ถ้าครุ่นคิดถึงวิญญาณ ย่อมหมกมุ่นวิญญาณนั้น หมกมุ่นวิญญาณใด ย่อมถึงการนับเพราะวิญญาณนั้น ดูก่อนภิกษุ ถ้าบุคคลไม่ครุ่นคิดถึงรูป ย่อมไม่หมกมุ่นรูปนั้น ไม่หมกมุ่นรูปใด ย่อมไม่ถึงการนับเพราะรูปนั้น ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงเวทนา ฯลฯ ถ้าไม่ครุ่นคิดถึง สัญญา ฯลฯ ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสังขาร ฯลฯ ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงวิญญาณ ย่อมไม่หมกมุ่นวิญญาณนั้น ไม่หมกมุ่นวิญญาณใด ย่อมไม่ถึงการนับเพราะวิญญาณนั้น ดูก่อนภิกษุ เธอพึงเข้าใจเนื้อความแห่งคำนี้ที่เรากล่าวแล้วโดยย่อโดยพิสดารอย่างนี้ ฯลฯ ก็ภิกษุรูปนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.

จบ ภิกขุสูตรที่ ๒

อรรถกถาภิกขุสูตรที่ ๒

ในภิกขุสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ตํ อนุมิยฺยติ ความว่า รูปที่เขาครุ่นคิดนั้น ย่อมตายไปตามความครุ่นคิดที่กำลังตายไป ด้วยว่าเมื่ออารมณ์แตกไป ธรรมที่


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 78

มีรูปนั้นเป็นอารมณ์ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้. บทว่า ยํ อนุมิยฺยติ ความว่า รูปใดตายไปตามความครุ่นคิดใด. บทว่า เตน สงฺขํ คจฺฉติ ความว่า ด้วยความครุ่นคิดนั้น บุคคลย่อมถึงการนับว่า รัก โกรธ หลง อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ยํ เป็นตติยาวิภัตติ ความว่า บุคคลย่อมถึงการนับว่า รัก โกรธ หลง ด้วยความครุ่นคิดถึงรูปที่ตายไปนั้น.

จบ อรรถกถาภิกขุสูตรที่ ๒