ความโหยหา อาวรณ์
โดย oom  18 ม.ค. 2551
หัวข้อหมายเลข 7039

การที่เราปฏิบัติธรรมแล้ว บางครั้งเราก็ยังต้องการลาภ ยศ สรรเสริญ จนทำให้ใจเป็นทุกข์บ้าง ในบางครั้ง ซึ่งจริงๆ แล้วผู้ปฏิบัติธรรมส่วนใหญ่ก็มุ่งหวังความหลุดพ้น คือการชำระตัวตน เอากิเลสในจิตใจออก แต่ทำยากจัง บางครั้งก็ได้ บางครั้งก็ไม่ได้ ยังอยากมี อยากเป็น เราควรจะปฏิบัติอย่างไรใน ๓ ข้อ นี้

๑. ต้องฟังธรรมให้เข้าใจ

๒. ต้องเจริญปัญญามากๆ

๓. ต้องมีสติระลึกรู้ตามความเป็นจริง



ความคิดเห็น 1    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 18 ม.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ให้รู้ตามความจริงว่า ปัญญาขั้นการฟัง ไม่ได้ทำอะไรกิเลสที่สะสมมาเนิ่นนานได้เลยครับ แต่เพียงค่อยๆ รู้ตามความเป็นจริงมากขึ้นว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เราแม้อกุศลที่เกิดขึ้น แม้ในขั้นการฟังที่เข้าใจว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ความพอใจมีจริง ความปรารถนาต้องการมีจริง อบรมปัญญาไม่ใช่เพื่อไปละกิเลสเหล่านี้ เพราะไม่เป็นไปตามลำดับ แต่เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ว่าสภาพธรรมใดว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา

เราควรจะปฏิบัติอย่างไรใน ๓ ข้อ นี้

๑. ต้องฟังธรรมให้เข้าใจ

๒. ต้องเจริญปัญญามากๆ

๓. ต้องมีสติระลึกรู้ตามความเป็นจริง

ต้องฟังธรรมให้เข้าใจ

ต้องไม่ลืมว่าทุกอย่างเป็นธรรมไม่ใช่เรา เป็นอนัตตา ไม่ได้อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา ทุกคนอยากเข้าใจแต่เป็นอนัตตา ไม่ถูกความอยากเข้ามาที่จะอยากเข้าใจ แต่ให้มั่นคงว่าเป็นหน้าที่ของธรรมที่ทำหน้าที่เข้าใจ ไม่มีตัวเราไป จัดการกฎเกณฑ์ให้เข้าใจ เมื่อฟังแล้วเข้าใจ ก็ค่อยๆ เข้าใจ ถ้าไม่เข้าใจก็คือไม่เข้าใจ ทำอย่างไรได้ เพราะเป็นอนัตตาและก็เป็นธรรมทั้งนั้น ทั้งเข้าใจและไม่เข้าใจครับ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ควรเข้าใจก็คือ เข้าใจว่าทุกอย่างเป็นธรรมไม่ใช่เรา ในขั้นการฟัง เข้าใจว่าธรรมคืออะไรก่อน แต่ไม่ต้องห่วงว่าจะทำอย่างไร ให้เข้าใจเพราะเป็นหน้าที่ของธรรมที่จะค่อยๆ ปรุงแต่งให้เข้าใจครับ

ต้องเจริญปัญญามากๆ

เช่นเดียวกันครับ เป็นหน้าที่ของธรรม แน่นอนครับ ปัญญานั้นเองที่เป็นสภาพธรรมที่ทำให้รู้ตามความเป็นจริง แต่ปัญญาเจริญช้าและค่อยๆ อบรมไป จึงไม่ห่วง เมื่อเข้าใจ (ปัญญา) ขณะที่ฟังก็กำลังจับด้ามมีดสึกไปทีละน้อย จนวันหนึ่งปัญญาก็มากขึ้นตามลำดับ แต่เป็นจิรกาลภาวนา คืออบรมยาวนาน จนกว่าปัญญาจะมาก ไม่ละทิ้งการฟังพระธรรมนั่นเอง

ต้องมีสติระลึกรู้ตามความเป็นจริง?

