ชีวิตเราถูกกำหนดมาแล้วหรือเปล่าครับ
โดย insight  26 ก.ย. 2554
หัวข้อหมายเลข 19806

บางคนที่เขามีทิพยจักษุเห็นอนาคตว่าผู้นั้น จะเป็นเช่นนั้น เช่นนี้ แล้วก็เป็นอย่างนั้น

จริงๆ เท่ากับว่าชีวิตเราถูกเขียนแบบแผนมาแล้วรึเปล่าครับ ทั้งๆ ที่ทุกอย่างเป็นไป

ตามเหตุปัจจัย อย่างนี้เราไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้เลยอย่างนั้นหรือเปล่าครับ



ความคิดเห็น 1    โดย paderm  วันที่ 26 ก.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ธรรมเป็นเรื่องละเอียดลึกซึ้งจริงๆ ครับ เพราะเป็นพระปัญญาของพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้

สัจจะความจริงที่ลุ่มลึก จนสามารถดับความเห็นผิดและดับกิเลสได้หมดครับ ซึ่งใน

ความเป็นจริง ชีวิต ก็คือ จิต เจตสิก รูปดังนั้นทุกอย่างจึงมีแต่ธรรมไม่ใช่เรา ไม่มีสัตว์

บุคคล ดังนั้น จิต เจตสิก รูปจะเกิดขึ้นก็ต้องอาศัยเหตุปัจจัยหลายๆ อย่างจึงเกิดขึ้นได้

ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า ชีวิต คือ สภาพธรรมนั้นเป็นไปตามเหตุปัจจัย ซึ่งปัจจัยที่ให้เกิด

สภาพธรรมนั้นเมื่อศึกษาโดยละเอียดแล้ว ก็มีหลายปัจจัยมากมาย ซึ่งปัจจัยทั้งหมด มี

24 ปัจจัยครับ เพราะฉะนั้น สิ่งใด สิ่งหนึ่งที่จะเกิดขึ้น อาศัยปัจจัยหลายๆ อย่างจึงเกิด

ขึ้นได้ ชีวิตจึงถูกกำหนดโดยเหตุปัจจัยหลายๆ อย่าง โดยสภาพธรรมนั่นเองที่เป็น

ปัจจัยกันและกันครับ

อย่างในกรณีคำถามที่ถามว่า ชีวิตถูกกำหนดไว้แล้วหรือ เช่น คนที่มีตาทิพย์ รู้อนาคต

ว่าจะเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ กระผมจะขอยกผู้ที่รู้จริงที่รู้อนาคต และพยากรณ์ได้เป็นไป

ตามนั้น คำนั้นไม่เป็นสอง คือ เป็นคำจริง นั่นคือ คำของพระพุทะเจ้า ซึ่งต่างกับยุค

ปัจจุบันที่อ้างว่ามีตาทิพย์อะไรประมาณนั้น ซึ่งเป็นไปไม่ได้ครับ สำหรับพระพุทธเจ้า

ทรงตรัสรู้ธรรมทั้งปวง หมดสิ้นด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงรู้ปัจจัยของสภาพธรรม

ของแต่ละคน แต่ละจิตทีเกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไร และต่อไปในอนาคตจะเป็นอย่างไร

ดังนั้นเมื่อเราพูดถึงปัจจัยบางอย่าง เช่น การกระทำกรรม เช่น กรรมดี หรือ กรรมไม่ดี

เมื่อมีการกระทำกรรมก็ต้องมีผลของกรรม


ความคิดเห็น 2    โดย paderm  วันที่ 26 ก.ย. 2554

แต่ก็ต้องเข้าใจครับว่า ไม่ได้หมายความว่าเมื่อทำกรรมแล้วจะต้องได้รับผลของกรรม

เสมอ เพราะกรรมบางอย่างก็ถูกกรรมบางอย่างตัดรอน ทำให้ไม่ให้ผล นี่แสดงถึงเหตุ

ปัจจัยบางอย่าง มาตัดกรรมนั้นทำให้กรรมนั้นไม่ให้ผลก็ได้ จึงไม่ใช่จะเป็นการสรุปตาย

ตัวลงไปว่า ชีวิตถูกกำหนดไว้แน่นอนตายตัว เพราะชีวิต คือ จิต เจตสิกทีเกิดขึ้น ไม่ใช่

