การจัดลำดับมาก น้อย ของเรื่องบาป บุญ
โดย tanaprasith  1 ต.ค. 2556
หัวข้อหมายเลข 23743

หลายๆ ครั้งที่ผมได้ยินว่า ผู้ที่ทำกรรมอย่างนี้บาปมากเช่นโกงเงินวัด เวลามีข่าว

มีเรื่องอื้อฉาวพวกนี้บางขณะที่ไปได้ยินข่าวว่ามีคนที่ทำให้สงฆ์แตกแยกก็บาปมาก

หรือว่าคนที่ทำไม่ดีกับบุพการีก็บาปมาก

ลบหลู่ ดูแคลน สบประมาท หมิ่นผู้มีคุณ/อริยบุคคลก็บาปมาก

เมื่อไม่นานมานี้ได้ยินมาว่า สิ่งที่มีน้ำหนักในทางอกุศลที่สุดคือ มิจฉาทิฏฐิ

ในพระไตรปิฏกมีการจัดลำดับน้ำหนัก ของพวกอกุศลกรรมบ้างไหมครับว่า อะไรยังงัย

เรียงลำดับไป

เห็นสังคมเราขยันบอกเหลือเกินว่าอันนี้บาปมาก บาปหนา สื่อสารเชื่อมโยงไป

กับนรก การชดใช้กรรม พาลสร้างความกลัวให้กับผูัที่รับฟังเสียมาก สงสัยจริงๆ

ครับว่าควรมีมุมมองในเรื่องนี้อย่างไร??

ในทางตรงกันข้ามอย่างเรื่องบุญ เรื่องของกุศล เรื่องของอานิสงค์ บางคนพอได้ฟัง

อานิสงค์ของสังฆทานก็ค่อนข้างจะเลือกทำแต่อย่างนี้ บางคนตักบาตรก็พยายามที่

จะไปทำจิตให้เป็นสังฑทานเพื่อหวังอานิสงค์สูงสุดอะไรผมไม่อาจทราบได้ หรือว่า

หลายๆ คนฟังคำกล่าวที่ว่า การอุปปัฏฐากพระพุทธเจ้า พระสงฆ์นั้นเป็นกุศล เป็นบุญ

อย่างยิ่งใหญ่ เลยเลื่อมใส ศรัทธา น้อมใจไป/น้อมใจไปได้จริงๆ /หรือว่าพยายามน้อม

ใจไปให้ได้ ทำทานกับสถานพยาบาลหรือว่าโรงพยาบาลที่เน้นการรักษาโรคภัย

ไข้เจ็บให้กับบรรพชิตเป็นหลัก ด้วยเจตนาที่แท้จริงอะไรนั้นผมไม่อาจทราบได้

จากตัวอย่าง 2-3 ด้านบุญ ผมรู้สึกว่าเราสื่อสารคำว่า อานิสงค์มากกันจนเฝือ จน

พร่ำเพรื่อในหลายๆ กาละเทศะ แต่จริงๆ แล้วสิ่งที่ผมยกตัวอย่างมาในด้านกุศลบุญ

นั้นมันมี กุศลทีสูงกว่าตัวอย่างพวกนี้ใช่ไหมครับ เช่น การเจริญปัญญา การพาก

เพียร มีขันติ วิริยะในการปฏิบัติบูชา หรือว่าอย่างอื่นๆ

ปล. จริงๆ น่ามีการเรียงลำดับในด้านกุศลไว้ด้วยหรือเปล่า ผมไม่แน่ใจ เห็นเน้น

สื่อสารแต่คำว่า "มาก" "อานิสงค์มาก" กันเหลือเกิน แต่ทั้งนี้ทั้งหมด ทั้งหลาย

ผมไม่ได้มีเจตนาจะให้เลือกทำทาน หรือว่าประกอบกุศลเฉพาะแบบที่มีน้ำหนัก

เยอะๆ เท่านั้น ตั้งประเด็น ตั้งคำถามนี้ขึ้นเพื่อที่อยากทราบว่าควรจะมีมุมมองหรือว่า

