[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 74
มหาวรรค
ญาณกถามาติกา
๑๒. อรรถกถา ผลญาณุทเทส
ว่าด้วยผลญาณ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 74
๑๒. อรรถกถาผลญาณุทเทส
ว่าด้วย ผลญาณ
ในคำว่า ปโยคปฺปฏิปฺปสฺสทฺธิปญฺา ผเล าณํ แปลว่า ปัญญาในการระงับปโยคะเป็นผลญาณ นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
บทว่า ปโยโค แปลว่า การประกอบอย่างแรงกล้า, คือความพยายามที่ออกจากและขันธ์ทั้ง ๒ ได้ด้วยมรรคภาวนาโดยทำให้แจ้งซึ่งผล. ความสงบปโยคะคือความพยายามนั้น คือการถึงที่สุดแห่งโยคะ ชื่อว่า ปโยคปฏิปัสสัทธิ. ปโยคปฏิปัสสัทธินั้นอย่างไร? คือการสิ้นสุดแห่งกิจในมรรคทั้ง ๔.
ปัญญาในผลเป็นไปแล้ว เพราะปโยคปฏิปัสสัทธินั้นเป็นเหตุ ชื่อว่า ปโยคปฏิปัสสัทธิปัญญา. ปัญญานี้เป็นผลเพราะอรรถว่า ย่อมผลิตผล คือย่อมให้เกิดวิบาก, ในผลนั้น ญาณอันสัมปยุตกับด้วยผลจิตนั้น (ชื่อว่า ผเล าณํ) ก็ต่อจากมรรคญาณหนึ่งๆ ผลจิตอัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 75
เป็นวิบากแห่งมรรคจิตนั้นๆ นั่นแหละมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น ๓ ขณะก็มี ๒ ขณะก็มี ๑ ขณะก็มี. และเพราะผลจิตนั้นเป็นวิบากเกิดขึ้นในลำดับแห่งโลกุตรกุศลทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สมาธิมานนฺตริกญฺมาหุ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวสมาธิอันประกอบด้วยผลญาณ ซึ่งเกิดต่อจากมรรคญาณว่าเป็นธรรมอันบัณฑิตพึงรู้ทั่วถึง, และตรัสคำเป็นต้นว่า ทนฺธํ อานนฺตริกํ ปาปุณาติ อาสวานํ ขยาย (๑) - พระโยคีบุคคลบรรลุธรรมวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า.
อนุโลมจิตของพระโยคีบุคคลใด มี ๒ ขณะ, ที่ ๓ เป็นโคตรภู ที่ ๔ เป็นมรรคจิต ผลจิตอีก ๓ ขณะ ย่อมมีแก่พระอริยบุคคลนั้น. (รวมเป็น ๗ ตามชวนนิยาม)
อนุโลมจิตของพระโยคีบุคคลใด มี ๓ ขณะ, ที่ ๔ เป็นโคตรภู ที่ ๕ เป็นมรรคจิต ผลจิตอีก ๒ ขณะ ย่อมมีแก่พระอริยบุคคลนั้น. (รวมเป็น ๗ ตามชวนนิยาม)
อนุโลมจิตของพระโยคีบุคคลใด มี ๔ ขณะ, ที่ ๕ เป็นโคตรภู ที่ ๖ เป็นมรรคจิต ผลจิตอีก ๑ ขณะ ย่อมมีแก่พระอริยบุคคลนั้น. (รวมเป็น ๗ ตามชวนนิยาม)
๑. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๑๖๒.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 76
นี้เป็นผลในมรรควิถี. ส่วนผลในระหว่างกาลเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมาบัติ และเกิดขึ้นแก่ผู้ออกจากนิโรธสมาบัติก็สงเคราะห์ด้วยผลญาณนี้เหมือนกัน.