เริ่มต้นด้วยการศึกษาให้เข้าใจว่าสิ่งไหนควรและไม่ควร
ไม่ใช่ว่าญาติโยมเขาถวายอะไรก็รับได้หมด โยมเขาไม่ศึกษาโดยละเอียด
สิ่งใดที่ไม่ถูกต้องตามธรรมวินัย เราก็ปฏิเสธ คือไม่รับของนั้น และอธิบายให้เขา
เข้าใจ การปฏิเสธไม่รับ ไม่ผิดศีล ถ้ารับสิ่งของที่ขัดกับพระวินัยศีลขาดครับ
ด้วยความเคารพครับ สามเณร ...ผมขอร่วมสนทนาด้วย
ศีล มิใช่เป็นตัวกางกั้นไม่ให้เราทำสิ่งโน้นสิ่งนี้ เหมือนกฏหมาย
ไ่ม่ใช่ว่า ผิดศีล แล้วจะผิดต่อใครเลย คือมันผิดต่อตนเอง ถึงไม่มีใครรู้เห็น ก็ผิดอยู่ดี
ครับ ..ผิดที่ตั้งใจจะมาถือศีลแล้วทำไม่ได้ แสดงว่า ขาดความตั้งใจงดเว้น และขาด
ความเคารพ ความศรัทธาต่อพระธรรมวินัย และเป็นผู้ทำตนเองให้ตนเองผิด ไม่ใช่ใคร
อื่นเลย
ศีลทุกข้อ ที่เราน้อมมายึดถือ จะต้องปฏิบัติจนเป็นนิสัย เป็นความเคยชินนะครับ คือว่า
เหมือนเราไม่ได้กำลังถือศีลอยู่ แต่จริงๆ แล้วเรามีศีลอยู่ตลอดเวลา ...ต้องเป็นแบบนี้
ครับ จึงจะใช้ได้ เกิดอานิสงค์จริงๆ เพราะว่า ศีลไม่ใช่กรงขังอะไรเลย ถ้าเราถือศีล
แล้วเรายังอึดอัดตลอด หรือรู้สึกว่าเราถูกศีลครอบเราอยู่ นั้นแสดงว่า ใจเรายังอยาก
ละเมิดศีลตลอดครับ จึงรู้สึกแบบนั้น
ถ้ายังไม่พร้อมก็ไม่ควรถือศีลนะครับ เพราะทำให้อึดอัด เพราะถูกห้ามทำโน่น ห้ามทำ
นี่ ...ก็จะสงสัยไปเรื่อยว่า ทำไมต้องห้ามอย่างนี้ แล้วอย่างนี้จะผิดศีลไหม ฆ่ามดบาป
ไหม ฆ่างูบาปไหม กินยาที่ผสมเหล้าบาปไหม กินข้าวเลยเที่ยงไปนิดนึงบาปไหม
ฯลฯ ... ที่มีคำถามแบบนี้ก็เป็นเพราะว่า เพราะใจมันอยากล่วงละเมิดศีลครับ
สิ่งรุมเร้า ไม่ได้ทำอะไรเราเลย มันอยู่เฉยๆ ...ใจเรานั่นแหละครับ ที่อยากผิดศีลเอง จึง
เห็นว่า นั่นคือสิ่งรุมเร้า เพราะจริงๆ แล้ว สิ่งรุมเร้า ไม่มีเลย
ขอกราบอนุโมทนา ดวงจิตผู้ใฝ่พระธรรม
ที่สำคัญต้องเป็นผู้ที่ศึกษาธรรมะ และเข้าใจธรรมะจริงๆ ถ้าบวชแล้วรักษาพระวินัย
ไม่ได้ สึกมาเป็นคฤหัสถ์ที่ดีมีศีล มีคุณธรรมดีกว่าค่ะ เพราะไม่ต้องเสี่ยงกับไปทุคติ