กี่ภพกี่ชาติไม่มีใครเลย นอกจากสภาพธรรมเท่านั้นคือ จิต เจตสิก และรูปเท่านั้น
แต่ด้วยความไม่รู้ ศัตรูคือ อวิชชา ศัตรูที่มองไม่เห็นคือ โลภะ โทสะ โมหะ ที่อยู่ภายใน ไม่ใช่ใครที่ไหนเลยที่เป็นศัตรูที่แท้จริง นอกจากอกุศลจิตที่เกิดขึ้นและอกุศลเจตสิกขณะนั้นเป็นศัตรู ศัตรูนั้นก็คือภัยที่มองไม่เห็น ... ศัตรูที่ทำให้เกิดทุกข์ ...
... ขออนุโมทนาค่ะ ...
ขออนุโมทนา
ข้อความในพระไตรปิฎกกล่าวว่า
อกุศลธรรม ๓ ประการนี้ เป็นมลทินภายใน (มลทินของจิต) เป็นอมิตรภายใน เป็นศัตรูภายใน เป็นเพชฌฆาตภายใน เป็นข้าศึกภายใน ๓ ประการเป็นไฉน? คือ ... โลภะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นอมิตร เป็นศัตรู เป็นเพชฌฆาต เป็นข้าศึกภายใน.
เชิญคลิกอ่าน ... มลสูตร ... มลทินภายใน ๓ ประการ
ปกติเรามักจะสนใจป้องกันแก้ไข ... เฉพาะศัตรูภายนอกไม่สนใจศัตรูภายใน ... เพราะความไม่รู้ ... และบางครั้งยังคิดว่าเป็นมิตรที่ทำให้เกิความสุขสนุกสนาน คุ้นเคยกับโทสะจึงไม่เห็นโทษภัยหากไม่ศึกษาพระธรรมก็ไม่มีวันที่จะรู้จักศัตรูภายในเลยไม่เห็นโทษและภัย จึงไม่คิดจะละคลาย และไม่รู้ว่าศัตรูนั้นกำลังสะสมกำลังจนยากที่จะต่อสู้ ... กำลังทำลายตนเองและผู้อื่นอยู่ทุกขณะ ... นับวันยิ่งยากที่จะเอาชนะ หากไม่ศึกษาพระธรรมก็ไม่มีวันที่จะรู้จักอาวุธคือปัญญาเท่านั้นที่จะต่อสู้ ...
สาธุ
ขออนุโมทนาครับ
หากไม่ศึกษาพระธรรมก็ไม่มีวันที่จะรู้จักศัตรูภายในเลย ไม่เห็นโทษและภัย จึงไม่คิดจะละคลาย และไม่รู้ว่าศัตรูนั้นกำลังสะสมกำลัง จนยากที่จะต่อสู้ กำลังทำลายตนเอง และ ผู้อื่นอยู่ทุกขณะ ยากที่จะเอาชนะหากไม่ศึกษาพระธรรมก็ไม่มีวันที่จะรู้จักอาวุธ คือ ปัญญาเท่านั้น ที่จะต่อสู้ ...
ถ้าปราศจาก "โลภะ" ... "โทสะ" จะมีได้อย่างไร ...? ถ้าปราศจาก "โมหะ" ... "โลภะ" ... โทสะ ... จะมีไหมคะ.?
ขออนุโมทนาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
อีกนัยหนึ่ง ศัตรูที่แท้จริงก็คือขันธ์ ๕ ถ้าไม่มีขันธ์ ๕ ก็จะไม่มีสภาพธรรมใดๆ เลย เกิดขึ้น ไม่มีโลภะ โทสะ โมหะและไม่มีการสมมติว่าเป็นสัตว์ บุคคลคนนั้น คนนี้ เป็นศัตรู ซึ่งในอรรถกถายมกสูตรได้แสดงศัตรูคือขันธ์ ๕ โดยเปรียบเทียบดังนี้ บุรุษผู้ต้องการฆ่าคฤหบดี ย่อมขอสมัครตัวเป็นคนรับใช้ย่อมปรนนิบัติรับใช้เป็นอย่างดี ด้วยหวังให้คฤหบดีตายใจ จนในที่สุด คฤหบดีไว้ใจ บุรุษนั้นจึงอาศัยคฤหบดีเผลอ จึงฆ่าคฤหบดีนั้นเสีย ฉันใด คฤหบดีผู้โง่เขลาคือพาลปุถุชน บุรุษผู้ต้องการฆ่าคฤหบดีคือ ขันธ์ ๕ เมื่อปฏิสนธิจิตเกิดขึ้น (เกิด) เปรียบเหมือนบุรุษเข้าไปขอเป็นคนรับใช้เพื่อต้องการฆ่าคฤหบดี ซึ่งเมื่อปฏิสนธิจิตเกิดก็ต้องมีความตายเป็นที่สุดแน่นอน ปุถุชนผู้ยึดถือขันธ์ ๕ ว่าเป็นเรา เหมือนคฤหบดีไม่ทราบว่าคนนี้เป็นเพื่อนหรือเป็นศัตรู
ปุถุชนผู้ยึดถือขันธ์ ๕ ว่าเป็นเรา ทำการปรนนิบัติขันธ์ ๕ มีอาบน้ำ ดื่มกิน เป็นต้น ด้วยความยึดถือว่าเป็นเรา เปรียบเหมือนคฤหบดียอมรับบุรุษผู้ที่จะฆ่าว่าเป็นเพื่อน แล้วทำสักการะกับบุคคลนั้น เมื่อปุถุชนผู้ยึดถือขันธ์ ๕ ว่าเป็นเราตายไป เปรียบเหมือนกับบุรุษผู้ฆ่าตัดศีรษะของคฤหบดีผู้โง่เขลา
จะเห็นได้ว่าปัญญาเท่านั้นที่จะรู้ความจริงว่าอะไรเป็นศัตรูที่แท้จริงซึ่งไม่พ้นไปจากขันธ์ ๕ เลยที่เป็นศัตรูครับ การฟังพระธรรมเพื่อเข้าใจความจริงในขณะนี้ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เราจึงเป็นหนทางที่จะละศัตรูที่แท้จริงได้ครับ ดังข้อความในพระไตรปิฎกดังนี้
[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 266
อรรถกถายมกสูตร
บทว่า สุตวา จ โข อาวุโส อริยสาวโก ความว่า บุตรคหบดีผู้เป็นบัณฑิตรู้จักศัตรูผู้เข้าใกล้อย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็นศัตรูของเรา แล้วไม่ประมาท ใช้ศัตรูให้ทำงานชนิดนั้นๆ หลบหลีกสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ย่อมได้รับประโยชน์ ฉันใด แม้พระอริยสาวกผู้ได้สดับ (ธรรมของ พระอริยะ) ก็ฉันนั้น ไม่ยึดถือเบญจขันธ์ว่าเป็นเราหรือว่าของเรา โดยนัยเป็นต้นว่า ไม่พิจารณาเห็นรูปว่าเป็นอัตตา ทราบว่า เบญจขันธ์
เหล่านี้เป็นศัตรูของเราแล้วประกอบเข้ากับวิปัสสนา ... ย่อมได้บรรลุเป็นพระอรหันต์อันเป็นผลที่เลิศ.
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ศัตรู อยู่ที่ใจ
มิตร ก็อยู่ที่ใจ
การฟังธรรมเสมอๆ ย่อมอุปการะ
..................................
กราบอนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนา
ครับ ผมมาอ่านแล้วครับ ขอกล่าวรำพึงว่า ... แล้วไม่ประมาท ใช้ศัตรูให้ทำงานชนิดนั้นๆ หลบหลีกสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ย่อมได้รับประโยชน์ ฉันใด แม้พระอริยสาวกผู้ได้สดับ (ธรรมของ พระอริยะ) ก็ฉันนั้น ไม่ยึดถือเบญจขันธ์ว่าเป็นเราหรือว่าของเรา โดยนัยเป็นต้นว่า ไม่พิจารณาเห็นรูปว่าเป็นอัตตา ทราบว่า เบญจขันธ์ เหล่านี้เป็นศัตรูของเราแล้วประกอบเข้ากับวิปัสสนา ... ย่อมได้บรรลุเป็นพระอรหันต์อันเป็นผลที่เลิศ.
ขออนุโมทนาครับ
เรียนความเห็นที่ 11 ที่กล่าวว่า
... แล้วไม่ประมาท ใช้ศัตรูให้ทำงาน ชนิดนั้นๆ หลบหลีกสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ...
สภาพธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร
ได้ จะใช้สภาพธรรมให้ทำงานคงไม่ได้ค่ะ
โดยนัยเป็นต้นว่า ไม่พิจารณาเห็นรูปว่าเป็นอัตตา ....
การไม่พิจารณาเห็นรูปว่าเป็นอัตตา ต้องเป็นปัญญาที่อบรบแล้วคือสภาพที่รู้และเข้าใจธรรมทั้งหลายถูกต้องตรงตามความเป็นจริงของลักษณะสภาพธรรมนั้น ไม่ใช่เพียงการพูดหรือเป็นเพียงแต่คิดเรื่องราวของสภาพธรรม
... ขออนุโมทนาค่ะ ...
อนุโมทนาขอบพระคุณมากค่ะ