มีเพียงในอดีตเท่านั้นก็มีการทำกรรมในปัจจุบันด้วย ซึ่งสามารถตัดรอนกรรมบางอย่าง

หรืออุปถัมภ์ให้เกิดสิ่งที่ดี แทนที่จะเกิดสิ่งที่ร้ายก็ได้ครับ แต่กรรมบาองย่างเมื่อทำแล้ว

ชาติต่อไปก็ต้องให้ผลแน่นอน หลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น อนันตริยกรรม เป็นต้นครับ

นี่แสดงถึงกรรมบาองย่างก็ให้ผลแน่นอน เพราะอะไร เพราะกรรมนั้นมีกำลังมากนั่นเอง

เห็นไหมครับว่า เป็นไปตามเหตุปัจจัยของสภาพธรรมแต่ละอย่างที่ไม่เหมือนกัน แม้แต่

กรรมแต่ละอย่างก็ไม่เหมือนกัน แสดงแล้วว่าเป็นไปตามเหตุปัจจัย เป็นไปตามธรรม ก็

แล้วแต่กรรมใดจะให้ผลหรือไม่ให้ผล อย่างกรณีที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ว่าผู้นี้จะ

เป็นอย่างนั้น อย่างนี้ เพราะพระองค์ทรงรู้ถึงกรรมที่เขาทำนั้นมีกำลัง จนในที่สุด ใน

อนาคตกาลก็สามารถสิ้นกิเลสได้ เพราะมีกุศลที่มีกำลังในปัจจุบันที่ได้ทำเป็นพื้นฐาน

จึงพอสรุปได้ว่า ชีวิตถูกกำหนดโดยเหตุปัจจัย โดยสภาพธรรม แน่นอนตามเหตุ

ปัจจัยแต่ต้องกล่าว ตามเหตุปัจจัยทีละขณะจิตครับ อย่างเช่น พระเจ้าอชาตศ้ตรู ถ้า

ไมได้ฆ่าบิดา ท่านฟังสามัญญผลสูตรก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน แทนที่จะได้บรรลุ แต่

เพราะขณะจิตหนึ่งไปทำอนันตริยกรรม ก็เลยไม่ได้บรรลุแม้จะได้ฟังพระธรรมจากพระ

พุทธเจ้าครับ ดังนั้น ชีวิตจึงเป็นไปตามเหตุปัจจัยแต่ละขณะจิต ทีละขณะครับ

ชีวิต คือ จิต เจตสิก จึงไม่มีใคร ไม่มีเรา ไม่มีใครกำหนด แต่เป็นไปตามเหตุปัจจัย

ของสภาพธรรมแต่ละขณะครับ ดังนั้นทุกอย่างเปลี่ยนแปลงได้ ตามเหตุปัจจัยที่เกิดขึ้นแต่ละขณะครับ สะสมปัญญาได้ ขณะที่เข้าใจ อ่านเข้าใจ ก็เปลี่ยนแปลงจากความ

ไม่รู้ไปสู่ความรู้ขึ้นแล้วครับ เป็นไปตามเหตุปัจจัย ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


ความคิดเห็น 3    โดย tookta  วันที่ 26 ก.ย. 2554

ขอแสดงความคิดเห็นนิดหนึ่งนะค่ะ เราไม่อาจทราบว่าใครกำหนดชีวิตของเรา แต่เราก็ขอ

กำหนดชีวิตของเราเองที่จะคิดดีทำดี ถ้าทำดีแล้วเราจะต้องพบกับสิ่งที่ไม่ดีก็ต้องยอมรับ

