๔. นิสสยวาระ (๑. กุสลติกะ) - อนุโลมติกปัฏฐาน
โดย บ้านธัมมะ  20 ก.พ. 2565
หัวข้อหมายเลข 42190

[เล่มที่ 85] พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑

พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๗

ปัฏฐาน ภาคที่ ๑

อนุโลมติกปัฏฐาน

๑. กุสลติกะ

๔. นิสสยวาระ

อนุโลมนัย 380/354

การนับวาระในอนุโลมแห่งนิสสยวาระ 384/357

ปัจจนียนัย 385/358

การนับวาระในปัจจนียะแห่งนิสสยวาระ 387/360

อนุโลมปัจจนียนัย

การนับวาระในอนุโลมปัจจนียะแห่งนิสสยวาระ 388/360

ปัจจนียานุโมนัย

การนับวาระในปัจจนียานุโลมแห่งนิสสยวาระ 389/361

อรรถกถานิสสยวาระ 362


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 85]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 354

๔. นิสสยวาระ

อนุโลมนัย

[๓๘๐] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๒. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศลเกิดขึ้น.

๓. กุศลธรรมและอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

[๓๘๑] ๔. อกุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๕. อัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 355

๖. อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

[๓๘๒] ๗. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ เหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัย ขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็น อัพยากตวิบากเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น หทยวัตถุ อาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๑ อาศัย มหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น.

จิตตสมุฏฐานรูป และกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูป ทั้งหลายเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

๘. กุศลธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ เหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศล อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 356

๙. อกุศลธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ เหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศล อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

๑๐. กุศลธรรมและอัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศล อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น, จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

๑๑. อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม อาศัย อัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศล อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น, จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

[๓๘๓] ๑๒. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมและอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล และหทยวัตถุเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ และหทยวัตถุเกิดขึ้น.

๑๓. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมและอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศล และมหาภูตรูป เกิดขึ้น.


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 357

๑๔. กุศลธรรมและอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมและ อัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลและหทยวัตถุเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ และหทยวัตถุเกิดขึ้น, จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศล และมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

๑๕. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมและอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล และหทยวัตถุเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ และหทยวัตถุเกิดขึ้น.

๑๖. อัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรมและอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศล และมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

๑๗. อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรม และอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลและหทยวัตถุเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ และหทยวัตถุเกิดขึ้น, จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศล และมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

การนับวาระในอนุโลมแห่งนิสสยวาระ

[๓๘๔] ในเหตุปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ใน


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 358

สมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๗ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๗ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ใน อาหารปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑๗ วาระ.

อนุโลมนัย ในนิสสยวาระ จบ

ปัจจนียนัย

[๓๘๕] ๑. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ โมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา สหรคตด้วยอุทธัจจะ อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา สหรคตด้วยอุทธัจจะเกิดขึ้น.

๒. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ นเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากกิริยา ซึ่งเป็นนอเหตุกะเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และจิตต-


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 359

สมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัย ขันธ์ ๑ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น, ในอเหตุกปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็น อัพยากคตวิบากเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น หทยวัตถุอาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุ เกิดขึ้น.

มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูป กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น, พาหิรรูป ... อาหารสมุฏฐานรูป ... อุตุสมุฏฐานรูป ...

สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหภูตรูป ๑ เกิดขึ้น ฯลฯ กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น จักขุวิญญาณ อาศัยจักขายตนะเกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณ อาศัยกายายตนะเกิดขึ้น ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบากและอัพยากตกิริยาซึ่งเป็น อเหตุกะ อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

๓. อกุศลธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะนเหตุปัจจัย

คือ โมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ อาศัย หทยวัตถุเกิดขึ้น.

[๓๘๖] ๔. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมและอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะนเหตุปัจจัย


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 360

คือ โมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ อาศัยขันธ์ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และหทยวัตถุเกิดขึ้น.

การนับวาระในปัจจนียะแห่งนิสสยวาระ

[๓๘๗] ในนเหตุปัจจัย มี ๔ วาระ ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัยย มี ๕ วาระ โน โนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

ปัจจนียนัย ในนิสสยวาระ จบ

อนุโลมปัจจนียนัย

การนับวาระในอนุโลปัจจนียะแห่งนิสสยวาระ

[๓๘๘] เพราะเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ... ใน นอธิปติปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ใน


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 361

นสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

อนุโลมปัจจนียนัย ในนิสสยวาระ จบ

ปัจจนียานะโลมนัย

การนับวาระในปัจจนียานุโลมแห่งนิสสยวาระ

[๓๘๗] เพราะนเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๔ วาระ ... ใน อนันตรปัจจัย มี ๔ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๔ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๔ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๔ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๔ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๔ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๔ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๔ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๔ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๔ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๔ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๔ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๔ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๔ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๔ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๔ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๔ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๔ วาระ.

ปัจจนียานุโลมนัย ในนิสสยวาระ จบ


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 362

ข้อความในนิสสยวาระ เหมือนข้อความในปัจจยวาระ.

ข้อความในปัจจยวาระ เหมือนข้อความในนิสสยวาระ.

นิสสยวาระ จบ

อรรถกถานิสสยวาระ

พึงทราบวินิจฉัย ในนิสสยวาระ ต่อไป. คำว่า กุสลํ ธมฺมํ นิสฺสาย อาศัยกุศลธรรม อธิบายว่า เพราะทำกุศลธรรมให้เป็นที่อิงอาศัย โดยอรรถว่าเป็นปัจจัย. คำที่เหลือในนิสสยวาระนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในปัจจยวาระนั่นแล. ก็ในอวสานแห่งปัจจัยนี้ คำนี้ว่า อันอรรถว่าปัจจยะมีความหมายเท่ากับนิสสยะ อันอรรถว่านิสสยะมีความหมายเท่ากับปัจจยะ ดังนี้ ท่านกล่าวไว้ เพื่อแสดงความไม่ต่างกันโดย ใจความแห่งวาระทั้ง ๒ เหล่านี้. จริงอยู่ โดยใจความวาระทั้ง ๒ นี้ ไม่มี อะไรแตกต่างกัน เหมือนปฏิจจวาระกับสหชาตวาระฉะนั้น. แม้เมื่อเป็น อย่างนี้ท่านก็กล่าวไว้เพื่อเน้นเนื้อความของกันและกัน. จริงอยู่ ในคำมี อาทิว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ปัจจัยทั้งหลายแม้ไม่ต้องอาศัยนานักขณิกกัมมปัจจัย ที่กำลังเป็นไปอยู่ก็เกิดขึ้นได้. ก็บรรดาไม้ที่ตั้งพิงกันไว้เป็นต้น ไม้อันหนึ่งหาได้เป็นนิสสยปัจจัยแก่ไม้อันหนึ่งไม่ เช่นเดียวกับอุปาทารูป ก็ไม่เป็นนิสสยปัจจัยแก่มหาภูตรูปฉะนั้น. แม้วาระทั้ง ๒ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อกำหนดความเป็นนิสสยปัจจัยโดยปัจจยวาระ และ


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 363

เพื่อกำหนดซึ่งความเป็นสหชาตะและปุเรชาตะ ของธรรมที่พระองค์ตรัสว่า "ปจฺจยา" โดยนิสสยวาระ. อีกประการหนึ่ง วาระทั้งสองนี้พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยเป็นเทศนาวิลาสะ ด้วยอำนาจอัธยาศัยของเหล่าสัตว์ผู้จะตรัสรู้โดยประการนั้น และด้วยอำนาจพระปรีชาแตกฉาน ในนิรุตติปฏิสัมภิทา ดังนี้.

อรรถกถานิสสยวาระ จบ