เศร้างหมองเพราะการมองเห็น
โดย franky_friday  18 มิ.ย. 2554
หัวข้อหมายเลข 18574

1.ควรทำอย่างไรเมื่อจิตใจเศร้าหมองเพราะได้พบเห็นคนทำอกุศล เช่น ยิงนก ตกปลา

2.การได้พบเห็นคนทำอกุศลอยู่เป็นนิตย์ เป็นผลมาจากการกระทำใด

3.การนิ่งเฉยไม่ห้ามปรามผู้กระทำอกุศล (ซึ่งเป็นผู้ที่มิใช่ญาติมิตร) จะทำให้ตนเองผิดศีล

ไปด้วยหรือไม่

4.เมื่อผู้ทำอกุศลเป็นผู้ไีม่ควรคบค้า การนิ่งเฉยจึงเป็นเหตุให้ใจเศร้าหมอง

กราบขอบพระคุณ



ความคิดเห็น 1    โดย paderm  วันที่ 18 มิ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย1.ควรทำอย่างไรเมื่อจิตใจเศร้าหมองเพราะได้พบเห็นคนทำอกุศล เช่น ยิงนก ตกปลา

ธรรมไม่ใช่เรื่องที่จะทำครับ แต่เป็นเรื่องที่รู้และเข้าใจ ดังนั้นจึงไม่ใช่บอกให้ทำ

แล้วจะทำได้ แต่ค่อยๆ เข้าใจขั้นการฟัง เข้าในสิ่งทีเกิดขึ้นแล้วครับ นี่คือหนทางใน

การอบรมปัญญา ดังนั้นควรเข้าใจควาจริงว่าเมื่อยังเป็นปุถุชนก็ย่อมมีเหตุปัจจัยให้

อกุศลเกิดได้ง่ายมากครับ เมื่อศึกษาธรรมแล้ว ก็เริ่มเข้าใจขั้นการฟังว่า อกุศลไม่ดี เมื่อ

พบคนที่ทำอกุศล ก็เดือดร้อนว่าทำไมเขาเป็นอย่างนั้น ทำไมทำอย่างนี้ นี่แสดงให้

เห็นถึง อกุศลที่มีมาก พร้อมที่จะเกิดทันที ในสิ่งที่เห็นและเพียงคิดเป็นเรื่อราวเท่านั้น

ครับ ดังนั้นควรเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นขั้นการฟังว่า ใครทำอกุศล เขาใช่ไหมครับ หรือว่า

เป็เนพียงอกุศลเท่านั้น อกุศลจิต อกุศลกรรมที่เกิดขึ้น อกุศลมีเรา มีเขา มีเราหรือเปล่า

หรือเป็นเพียงสภาพธรรมที่เกิดขึ้น ไม่มีใครทำบาป มีแต่อกุศลที่เกิดขึ้นเท่านั้นครับ

แสดงให้เห็นถึงโทษของอกุศล กำลังของอกุศลของสภาพธรรมที่มีเหตุปัจจัยก็เกิดขึ้น

และไม่มีเขาหรือเราที่ทำกรรม มีแต่ธรรมที่เกิดขึ้นทำหน้าที่เท่านั้นครับ ดังนั้นจะโกรธ

ใคร โกรธ อกุศลได้หรือเปล่าครับ โกรธ ธรรมทีเกิดขึ้นหรือเปล่าครับ เมื่อไม่มีเรา มีแต่

ธรรม นี่คือการพิจารณาในสิ่งเกิดขึ้นโดยความเป็นธรรมไม่ใช่เรา จึงเป็นเรื่องของ

ปัญญาอย่างแท้จริงครับ แม้จะบอกอย่างนี้ แต่เจอเหตุการณ์จริงก็คิดเป็นอย่างอื่น

ไปได้ครับ แต่ค่อยๆ เข้าใจขั้นการฟังตามที่กล่าวมาได้ครับ ส่วนจะทำได้หรือไม่ได้นั้น

เป็นอนัตตาครับ ส่วนอีกนัยหนึ่ง เมื่อพิจารณาโดยมีสัตว์ บุคคล ก็เห็นว่าคนที่ทำบาป

กรรม น่าสงสารหรือน่าโกรธครับ เพราะเขาทำเหตุที่ไมดี ก็ต้องได้รับผลที่ไม่ดี ดังนั้น