และตั้งใจทำดีที่สุดเท่าที่ทำได้ั


ความคิดเห็น 4    โดย khampan.a  วันที่ 26 ก.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ก่อนอื่นต้องเข้าใจ ว่า ชีวิตคืออะไร? ชีวิต คือ ความเกิดขึ้นเป็นไปของสภาพธรรม อันได้แก่ จิต เจตสิก และ รูป เพราะมีสภาพธรรมเหล่านี้เกิดขึ้นเป็นไป จึงมีการสมมติว่า เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นสัตว์โลกในภพภูมิต่างๆ ถ้าจะกล่าวโดยละเอียด เป็นขณะๆ แล้ว กล่าวได้ว่า ชีวิต ก็คือ จิตแต่ละขณะๆ นั่นเอง ในชีวิตประจำวัน ไม่เคยปราศจากจิตแม้แต่ขณะเดียว (เมื่อกล่าวถึงจิต ก็ต้องกล่าวถึงเจตสิก อันเป็นสภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิต ด้วย) เพราะตามความเป็นจริงแล้ว มีจิตเกิดดับสืบต่อกันอยู่ตลอดเวลา อย่างไม่ขาดสาย เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง เป็นวิบากบ้าง เป็นกิริยาบ้าง ตามความเป็นไปของจิต ในแต่ละภพในแต่ละชาติ จิตขณะแรก คือ ปฏิสนธิจิต ซึ่งเกิดสืบต่อจากจุติจิตของชาติที่แล้ว ซึ่งไม่มีใครกำหนดหรือลิขิตเลย ว่่า จะต้องเกิดเป็นใคร ในภพไหน เพราะกรรมที่ได้กระทำแล้ว เท่านั้นที่จะเป็นเหตุให้เกิดในภพต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ เป็นเพราะผลของกุศลกรรม เมื่อปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นแล้วดับไป ก็เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อๆ ไปเกิดขึ้นเป็นไป...จนกว่าจะถึงขณะสุดท้ายของชาตินี้ คือ จุติจิต, จิตแต่ละขณะย่อมเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย (ไม่ใช่เกิดขึ้นมาลอยๆ โดยไม่มีเหตุ) เมื่อเกิดแล้วก็ดับไป ไม่ยั่งยืน ตามความเป็นจริง ชีวิตของคนเรา มีอยู่ ๒ ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนที่เป็นการได้รับผลของกรรม เช่น ขณะที่ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย รวมไปถึง ขณะที่หลับสนิท ด้วย ถ้าไม่มีกรรมที่ได้กระทำแล้วในอดีตเป็นปัจจัย วิบากจิต ซึ่งเป็นการได้รับผลของกรรมก็เกิดขึ้นไม่ได้ นี้ก็แสดงถึงความเป็นเหตุเป็นผลของสภาพธรรม และ อีกส่วนหนึ่ง เป็นส่วนของการสะสมเหตุ คือ เป็นกุศล กับ เป็นอกุศล นี้ก็ขึ้นอยู่กับการสะสมมาของแต่ละบุคคล ไม่มีใครกำหนด ไม่มีใครบังคับ แต่เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ถ้าสะสมอกุศลมามาก ก็เป็นเครื่องปรุงแต่งให้จิตเกิดขึ้นเป็นไปในทางที่เป็น อกุศล มาก ถ้าได้สะสมกุศลธรรม มามาก ก็เป็นเหตุให้จิตน้อมไปในทางที่เป็นกุศล ได้มาก ซึ่งก็พอจะสังเกตเห็นได้ในชีวิตประจำวัน ว่า แต่ละคน เป็นแต่ละหนึ่ง ไม่เหมือนกันเลย ทั้งการกระทำ และคำพูด รวมถึงความคิด เป็นไปตามการสะสมของแต่ละบุคคลจริงๆ ซึ่งทั้งหมดนั้น ก็คือ ความเกิดขึ้นเป็นไปของสภาพธรรม นั่นเอง ผู้ที่เป็นชาวพุทธที่แท้จริง ต้องมีความมั่นคงในพระธรรมคำสอนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ว่า ธรรม เป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร ทั้งสิ้น เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย เราไม่สามารถรู้ได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง แม้แต่ในขณะต่อไป ประโยชน์สูงสุดของการเกิดมาเป็นมนุษย์ คือ การมีโอกาสได้ฟังพระธรรม สะสมความรู้ความเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังมีกำลังปรากฏในขณะนี้ ซึ่งไม่เคยรู้มาก่อนว่าเป็นธรรม เมื่อมีความเข้าใจธรรม มากขึ้น ความสงสัยก็จะลดน้อยลง มีชีวิตอยู่เพื่ออบรมเจริญปัญญาต่อไป การที่ปัญญา จะมีได้ ก็ต่อเมื่อได้ฟังพระธรรม และมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 5    โดย nong  วันที่ 27 ก.ย. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 6    โดย เนติปกรณ์  วันที่ 27 ก.ย. 2554

