เรียน ท่านวิทยากร
การเจริญสติปัฏฐานจำเป็นต้องรู้วิปัสสนาภูมิหรือไม่ และวิปัสสนาภูมิมีอยู่ในพระไตรปิฎกหรือไม่ครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญ ครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
การเจริญสติปัฏฐาน ก็ต้องมีความเข้าใจถูกขั้นการฟังว่า ธรรม คืออะไร ซึ่ง ธรรมก็คือ สิ่งที่มีจริงในขณะนี้ จะเรียก ขันธ์ ธาตุ อายตนะ เป็นต้นก็ได้ ก็ไม่พ้นสิ่งที่มีจริง เป็นที่ตั้ง หรือ เป็นอารมณ์ของ สติปัฏฐาน ที่สมมติเรียกว่า ภูมิวิปัสสนา เพราะฉะนั้น ยังไม่ต้องไปไหนไกล เริ่มค่อยๆ เข้าใจถูก แม้คำว่า ธรรมคืออะไร ก็จะนำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้อง ครับ
เชิญอ่านคำบรรยาย ท่านอ.สุจินต์ดังนี้
ท่านผู้ถาม ท่านอาจารย์ค่ะ แล้ว ขันธ์ ธาตุ อายตนะ เนี่ย ก็เป็นภูมิของวิปัสสนาภาวนา
ท่านอาจารย์สุจินต์ ใช้ภาษานี้นะค่ะ แล้วก็เหมือนกับเจาะจงว่าอย่างอื่นไม่ใช่ภูมิใช่ไหมคะ บางคนก็บอกจำนวนจำกัดมาเลย ว่าอะไรเป็นภูมิของวิปัสสนาได้ อะไรเป็นภูมิของวิปัสสนาท่องชื่อได้ แต่แท้ที่จริงแล้วทุกอย่างที่มีจริงเป็นภูมิของวิปัสสนาทั้งนัั้น
ท่านผู้ถาม ก็คือไม่พ้นปรมัตถธรรม ๔
ท่านอาจารย์สุจินต์ ก็แน่นอนค่ะ ถ้าไม่รู้ก็คือไม่ใช่ปัญญา เพราะฉะนั้นถ้าไม่รู้ ไม่ใช่ปัญญา จะดับกิเลสได้หรือ?
ท่านผู้ถาม เพราะขันธ์ ธาตุ อายตนะ ก็ไม่พ้นสภาพธรรมะที่เป็นจิต เจตสิก และรูป
ท่านอาจารย์สุจินต์ ถูกต้องไหมถ้ามีคนบอกว่า คนนี้พิจารณาขันธ์ คนนั้นพิจารณาธาตุ ในเมื่อไม่รู้อะไรเลย ใช่ไหมคะ แต่ผู้ที่ท่านรู้ ท่านสามารถที่จะรู้ว่า ขณะนั้นนะค่ะ ท่านพิจารณาอะไร ท่านพิจารณาลักษณะของขันธ์ หรือท่านพิจารณาของความเป็นอายตนะ หรือพิจารณาในความเป็นธาตุ แต่คนที่ไม่รู้เลย แล้วเราก็จะไปบอกว่า ให้คนนี้พิจารณาขันธ์ ให้คนนั้นพิจารณาธาตุ เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย เพราะ ไม่รู้อะไร
ท่านผู้ถาม ท่านอาจารย์คะ แล้วอย่างปฏิจสมุปปาทะเนี่ย ท่านก็แสดงไว้ว่า เป็นอารมณ์ของวิปัสสนาภาวนาได้ด้วย ซึ่งก็ต้องเป็นลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรมด้วย
ท่านอาจารย์สุจินต์ ถ้าไม่เป็นปรมัตถแล้วจะไปรู้อะไรละคะ ไปรู้สิ่งที่ไม่จริง ไปนั่งคิดเอา แล้วก็ไม่สามารถที่จะรู้ว่าขณะคิดน่ะอะไร
ท่านผู้ถาม จะให้ท่านอาจารย์ขยายความว่า บัณฑิตผู้ฉลาดในปฏิจสมุปปาทะนั้น เป็นอย่างไร
ท่านอาจารย์สุจินต์ บัณฑิตทั้งหมดนะค่ะที่ท่านแสดง สูงสุดคือพระอรหันต์ อย่างที่เราพูดถึงคำแรกนะค่ะ "อวิชชา" แค่คำเดียวของปฏิจสมุปปาทะ อยู่ที่ไหน ก็ยังไม่รู้ แล้วจะไปรู้ลักษณะความต่างของปัญญาซึ่งไม่ใช่อวิชชา
ท่านผู้ถาม ขอถามท่านอาจารย์ ถ้าเผื่อเราเห็นครั้งหนึ่งเนี่ย เราพิจารณาตรงลักษณะของสภาพธรรมหรือสภาวธรรม ขณะนั้นก็เป็นอโมหะ โลภะหรืออกุศลก็ไม่เกิด อย่างนี่จะถูกไหมครับ