ทัศนคติที่เหมาะสมอย่างไรกับคำว่า อานิสงค์ หรือว่า ผลบุญ โดยเฉพาะเวลาเราชอบ

พูดว่า อะไรดีกว่าอะไร อะไรเลิศกว่าอะไร อะไรประเสริฐกว่าอะไร??? เช่น การให้ธรรม

ทาน การแสดงธรรมที่หลายๆ คน ทราบ (และภูมิใจ พึงพอใจเน้นที่จะทำสม่ำเสมอ

หากมีโอกาส กาละเทศะอันควร) ว่าเป็นการให้ที่ชนะการให้ทั้งปวงก็อาจไม่สำคัญไป

กว่า การปฏิบัติบูชา การเป็นผู้รู้ผู้ดูสภาพความเป็นจริงที่ปรากฏขึ้นของรูป นามในทุก

ขณะ และหรือการสั่งสมการมีสัมมาทิฏฐิซึ่งอาศัยการที่มีผู้แสดงธรรม การฟังพระธรรม

เป็นปัจจัยเกื้อกูลกันไป เราไม่ควรไปมอง "แบกแยกส่วน" "มองแบบขาดตอน" ขาด

การบูรณาการ เพราะว่ามันสอดคล้อง มันเชื่อมโยง มันเกื้อกูลกันใช่ไหมครับ?

ขอบพระคุณสำหรับทุกความเห็นครับ



ความคิดเห็น 1    โดย paderm  วันที่ 1 ต.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระพุทธเจ้า ทรงแสดงสัจจะความจริง ตามเหตุผล ที่ธรรมเป็นอย่างไรก็เป็น

อย่างนั้น สี แต่ละ สีก็มี เฉดสีที่แตกต่างกันไป ซึ่งตัวธรรมเองก็เป็นอย่างนั้น

ไม่ได้เท่าเทียมกันหมด แต่ แต่ กุศล และ อกุศล ในสภาพธรรมแต่ละประเภท

ก็มีทั้งกุศลทีป่ระณีต มากจนถึง กุศลจิตที่มีกำลังน้อย มีกำลังอ่อน และ อกุศล

ที่มีกำลังมาก จนถึง มีกำลังอ่อน เมื่อ กุศล มีแตกต่างระดับกันไปที่เป็นตัวเหตุ

ผล คือ วิบากทีเ่กิดจา เหตุ คือ กุศล ก็แตกต่างกันไปด้วย ที่เรีกยว่า อานิสงส์

โดยนัยเดียวกัน อกุศล เมื่อมีหลายระดับ ตั้งแต่ อกุศลที่มีกำลัง ก็เรียกว่า บาป

มาก อกุศลที่มีกำลังน้อย ก็เรียกว่าบาปน้อย เมอื่เหตุมีหลายระดับ ผล ที่เรียกว่า

วิบาก ผลของกรรม ฝ่ายอกุศลกรรม ก็มีหลายระดับอีกเช่นกัน ครับ

นี่แสดงถึงเหตุ และ ผลตามความเป้นจริง พระพุทธเจ้าย่อมแสดงธรรมในสิ่งที่มี

ประโยชน์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ เิกิด กุศลจิต ไม่ใช่เืพื่อให้เกิด อกุศลจิต แต่

