เคารพยำเกรง สังเวชนียสถาน เหมือนบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า
โดย pirmsombat  9 ก.พ. 2551
หัวข้อหมายเลข 7295

จริงอยู่ เมื่อพระตถาคตอุบัติขึ้นแล้วเทวดาและมนุษย์ผู้มีศักดิ์ใหญ่เหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่เทวดาและมนุษย์เหล่านั้น หาได้ทำความยำเกรงในที่อื่นไม่ทั้งไม่ยอมบูชาสิ่งอื่นใด จริงอย่างนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม บูชาพระตถาคตด้วยพวงรัตนะเท่าภูเขาสิเนรุเทพเจ้าและมนุษย์เหล่าอื่น มีพระเจ้าพิมพิสารพระเจ้าโกศล และอนาถบิณฑิกะเป็นต้นก็บูชาพระตถาคตเจ้าตามกำลังพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงสละพระราชทรัพย์ถึง ๙๖ โกฏิให้ทรงสร้างพระวิหาร ๘๔,๐๐๐ แห่ง ทั่วชมพูทวีปอุทิศซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานแล้วก็จะป่วยกล่าวไปไยถึงชนเหล่าอื่นที่ทำความยำเกรงอีกประการหนึ่งการกระทำความยำเกรงและการเคารพย่อมเป็นไปเจาะจงต่อสถานที่ประสูติ สถาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 28

ที่ตรัสรู้ สถานที่แสดงธรรมจักร และสถานที่ปรินิพพานหรือปฏิมากรรมและเจติยสถานเป็นต้น ของพระกัสสปพุทธเจ้าแม้ปรินิพพานแล้ว เหมือนกับการทำการบูชาแสดงทำความเคารพเจาะจงต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า รัตนะที่จะเสนอด้วยพระตถาคตจึงไม่มีแม้เพราะอรรถว่าอันบุคคลทำการบูชาอย่างนี้.



ความคิดเห็น 2    โดย Nareopak  วันที่ 10 ก.พ. 2551

" สมัยเมื่อพระผู้มีพระภาคประทับสีหไสยาสน์ที่แท่นพระบรรทมระหว่างต้นสาระคู่ ซึ่งผลิดอกนอกฤดูกาลบานสะพรั่งเต็มต้น ร่วงหล่นโปรยปรายตกต้องพระพุทธสรีระ ถวายบูชา พระพุทธองค์ได้ตรัสบอกสังเวชนียสถาน ๔ แห่งแก่พระอานนท์ว่า

ผู้มีศรัทธาควรไปดู คือ สถานที่ตถาคตประสูติ ๑

สถานที่ตถาคตตรัสรู้อนุตรสัมมาโพธิญาณ ๑

สถานที่ตถาคตหมุนเคลื่อนกงล้อธรรมออกไป ๑

สถานที่ตถาคตเสด็จดับขันธปรินิพพาน ๑

และตรัสสรุปว่า เหล่าชนที่จารึกไปเจดียสถานมีจิตใจเลื่อมใส ตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์"

ขอถามท่านผู้รู้ว่า ถ้าหากเรามีจิตเลื่อมใสเมื่อเวลาที่ไปยังสังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่งเราได้น้อมจิตถึงพระพุทธองค์และมีความปิติยินดี (โดยที่ไม่ได้นึกถึงว่าตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ จะถือได้ว่ามีปัญญาพิจารณาด้วยเหตุและผลแล้วหรือไม่อย่างไรค่ะ


ความคิดเห็น 3    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 10 ก.พ. 2551

กุศลมีทั้งที่ประกอบด้วยปัญญาและไม่ประกอบด้วยปัญญา แต่เมื่อเป็นกุศลแล้วย่อม ให้ผลในทางที่ดี และย่อมสามารถทำให้เกิดในสุคติโลกสวรรค์ก็ได้ แม้จะเป็นกุศลที่ ไม่ประกอบด้วยปัญญาถ้ากุศลนั้นให้ผล ซึ่งก็แล้วแต่เหตุปัจจัยอันสมควรแก่ผล