ควรเห็นใจแลเข้าใจเขาเพราะเขาจะต้องได้รับสิ่งที่ไม่ดีในอนาคตครับ และนก ปลาที่

ถูกจับ ถูกฆ่า ถ้าหากสัตว์เหล่านี้ไม่มีกรรมที่ทำให้ถูกฆ่า ถูกจับ ก็จะไม่ถูกฆ่า ถูกจับเลย

ครับ เพราะฉะนั้นสัตว์ก็มีกรรมเป็นของๆ ตนครับ


ความคิดเห็น 2    โดย paderm  วันที่ 18 มิ.ย. 2554

2.การได้พบเห็นคนทำอกุศลอยู่เป็นนิตย์ เป็นผลมาจากการกระทำใด

เรื่องกรรม เป็นเรื่องละเอียด การจะรู้ว่าทำกรรมใด เป็นผลจากกรรมใด โดยเจาะจง

ลงไปนั้น ไม่ใช่ฐานะของเราและอริยสาวกทั้งหลาย แต่ต้องเป็นปัญญาของพระ

พุทธเจ้าครับ ซึ่งกรรมเป็นเรื่องอจินไตย ไม่ควรคิดในสิ่งที่เหลือวิสัยครับ ขณะนี้กำลัง

เห็น ป็นผลของกรรมในอดีตอะไรที่ทำไว้ ไม่สามารถจะรู้ได้ เห็นคนสัตว์ ขณะที่เป็น

คน เป็นสัตว์ เป็นขณะที่คิด ไม่ใช่ขณะที่เป็นวิบากทีเป็นผลของกรรม แต่ขณะที่เห็น

เท่านั้น ยังไม่เป็นสัตว์ บุคคล เป็นผลของกรรมครับ แสดงให้เห็นถึงความละเอียดด้วย

ครับว่า ขณะไหนเป็นผลของกรรม ขณะไหนไม่ใช่ผลของกรรมครับ ขณะที่คิดเป็นสัตว์

บุคคล ไม่ใช่ผลของกรรม ขณะที่โกรธ ไม่ใช่ผลของกรรม แต่ขณะเพียงเห็นเท่านั้นเป็น

ผลของกรรมและเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่า ขณะที่เห็นขณะนี้เป็นผลของกรรมอะไร เป็น

สิ่งเหลือวิสัยครับ

3.การนิ่งเฉยไม่ห้ามปรามผู้กระทำอกุศล (ซึ่งเป็นผู้ที่มิใช่ญาติมิตร) จะทำให้ตนเองผิด

ศีลไปด้วยหรือไม่

การนิ่งเฉย ไม่ห้ามปรามผู้ทำอกุศล ไม่ผิดศีลครับ ผู้ที่ทำหรือใช้ให้ทำ ผู้นั้นเป็นผู้ที่

ผิดศีลครับ


ความคิดเห็น 3    โดย paderm  วันที่ 18 มิ.ย. 2554

4.เมื่อผู้ทำอกุศลเป็นผู้ไีม่ควรคบค้า การนิ่งเฉยจึงเป็นเหตุให้ใจเศร้าหมอง

ดังนั้นเหตุให้จิตแศร้าหมองไม่ได้อยู่ที่ใครหรือจากบุคคลอื่นเป็นเหตุตรงจริงๆ

เพราะเหตุแท้จริงที่ทำให้จิตเศร้าหมองคือ กิเลสของตนเองที่มีอยู่ เห็นเหมือนกัน

เห็นคนอื่นทำอกุศลเหมือนกัน บางคนก็ไม่เป็นอกุศล เพราะไม่มีกิเลสแล้ว แต่บางคน

ก็เป็นอกุศลเพราะยังมีกิเลสอยู่ จะนิ่งเฉยหรือไม่นิ่งเฉยก็ไม่ใช่เหตุที่ทำให้จิตเศร้า

หมองครับ ดังนั้นการเห็นผู้อื่นทำอกุศลก็แล้วแต่ว่าผู้นั้นคิดพิจารณาถูกต้องด้วยปัญญา

หรือด้วย อโยนิโสมนสิการก็เป็นไปตามการสะสมมาทั้งสิ้น ผู้ที่ทำบาปมีอกุศลกรรม

จึงไม่ควรคบเพราะเป็นอสัตบุรุษ แต่อนุเคราะห์ได้ครับ

หนทางในการอบรมปัญญาจึงไม่ใช่การห้ามไม่ให้อกุศลเกิด เพราะเป็นไปไมได้ แต่

เมื่อมีเหตุปัจจัยก็เกิดขึ้น แต่ควรเข้าใจความจริงว่า สิ่งทีเกิดแล้วคือ อะไร เป็นเรา หรือ