ตกลงเป็นพรหมลิขิตใช่ไหม


ความคิดเห็น 7    โดย paderm  วันที่ 27 ก.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 6 ครับ

ไม่ใช่พรหมลิขิต ที่มีผู้อื่นลิขิตไว้ แต่เป็นกรรมลิขิต และสภาพธรรมที่เป็นเหตุปัจจัย

ต่างหากครับ ที่ลิขิตให้เป็นไปตามเหตุปัจจัยของสภาพธรรมแต่ละขณะจิตครับ

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 8    โดย jaturong  วันที่ 27 ก.ย. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 9    โดย akrapat  วันที่ 27 ก.ย. 2554

อย่าลืม ว่าร่างกายล้วนเกิดจากวิบาก เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แม้พระอรหันต์ก็ยังไม่พ้น จากวิบากกรมไปได้ แต่จิตใจสามารถฝึกได้ นั่นคือ เมื่อเผชิญวิบากแล้ว เราอาจจะไม่ทุกข์ใจ แม้ความทุกขืทางกายจะเลี่ยงไม่ได้ก็ตาม

เราโดนกำหนด โดยกฎแห่งกรรมก็จริง แต่ขณะใดที่ท่านมีสติ นั่นแหละท่านได้ตัด ความสืบเนื่องของการให้ผลของกรรมแล้ว แต่ถ้าขาดสติ ก็ไม่ต่างอะไรกับปล่อยชีวิตไปตามยถากรรม

เพราะฉะนั้น ถ้าท่านจะกำหนดชีวิต ตัวเอง ท่านต้องใช้ชีวิตอย่างมีสติ แต่เมื่อไหร่ที่ขาดสติ กฎแห่งกรรมก็จะทำงาน

เรื่องของกรรมและการให้ผลของกรรม เป็นเรื่องอจินไตย อย่าไปคิดมากเลยครับ

ขออนุโมทนา

ความคิดเห็น 10    โดย Graabphra  วันที่ 27 ก.ย. 2554
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 11    โดย insight  วันที่ 27 ก.ย. 2554

สาธุๆ ขอบคุณมากครับ


ความคิดเห็น 15    โดย ไตรสรณคมน์  วันที่ 28 ก.ย. 2554

กรรมเป็นตัวกำหนด

ซึ่งก็มีทั้ง กรรมในอดีต กรรมในปัจจุบัน

และกรรมที่จะทำในอนาคตค่ะ


ความคิดเห็น 16    โดย pattarat  วันที่ 29 ก.ย. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

ความคิดเห็น 18    โดย wannee.s  วันที่ 30 ก.ย. 2554

พระพุทธเจ้าทรงรู้ว่าใครไปเกิดที่ไหน อนาคตจะเป็นอย่างไร ได้บรรลุหรือไม่ เช่น

ตอนที่พระอานนท์ยังเป็นพระโสดาบัน พระพุทธเจ้าบอกว่าจะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์

ในชาตินั้น ก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ แต่ว่าไม่มีใครกำหนด ไม่มีใครเขียนแบบแผน

