การระลึกชาติ
โดย JANYAPINPARD  21 เม.ย. 2552
หัวข้อหมายเลข 12012

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 999

บทว่า ปุพฺพนิวาสํ - ชาติก่อน คือ สันดานที่อยู่ในชาตินั้นๆ

ทำภพในอดีตที่ใกล้ที่สุดให้เป็นเบื้องต้น. บทว่า อนุสฺสรติ - ย่อมระลึก

ตามไปๆ ด้วยสามารถลำดับขันธ์ หรือด้วยสามารถจุติปฏิสนธิ. จริง

อยู่ ชนทั้ง ๖ คือ เดียรถีย์ ๑. สาวกธรรมดา ๑. มหาสาวก ๑.

อัครสาวก ๑. พระปัจเจกพุทธเจ้า ๑. พระพุทธเจ้า ๑ ย่อมระลึก

ถึงชาติก่อนนี้ได้.

ในชนเหล่านั้น เดียรถีย์ทั้งหลาย ย่อมระลึกได้ ๔๐ กัป.

ไม่ยิ่งไปกว่านั้น. เพราะเหตุไร เพราะเดียรถีย์มีปัญญาอ่อน. จริงอยู่

ปัญญาของเดียรถีย์เหล่านั้น อ่อนเพราะไม่มีการกำหนดนามรูป.

สาวกธรรมดา ย่อมระลึกได้ ๑๐๐ กัปบ้าง ๑,๐๐๐ กัปบ้าง

เพราะมีปัญญาแก่กล้า. มหาสาวก ๘๐ รูป ระลึกได้ แสนกัป.

อัครสาวก ทั้งสองระลึกได้ อสงไขยหนึ่ง กับแสนกัป. พระปัจเจก-

พุทธเจ้า ระลึกได้ สองอสงไขย กับแสนกัป. เพราะอภินิหารของ

พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น มีประมาณเพียงนี้. แต่ พระพุทธเจ้าทั้ง

หลายระลึกได้ ไม่มีกำหนด.



ความคิดเห็น 1    โดย JANYAPINPARD  วันที่ 21 เม.ย. 2552

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1000

อนึ่ง เดียรถีย์ทั้งหลาย ระลึกได้ลำดับขันธ์เท่านั้น พ้นลำดับ

ไปแล้วไม่สามารถระลึกถึงจุติและปฏิสนธิได้. เดียรถีย์เหล่านั้นระลึกได้

ไม่พ้นลำดับขันธ์ เหมือนคนตาบอดไม่ปล่อยไม้เท้าเดินไปฉะนั้น.

สาวกธรรมดา ระลึกได้แม้ตามลำดับขันธ์ ย่อมก้าวไปถึงจุติ

ปฏิสนธิ. มหาสาวก ๘๐ รูป ก็อย่างนั้น. ส่วน อัครสาวกทั้งสอง

ไม่มีกิจต้องระลึกตามลำดับขันธ์ คือ เห็นจุติของอัตภาพหนึ่งแล้ว

แล้วย่อมเห็นปฏิสนธิด้วย ย่อมก้าวเลยไปถึงจุติและปฏิสนธิอย่างนี้ คือ

ครั้นเห็นจุติของคนอื่นอีก ย่อมเห็นปฏิสนธิด้วย. พระปัจเจกพุทธ-

เจ้า ก็เหมือนกัน. ส่วน พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่มีกิจต้องระลึก

ตามลำดับขันธ์ ไม่มีกิจต้องระลึกก้าวไปถึงจุติปฏิสนธิ เพราะว่า พระ-

พุทธเจ้าทั้งหลายทรงปรารถนาฐานะใดๆ ข้างล่าง คือ ล่วงแล้วก็ดี

ข้างบน คือ อนาคตก็ดี ในโกฏิกัปป์ไม่น้อย ฐานะนั้นๆ ย่อมปรากฏ

ได้ทีเดียว. เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงย่อโกฏิกัปป์แม้ไม่

น้อย แล้วปรารถนาฐานะใดๆ ทรงก้าวเข้าไปในฐานะนั้นๆ ด้วย

สามารถแห่งการก้าวไปของพระพุทธเจ้าผู้สีหะ. ญาณของพระพุทธเจ้า

เหล่านั้นไปอยู่อย่างนี้ ไม่ติดขัดในชาติในระหว่างๆ ย่อมถือเอาฐานะ

ที่ปรารถนาแล้วๆ .