[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 615
สมาธิภาวนามยญาณนิทเทส
อรรถกถาสมาธิภาวนามยญาณนิทเทส
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 615
สมาธิภาวนามยญาณนิทเทส
[๙๒] ปัญญาในการสำรวมแล้วตั้งไว้ด้วยดี เป็นสมาธิภาวนามยญาณอย่างไร? สมาธิอย่างหนึ่ง คือ เอกัคตาจิต. สมาธิ ๒ คือ โลกิยสมาธิ ๑ โลกุตรสมาธิ ๑. สมาธิ ๓ คือ สมาธิมีวิตกและวิจาร ๑ สมาธิไม่มีวิตกมีแต่วิจาร ๑ สมาธิไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ๑. สมาธิ ๔ คือ สมาธิมีส่วนเสื่อม ๑ สมาธิเป็นส่วนตั้งอยู่ ๑ สมาธิเป็นส่วนวิเศษ ๑ สมาธิเป็นส่วนชำแรกกิเลส ๑. สมาธิ ๕ คือ สมาธิมีปีติแผ่ไป ๑ สมาธิมีสุขแผ่ไป ๑ สมาธิมีจิตแผ่ไป ๑ สมาธิมีแสงสว่างแผ่ไป ๑ สมาธิมีการพิจารณาเป็นนิมิต ๑. สมาธิ ๖ คือ สมาธิมีเอกัคตาจิตมิได้ฟุ้งซ่านด้วยสามารถพุทธานุสติ ๑ ธรรมานุสติ ๑ สังฆานุสติ ๑ สีลานุสติ ๑ จาคานุสติ ๑ เทวตานุสติ ๑. สมาธิ ๗ คือ ความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ๑ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในการตั้งสมาธิ ๑. ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในความงามแห่งสมาธิ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในโคจรแห่งสมาธิ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในการน้อมไปแห่งสมาธิ ๑. สมาธิ ๘ คือ สมาธิมีเอกัคตาจิตมิได้ฟุ้งซ่านด้วยสามารถปฐวีกสิณ ๑ อาโปกสิณ ๑ เตโชกสิณ ๑ วาโยกสิณ ๑ นีลกสิณ ๒ ปีตกสิณ ๑ โลหิตกสิณ ๑ โอทาตกสิณ ๑. สมาธิ ๙ คือ รูปาวจรสมาธิส่วนเลว ๑ ส่วนปานกลาง ๑ ส่วนประณีต ๑ อรูปาวจรส่วนเลว ๑ ส่วนปานกลาง ๑ ส่วนประณีต ๑ สุญญตสมาธิ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 616
อนิมิตตสมาธิ ๑ อัปปณิหิตสมาธิ ๑. สมาธิ ๑๐ คือ สมาธิมีเอกัคตาจิตมิได้ฟุ้งซ่านด้วยสามารถอุทธุมาตกสัญญา ๑ วินีลกสัญญา ๑ วิปุพพกสัญญา ๑ วิฉิททกสัญญา ๑ วิกขายิตกสัญญา ๑ วิกขิตตกสัญญา ๑ หตวิกขายิตกสัญญา ๑ โลหิตกสัญญา ๑ ปุฬุวกสัญญา ๑ อัฏฐิกสัญญา ๑ สมาธิเหล่านี้รวมเป็น ๕๕.
[๙๓] อีกอย่างหนึ่ง สภาพในความเป็นสมาธิแห่งสมาธิ ๒๕ (๑) ประการ คือ สมาธิเพราะอรรถว่าอันสัทธินทรีย์เป็นต้นกำหนดถือเอา ๑ เพราะอรรถว่าอินทรีย์เป็นบริวารแห่งกันและกัน ๑ เพราะอรรถว่าสัทธินทรีย์เป็นต้นบริบูรณ์ ๑ เพราะอรรถว่ามีอารมณ์เป็นอันเดียว ๑ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ๑ เพราะอรรถว่าไม่แส่ไป ๑ เพราะอรรถว่าไม่ขุ่นมัว ๑ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว ๑ เพราะอรรถว่าหลุดพ้นจาก กิเลส ๑ เพราะความที่จิตตั้งอยู่ด้วยสามารถความตั้งมั่นในความเป็นจิตมีอารมณ์เดียว ๑ เพราะอรรถว่าแสวงหาความสงบ ๑ เพราะอรรถว่าไม่แสวงหาธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบ ๑ เพราะแสวงหาความสงบแล้ว ๑ เพราะไม่แสวงหาธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบแล้ว ๑ เพราะอรรถว่ายึดมั่นความสงบ ๑ เพราะอรรถว่าไม่ยืดมั่นธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบ ๑ เพราะยึดมั่นความสงบแล้ว ๑ เพราะไม่ยึดมั่นธรรม
๑. นับแล้วได้ ๒๗.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 617
อันเป็นข้าศึกแก่ความสงบแล้ว ๑ เพราะอรรถว่าปฏิบัติสงบ ๑ เพราะอรรถว่าไม่ปฏิบัติสงบ ๑ เพราะปฏิบัติสงบแล้ว ๑ เพราะไม่ปฏิบัติไม่สงบแล้ว ๑ เพราะอรรถว่าเพ่งความสงบ ๑ เพราะอรรถว่าเผาธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบ ๑ เพราะเพ่งความสงบแล้ว ๑ เพราะเผาธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบแล้ว ๑ เพราะอรรถว่าเป็นธรรมสงบเป็นสภาพเกื้อกูลและนำสุขมาให้ ๑ สภาพในความเป็นสมาธิเหล่านี้รวมเป็น ๒๕.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถรู้ว่าธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการสำรวมแล้วตั้งไว้ดี เป็นสมาธิภาวนามยญาณ.
