๑. ปฏิลาภสูตร ว่าด้วยอินทรีย์ ๕
โดย บ้านธัมมะ  11 ต.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 37921

[เล่มที่ 31] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 16

มุทุตรวรรคที่ ๒

๑. ปฏิลาภสูตร

ว่าด้วยอินทรีย์ ๕


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 31]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 16

มุทุตรวรรคที่ ๒

๑. ปฏิลาภสูตร

ว่าด้วยอินทรีย์ ๕

[๘๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์.

[๘๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธินทรีย์เป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์... เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์.

[๘๗๒] ก็วิริยินทรีย์เป็นไฉน อริยสาวกปรารภสัมมัปปธาน ๔ ย่อมได้ความเพียร นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์.

[๘๗๓] ก็สตินทรีย์เป็นไฉน อริยสาวกปรารภสติปัฏฐาน ๔ ย่อมได้สติ นี้เรียกว่า สตินทรีย์.

[๘๗๔] ก็สมาธินทรีย์เป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ยึดหน่วงนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์.

[๘๗๕] ก็ปัญญินทรีย์เป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องกำหนดความเกิดและความดับ อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.

จบปฏิลาภสูตรที่ ๑


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 17

มุทุตรวรรคที่ ๒

อรรถกถาปฏิลาภสูตร

ปฏิลาภสูตรที่ ๑.

คำว่า ปรารภสัมมัปปธาน คือ อาศัยความเพียรชอบ หมายความว่า เจริญความเพียรชอบ.

แม้ในสตินทรีย์ก็ทำนองเดียวกันนี้แหละ.

จบอรรถกถาปฏิลาภสูตรที่ ๑