เป็นธรรมเพื่อละคลายกิเลสคือความยึดถือว่าเป็นสัตว์ บุคคลก่อนครับ อันเป็นกิเลสที่

ต้องละเป็นอันดับแรก ขออนุโมทนาครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


ความคิดเห็น 4    โดย nong  วันที่ 18 มิ.ย. 2554

.... เพราะเหตุที่แท้จริงทำให้จิตเศร้าหมองคือ กิเลสของตนเองที่มีอยู่...

ต้องแก้ไขที่ตัวเองก่อนแก้ไขคนอื่นค่ะ เมื่อเพียรศึกษาธรรมให้เข้าใจ ก็จะค่อยๆ เริ่มเห็น

โทษและอกุศลของตัวเองได้ชัดเจนขึ้น ไม่โทษผู้อื่น จิตจะเศร้าหมองน้อยลง เบาสบาย

ขออนุโมทนาค่ะ...


ความคิดเห็น 5    โดย มกร  วันที่ 18 มิ.ย. 2554
ขออนุโมทนาค่ะ

ความคิดเห็น 6    โดย khampan.a  วันที่ 18 มิ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ในฐานะที่เป็นปุถุชน ย่อมผู้หนาแน่นด้วยกิเลส เต็มไปด้วยกิเลสทุกๆ ประการด้วยกันทั้งหนั้น ไม่ว่าเรา หรือ เขา แต่แท้ที่จริงแล้วเป็นความเป็นไปของธรรมเท่านั้น ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน ในเมื่อยังมีกิเลส ยังละกิเลสอะไรๆ ไม่ได้ จึงควรอย่างยิ่งที่จะศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม เพื่อรู้จักลักษณะของกิเลสต่างๆ จะทำให้รู้จักตนเองตามความเป็นจริงว่ามีกิเลสมากแค่ไหน เป็นผู้ไม่ประมาท เมื่อใดที่มีปัญญามากขึ้น เห็นโทษภัยของกิเลสอย่างแท้จริง ปัญญานั่นเองจะทำหน้าที่ละกิเลส การรู้จักกิเลสของตนเองมีประโยชน์เพราะจะเป็นเหตุให้ระมัดระวังสำรวมกาย วาจา ใจ ของตนเองให้เรียบร้อยดีงาม มีความประพฤติที่ดีงามเป็นกุศลกรรมต่อไป ดังนั้น กิจที่สำคัญที่ทุกคนควรกระทำ คือ การอบรมเจริญปัญญาเพื่อละอกุศลของตนเอง ไม่ใช่ของผู้อื่น เมื่อมีปัญญา ก็จะสามารถอนุเคราะห์เกื้อกูลให้ผู้อื่นเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องด้วยครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 7    โดย franky_friday  วันที่ 20 มิ.ย. 2554

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 8    โดย pamali  วันที่ 20 มิ.ย. 2554

คำอธิบายที่ชัดเจนมาก สำหรับคุณเต้ย และอ.คำปั่น อ่านแล้วสบายใจ ไม่เดือดร้อนห่วง

อกุศลจิตของผู้อื่น สำรวมระวังกาย วาจา ใจ และทุกอย่างเป็นธรรมค่ะ..ขอบพระคุณและขอ

อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่าน


ความคิดเห็น 9    โดย wannee.s  วันที่ 28 มิ.ย. 2554

1. จิตเป็นอกุศลก็ให้รู้ว่าจิตเป็นอกุศล เป็นธรรมะอย่างหนึ่งที่มีจริง ไม่ใช่เรา

2. ถ้าเห็นสิ่งที่ไ่ม่ดี ก็เป็นอกุศลวิบากทางตา แล้วแต่กรรมไหนจะใหผล

3. ไม่ผิดศีล ถ้าเตือนได้แล้วเขาเชื่อก็ดี เพราะช่วยให้เขาไม่ต้องทำบาป

4. กิเลสเกิดเพราะเราสะสมมาเอง หนทางที่จะละกิเลสคือปัญญาเท่านั้นค่ะ