ท่านอาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ประธานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา พร้อมคณะวิทยากร
ได้เดินทางมาร่วมสนทนาธรรมที่บ้านธัมมะ เชียงใหม่ ในระหว่างวันที่ ๑๖-๑๗-๑๘ มกราคม ๒๕๕๐ การสนทนาธรรมครั้งนี้ผ่านไปด้วยความเรียบร้อย ขออนุโมทนาทุกท่านที่มาร่วมการสนทนาและ ทุกท่านที่มีส่วนช่วยให้การสนทนาธรรมครั้งนี้เกิดขึ้นได้
โดยเฉพาะท่านอาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และ วิทยากรทุกท่าน
จะทะยอยนำไฟล์การสนทนาครั้งนี้ให้ท่านรับฟังต่อไปนะครับ ความยาวประมาณ 10 ชั่วโมง แบ่งเป็นตอนละ 12 นาที
ขอเชิญรับฟัง ..
บ้านธัมมะ มค ๒๕๕๐_๐๑
บ้านธัมมะ มค ๒๕๕๐_๐๒
บ้านธัมมะ มค ๒๕๕๐_๐๓
บ้านธัมมะ มค ๒๕๕๐_๐๔
บ้านธัมมะ มค ๒๕๕๐_๐๕
บ้านธัมมะ มค ๒๕๕๐_๐๖
บ้านธัมมะ มค ๒๕๕๐_๐๗
บ้านธัมมะ มค ๒๕๕๐_๐๘
ยังมีต่อนะครับ คลิกที่นี่.. ฟังจากบ้านธัมมะ
อนุโมทนาด้วยครับ
ขอขอบคุณและอนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาด้วยค่ะ
อนุโมทนา และขอให้จัดทำในลักษณะนี้อีกนะคะ
ขออนุโมทนาด้วยครับ
เมื่อไหร่ท่านอาจารย์สุจินต์ จะมาสนทนาธรรมที่เชียงใหม่อีกครับถ้าผมมีเวลาจะได้มาสนทนากระท่านบ้างครับ (กรุณาแจ้งรล่วงหน้าด้วยครับ)
การสนทนาธรรมครั้งต่อไปที่บ้านธัมมะ เชียงใหม่ ยังไม่ได้กำหนดเวลาที่แน่นอนนะครับ น่าจะประมาณเดือน กรกฏาคม ๒๕๕๐ นะครับ จะประกาศในทราบล่วงหน้านะครับ
ขอขอบพระคุณที่ตอบให้ทราบ เมื่อไหร่ผมก็จะรอ
กราบเรียนท่าน อาจารย์สุจินต์ ที่เคารพ
การที่เราเห็นสิ่งหนึ่งสิ่งแล้วระลึกรู้ว่าเป็น สิ่งที่ปรากฏ หรือระลึกรู้ว่าเป็น สี แตกต่างกันอย่างไรทุกวันนี้ผมก็ยังเห็นเป็น โต๊ะ เก้าอี้ ฯลฯ อยู่เหมือนเดิม จะต้องปรุงการระลึกรู้อย่างไรดีครับ กระผมเคยมีความคิดพิศดารว่า ผมได้ผุดเกิดในท่ามกลาง ป่า เขา แต่มีจิดระลึกรู้ แล้วมองไปรอบๆ ตัว แล้วไม่รู้จักอะไรเลย น่าจะเป็นการเห็น รูป สิ่งที่ปรากฎ สี ได้เร็วกว่าทุกวันนี้ เพราะไม่มีเจตสิกปรุงแต่ง การระลึกรู้ธรรมต้องกระทำตัวเหมือนกับว่า เห็นแต่ไม่รู้ว่าเห็นอะไร ได้ยินเสียงแต่ ไม่รู้เป็นเสียงอะไร ได้กลิ่นแต่ไม่รู้เป็นกลิ่นอะไร ลิ้มรสก็ไม่รู้เป็นรสอะไร สัมผัสก็ไม่รู้ว่ากระทบอะไร ใช่ใหมครับ ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง
ขอแสดงความคิดเห็นนะคะ ...
เป็นเรื่องธรรมดาค่ะที่ยังเห็นเป็นโต๊ะ เป็นเก้าอี้เพราะการอบรมเจริญปัญญายังไม่มากพอ ที่ สำคัญคือ ไม่คิดที่จะแสวงหาหนทางอื่นที่จะทำให้สติและปัญญาเกิดมากๆ การปิดกั้นไม่ให้รู้ เช่น เห็นแต่ไม่รู้ว่าเห็นอะไร ได้ยินเสียงแต่ไม่รู้เป็นเสียงอะไร ฯลฯ ขณะนั้นเป็นการสะสม ความรู้หรือความไม่รู้ค่ะ เวลาที่สติปัฏฐานไม่เกิดก็รู้ ขณะนั้นก็เป็นการสะสมความรู้ว่ายังไม่รู้ จนกว่าจะมีเหตุปัจจัยเพียงพอ ซึ่งเกิดจากการอบรมในขั้นการฟังและขั้นการพิจารณา สติ ปัฏฐานย่อมเกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องไปทำอะไรให้เหนื่อยยาก เป็นหน้าที่ของสภาพธรรมที่เกิด ขึ้นกระทำกิจตามควรแก่เหตุและปัจจัยนั้นๆ ข้อสำคัญ คือ ต้องเป็นผู้ที่มีความมั่นคงในเรื่อง ของเหตุของผล และความไม่มีตัวตนคืออนัตตา มีแต่เพียงสภาพธรรม คือสิ่งที่มีจริงและ ทนต่อการพิสูจน์ เพราะสามารถพิสูจน์ได้แม้ในขณะนี้ ..ขึ้นอยู่กับว่า ปัญญาของเราพร้อมรึยัง?