สติเป็นอนัตตา มีเหตุปัจจัยจึงจะเกิดขึ้น หากความเข้าใจขั้นการฟังยังไม่มั่นคง สติปัฏฐานก็ไม่เกิด เมื่อเราเข้าใจความเป็นอนัตตา ก็ย่อมเข้าใจว่า สติจะเกิดหรือไม่เกิด ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของเรา เป็นหน้าที่ของธรรม หนทางเดียวที่จะเป็นปัจจัยให้สติเกิด คือเข้าใจขั้นการฟังว่าธรรมมีอยู่ในขณะนี้ ปัญญาก็รู้ความจริงในขณะนี้ สติไม่เลือกสถานที่ ไม่เลือกเวลา เป็นอนัตตา มีเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้น อาศัยการฟังบ่อยๆ ในเรื่องของสภาพธรรม จึงเป็นปัจจัยให้สติเกิด โดยไม่มีคำว่าต้องหรือทำให้สติเกิด เพราะทุกอย่างเป็นธรรมและอนัตตาทั้งนั้น ต้องอาศัยเหตุปัจจัยจึงจะเกิดขึ้นครับ ฟังต่อไปนะ

ขออนุโมทนาครับ

ขอุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


ความคิดเห็น 2    โดย วันชัย๒๕๐๔  วันที่ 18 ม.ค. 2551

ไม่ได้ "มุ่ง" และ ไม่ได้ "หวัง" แต่"ฟัง" พระธรรมบ่อยๆ เนืองๆ อันจะเป็นปัจจัยให้สติเกิดระลึกในสภาวธรรมที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน มากบ้าง น้อยบ้าง ตามการสะสม

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 3    โดย wannee.s  วันที่ 19 ม.ค. 2551

เชิญคลิกฟังที่นี่ค่ะ

ปุถุชนมีโลภให้ล่วงอกุศลกรรมได้


ความคิดเห็น 4    โดย แช่มชื่น  วันที่ 19 ม.ค. 2551

เราควรจะปฏิบัติตามข้อ ๑ ก่อนครับ แต่ถ้าไม่ใช้คำว่า "ต้อง" จะทำให้รู้สึกสบายใจกว่า นะครับ เพราะพระธรรมไม่ใช่เรื่องเครียดเลย ซึ่งถ้าหากเราจะใช้คำว่า "ควรฟังธรรมให้เข้าใจ" จะช่วยให้เราฟังธรรมโดยที่ไม่บีบรัดตัวเองมากเกินไป การที่สนใจฟังธรรม เราคงไม่ได้ฟังธรรมเพื่อหวังผลอะไรเหมือนกับการฟังสิ่งอื่นๆ ที่เราชอบและติดข้องและก็คงไม่ได้ฟังเพื่ออยากให้กุศลเกิดด้วย แต่เราฟังเพียงเพื่อให้รู้ ให้เข้าใจในสิ่งที่เป็น ความจริงแท้ๆ ที่ใครก็บอกเราไม่ได้ นอกจากพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียว โดยที่ภายหลัง เมื่อได้ฟังแล้วพิจารณาตามสิ่งที่ได้ฟังอย่างเป็นเหตุเป็นผล ก็จะเป็นปัจจัยให้เกิดความเข้าใจต่อตนเองตามความเป็นจริงมากขึ้นว่า แม้แต่การที่มีความพอใจในการฟังธรรมมากขึ้นนั้น ก็ไม่ได้ฝืนอัธยาศัยเลย และแม้แต่ความต้องการในโลกธรรมฝ่ายดีที่เกิดนั้น ก็ไม่ใช่เรา เป็นธรรมะที่เกิดขึ้นเพราะมีกิเลสที่ยังไม่ได้ดับ ซึ่งนอนเนื่องอยู่ในจิตที่เกิดดับทุกดวง พระธรรมจะช่วยให้รู้กำลังปัญญาของเราเอง ว่าปัญญาที่สะสมมา เข้าใจได้แค่ไหนและวันหนึ่งๆ มีปัจจัยให้ได้ยินได้ฟังธรรมมากเท่าไร ถ้าย้อนกลับไปเทียบกับชีวิตในวัยเด็ก วัยรุ่น วัย ทำงาน เสียงใดมากกว่ากัน เมื่อเทียบกับเสียงอื่นๆ ที่ไม่ใช่เสียงธรรม ยังไม่นับชาติก่อนๆ อีกนะครับ ว่าจะได้ยินได้ฟังธรรมหรือไม่ เพราะฉะนั้น ผลก็ต้องไปตามเหตุครับ ถ้าเป็นผู้ตรงมากขึ้น ก็จะรู้ว่า ผลที่ ต้องการจะไม่เกิดถ้ายังมีเหตุไม่พอ และก็เกิดตามที่ต้องการไม่ได้ ถึงจะต้องการเท่าไร ก็ไม่มีประโยชน์เพราะจิตเป็นอกุศล ฉะนั้น เมื่อรู้จักอกุศลยิ่งขึ้น แทนที่จะให้เป็นอกุศล เพราะความต้องการติดต่อกันไป ถ้ามีปัจจัยพอ สติก็เกิดระลึกในสภาพธรรมะทันที การฟังธรรมมีอุปการะมาก แม้พระอรหันต์ทั้งหลายท่านยังฟังธรรม แสดงธรรมครับ