ธรรมที่ศึกษาไม่ดี ย่อมทำร้ายผู้ที่ศึกษาเอง เพราะ ความเไม่เข้าใจ อวิชชา ของ

ตนเองที่ทำให้เข้าใจผิด แต่ พระธรรมของพระพุทธเจ้าไม่มีโทษเลย แม้เพียงคำ

และ บทเดียว เพราะฉะนั้น ที่พระองค์ทรงแสดง เรือ่ง กุศล มี อกุศลมี และ กุศล

มีกำลังแตกต่างกัน ผลของกุศลก็แตกต่างกัน โดยนัยเดียวกัน อกุศลมีจริง อกุศล

ก็มีหลายระดับ และ ผลของอกุศลก็มีหลายระดับ เพื่อให้เห้น ถึง สภาพธรรมตาม

ความเป็นจริงว่าเป้นอย่างนั้น ที่จะเห็นโทษของอกุศลธรรมเป้นสำคัญ และ

ไม่ประมาทในการดำเนินชีวิตและ เห็นคุณของกุศละรรมด้วยปัญญา ที่ไม่ใช่ด้วย

ความติดข้อง อยากได้บุญ จึงเจริญกุศล เพื่อละ อกุศลธรรม และเพื่อเป้นเสบียง

ในการเจริญอบรมปัญญาต่อไปในภพหน้า อันเป้นกุศลทีป่ระกอบด้วยปัญญา มี

ความเข้าใจถูก

จะเห็นว่า ผุ้ที่ศึกษาธรรมด้วยความเข้าใจ ก้ย่อมเข้าใจถูก ตาม พระพุทธเจ้า

ทรงแสดง ในเรื่อง บุญ บาป ผลของบุญ ละ บาป ส่วนผุ้ที่ศึกษาแบบจับงูพิษ

ที่หาง งูพิษย่อมทำร้ายกับตัวเอง คือ ศึกษาด้วยความเข้าใจผิด เกิดอกุศลจิต

ติดข้องที่จะพยายาม เจริญกุศลด้วยความเป็เนรา ด้วยความติดข้อง และ พยายาม

หาทางแก้กรรม แก้อกุศลกรรม ทั้งๆ ที่เหตุที่แท้จริง ทีเ่กิด กุศล อกุศล คือ กิเลส

ที่สะสมมาในจิตใจอันเป็นเหตุที่แท้จริงทีเ่กิด การเกิด เกิดทุกข์ประการต่างๆ ครับ

ดังนั้น จากคำถามที่ผู้ถาม ถามว่า พระพุทธเจ้า มีการแบ่งระดับของกุศลกรรมหรือไม่

คำตอบ คือ มี ดังนี้ ครับ

สำหรับ ลำดับ อานิสงส์ผลบุญ เชิญคลิกที่นี่ ครับ

เวลามสูตร

พระธรรม ที่ผฃบุคคลได้ศึกษา ก็ต่างจิตต่างใจ ตามการสะสมมา ก็คิดกันไป

ตามความเข้าใจทีผ่ิดบ้าง ถูกบ้าง คงไม่สามารถจะไปจัดการ เปลี่ยนแปลง ให้

เป็นไปตามใจของแต่ละคนได้ ดังนั้น ที่สำคัญ สิ่งที่ควรพิจารณา สูงสุด คือ

จิตใจของตนเองเป็นสำคัญ ว่า มีความเข้าใจพระธรรมเพียงพอ มั่นคงในหนทาง

ที่ถูกหรือยัง เพราะ ต่างคนก็ต่างมา ต่างคนก็ต่างไป ตนนั้นแลเป็นที่พึ่ของตน

และ สิ่งที่เป้นที่พึ่ง คือ กุศลธรรม และ ปัญญา จึงควร หมั่นหาเวลา ศึกษาพระธรรม

เจริญกุศลทุกๆ ประการ กับตนเองเป็นสำคัยญ ครับ ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 2    โดย khampan.a  วันที่ 1 ต.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ประโยชน์อยู่ที่ความเข้าใจถูกเห็นถูอย่างแท้จริง พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ทรงแสดง เป็นสิ่งที่มีจริงทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นกุศลธรรมหรือกุศลธรรม ก็เป็น

สภาพธรรมที่มีจริง เป็นธรรม ไม่ใช่เรา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร

ทั้งสิ้น ปกติในชีวิตประจำวันของผู้ที่ยังมีกิเลส ยังถูกผูกมัดไว้ด้วยกิเลส

ประการต่างๆ จึงมีกุศลจิตเกิดขึ้นเป็นปกติธรรมดา และเกิดมากกว่ากุศลด้วย

ตามความเป็นจริง กุศลธรรม เป็นสภาพธรรมที่ไม่ดีงาม ไม่นำประโยชน์อะไรๆ

มาให้ใครเลย มีแต่จะนำทุกข์มาให้ในภายหลังอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ขณะที่จิต

