คำอธิบาย คำว่า “จิต” ในอัฏฐสาลินี จิตตุปปาทกัณฑ์มีต่อไปว่า... จะอธิบายคำว่า “จิตฺต ” ต่อไป ที่ชื่อว่า “จิต” เพราะอรรถว่า คิด อธิบายว่า รู้แจ้งอารมณ์ อีกอย่างหนึ่งเพราะเหตุที่ศัพท์ว่า “จิตฺตํ” นี้ทั่วไปแก่จิตทุกดวง ฉะนั้น ในคำว่า “จิตฺตํ” นี้ กุศลจิตฝ่ายโลกีย์ อกุศลจิต และมหากิริยาจิต จึงชื่อว่า “จิต” เพราะสั่งสมสันดานของตนด้วยสามารถแห่งชวนวิถี
ชื่อว่า “จิต” เพราะเป็นธรรมชาติอันกรรมกิเลสสั่งสมวิบา อนึ่ง แม้จิตทุกดวงชื่อว่า “จิต” เพราะเป็นธรรมชาติวิจิตรตามสมควร
ชื่อว่า “จิต” เพราะกระทำให้วิจิตร
ถ้าศึกษาจากตำรารุ่นหลังๆ ที่มีผู้รวบรวมไว้ ก็จะทราบว่าลักษณะของจิต ๖ อย่าง ที่กล่าวไว้ในตำรารุ่นหลังๆ นั้น มาจากข้อความในอัฎฐสาลินี อรรถกถาธัมมสังคณีปกรณ์ ซึ่งอธิบายคำว่า “จิต” ที่สามารถจะแยกออกได้เป็นข้อๆ คือ
ชื่อว่า “จิต” เพราะอรรถว่าคิด อธิบายว่า เพราะรู้แจ้งอารมณ์ ๑
ชื่อว่า “จิต” เพราะสั่งสมสันดานของตนด้วยสามารถแห่งชวนวิถี ๑
ชื่อว่า “จิต” เพราะเป็นธรรมชาติอันกรรม กิเลส สั่งสมวิบาก ๑
ชื่อว่า “จิต” เพราะเป็นธรรมชาติวิจิตรตามสมควร ๑ (ข้อนี้ส่วนมากในตำรารุ่นหลังแยกเป็น ๒ คือ เพราะวิจิตรด้วยอารมณ์ ๑ และเพราะวิจิตรด้วยสัมปยุตธรรม ๑)
ชื่อว่า “จิต” เพราะกระทำให้วิจิตร ๑
ดาวน์โหลดหนังสือ --> ปรมัตถธรรมสังเขป
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