มังคลัตถทีปนีแปล เล่ม ๒ - หน้าที่ 105
วจีกรรม [มุสาวาท]
[๒๐๙] วจีประโยค หรือ กายประโยคอันหักรานประโยชน์ของผู้มุ่งกล่าวให้คลาดเคลื่อนเป็นเบื้องหน้า ชื่อว่า มุสา ในคำเหล่านั้น คำว่า อันหักรานประโยชน์ ท่านกล่าวเพื่อแสดง มุสาวาทที่ถึงความเป็นกรรมบถ. ท่านแสดงความที่สุสาศัพท์เป็นประธานแห่งกิริยา ด้วยศัพท์มีวจีประโยคศัพท์เป็นต้น. เจตนาของเขา อันยังกายประโยค และ วจีประโยค ซึ่งเป็นเครื่องกล่าวให้คลาดเคลื่อนต่อผู้อื่นให้ตั้งขึ้นด้วยประสงค์จะกล่าวให้คลาดเคลื่อน ชื่อว่า มุสาวาท เพราะวิเคราะห์ว่า "บุคคลย่อมกล่าวมุสา อันเป็นประโยคตามที่กล่าวแล้ว คือ ให้ผู้อื่นรู้แจ้งมุสา (นั้น) หรือ ยังมุสา (นั้น) ให้ตั้งขึ้นด้วยเจตนานั่น" ก็แลความประสงค์ในอันกล่าวให้คลาดเคลื่อน ย่อมได้ ทั้งในขณะเบื้องต้น (คือก่อนแต่จะพูด) ทั้งในขณะนั้น (คือกำลังพูด) จริงอยู่ พระอุบาลีเถระ กล่าวคำนี้ไว้ว่า "ก่อนแต่จะพูด ภิกษุย่อมมีความรู้ตัวว่า 'เราจะพูดมุสา' เมื่อกำลังพูด ย่อมมีความรู้ตัวว่า 'เราพูดมุสาอยู่ ดังนี้ ความรู้ตัวทั้ง ๒ นั่นแล เป็นองค์ ส่วนนอกนี้จะมีก็ตาม ไม่มีก็ตาม' ข้อนั้นไม่เป็นเหตุ
[๒๑๐] อีกนัยหนึ่ง เรื่องอันไม่จริงไม่แท้ ชื่อว่ามุสา การยังผู้อื่นให้ทราบเรื่องนั้น โดยความเป็นเรื่องจริงเรื่องแท้ ชื่อว่า วาทะ ก็เจตนาที่ยังวิญญัติ (การเปล่งถ้อยคำ) อย่างนั้น ให้ตั้งขึ้น ของบุคคล ผู้ประสงค์จะยังผู้อื่นให้ทราบเรื่องอันไม่จริง โดยความเป็นเรื่องจริง ชื่อว่า มุสาวาท เพราะวิเคราะห์ ว่า "คำเท็จ อันบุคคลย่อมกล่าว คือ ย่อมพูดด้วยเจตนานั่น" ก็ในอธิการแห่งมุสาวาทนั้น พึงเห็นสันนิษฐาน ว่า "ท่านกล่าวนัยที่ ๒ ไว้ เพื่อแสดงลักษณะนั้น ให้บริบูรณ์ เพราะ ลักษณะมุสาวาทในนัยก่อนยังไม่แจ่มแจ้งพอ และ เพราะมีความที่ มุสาศัพท์ เป็นศัพท์บอกความที่จะพึงกล่าวให้คลาดเคลื่อน"
[โทษของมุสาวาท]
มุสาวาทนั้น ชื่อว่า มีโทษน้อย เพราะประโยชน์ ที่ มุสาวาทีบุคคล หักรานน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะประโยชน์ ที่มุสาวาทีบุคคล หักรานมาก อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะผู้ที่มุสาวาทีบุคคลหักรานประโยชน์นั้น มีคุณน้อย ชื่อว่ามีโทษมากเพราะผู้นั้นมีคุณมาก ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะกิเลสอ่อน ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะกิเลสแรงกล้า
มังคลัตถทีปนีแปล เล่ม ๒ - หน้าที่ 107
[๒๑๑] อีกนัยหนึ่ง สำหรับพวกคฤหัสถ์ มุสาวาทที่เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า "ไม่มี" เพราะไม่ประสงค์จะให้ของๆ ตน ชื่อว่ามีโทษน้อย, มุสาวาทที่มุสาวาทีบุคคลเป็นพยาน กล่าวเพื่อหักรานประโยชน์ ชื่อว่ามีโทษมาก. สำหรับพวกบรรพชิต มุสาวาททีเป็นไปโดยปูรณกถานัย เป็นต้นว่า "วันนี้น้ำมันในบ้านไหลไปดุจแม้น้ำ" เพราะได้น้ำมันหรือเนยใสแม้นิดหน่อยแล้ว ประสงค์จะให้หัวเราะกัน ชื่อว่ามีโทษน้อย, แต่มุสาวาทของพวกเธอ ผู้กล่าวสิ่งที่ตนมิได้เห็นนั่นแล โดยนัยเป็นต้นว่า "ข้าพเจ้าเห็น" ชื่อว่ามีโทษมาก. กถาที่เป็นไปด้วยสามารถการทำเรื่องที่ยังพร่องเพราะ น้อยให้เต็ม ชื่อว่าปูรณกถา. วจีเภทที่เป็นไปด้วยไม่ประสงค์จะให้ของๆ ตนก็ดี ด้วยปูรณกถานัยก็ดี ชื่อว่ามุสาวาท ของมุสาวาทีบุคคลผู้มุ่งกล่าวให้คลาดเคลื่อนเป็นเบื้องหน้า ก็จริง, ถึงอย่างนั้นเจตนาในมุสาวาทนั้น ย่อมไม่มีกำลัง เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่ามีโทษน้อย.
มุสาวาทนั้น มีองค์ ๔ คือ เรื่องไม่จริง ๑ จิตคิดจะกล่าวให้คลาดเคลื่อน ๑ ความพยายามเกิดจากจิตนั้น ๑ ผู้อื่นรู้เรื่องนั้น ๑. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตชฺโช คือสมควรแก่จิตนั้น,อธิบายว่า สมควรแก่การกล่าวให้คลาดเคลื่อน. ด้วยบทว่า วายาโมท่านกล่าว (มุ่ง) ถึงประโยค ด้วยยกวายามะเป็นประธาน. ท่านกล่าวว่าผู้อื่นรู้เรื่องนั้น เป็นองค์อันหนึ่ง เพราะแม้เมื่อมุสาวาทีบุคคล ทำความพยายามด้วยประสงค์ในอันกล่าวให้คลาดเคลื่อน, แต่เมื่อผู้อื่นไม่รู้เรื่องนั้น การกล่าวให้คลาดเคลื่อนก็ไม่สำเร็จ. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า "มุสวาทมีองค์ ๓ คือ คำไม่จริง ๑ จิตคิดจะกล่าวให้คลาดเคลื่อน ๑ ผู้อื่นรู้เรื่องนั้น ๑.
สาธุ
อนุโมทนาค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น