ความคิดเห็น 4    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 10 ก.พ. 2551

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ -หน้าที่ 355

๙. เรื่องพระจดีย์ทองของพระกัสสปทสพล [๑๕๖]

ข้อความเบื้องต้น

พระบรมศาสดาเมื่อเสด็จจาริกไป ทรงปรารภพระเจดีย์ทองของ พระกัสสปทสพล จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ปูชารเห " เป็นต้น. ความพิสดารว่า พระตถาคตเจ้ามีพระสงฆ์หมู่ใหญ่เป็นพุทธบริวาร เสด็จออกจากเมืองสาวัตถีแล้วเสด็จไปเมืองพาราณสีโดยลำดับ เสด็จถึง เทวสถานแห่งหนึ่ง ในที่ใกล้บ้านโตไทยคาม ในระหว่างทาง. พระสุคตเจ้าได้ประทับใกล้เทวสถานนั้น ทรงส่งพระธรรมภัณฑาคาริก (คือพระ- อานนท์ผู้เป็นขุนคลังแห่งพระธรรม) ให้บอกพราหมณ์ซึ่งกำลังทำกสิกรรม อยู่ในที่ไม่ไกลมาเฝ้า. พราหมณ์นั้นมาแล้วไม่ถวายอภิวาทแด่พระตถาคต แต่ไหว้เทวสถานนั้นอย่างเดียว แล้วยืนอยู่.

แม้พระสุคตเจ้าก็ตรัสว่า " ดูก่อนพราหมณ์ ท่านสำคัญประเทศนี้ว่าเป็นที่อะไร? " พราหมณ์จึง กราบทูลว่า " ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าไหว้ด้วยตั้งใจว่า ที่นี้เป็น เจติยสถานตามประเพณีของพวกข้าพเจ้า. " พระสุคตเจ้าจึงให้พราหมณ์นั้น ซื่นชมยินดีว่า " ดูก่อนพราหมณ์ ท่านไหว้สถานที่นี้ ได้ทำกรรมที่ดีแล้ว." ภิกษุทั้งหลายได้สดับพระพุทธดำรัสนั้นแล้วจึงเกิดสงสัยขึ้นว่า " พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงให้พราหมณ์ชื่นชมยินดีอย่างนี้ ด้วยเหตุอะไรหนอ."

ลำดับนั้น พระตถาคตเจ้า เพื่อทรงปลดเปลื้องความสงสัยของภิกษุเหล่านั้น จึงตรัสเทศนา ฆฏิการสูตร ในมัชฌิมนิกาย แล้วทรงนิรมิตพระเจดีย์ทอง ของพระกัสสปทศพล สูงหนึ่งโยชน์ และพระเจดีย์ทองอีกหนึ่งองค์ไว้ใน อากาศ ทรงแสดงให้มหาชนเห็นแล้วตรัสว่า " ดูก่อนพราหมณ์ การบูชา ซึ่งบุคคลควรบูชาชนิดเช่นนี้ ย่อมสมควรกว่าแท้ " ดังนี้แล้ว จึงทรง ประกาศปูชารหบุคคล ๔ จำพวก มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น โดยนัยดังที่ตรัส ไว้ในมหาปรินิพพานสูตรนั้นเอง แล้วทรงแสดงโดยพิเศษถึงพระเจดีย์ ๓ ประเภทคือ สรีรเจดีย์ ๑ อุททิสเจดีย์ ๑ ปริโภคเจดีย์ ๑ (ครั้นแล้ว) ได้ ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า.