เป็นกุศลย่อมเร่าร้อนเพราะกุศลเจตสิกประการต่างๆ ที่เกิดร่วมด้วย และถ้ามี

กำลังถึงขั้นล่วงเป็นกุศลกรรมบถที่ครบองค์ ยิ่งเร่าร้อนมาก กล่าวได้ว่าเร่าร้อนทั้ง

ในขณะที่ทำ และในขณะที่ได้รับผลของกุศลกรรมนั้นๆ ด้วย ในทางตรงกัน

ข้าม ขณะที่จิตเป็นกุศลนั้นย่อมผ่องใส ไม่ขุ่นมัว เพราะไม่มีกุศลเจตสิกเกิดร่วม

ได้เลย เป็นจิตคนละประเภทกัน มีแต่สภาพธรรมฝ่ายดี เช่น ศรัทธา (สภาพธรรมที่

เลื่อมใสในกุศล) สติ (สภาพธรรมที่ระลึกเป็นไปในกุศล) หิริ (ความละอายต่อกุศล)

โอตตัปปะ (ความเกรงกลัวต่อกุศล) เป็นต้น เกิดร่วมด้วย

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรม ทรงแสดงความจริงให้สัตว์โลกที่มีโอกาส

ได้ฟัง ได้ศึกษา มีความเข้าใจถูกเห็นถูกเป็นของตนเอง เมื่อได้เข้าใจถูกเห็นถูกแล้ว

จะทำให้เข้าใจได้ว่า อะไร ถูก อะไร ผิด แล้วน้อมประพฤติในสิ่งที่ถูก ละเว้นในสิ่ง

ที่ผิด ซึ่งก็เป็นความน่าอัศจรรย์ของพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นคำสอนที่เป็นไป

เพื่อปัญญาโดยตลอด เป็นไปเพื่อละโดยตลอด เพราะฉะนั้น แล้ว กุศล หรือ บุญ

ควรสะสม ควรอบรมเจริญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกุศลที่ประเสริฐ นั่นก็คือ การฟัง

พระธรรมศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ ส่วน อกุศลทั้งหลายทั้งปวง นั้น ก็ควรที่

จะได้เห็นถูกตามความเป็นจริง ว่า เป็นธรรมที่ให้โทษ ไม่ควรชื่นชมยินดีกับอกุศล

การมีโอกาสได้ฟังพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เป็นปกติบ่อยๆ

เนืองๆ เมื่อมีความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นไปตามลำดับ ย่อมจะทำให้เป็นผู้เข้าใจ

สภาพธรรมตามความเป็นจริง เห็นโทษเห็นภัยของกุศล และเห็นคุณค่า

ของกุศลธรรม ดำรงชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาท ไม่ประมาททั้งในกุศลและ

ในกุศลแม้จะเล็กน้อย เป็นผู้เจริญกุศลประการต่างๆ เพื่อขจัดมลทิน คือ

กิเลส กุศลของตนเอง ถึงแม้ว่ากุศลจิตที่ประกอบด้วยปัญญา จะเกิดน้อยหรือ

ไม่เกิดเลย ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นผู้ทอดธุระ ไม่ใส่ใจในการเจริญกุศลประการต่างๆ

ในชีวิตประจำวัน เพราะเหตุว่าเมื่อกุศลไม่เกิดขึ้น ไม่เจริญขึ้น ก็เป็นโอกาสของ

กุศลที่นับวันจะพอกพูนหนาแน่นขึ้นเรื่อยๆ การเดินทางในสังสารวัฏฏ์ยังอีก

ยาวไกล กุศลธรรมเท่านั้นที่จะเป็นที่พึ่งได้อย่างแท้จริง ครับ.

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 3    โดย wannee.s  วันที่ 1 ต.ค. 2556

บุญ คือ คุณความดีที่เกิดจากจิตใจที่ดีงาม บาป คือ จิตที่

เกิดจากอกุศลที่คิดไม่ดี พูดไม่ดี ทำไม่ดี ค่ะ