๓. วิสาขสูตร
โดย บ้านธัมมะ  2 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 39599

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 509

ปัณณาสก์

อุโปสถวรรคที่ ๕

๓. วิสาขสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 509

๓. วิสาขสูตร

[๑๓๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ บุพพาราม ประสาทของมิคารมารดา ใกล้กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล นางวิสาขา มิคารมารดา เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวาย บังคมแล้งนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนวิสาขา อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ บุคคลเข้า อยู่แล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความ แพร่หลายมาก ดูก่อนวิสาขา ก็อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ บุคคลเข้าอยู่แล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความแพร่หลายมาก ดูก่อนวิสาขา อริยสาวก ในธรรมวินัยนี้ ย่อมตระหนักชัดดังนี้ว่า พระอรหันต์ทั้งหลาย ละปาณาติบาต งดเว้นจากปาณาติบาต วางท่อนไม้ วางศาตรา มีความละอาย เอื้อเอ็นดู อนุเคราะห์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ตลอด ชีวิต ในวันนี้ แม้เราก็ละปาณาติบาติ งดเว้นจากปาณาติบาต ว่าง ท่อนไม้ วางศาตรา มีความละอาย เอื้อเอ็นดู อนุเคราะห์เกื้อกูลต่อ สรรพสัตว์อยู่ตลอดคืนและวันนี้ เราชื่อว่ากระทำตามพระอรหันต์ ทั้งหลายแม้ด้วยองค์นี้ และอุโบสถจักเป็นอันชื่อว่าเราข้าอยู่แล้ว อุโบสถประกอบด้วยองค์ที่ ๑ นี้ ฯลฯ

อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมตระหนักชัดดังนี้ว่า พระอรหันต์ทั้งหลาย ละการนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ งดเว้น จากนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ สำเร็จการนั่งการนอน


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 510

บนที่นั่งที่นอนต่ำ คือ นอนบนเตียงหรือเครื่องลาดด้วยหญ้าอยู่ ตลอดชีวิต ในวันนี้ แม้เราก็ละการนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอน สูงใหญ่ เว้นจากการนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ สำเร็จ การนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอนต่ำ คือ นอนบนเตียงหรือเครื่องลาด ด้วยหญ้าอยู่ตลอดคืนและวันนี้ เราชื่อว่ากระทำตามพระอรหันต์ ทั้งหลายแม้ด้วยองค์นี้ และอุโบสถจัดเป็นอันชื่อว่าเราเข้าอยู่แล้ว อุโบสถประกอบด้วยองค์ที่ ๘ นี้ ดูก่อนวิสาขา อุโบสถประกอบด้วย องค์ ๘ ประการ บุคคลเข้าอยู่แล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์ มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความแพร่หลายมาก.

อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ บุคคลเข้าอยู่แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความแพร่หลายมาก เพียงไร ก่อนวิสาขา เปรียบเหมือนพระราชาที่เสวยราชย์ ดำรงอิสรภาพและอธิปไตยในชนบทใหญ่ๆ ๑๖ รัฐ รัตนะ ๗ ประการมากมายเหล่านื้ คือ อังคะ มคธะ กาสี โกสละ วัชชี มัลละ เจดีย์ วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ อัสสกะ อวันตี คันธาระ กัมโพชะ การเสวยราชดำรงอิสรภาพและอธิปไตย ของพระราชานั้น ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งอุโบสถอันประกอบด้วย องค์ ๘ ประการ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูก่อนวิสาขา เพราะราช สมบัติมนุษย์เป็นเหมือนของคนกำพร้า เมื่อเทียบกับสุขอันเป็นทิพย์ ดูก่อนวิสาขา ๕๐ มนุษย์เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่งของเทวดาชั้น จาตุมมราช ๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้นเป็นเดือนหนึ่ง ๑๒ เดือนโดย เดือนนั้นเป็นปีหนึ่ง ๕๐๐ ปีโดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดา


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 511

ชั้นจาตุมมหาราช ดูก่อนวิสาขา ข้อที่บุคคล บางคนในโลกนี้ จะเป็น หญิงหรือชายก็ตาม เข้าอยู่อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ แล้ว เมื่อตายไป พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราชนี้เป็นฐานะที่นะมีได้ เราหมายเอาข้อนี้จึงกล่าวว่า ดูก่อน วิสาขา ราชสมบัติมนุษย์เป็นเหมือนของคนกำพร้า เมื่อเทียบกับ สุขอันเป็นทิพย์.

ดูก่อนวิสาขา ๑๐๐ ปีมนุษย์ ฯลฯ

ดูก่อนวิสาขา ๒๐๐ ปีมนุษย์ ฯลฯ

ดูก่อนวิสาขา ๔๐๐ ปีมนุษย์ ฯลฯ

ดูก่อนวิสาขา ๘๐๐ ปีมนุษย์ ฯลฯ

ดูก่อนวิสาขา ๑,๖๐๐ ปีมนุษย์ เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่งของ เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้นเป็นเดือนหนึ่ง ๒ เดือนโดยเดือนนั้นเป็นปีหนึ่ง ๑๖,๐๐๐ ทิพย์โดยปีนั้น เป็น ประมาณอายุของเทวดาชนปรนิมมิตวสวัตตี ดูก่อนวิสาขา ข้อที่ บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นหญิงหรือชายก็ตาม เข้าอยู่อุโบสถ อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการแล้ว เมื่อตายไป พึงเข้าถึงความ เป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนินมิตวสวัตตี นี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนวิสาขา เราหมายเอาข้อนี้จึงกล่าวว่า ราชสมบัติมนุษย์ เป็นเหมือนของคนกำพร้า เมื่อเทียบกับสุขอันเป็นทิพย์.

บุคคลไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงถือเอาสิ่งของ ที่เจ้าของไม่ให้ พึงเว้นจากเมถุนธรรม อันมิใช่ ความประพฤติของพรหม ไม่พึงพูดเท็จ ไม่พึง


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 512

ดื่มน้ำเมา ไม่พึงบริโภคอาหารในเวลาวิกาล ใน ราตรี ไม่พึงทัดทรงดอกไม้และของหอม พึงนอน บนเตียง บนแผ่นดิน หรือบนเครื่องลาดด้วยหญ้า บัณฑิตทั้งหลายกล่าวอุโบสถ ๘ ประการนี้แล ที่พระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ทรงประกาศ แล้ว พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสองส่องแสง สว่างไสว ย่อมโคจรไปตามวิถีเพียงไร พระ จันทร์และพระอาทิตย์นั้น ก็ขจัดมืดได้เพียงนั้น ลอยอยู่บนอากาศ ส่องแสงสว่างทั่วทุกทิศใน ท้องฟ้า ทรัพย์ใดอันมีอยู่ในระหว่างนี้ คือ แก้ว มุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ อย่างดีหรือทองมี สีสุกใส ที่เรียกกันว่า หตกะ พระจันทร์ พระอาทิตย์และทรัพย์นั้นๆ ก็ยังไม่ได้เที่ยวที่ ๑๖ แห่งอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ เปรียบเหมือนรัศมีพระจันทร์ ข่มหมู่ดวงดาวทั้ง หมด ฉะนั้น เพราะฉะนั้นแหละ หญิงหรือชายผู้ มีศีล เข้าอยู่อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประ การแล้ว กระทำบุญมีสุขเป็นกำไร ไม่มีใครติ- เตียน ย่อมเข้าถึงสวรรค์.

จบ วิสาขสูตรที่ ๓