" ใครๆ ไม่อาจเพื่อจะนับบุญของบุคคลผู้บูชาอยู่ ซึ่งท่านผู้ควรบูชา คือ พระพุทธเจ้า หรือว่าพระสาวก ทั้งหลายด้วย ผู้ก้าวล่วงปปัญจธรรมเครื่องเนิ่นช้าได้ แล้ว ผู้มีความเศร้าโศก และความคร่ำครวญ อันข้าม พ้นแล้ว (หรือว่า) ของบุคคลผู้บูชาอยู่ ซึ่งท่านผู้ควร บูชาเช่นนั้นเหล่านั้น ผู้นิพพานแล้ว ไม่มีภัยแต่ที่ ไหนๆ ด้วยการนับแม้วิธีไรๆ ก็ตาม ว่าบุญนี้มี ประมาณเท่านี้ " ดังนี้.


ความคิดเห็น 7    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 10 ก.พ. 2551

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 178

ข้อคามบางตอนจาก ...

จัณฑาลิวิมาน

เทพธิดานั้น ถูกพระมหาเถระถามอย่างนี้ จึงกล่าวคาถา ๔ คาถาว่า ท่านเจ้าขา ครั้งเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยโลก ดิฉันเป็นหญิงจัณฑาล ถูกท่านผู้เป็นวีรบุรุษส่งไปเพื่อ ถวายบังคมพระบาทของพระพุทธเจ้า ดิฉันได้ถวาย บังคมพระบาทยุคล ของพระโคดมผู้เป็นพระอรหันต์ มีพระเกียรติยศอันงาม ครั้นได้ถวายบังคมพระบาท ยุคลแล้ว จุติจากกำเนิดหญิงจัณฑาลก็เข้าถึงวิมาน อันจำเริญโดยประการทั้งปวง ในเทวอุทยานมีนามว่า นันทนวัน เทพอัปสรประมาณพันหนึ่งพากันมายืนห้อม

... ท่านเจ้าข้า ดิฉันมาในโลกครั้งนี้ ก็เพื่อถวายนมัสการท่านปราชญ์ ผู้ประกอบด้วยความกรุณาเจ้าค่ะ เทพธิดานั้น ครั้น กล่าวถ้อยคำนี้แล้ว เป็นผู้ประกอบด้วยความกตัญญู กตเวที ไหว้เท้าทั้งสองของพระมหาโมคคัลลานเถระ องค์อรหันต์แล้วก็อันตรธานไป ณ ที่นั้นนั่นเอง.

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


ความคิดเห็น 8    โดย วันชัย๒๕๐๔  วันที่ 10 ก.พ. 2551

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 9    โดย ajarnkruo  วันที่ 11 ก.พ. 2551

ผมสงสัยความหมายของ "ปปัญจธรรม" หมายถึง ธรรมะอย่างไรครับ

... อนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 10    โดย Pararawee  วันที่ 11 ก.พ. 2551

อนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 11    โดย Nareopak  วันที่ 11 ก.พ. 2551

" ดูก่อนพราหมณ์ การบูชาซึ่งบุคคลควรบูชาชนิดเช่นนี้ ย่อมสมควรกว่าแท้ "

ขอถามต่อนะคะว่า "การบูชาซึ่งพระธรรมและปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์..จะสมควรกว่าการไปยังสังเวชนียสถานฯหรือไม่อย่างไร"

เหตุที่ยกประเด็นนี้ขึ้นมาถามก็เนื่องจากดิฉันได้วางแผนไว้ว่าจะไปยังสังเวชนียสถานฯ ในปีนี้อีกครั้งหนึ่ง แต่เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมาได้มีโอกาสไปกราบนมัสการพระอริยสงค์ องค์หนึ่งทางภาคอิสาน (ที่เคารพนับถืออย่างยิ่ง) ซึ่งระหว่างที่สนทนาธรรม ใจความตอนหนึ่งมีว่า "พระพุทธเจ้ามีอยู่ในใจของเราทุกคน ไม่ต้องไปถึงอินเดียก็ได้.."

