๙. สีหสูตร ว่าด้วยพระพุทธเจ้าแสดงธรรมดุจสีหะจับสัตว์
โดย บ้านธัมมะ  26 ต.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 39169

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 225

ทุติยปัณณาสก์

กกุธวรรคที่ ๕

๙. สีหสูตร

ว่าด้วยพระพุทธเจ้าแสดงธรรม ดุจสีหะจับสัตว์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 225

๙. สีหสูตร

ว่าด้วยพระพุทธเจ้าแสดงธรรมดุจสีหะจับสัตว์

[๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สีหมฤคราชออกจากที่อยู่ในเวลาเย็น แล้วย่อมเยื้องกราย เหลียวดูทิศทั้ง ๔ โดยรอบ บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง แล้วออกเที่ยวไปหากิน สีหมฤคราชนั้น ถ้าแม้จะจับช้าง ย่อมจับโดยแม่นยำ


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 226

ไม่พลาด ถ้าแม้จะจับกระบือ ย่อมจับโดยแม่นยำ ไม่พลาด ถ้าแม้จะจับโค ย่อมจับโดยแม่นยำ ไม่พลาด ถ้าแม้จะจับเสือเหลือง ย่อมจับโดยแม่นยำ ไม่พลาด ถ้าแม้จะจับเหล่าสัตว์เล็กๆ โดยที่สุดกระต่ายและแมว ย่อมจับโดยแม่นยำ ไม่พลาด ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสีหมฤคราชนั้นคิดว่า ทางหากินของเราอย่าพินาศเสียเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า สีหะ นั้นแล เป็นชื่อแห่ง ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ที่ตถาคตแสดงธรรมแก่บริษัท นี้แล เป็นสีหนาทของตถาคต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ตถาคตจะแสดงธรรม แก่ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมแสดงโดยเคารพ ไม่แสดงโดยไม่เคารพ ถ้าแม้จะแสดงธรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ย่อมแสดงโดยเคารพ ไม่แสดงโดยไม่เคารพ ถ้าแม้จะแสดงธรรมแก่อุบาสกทั้งหลาย ย่อมแสดงโดยเคารพ ไม่แสดงโดยไม่เคารพ ถ้าแม้จะแสดงธรรมแก่อุบาสิกาทั้งหลาย ย่อมแสดงโดยเคารพ ไม่แสดงโดยไม่เคารพ ถ้าแม้จะแสดงธรรมแก่ปุถุชนทั้งหลาย ย่อมแสดงโดยเคารพ ไม่แสดงโดยไม่เคารพ โดยที่สุด แม้แก่คนขอทาน และพรานนก ย่อมแสดงโดยเคารพ ไม่แสดงโดยไม่เคารพ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะตถาคต เป็นผู้หนักในธรรม เคารพในธรรม.

จบสีหสูตรที่ ๙

อรรถกถาสีหสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในสีหสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สกฺกจฺจญฺเว ปหารํ เทติ โน อสกฺกจฺจํ ความว่า ให้ไม่ผิดพลาด โดยไม่ดูแคลน คือ มิใช่ให้พลาดโดยดูแคลน. บทว่า มา เม โยคฺคปโถ นสฺส ความว่า ฝีมือจับสัตว์ที่เราชำนาญแล้ว ของเราจงอย่าเสื่อม


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 227

เสียไป. อธิบายว่า คนทั้งหลายจงอย่ากล่าวอย่างนี้ว่า สีหมฤคราชตัวหนึ่ง เมื่อลุกขึ้นตะปบแมว ก็ตะปบพลาดไปดังนี้. ในบทว่า อนฺนภารเนสาทานํ นี้ ข้าวเหนียวเรียกกันว่า อนฺน (ข้าว) ข้าวเหนียวนั้น เป็นของจำเป็นสำหรับคนเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น คนเหล่านั้น จึงชื่อว่า อนฺนภารา (มีข้าว เป็นของจำเป็น) คำนั่นเป็นชื่อ ของคนขอทาน. นายพรานนก เขาเรียกว่า เนสาท ตถาคตทรงแสดงอย่างตระหนัก แม้แก่คนขอทาน หรือนายพรานนกเหล่านั้น โดยที่สุดอันมีภายหลังคนทั้งหมด ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถา สีหสูตรที่ ๙