ทั้งหมดเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยค่ะ


ความคิดเห็น 19    โดย ปุ้ม  วันที่ 30 ก.ย. 2554

คุณ paderm และ คุณ khampan.a ให้ความกระจ่างแจ่มใจดีมากขอรับ


ความคิดเห็น 21    โดย homenumber5  วันที่ 1 ต.ค. 2554

ขออนุญาตร่วมสนทนาค่ะ คำถามที่ว่า ชีวิตถูกกหนดแล้วนั้น เป็นคำพูดที่จริงไม่ทั้งหมด พระธรรม พระพุทธวัจจนะนั้นพระองค์ทรงเทสนาสั่งสอนเรื่อง ชีวติเป็นไปตามกรรม และน้อยนักที่ศาสนิกชนจะติดตามสิกขาพระธรรมให้เข้าใจจนมาใช้กับชีวิต คือรู้เท่าทันกับสภาพธรรมที่ปรากฏกับตนเอง เช่นเห็นว่ารูปสวย เราไม่ทันนึกว่านี่เป็นการทำงานของจิต เจตสิก รูป เพราะเราถูกหล่อหลอมมานานหลายล้านชาติแล้วว่าสวย อยากได้ น่าเกลียดต้องหลีกหนีไปตาม กามสัญญาที่สั่งสมในจิตเรานานแสนนาน พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้และทรงปรารถนา รื้อสัตว์ ถอนสัตว์ ออกจากกองทุกข์ โดยให้เราติดตามคำสอนของพระองค์ เพื่อให้ รู้ว่า ทุกข์คืออะไร เหตุแห่งทุกข์คืออะไร และวิธีดับทุกข์คืออะไร ทางปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์ทำอย่างไร เราก็เพียงท่องได้ว่าอริยสัจจสี่และความหมายสั้นๆ แต่ คำสั่งสอน ที่เป็นรายละอียดลึกซึ้งมีอีกมากนัก คำอธิบายของท่านวิทยากรเพียงเบื้องต้นว่า เราต้องสิกขา จิต เจตสิก รูป เพื่อไปถึงนิพพาน คือการดับทุกข์สิ้นไม่เหลือ ครั้นเมื่อกล่าวถึงนิพพาน ศาสนิกบางท่านถึงกับออกปากว่า ไกลเกินไป ความจริง ก็เป็นเช่นที่กล่าว เพราะกว่าพระพุทธองค์จะนิพพาน นั้นท่านบำเพ็ญบารมีถึง 20อสงไขยอีกแสนกัปป์ แล้วถ้าเราไม่เริ่มต้นสิกขา เราก้ไม่มีทางพ้นทุกข์เพียงอ่านที่ท่านวิทยากร แจงมา อาจ สบายใจขึ้นบ้างแต่หากไม่สิกขาต่อไปอย่างต่อเนื่องอดทน ความทุกข์ก็ยังวนเวียนอยู่เพราะ จิต เจตสิก รูป คือกองทุกข์ ที่ เราต้องปหาน ให้หมดเพื่อไปถึงทางพ้นทุกข์ แม้ว่า ต้องใช้เวลานานแสนนาน


ความคิดเห็น 22    โดย homenumber5  วันที่ 1 ต.ค. 2554

การที่ท่านเจ้าของกระทู้ได้แวะเข้ามาถามคำถามนี้และได้ติดตามคำตอบ นับว่า เป็นบุญที่อาจน้อมนำให้ท่านมาสิกขาธรรมต่อไป พระพุทธธรรมเป็นของลึกซึ้งค่ะต้องอดทนติดตามและสิกขา คนละเอียดลึกซึ้งจึงจะสนใจพระธรรม คนหยาบ ฆ่ามดรังนึงไม่รู้สึก คนละเอียดไม่ฆ่าสัตว์เลยนั่นเพราะสิกขาธรรมลึกซึ้งต่างกัน การสิกขาจึงจะดำเนินชีวิตได้ถูกต้อง ไม่ก่อบาปกรรมใหม่ไปด้านอกุสลและพยายามสร้างกุสลกรรมใหม่เพื่อไปภพภูมิที่สูงขึ้น คงมิใช่แค่ถูกกำหนดมาแล้ว ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 23    โดย SRPKITT  วันที่ 17 ต.ค. 2554

คำอธิบายของคุณ praderm และคุณ Khampan.a ทำให้เข้าใจมากขึ้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 24    โดย orawan.c  วันที่ 28 ต.ค. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