จึงขอเมตตาจากท่านผู้รู้ ช่วยแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ด้วยค่ะ

ขออนุโมทนากับทุกท่านและคุณ แล้วเจอกัน ที่ช่วยทำความเข้าใจให้กระจ่างชัดยิ่งขึ้น


ความคิดเห็น 12    โดย ajarnkruo  วันที่ 11 ก.พ. 2551

กุศลทุกประการควรเจริญ ทุกอย่างเป็นอนัตตา เวลาจริงๆ อาจจะไม่ได้ไปด้วยเหตุบางประการก็ได้ แต่ถ้ามีโอกาสไปอีกโดยไม่เดือดร้อนด้านต่างๆ ... ผมขอแนะนำว่า ... ควรไปครับ มีเหตุผลที่คุณ แล้วเจอกัน เคยโพสต์ไว้ อ่านดีมาก ทำให้ได้คิดว่า ทำไมถึงควรไป แม้ว่าอาจจะได้เคยไปมาแล้ว ลองอ่านดูนะครับ


ความคิดเห็นที่ 5 โดย : แล้วเจอกัน

บางคนกล่าวว่า อยู่เมืองไทย หรือที่ไหนก็ระลึกถึง พระรัตนตรัยได้ แต่บางครั้ง สติจะเกิด (กุศลจะเกิด) เพราะอาศัยการได้เห็นสถานที่ ที่ควรเคารพบูชา คือสัีงเวชนีย-สถาน เป็นสถานที่ที่อัศจรรย์จริงๆ เพราะ

1. เป็นสถานที่ที่บุคคลผู้เลิศที่สุดได้ทรงอุบัติ (ประสูติ)

2. สถานที่ที่บุคคลหนึ่งดับกิเลสไม่มีเหลือเลยด้วยตนเอง ยากแค่ไหน ที่กิเลสมี มากมายมหาศาล แต่ ณ สถานที่ตรงนั้นบุคคลหนึ่งดับกิเลสหมด บริสุทธิ์สิ้น เชิง ที่สำคัญได้เป็นบุคคลที่สูงสุด (เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ต้น โพธิ์) ประกอบด้วยพระญาณ (ปัญญา) เปรียบมิได้ และพระมหากรุณาที่คุณที่ จะช่วยสัตว์โลก

3. สถานที่อีกแห่ง คือ สถานที่ที่มีผู้บรรลุตามพระองค์ ถ้าไม่มีผู้บรรลุตาม คำ สอนของพระองค์ ก็ไม่สามารถที่จะพิสูจน์ได้ว่าดับกิเลสได้จริง แต่สถาน ที่นั้น มีประจักษ์พยานที่สามารถดับกิเลสตามได้ เป็นสถานที่มหัศจรรย์แค่ ไหน

4. สถานที่สุดท้ายคือ ที่พระองค์์ดับขันธปรินิพพาน ซาบซึ้งจริงๆ คิดดูนะ จากที่ เวียนว่ายตายเกิดมาจนนับประมาณไม่ได้ แต่มีบุคคลหนึ่งซึ่งดับกิเลสหมด แล้วและปรินิพพาน ดับขันธ์ไม่เหลือไม่ต้องเกิดอีกเลย ซึ่งความเกิดนำมาซึ่ง ทุกข์ทั้งปวง ดังนั้น ตั้งแต่เป็นพระโพธิสัตว์ ยอมสละชีวิต บุตร ภรรยา ก็เพื่อ ดับความเกิด และช่วยสรรพสัตว์ ณ สถานที่ตรงนี้เอง ที่บุคคลผู้เลิศได้ดับ ขันธปรินิพพาน ไม่ต้องเกิดอีกเลย เป็นสถานที่ที่อัศจรรย์จริงๆ