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 5    โดย devout  วันที่ 19 ม.ค. 2551

ไม่มุ่งหวังเกินเหตุ

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 6    โดย pornpaon  วันที่ 19 ม.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

ยังต้องทำงานเลี้ยงชีพ ก็คงต้องมีหวังอยากได้โน่นนี่บ้างเป็นธรรมดาค่ะ


ความคิดเห็น 7    โดย tanakase  วันที่ 20 ม.ค. 2551

ควรจะมีชีวิตอยู่ด้วยปัญญา ดีกว่าค่ะ เพราะถ้าความหวังบางครั้งถ้าผิดหวัง ปุถุชนเช่นเราก็คงจะเสียใจค่ะ


ความคิดเห็น 8    โดย oom  วันที่ 21 ม.ค. 2551

ปัจจุบันก็ฟังธรรมตลอดเวลาที่ว่าง โดยเฉพาะเทปธรรมะของ อ.สุจินต์ เรื่องบารมีในชีวิตประจำวัน ฟังแล้วฟังอีก เพราะได้ข้อคิดที่จะเอาไปใช้ในชีวิตการทำงานอย่างมาก ตอนฟังก็เข้าใจดี แต่พอนานๆ ไปก็เริ่มหลงลืมอีก มันก็คงเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งที่ไม่สามารถบังคับให้อยู่กับเราไปได้ตลอด ถึงเวลาก็เสื่อมทำให้หลงลืม ก็ต้องฟังกันต่อไป จริงๆ แล้วถ้าเราฟังจนเข้าใจและเกิดปัญญา จะยังมีการหลงลืมได้อีกหรือไม่


ความคิดเห็น 9    โดย study  วันที่ 21 ม.ค. 2551
ถ้าเข้าใจ เข้าถึงจริงๆ ย่อมไม่หลงลืมครับ

ความคิดเห็น 10    โดย dron  วันที่ 22 ม.ค. 2551

ถ้าเป็นพระโสดาบันเมื่อไรก็ย่อมไม่หลงลืมครับ (ไม่เข้าใจสภาพธรรมมะผิดจากความ เป็นจริง) ปุถุชนย่อมหลงลืมเป็นธรรมดาครับ หนทางนี้เป็นหนทางเดียวคือฟัง พระธรรมให้เข้าใจ

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 11    โดย oom  วันที่ 22 ม.ค. 2551

ขอบพระคุณทุกท่านมากค่ะ ที่ให้ธรรมะที่เป็นประโยชน์สำหรับดิฉันอย่างมาก


ความคิดเห็น 12    โดย ajarnkruo  วันที่ 22 ม.ค. 2551

ขณะที่หลงลืมคือ ขณะที่เป็นอกุศลจิต ขณะที่หลงลืมสำหรับปุถุชนที่ยังไม่ได้ดับความเห็นผิด โดยมากเป็นขณะที่ไม่รู้สภาพธรรมตามเป็นจริง พระอรหันต์ท่านเป็นผู้ที่มีสติเกิดระลึกมากที่สุด เพราะดับโลภะและโมหะจนหมดไม่เหลือ แต่ว่าพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี ยังมีอนุสัยกิเลสที่ยังไม่ได้ดับ ขณะที่จิตเป็นอกุศลก็ยังมีการหลงลืมสติ แต่ไม่มีความเห็นผิดเกิดขึ้นกับอกุศลจิตนั้น ซึ่งจะหลงลืมมากหรือน้อยก็ ต่างกันตามขั้นของคุณธรรม ผู้ที่มีอกุศลมาก ก็ย่อมจะหลงลืมสติมากเป็นธรรมดา เหตุนี้ จึงต้องมั่นคงว่าขณะที่หลงลืมสติ และขณะที่ฟังธรรมแล้วเข้าใจ เป็นจิตคนละขณะและจิตทั้งสองขณะล้วนเป็นธรรมะ ไม่ใช่เรา ครับ


ความคิดเห็น 13    โดย pornpaon  วันที่ 22 ม.ค. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ

ความคิดเห็น 14    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 22 ม.ค. 2551

เชิญคลิกฟังที่นี่ครับ.....

อย่างไหนคือหลงลืมสติ


ความคิดเห็น 15    โดย Guest  วันที่ 6 ก.พ. 2551

ขออนุโมทนาในการแสวงหาธรรมะของคุณ


ความคิดเห็น 16    โดย chatchai.k  วันที่ 10 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