พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ ๑๙๒
บทว่า รุปฺปติ ความว่า กำเริบ คือถูกกระทบกระทั่ง อธิบาย ว่า ถูกบีบคั้น คือ แตกสลาย.
ในคำว่า สีเตนปิ รุปฺปติ เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :
ก่อนอื่น ความย่อยยับ เพราะความหนาวปรากฏ (ชัด) ในโลกันตริยนรก. อธิบายว่า ในระหว่างจักรวาล ๓ จักรวาล แต่ละจักรวาล มีโลกันตริยนรก อยู่จักรวาลละหนึ่งแห่ง ซึ่ง (แต่ละแห่งกว้างใหญ่) ประมาณ ๘,๐๐๐ โยชน์ (และ) เบื้องล่างก็ไม่มีแผ่นดิน เบื้องบน ก็ไม่มีแสงเดือน แสงตะวัน (ไม่มี) แสงประทีป (ไม่มี) แสงแก้วมณี มืดมิดตลอดกาล บรรดาสัตว์ที่บังเกิดในโลกันตริยนรกนั้น มีอัตภาพประมาณ ๓ คาวุต สัตว์เหล่านั้น ใช้เล็บที่ยาวและหนา เกาะห้อยหัวอยู่ที่เชิงเขา คล้ายค้างคาว เมื่อใดห้อยโหนไปถึงกัน ชั่วช่วงแขน เมื่อนั้น สำคัญอยู่ว่า เราได้อาหารแล้ว จะทะยานเข้าไปในที่นั้น ก็จะหมุนม้วน ตกลงไปในน้ำที่ธารโลกไว้ ถูกลมปะทะขาดเป็นท่อน เหมือนผลมะซาง ตกลงไปในน้ำ พอตกลงไปเท่านั้น ก็จะเดือดพล่าน แหลกเหลว อยู่ในน้ำกรด เหมือนก้อนแป้ง ตกลงในน้ำมันที่เดือด ฉะนั้น.
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น