เกร็ดเล็กน้อยกับสังเวชนียสถาน

1. ทั้งสถานที่ทั้ง 4 แผ่นดินไหวได้เกิดขึ้น เมื่อเหตุการณ์แต่ละแห่งเกิดขึ้น

2. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ไม่ทรงละ

2.1 ที่ตรัสรู้ (โพธิบัลลังค์) พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ตรัสรู้ ณ จุดเดียวกันเสมอ

2.2 ที่แสดงพระธรรมจักร คือ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ประกาศธรรมจักรที่เดียวกันจุดนั้น

2.3 สถานที่วางแท่นปรินิพพานที่ต้นสาละคู่ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ไม่ทรงละ ที่ตรงนั้น ที่เดิมเสมอ

3. จุดที่โพธิบัลลังค์ ไม่มีใครสามารถจะบินหรือเหาะ ข้ามจุดนั้นไปได้ เพราะ เป็นสถานที่อันประเสริฐ ถ้าจะบิน เหาะ ข้ามไปก็ไม่ใช่จุดที่เป็นโพธิบัลลังค์

4. เป็นเครื่องให้ระลึก สังเวชว่า แม้เราก็ต้องเกิด และตายแม้พระพุทธองค์ก็ ทรงต้องเกิด และปรินิพพาน ควรตั้งใจศึกษาธรรม 5. เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส

จากที่กล่าวมา คงไม่ต้องบอกว่าควรไปหรือไม่ควรไป เพราะนี่คือสถานที่ที่ประเสริฐที่สุดในจักรวาล พิมพ์ไปก็ซาบซึ้งมากครับ

สรุปแล้ว เอาเป็นว่า ... ควรไปครับ แต่ก่อนไปทุกครั้ง อย่าลืมถามตัวเองเสมอว่า "ไปหาอะไร"ที่นั่นด้วยนะครับ

... อนุโมทนาถ้าได้ไปเจริญกุศลล่วงหน้าครับ


ความคิดเห็น 13    โดย wannee.s  วันที่ 11 ก.พ. 2551

ปปัญจธรรม หมายถึง ธรรมะเครื่องเนิ่นช้า ได้แก่ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ เช่น ฟังธรรมะ อยากได้ผลเร็วๆ ก็เลยไปหาวิธิอื่นค่ะ


ความคิดเห็น 14    โดย Nareopak  วันที่ 13 ก.พ. 2551

อ่านแล้วซาบซึ้งจริงๆ ค่ะ หากไม่มีปัญหาอุปสรรคใดๆ ก็คงได้ไปแน่นอน ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 15    โดย saifon.p  วันที่ 15 ก.พ. 2551

การได้ไปกราบสังเวชนียสถาน ควรระลึกเสมอว่า สถานที่เหล่านี้

เต็มไปด้วยรอยเท้าของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายเราควรนอบน้อมทั้งกาย วาจา และใจ ต่อไปนี้จะเตือนตัวเอง "ไม่สวมถุงน่อง ถุงเท้า เดินเท้าเปล่า ไม่เสียงดัง นึกถึงพระคุณ "

ขออนุโมทนาทุกความเห็นค่ะ


ความคิดเห็น 16    โดย pornpaon  วันที่ 16 ก.พ. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ

ความคิดเห็น 17    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 21 ก.พ. 2551

อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ 15 โดย saifon.p

การได้ไปกราบสังเวชนียสถาน ควรระลึกเสมอว่า สถานที่เหล่านี้

เต็มไปด้วยรอยเท้าของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายเราควรนอบน้อมทั้งกาย วาจา และใจ ต่อไปนี้จะเตือนตัวเอง "ไม่สวมถุงน่อง ถุงเท้า เดินเท้าเปล่า ไม่เสียงดัง นึกถึงพระคุณ "

ขออนุโมทนาทุกความเห็นค่ะ


ขออนุโมทนา "ไม่สวมถุงน่อง ถุงเท้า เดินเท้าเปล่า ไม่เสียงดัง นึกถึงพระคุณ "