๑๐. มณิชาดก ว่าด้วยแก้วมณี
โดย บ้านธัมมะ  25 ส.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 35853

[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 200

๑๐. มณิชาดก

ว่าด้วยแก้วมณี


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 59]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 200

๑๐. มณิชาดก

ว่าด้วยแก้วมณี

[๙๖๓] เป็นเวลานานหนอ เราจึงจะเห็นสหาย ทัดทรงแก้วมณี สหายของเรางามจริง เพราะ การแต่งขน ที่ช่างตกแต่งดีแล้ว.

[๙๖๔] เราเป็นผู้ขวนขวาย ในการงานทั้งหลาย จึง มีขนแข็ง คล้ายเล็บงอกขึ้น ใต้ปีก นานๆ จึงจะได้ช่างกัลบก วันนี้ ได้ให้ช่าง ถอนขนออกแล้ว.

[๙๖๕] เธอได้ช่างกัลบก ที่หาได้ยากมาแล้ว ได้ให้เขาถอนออกไป โดยวิธีใดหนอ เธอจงให้ ช่างถอนออก โดยวิธีนั้นเถิด สหาย ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น อะไรเล่า ห้อยย้อยอยู่คอของเธอ?

[๙๖๖] แก้วมณี ห้อยอยู่ ที่คอมนุษย์ พวกสุขุมาลชาติทั้งหลาย เราเลียนแบบมนุษย์เหล่านั้น เธออย่าสำคัญว่า ทำเล่น.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 201

[๙๖๗] ดูก่อนสหาย ถ้าแม้ว่าเธอชอบใจ การแต่งขน ที่ตกแต่งดีแล้ว นี้ไซร้ เราจะให้ช่างทำ ให้เธอ และแม้แก้วมณี เราก็จะให้เธอ.

[๙๖๘] เธอเท่านั้นแหละ เหมาะกับแก้วมณี และขนที่ตกแต่งดีแล้ว เราบอกเธอแล้ว ก็จะไปละ การเห็นเธอ เป็นที่รักของฉัน.

จบมณิชาดกที่ ๑๐

อรรถกถามณิชาดกที่ ๑๐

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ ภิกษุผู้เหลวไหล จึงได้ตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า จิรสฺสํ วต ปสฺสามิ ดังนี้. เรื่องปัจจุบัน มีนัยดังกล่าวไว้แล้ว ในหนหลัง นั่นแหละ. พระองค์ทรงนำเอาเรื่อง ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติ อยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เป็นนกพิราบ อาศัยอยู่ที่รังนก บนโรงครัวหลังใหญ่ ของเศรษฐี เมืองพาราณสี. ฝ่ายกาทำความคุ้นเคยกับนกพิราบนั้นแล้ว อยู่ ณ ที่นั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น เรื่องทั้งหมด ควรให้พิสดารเถิด. พ่อครัวถอนขนปีกของกาออกแล้ว เอาแป้งทาปีกไว้ เจาะชิ้นกระ


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 202

เบื้องชิ้นหนึ่ง สวมไว้ที่คอ แล้วใส่ไว้ในรัง. พระโพธิสัตว์มาจากป่า เห็นมันแล้ว เมื่อจะทำการเยาะเย้ย จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า:-

เป็นเวลานานหนอ เราจึงจะเห็นสหาย ทัดทรงแก้วมณี สหายของเรางามจริง เพราะการแต่งขน ที่ช่างตกแต่งดีแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มสฺสุกุตฺติยา ความว่า เพราะการตกแต่งขนนี้.

กาได้ฟังคำนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

เราเป็นผู้ขวนขวาย ในการงานทั้งหลาย จึงมีขนแข็ง คล้ายเล็บงอกขึ้นใต้ปีก นานๆ จึงจะได้ช่างกัลบก วันนี้ ได้ให้ช่างถอนแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กมฺเม สุพฺยาวโฏ ความว่า กา กล่าวว่า ดูก่อนสหาย เราเป็นผู้ขวนขวาย ในงานราชการทั้งหลาย เมื่อไม่ได้โอกาสถอน จึงได้มีขนแข็ง เหมือนเล็บงอกขึ้นใต้ปีกคือ รักแร้. บทว่า อหารยิ ความว่า วันนี้ เราได้ให้ช่างถอนขนออกแล้ว.

ในลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-

เธอได้ช่างกัลบก ที่หาได้ยากแล้ว ได้ให้เขาถอนขนออกไป โดยวิธีใดหนอ เธอจงให้


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 203

เขาถอนออก โดยวิธีนั้นเถิด สหาย เมื่อเป็นเช่นนั้น อะไรเล่า ห้อยย้อยอยู่ที่คอของเธอ?