ท่านอาจารย์สุจินต์ แม้เวลาที่กล่าวถึง อกุศล นะค่ะ เพราะเหตุว่า แม้แต่อกุศลนั้นเป็นอะไรก็ยังไม่รู้ ซึ่งความจริงแล้วเวลาที่พูดถึงอกุศลเนี่ยค่ะ ต้องเป็นโลภมูลจิต หรือโทสมูลจิต หรือ โมหมูลจิต ซึ่งจะสังเกตได้ด้วยความต่างของเวทนาที่เกิดร่วมด้วย ถ้าขณะนั้นเป็นความรู้สึกที่ไม่เดือนร้อน เฉยๆ ขณะนั้นก็จะเป็นโลภะหรือโมหะ แต่ไม่ใช่รู้ได้โดยการคาดคะเนค่ะ ต้องสามารถรู้โดยสติสัมปัชชัญญะ ทั้งหมดนี่ขึ้นอยู่กับสติสัมปัชชัญญะ ถ้าสติสัมปัชชัญญะไม่รู้ตรงลักษณะ ก็เพียงเดานะค่ะว่านี้เป็นโมหะ หรือว่าเป็นโลภะ ขณะที่ความรู้สึกนั้นไม่ใช่เดือดร้อน คือ ไม่ใช่โทมนัสเวทนา ก็จะเป็นอย่างหนึ่งอย่างใด นี่้คือขั้นของการศึกษา
แต่ถ้าเป็นผู้ที่เข้าใจธรรมะ คือตัวธรรมะเนี่ยนะค่ะ เข้าใจลักษณะของสติสัมปัชชัญญะ รู้ขณะที่สติสัมปัชชัญญะเกิดว่าต่างกับสติสัมปัชชัญญะไม่เกิด จะเข้าใจอวิชชาไหมคะ ไม่ต้องไปหาที่ไหนเลย อรรถะของอวิชชานี้มีเยอะ หลายคำ ตรงไหมกับที่กล่าวไว้แล้วทั้งหมดนะค่ะ เช่น ขณะที่เห็นแล้วก็หลงลืมสติเนี่ยนะค่ะ ขณะนั้นเห็นดับแล้ว แล้วก็มีอกุศลจิตเกิดต่อโดยมีอวิชชา ถ้าไม่มีอวิชชาอะไรจะเกิดหลังจากที่เห็นดับแล้ว แล้วไม่รู้นะค่ะ
ไม่ใช่ว่ามีสติสัมปัชชัญญะที่รู้ คือตามรู้มโนทวารวิถีจิตจะรู้สิ่งที่ปัญจทวารวิถีรู้ หรือที่โสตทวารวิถี ฆานทวารวิถี ชิวหาทวารวิถี กายทวารวิถี มโมทวารวิถี ถ้าสติสัมปัชชัญญะเกิด เราไม่จำเป็นต้องกล่าวแยกไปเลยนะค่ะว่า ทางทวารไหน อะไร อย่างไร แต่ผู้ที่ทรงแสดง ทรงแสดงถึงความละเอียดที่สุดที่ว่า หลังจากจิตหนึ่งขณะดับไปแล้ว ยังไม่ทันถึงมโมทวารนะค่ะ ในปัญจทวารซึ่งอาศัยจักขุเป็นทวารนั่นเองมีจิตอะไรเกิดสืบต่อ พอถึงชวนจิตเนี่ยค่ะ เวลานี้ขณะที่สติสัมปัชชัญญะไม่เกิด สภาพธรรมะเกิดดับนับไม่ถ้วนนะค่ะ เราจะไปรู้จริงๆ ในสิ่งซึ่งทรงแสดงไว้เนี่ยเป็นไปไม่ได้ นอกจากฟังแล้วก็เริ่มเข้าใจว่าธรรมะคืออย่างนี้
เพราะฉะนั้น จะรู้ว่าอวิชชาคือเมื่อไร อย่างไร ต่อเมื่อสติสัมปัชชัญญะเกิด จึงรู้ความต่างว่าขณะที่สติสัมปัชชัญญะไม่เกิดนะค่ะ ขณะนั้นไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมะ ทันทีที่เรานอนหลับและตื่นขึ้นมาเห็นเนี่ยค่ะ เรารู้ลักษณะของเห็น สภาพนั้นไม่ใช่เรา เป็นธาตุรู้ และสิ่งที่ปรากฏทางตาก็เป็นสภาพธรรมะอย่างหนึ่ง เรารู้อย่างนี้หรือเปล่า เป็นผู้ที่มีสติหลับ มีสติตื่น หรือเปล่า ถ้ายังไม่ใช่ก็คือว่าขณะนั้นนะค่ะ ไม่รู้ใช่ไหมคะ
เพราะฉะนั้น อวิชชาไม่ใช่ชื่อ ที่อยู่ในหน้านั้น หน้านี้นะค่ะ แต่อวิชชาก็คือขณะที่สติสัมปัชชัญญะไม่เกิด ขณะนั้นจะไม่รู้ความต่างของสภาพธรรมะที่มีลักษณะจริงๆ กับเรื่องราวทั้งหมดด้วยความไม่รู้ เพราะฉะนั้นในที่นี้ที่กล่าวว่า หลงไปในบัญญัติ ในเรื่องราวต่างๆ ในความคิดนึกต่างๆ นะค่ะ นั้นเป็นขณะที่สติสัมปัชชัญญะไม่เกิด เพราะฉะนั้นผู้ที่จะเข้าใจอวิชชาก็คือสามารถที่จะรู้ได้ว่าปัญญาต่างกับขณะที่สติสัมปัชชัญญะไม่เกิด