ขออนุโมทนา
ขออนุโมทนา และขอขอบคุณสมาชิก devout ที่ได้แสดงความคิดเห็นให้ทราบ และขอ ถามอีกข้อนะครับ ที่ว่าสติปัฏฐานเกิด จะตรง หรือ มีความหมายเดียว กับคำว่า แยกรูป แยก นาม ตามที่สำนักปฏิบัติธรรมทั่วๆ ไปเขามุ่งหมายกันไหมครับ
สติปัฏฐานเป็นสภาพที่ระลึก (ไม่ใช่คิดนึกนะคะ) ลักษณะของสภาพธรรมถูกต้อง ตามความเป็นจริง คือรูปหรือนามที่ปรากฎ โดยไม่ใช่เป็นการเจาะจงหรือเลือกอารมณ์ ต้อง แล้วแต่ปัจจัยที่จะทำให้สติเกิด ระลึกที่รูปนั้นหรือนามนั้น จึงเป็นการรู้ชัดที่สภาพธรรม ที่ กำลังปรากฎที่ละลักษณะ จนกว่าปัญญาจะค่อยๆ เจริญขึ้น พร้อมกับอนัตตสัญญา เมื่อบรรลุวิปัสสนาญาณขั้นที่ ๑ คือ นามรูปปริจเฉทญาณ เป็นความสมบูรณ์ของ ปัญญาที่สามารถประจักษ์ ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม โดยการแยกขาดจากกัน ส่วนข้อปฏิบัติของสำนักใดๆ ก็ตาม ถ้าผิดไปจากพุทธพจน์ ไม่สมควรจะเรียกว่า เป็นการเจริญสติปัฏฐาน เพราะการเจริญสติปัฏฐาน คือ การเจริญอริยมรรค ซึ่งเป็นคำสอน ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น
ขออนุโมทนา
ขออนุโมทนา และขอบคุณ สมาชิก devout ที่แสดงความคิดเห็นให้ทราบ และขอทราบ ว่า อย่างการฟัง อาจารย์สุจินต์บรรยายธรรมทางวิทยุ จะระลึกรู้ให้เป็นสภาพสภาพธรรมอย่างไร จึงจะถูกต้อง
ตามความเข้าใจของผมที่ระลึกสภาพธรรมรู้อยู่มันขัดกัน คือถ้าระลึกรู้เสียง ก็จะไม่รู้เนื้อ ความของธรรม ถ้าฟังเนื้อความธรรมเป็นใหญ่ ก็จะไม่ใช่เป็นการระลึกรู้สภาพธรรม (เสียง) ใช่ใหมครับ
ขอบคุณมาก
คุณ บธกธ ค่ะ,
จากความคิดเห็นข้างบนที่กล่าวว่า "จะระลึกรู้ให้เป็นสภาพธรรมอย่างไร จึงจะถูกต้อง"
แสดงว่า เข้าใจว่ามี " เรา " ที่สามารถจะทำได้อย่างนั้นหรือเปล่าค่ะ ก่อนอื่นจะต้องเข้าใจ สัจจธรรมที่เป็นพื้นฐานอย่างหนึ่งว่า " ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา " ไม่เว้นแม้แต่ สติ เพราะ ฉะนั้นจะบังคับบัญชา หรือเลือกไม่ได้จริงๆ ว่า สติจะเกิดเมื่อไหร่ หรือระลึกรู้ที่รูปใด นาม ใด และเมื่อสติเกิด จะห้ามไม่ให้สติเกิดก็ไม่ได้อีกใช่มั้ยค่ะ อย่างเช่นตัวอย่างที่คุณ บธกธ ยกมาเรื่องเสียง เมื่อสติระลึกรู้ที่เสียง ขณะนั้นเข้าใจว่าอย่างไรคะ? เพราะเมื่อสติปัฏฐาน เกิด เป็นสภาพที่รู้ชัดจริงๆ ตรงตามลักษณะ (โดยไม่ต้องคิดนึก) อย่างสั้นและเล็กน้อยที่ สุด จะบังคับให้สติเกิดอีกหรือตั้งอยู่นานๆ โดยมีเสียงนั้นเป็นอารมณ์ก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ไม่ต้องกังวลใจว่า จะฟังพระธรรมไม่รู้เรื่องนะคะ ฟังให้เข้าใจดีกว่า เป็นการสะสมปัญญาไป เรื่อยๆ เพราะเมื่อปัญญา (ความเข้าใจ) เจริญขึ้น สติก็ระลึกรู้ได้เองว่า แม้เสียงที่ได้ยินก็ เป็นเพียงสภาพธรรมชนิดหนึ่งเท่านั้น มิฉะนั้น พระอริยบุคคลท่านคงฟังพระธรรมกันไม่รู้เรื่อง ใช่มั้ยค่ะ ... ตามความเป็นจริง
ขอเป็นกำลังใจให้มีความมั่นคง ในการศึกษาพระธรรมต่อไปนะคะ แล้วเราคงจะได้สนทนากันอีกในโอกาสหน้าค่ะ
ขออนุโมทนา
ขออนุโมทนา ครับ