การดำเนินชีวิตตามหลักธรรมของพระพุทธองค์ ควรเป็นไปตามสมควรแก่
เพศ วัย ฐานะหน้าที่ เป็นต้น ถ้าเราเป็นคฤหัสถ์ ต้องทำมาหาเลี้ยงชีพของตนและ
ผู้ที่เกี่ยวข้องที่เราต้องรับผิดชอบ เช่น พ่อ แม่ ญาติ พี่น้อง บุตร ภรรยา เป็นต้น
ตามสมควรไม่ให้บกพร่อง ส่วนการใช้ชีวิตของผู้สันโดษ ตามมีตามได้อย่างพอ
เพียง มิได้หมายถึงให้เป็นคนเกียจคร้าน งอมืงอเท้า หรือละทิ้งหน้าที่ที่ควรกระทำ
คือ แสวงหาตามปกติ แต่รู้จักพอ ไม่ทำแบบทุจริทคตโกง เรียกว่าใช้ชีวิตของผู้เป็น
อุบาสกที่ไม่ขัดกับศีลและธรรม ส่วนจำนวนทรัพย์จะมากน้อยไม่สำคัญ เพราะเป็นไป
ตามเหตุและปัจจัย มีเหตุให้มีจำนวนมากก็ดี จะได้ใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น ถ้า
รู้จักบริหาร รู้จักใช้สอยทรัพย์ แม้มีมากก็ไม่ทุกข์เพราะทรัพย์ และถ้ามีเหตุปัจจัย
ให้เรามีทรัพย์น้อย เราก็ยินดีพอใจตามมีตามได้ ไม่ต้องไปคิดว่าคนอื่นจะดูถูกดู
แคลน ถ้าเราไม่คิด ย่อมไม่อึดอัดเพราะเรื่องนี้ เพราะจริงๆ แล้ว ไม่มีเรา ไม่มีเขา
เป็นเพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่งเท่านั้นที่เกิดขึ้น
หาแทบตาย สุดท้ายก็เอาไปไม่ได้ ปัญญาย่อมประเสริฐกว่าทรัพย์
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 45
ข้อความบางตอนจาก รัฐปาลสูตร
ความอิ่มด้วยกามย่อมไม่มีในโลก
เลย อนึ่ง ญาติทั้งหลายพากันสยายผม
คร่ำครวญถึงผู้นั้น พากันกล่าวว่าได้ตาย
แล้วหนอ พวกญาตินำเอาผู้นั้นคลุมด้วย
ผ้าไปยกขึ้นเชิงตะกอน แต่นั้นก็เผากัน
ผู้นั้น เมื่อกำลังลูกเขาเผา ถูกแทงอยู่ด้วย
หลาวมีแต่ผ้าผืนเดียว ละโภคสมบัติไป
ญาติก็ดี มิตรก็ดี หรือสหายทั้งหลายเป็น
ที่ต้านทานของบุคคลผู้จะตายไม่มี ทายาท
ทั้งหลาย ก็ขนของเอาทรัพย์ของผู้นั้นไป ส่วนสัตว์ย่อมไปตามกรรมที่ทำไว้ ทรัพย์ อะไรๆ ย่อมติดตามคนตายไปไม่ได้ บุตร
ภรรยา ทรัพย์ และแว่นแคว้น ก็เช่นนั้น
บุคคลย่อมไม่ได้อายุยืนด้วยทรัพย์ และ
ย่อมไม่กำจัดชราได้ด้วยทรัพย์ นักปราชญ์
ทั้งหลายกล่าวชีวิตนี้ ว่าน้อยนัก ว่าไม่
เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ทั้ง-
คนมั่งมี ทั้งคนยากจน ย่อมกระทบผัสสะ
ทั้งคนพาล ทั้งนักปราชญ์ ก็กระทบผัสสะ
เหมือนกัน แต่คนพาล ย่อมนอนหวาดอยู่
เพราะความที่ตนเป็นพาล ส่วนนักปราชญ์
อันผัสสะถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว
เพราะเหตุนั้นแล ปัญญาจึงประเสริฐกว่า
ทรัพย์ ปัญญาเป็นเหตุถึงที่สุดในโลกนี้ได้
คนเป็นอันมาก ทำบาปกรรม เพราะความ
หลงในภพน้อยภพใหญ่ เพราะไม่มีปัญญา
เครื่องให้ถึงที่สุด
อนุโมทนาค่ะ
กุศลทุกอย่างเป็นสิ่งที่ควรเจริญ
บารมีทุกบารมีเป็นสิ่งที่ควรอบรม
มิฉะนั้นจะไปไม่ถึงฝั่งนะคะ
เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีปัญญาดีแต่ขาดเสบียงและเรี่ยวแรง
สิ่งที่ต้องระมัดระวังสำหรับคฤหัสถ์ คือ ความอยากมี อยากเป็น อยากได้ ทำให้ไม่รู้จักพอ เช่น อยากได้ของที่เกินฐานะ ทำให้ต้องไปกู้ยืมจนเป็นหนี้เกินตัว ทำให้ต้องดิ้นรนเป็นทุกข์หรือเกิดการทุจริตได้ ควรเตือนตนไว้เสมอ ในความพอดี มีเศรษฐกิจพอเพียงคือ เพียงพอในการดำรงชีวิตด้วยสุจริตเลี้ยงสังขารนี้เพื่อศึกษาธรรมะ เจริญปัญญาสะสมความเห็นถูก มากขึ้นๆ เพื่อละกิเลสและเพื่อถึงที่สุด คือ ความหลุดพ้น ไม่ต้องเกิดอีก
อนุโมทนา กับ ความเห็น ทั้ง 3 และ เจ้าของข้อความ ธรรมทัศนะ ครับ
คฤหัสถ์ขยันไม่เกียจคร้าน ...ดีชั้นหนึ่งได้โภคทรัพย์มาแบ่งปัน ...ดีชั้นสอง
ได้ลาภ ยศ ไม่หลงระเริงดี ...ชั้นสามคราวเสื่อมลาภ ยศ ไม่ลำบากใจ ...ดีชั้นสี่
สาธุ
ขออนุโมทนาครับ