เพราะฉะนั้น อวิชชาอยู่ที่ไหน ก็ตอบได้ มิฉะนั้นตอบไม่ได้เลย ใช่ไหม อยู่หน้านั้นเล่มนี้ แต่ว่าจริงๆ แล้วเมื่อสติสัมปัชชัญญะไม่เกิด ตั้งแต่ลืมตาตื่น จนกระทั่งหลับ ก็เป็นเรื่องราวของสมมติบัญญัติ
เพราะฉะนั้น ก็จะกล่าวได้เลยนะคะว่า ทันทีที่ตื่น ก็หลง หลงนี้คืออวิชชา อวิชโชฆะกว้างใหญ่สักแค่ไหน แล้วก็บัญญัติด้วย เพราะฉะนั้นถ้าจะกล่าวถึง โอฆะ คือ อวิชชา เพราะว่าหลง หลงในอะไร ในเรื่องราวในบัญญัติ ถ้าโอฆะเป็นทะเลเป็นมหาสมุทรที่กว้างใหญ่ เรื่องราวในวันหนึ่งวันหนึ่งก็กว้างใหญ่มาก เหมือนกับชื่อทั้งหลายเป็นทะเลที่หลงไปในชื่อเรื่องราวต่างๆ นั้น ด้วยอวิชชานั้นเอง
ท่านผู้ถาม ที่ท่านอาจารย์บอกว่าขณะที่ไม่รู้สภาพธรรมะที่กำลังปรากฏขณะนี้ ก็จะเห็นว่าอวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร
ท่านอาจารย์สุจินต์ ถูกต้องค่ะ ซึ่งถ้าเป็นกุศลก็คือกุศลเจตนาที่เกิดกับกุศลจิต
ท่านผู้ถาม เพราะฉะนั้นผู้ที่มีสติสัมปัชชัญญะจึงเห็นความต่างกันระหว่างมีสติกับหลงลืมสติ
ท่านอาจารย์สุจินต์ ด้วยสติสัมปัชชัญญะเท่านั้น
ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สิ่งสำคัญ คือ การมีโอกาสไดัฟังเรื่องของสภาพธรรมที่มีจริงๆ ในขณะนี้ซึ่งมีจริงๆ แต่ไม่เคยรู้มาก่อนว่าเป็นธรรม การสะสมความเข้าใจตั้งแต่ต้นจะเป็นรากฐานสำคัญนำไปสู่การปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องได้ เพราะเรื่องของสติปัฏฐานนั้นเป็นปกติ ไม่ใช่เรื่องทำ แต่เป็นกิจหน้าที่ของธรรมฝ่ายดี มีสติและปัญญาเป็นต้น เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ระลึกรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริง
สิ่งที่มีจริงในขณะนี้ นั่นเอง ที่จะเป็นที่ตั้งให้สติเกิดขึ้นระลึกตรงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ และปัญญารู้ตามความเป็นจริง (สติปัฏฐาน) เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย จริงๆ ไม่ใช่เรื่องหวัง ไม่ใช่เรื่องต้องการ ไม่ใช่เรื่องของความจดจ้อง ไม่ใช่เรื่องของการไปกระทำอะไรด้วยความเป็นตัวตน ด้วยความเห็นผิด และ ด้วยความไม่รู้ แต่เป็นเรื่องของการอบรมเจริญปัญญาไปตามลำดับ ครับ
...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
สติปัฏฐานเกิดยังยากเลย ยังไม่ต้องไปถึงวิปัสสนาภูมิ และที่สำคัญขณะที่สติปัฏฐานเกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏไม่มีชื่อ ไม่มีเรื่องราวค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
อบรมปัญญาให้เข้าใจความจริง จะเป็นประโยชน์ทั้งชาตินี้ และชาติต่อๆ ไป กุศลที่ทำได้เสมอๆ คือ การฟังพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง มีคุณค่ามหาศาลสำหรับชีวิตที่ต้องเดินทางต่อไป อีกแสนไกล และกันดาร
ขอเชิญศึกษาพระธรรม...
รวมลิงก์เมนูต่างๆ ในเว็บไซต์
พระไตรปิฎก
ฟังธรรม
วีดีโอ
ซีดี
หนังสือ
กระดานสนทนา