คาถานั้น มีเนื้อความว่า เจ้าได้ช่างกัลบกที่หาได้ยาก แล้วได้ให้เขาถอนขนออก โดยวิธีใด เจ้าชอบใจวิธีนี้นั้น ฉันจักให้เขา ทำการตกแต่งขนเคราให้เจ้า จงให้เขาถอนขนนั้น ออกไปเถิด สหายเอ๋ย นี้อะไร เล่าห้อยระย้า อยู่ที่คอของเจ้า?

ลำดับนั้น กาได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

แก้วมณี ห้อยอยู่ที่คอของมนุษย์ พวกสุขุมาลชาติทั้งหลาย เราเลียนแบบมนุษย์เหล่านั้น เธออย่าสำคัญว่า ทำเล่น.

ดูก่อนสหาย ถ้าแม้ว่า เธอชอบใจ การแต่งขน ที่ตกแต่งดีแล้ว นี้ไซร้ เราจะให้ช่าง ทำให้เธอ และแม้แก้วมณี เราก็จะให้เธอ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มณี ความว่า รัตนมณีดวงหนึ่ง ห้อยอยู่ที่คอของคนทั้งหลาย แบบนั้น. บทว่า เตสาหํ ตัดบทเป็น เตสํ อหํ แปลว่า ข้าเลียนแบบพวกเขา. บทว่า มา ตวํ มญฺเ ความว่า แต่


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 204

เจ้าอย่าสำคัญว่า สิ่งนั่น ข้าทำเล่น. บทว่า ปิหยสิ ความว่า ถ้าหากเจ้า ต้องการแบบขน ที่ข้าแต่งดีแล้วไซร้.

พระโพธิสัตว์ ได้ฟังคำนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๖ ว่า

เธอเท่านั้นแหละ เหมาะกับแก้วมณี และขนที่ตกแต่งดีแล้ว เราบอกเธอแล้ว ก็จะไปละ การเห็นเธอ เป็นที่รักของฉัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มณินา ความว่า สำหรับแก้วมณี. ปาฐะ เป็นอย่างนี้ ทีเดียวก็มี. มีคำอธิบายไว้ว่า สหายกาเอ๋ย เจ้าเท่านั้นแหละ เหมาะสำหรับแก้วมณีนี้ และขนที่ตกแต่งแล้วนี้. แต่การเห็นเธอ นั่นเอง เป็นที่รักของฉัน เพราะฉะนั้น ฉันบอกเธอแล้วก็จะไป. ก็แหละ นกพิราบครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็บินหนีเข้าป่าไป. ส่วนกาถึงการสิ้นชีวิต ณ ที่นั้น นั่นเอง.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา ทรงประกาศสัจธรรมทั้งหลาย แล้วจึงทรงประชุมชาดกไว้ ในที่สุดแห่งสัจธรรม ภิกษุ ผู้เหลวไหล ดำรงอยู่แล้วในอนาคามิผล. กาในครั้งนั้น ได้แก่ ภิกษุผู้เหลวไหล ในบัดนี้ ส่วนนกพิราบ ได้แก่ เราตถาคต ฉะนั้นแล.

จบอรรถกถา มณิชาดกที่ ๑๐


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 205

รวมชาดกที่มีในขุรปุตวรรคนี้มี ๑๐ คือ :-

๑. ขุรปุตชาดก ๒. สูจิชาดก ๓. ตุณฑิลชาดก ๔. สุวรรณกักกฏกชาดก ๕. มัยหกสกุณชาดก ๖. ปัพพชิตวิเหฐกชาดก ๗. อุปสิงฆบุปผชาดก ๘. วิฆาสาทชาดก ๙. วัฏฏกชาดก ๑๐. มณิชาดก.

จบ ขุรปุตวรรคที่ ๒

อรรถกถาชาดกนี้ ชื่อว่า อรรถกถาฉักกนิบาต ประดับด้วย ชาดก ๒๐ ชาดก จบบริบูรณ์แล้วด้วยประการฉะนี้. ปกรณ์นี้ ที่พระโอรสองค์เล็ก ของพระเจ้าอภัยสังคหะ. ผู้มีพระทัยน้อมไปในการบรรพชา ตั้งแต่เวลามีพระชนม์ ๗ พรรษา มีพระหฤทัยผ่องใส ทรงผนวชแล้ว โดยพระนามฉายาว่า อคฺคาณะ ทรงมีพรรษา ๒ ตั้งแต่ทรงผนวชมา สมมติกันว่า เป็นศิษย์เอกของพระเถระ ชาวบ้านมณีหริตคิรีคาม ผู้เป็นพระราชาคณะ พระนามว่า พระสีลสัมบันตรีปิฎกธร อรรถธรรม โกศลสาสน์ ทรงลิขิตไว้ สำเร็จเสร็จสิ้น ในเวลาบ่ายวันที่ ๗ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ศุกรปักษ์ เดือนอ้าย.

รวมวรรคที่มีอยู่ในฉักกนิบาตนี้ ๒ วรรค คือ :-

๑. อาวาริยวรรค ๒. ขุรปุตวรรค

จบ ฉักกนิบาตชาดก