การเจริญสมถภาวนาจิตสงบจนถึงอัปปนาฌาน เป็นเรื่องใหญ่ และยากมาก แม้ในสมัยครั้งพุทธกาล ผู้ที่จะอบรมจนบรรลุฌานเป็นสิ่งกระทำได้แสนยาก คือ ขั้นต้นจะต้องเป็นผู้ที่มีปัญญา และอบรมตามลำดับของการเจริญสมถภาวนาที่กล่าวไว้ในวิสุทธิมรรค ตั้งแต่การละปลิโพธ การหาอาจารย์ที่มีปัญญา หาอาวาสที่เหมาะสม รู้จักอารมณ์ที่เหมาะกับจริต รู้วิธีการบริกรรมเพื่อให้จิตแนบแน่น รู้จักองค์ของฌาน เป็นต้น มิจฉาสมาธิเป็นสมาธิที่เกิดร่วมกับอกุศลจิต สัมมาสมาธิเป็นสมาธิที่เกิดร่วมกับกุศล
ท่านอาจารย์สุจินต์ เคยกล่าวไว้ว่า เรื่องของสมถภาวนากับวิปัสสนาภาวนา เป็นเรื่องของสัมมามรรค สัมมาสติ สัมมาสมาธิ แต่ถ้าเป็นเรื่องของสมาธิ ไม่ใช่แต่เฉพาะพุทธศาสนา ที่ไหนก็มี ทั่วโลกมีสมาธิ แต่เป็น มิจฉาสมาธิ โดยไม่รู้ว่าเป็นมิจฉาสมาธิ
เวลาที่จะนั่ง รู้จักกิเลสหรือเปล่า หรือนั่งด้วยกิเลส กิเลสทำให้นั่ง เพราะอยากนั่ง เพราะชอบนั่ง เพราะคิดว่านั่งแล้วสบาย หรือนั่งแล้วจิตใจไม่นึกถึงเรื่องอื่น ก็เป็นเรื่องของกิเลสทั้งนั้น แล้วไม่รู้ด้วยว่าทำไปเพราะกิเลสนั่นเอง
กราบขอบพระคุณและอนุโมทนาสิ่งดีๆ ให้เผื่อแผ่ครับ
ขออนุโมทนาครับ
ขอเชิญอ่านเพิ่มเติม จาก ...
คำบรรยายของ ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
ปลิโพธ เป็นความห่วงใย เป็นความกังวล
ขอต่อไปถึงเรื่องของปลิโพธ ซึ่งคำว่า ปลิโพธ เป็นความห่วงใย เป็นความกังวล ผู้ที่ยังไม่หมดกิเลส ก็ย่อมมีความกังวล ย่อมมีความห่วงใย เป็นของที่แน่นอนที่สุด ไม่ว่าคฤหัสถ์หรือบรรพชิต เพราะเหตุว่าเรื่องของปลิโพธ มีกล่าวไว้โดยละเอียดใน วิสุทธิมรรค สมาธินิทเทส วิสุทธิมรรค มี ๓ ภาค คือ ศีลนิทเทส สมาธินิทเทส ปัญญานิทเทส