[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 652
๑๐. สคัยหกสูตร
ว่าด้วยคนติดลาภสักการะตายไปตกอบายเป็นต้น
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 652
๑๐. สคัยหกสูตร
ว่าด้วยคนติดลาภสักการะตายไปตกอบายเป็นต้น
[๕๕๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า.
[๕๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเห็นคนบางคนในโลกนี้ อันสักการะครอบงำย่ำยีจิตแล้ว เมื่อตายไป เพราะกายแตกทำลาย ต้องเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก อนึ่ง เราเห็นคนบางคนในโลกนี้ อันความเสื่อมสักการะครอบงำย่ำยีจิต เมื่อตายไป เพราะกายแตกทำลาย ต้องเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เราเห็นคนบางคนในโลกนี้ อันสักการะและความเสื่อมสักการะทั้งสองอย่างครอบงำย่ำยีจิตแล้ว เมื่อตายไป เพราะกายแตกทำลาย ต้องเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ ฯลฯ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 653
[๕๕๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสคำไวยากรณภาษิตนี้แล้ว ได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า
สมาธิของผู้ใด ที่เขาสักการะอยู่ด้วยผลสมาธิ หาประมาณมิได้ ไม่หวั่นไหวด้วยสักการะ และความเสื่อมสักการะ ผู้นั้นเพ่งอยู่ ทำความเพียรเป็นไปติดต่อ เห็นแจ้งด้วยทิฏฐิอย่างละเอียด ยินดีในพระนิพพานเป็นที่สิ้นอุปาทาน บัณฑิตทั้งหลายเรียกว่า สัปปุรุษ ดังนี้.
จบสคัยหกสูตรที่ ๑๐
จบปฐมวรรคที่ ๑
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สุทธกสูตร
๒. พฬิสสูตร
๓. กุมมสูตร
๔. ทีฆโลมสูตร
๕. เอฬกสูตร
๖. อสนิสูตร
๗. ทิฏฐิสูตร
๘. สิคาลสูตร
๙. เวรัมภสูตร
๑๐. สคัยหกสูตร.
อรรถกถาสคัยหกสูตรที่ ๑๐
พึงทราบวินิจฉัยในสคัยหกสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้.
บทว่า อสกฺการเน จูภยํ ได้แก่ อสักการะ ๒ อย่าง.
บทว่า สมาธิ คือ อรหัตตผลสมาธิ.
ก็สมาธินั้น ไม่หวั่นไหวด้วยอสักการะนั้น.
บทว่า อปฺปมาณวิหาริโน คือ อยู่ด้วยผลสมาธิ หาประมาณมิได้.
บทว่า สาตติกํ คือ ทำติดต่อกัน.
บทว่า สุขุมทิฏฺิวิปสฺสกํ ความว่า ชื่อ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 654
ว่าเห็นแจ้งเพราะมาเริ่มตั้งวิปัสสนาในอรหัตตมรรคทิฏฐิ เพื่อประโยชน์แก่ทิฏฐิอันละเอียดในผลสมาบัติ.
บทว่า อุปาทานกฺขยารามํ ได้แก่ ยินดีในนิพพาน กล่าวคือเป็นที่สิ้นอุปาทาน.
บทว่า อาหุ สปฺปุริโส ได้แก่ กล่าว.
จบอรรถกถาสคัยหกสูตรที่ ๑๐
จบอรรถกถาปฐมวรรคที่ ๑