อรรถกถาสมาธิภาวนามยญาณนิทเทส
๙๒] พึงทราบวินิจฉัยในสมาธิภาวนมยญาณนิทเทส ดังต่อไปนี้ พระสารีบุตรเมื่อจะแสดงประเภทของสมาธิ ตั้งแต่หมวดหนึ่งๆ แต่ต้นจนถึงหมวด ๑๐ จึงกล่าวบทมีอาทิว่า เอโก สมาธิ อย่างหนึ่ง.
ในบทเหล่านั้น บทว่า จิตฺตสฺส เอกคฺคตา - ความว่าชื่อว่า เอกคฺโค เพราะอรรถว่ามีอารมณ์เลิศ คือ สูงสุดอย่างหนึ่ง เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 618
ไม่มีความฟุ้งซ่านแห่งอารมณ์ต่างๆ , ความแห่งเป็น เอกคฺโคนั้น ชื่อว่า เอกคฺคตา เพื่อแสดงความที่มีจิตมีอารมณ์หนึ่งนั้น ไม่ใช่สัตว์ ท่านจึงกล่าวว่า จิตฺตสฺส.
ในหมวด ๒ บทว่า โลกิโย วัฏฏะท่านกล่าวว่า โลโก เพราะ อรรถว่าแตกสลายไป, สมาธิประกอบแล้วในโลก โดยความเป็นสมาธิเนื่องอยู่ในวัฏฏะนั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า โลกิยะ.
บทว่า โลกุตฺตโร ชื่อว่า อุตตระ เพราะข้ามไปแล้ว, ชื่อว่า โลกุตระ เพราะข้ามไปจากโลกโดยความเป็นสมาธิไม่เนื่องอยู่ในโลก
ในหมวด ๓ ชื่อว่า สวิตกฺกสวิจาโร เพราะสมาธิมีวิตกและวิจาร. สมาธิไม่มีวิตกไม่มีวิจารก็ทำนองนั้น. ในสมาธิที่มีวิตกและวิจาร ชื่อว่า วิจารมตฺโต เพราะอรรถว่ามีแต่วิจารเท่านั้นเป็นประมาณ อธิบายว่า สมาธิไม่ถึงการประกอบร่วมกันกับด้วยวิตกยิ่งกว่าวิจาร. ชื่อว่า อวิตกฺกวิจารมตฺโต เพราะสมาธินั้นไม่มีวิตกมีแต่วิจาร. แม้ใน ๓ อย่าง อาจารย์บางพวกก็ตัดออกไป. หมวด ๔ หมวดมีอธิบายไว้แล้ว.
ในหมวด ๖ สตินั่นแลเพราะเกิดขึ้นบ่อยๆ จึงชื่อว่า อนุสสติ, อีกอย่างหนึ่งชื่อว่าอนุสสติ เพราะสมควรแก่กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา เพราะเป็นไปในฐานะที่ควรเป็นไปบ้าง, อนุสสติ เกิดขึ้นปรารภถึงพระพุทธเจ้า ชื่อว่า พุทธานุสติ. บทนี้เป็นชื่อของสติมีคุณของพระ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 619
พุทธเจ้ามีพระอรหันต์เป็นต้นเป็นอารมณ์. ชื่อว่า อวิกฺเขโป เพราะ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ด้วยสามารถแห่งพุทธานุสตินั้นนั่นเอง ไม่ฟุ้งซ่านโดยความเป็นปฏิปักษ์ของความฟุ้งซ่านอันได้แก่ อุทธัจจะ
อนุสสติเกิดขึ้นเพราะปรารภพระธรรม ชื่อว่าธรรมานุสติ. บทนี้เป็นชื่อของสติมีคุณของพระธรรม มีความที่พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วเป็นต้นเป็นอารมณ์.
อนุสสติเกิดขึ้นปรารภพระสงฆ์ ชื่อว่า สังฆานุสติ, บทนี้เป็นชื่อของสติมีคุณของพระสงฆ์มีความที่พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้วเป็นต้น เป็นอารมณ์.
อนุสสติเกิดขึ้นปรารภศีล ชื่อว่า สีลานุสติ, บทนี้เป็นชื่อของสติ มีคุณของศีลมีความที่ศีลของตนไม่ขาดเป็นต้น.
อนุสสติเกิดขึ้นปรารภจาคะ ชื่อว่า จาคานุสติ, บทนี้เป็นชื่อของสติมีคุณของจาคะมีความที่ตนสละออกไปแล้ว.
อนุสสติเกิดขึ้นปรารภเทวดาทั้งหลาย ชื่อว่า เทวตานุสติ. บทนี้เป็นชื่อของสติมีคุณของศรัทธาเป็นต้น ของตนเป็นอารมณ์ ตั้งเทวดาไว้ในฐานะเป็นพยาน.
ในหมวด ๗ บทว่า สมาธิกุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิหลายประเภท โดยประเภทมีสมาธิอย่างเดียวเป็นต้นว่า นี้เป็นสมาธิ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 620
อย่างนี้, นี้เป็นสมาธิอย่างนี้. บทนี้เป็นชื่อของปัญญากำหนดสมาธิ. ความเป็นผู้ฉลาดโดยวิธีทำให้สมาธิเกิด เพราะเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ.
บทว่า สมาธิสฺส สมาปตฺติกุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ ได้แก่ ความเป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิที่ทำให้เกิดแล้ว. ด้วยบทที่เป็นอันท่านกล่าวถึงความเป็นผู้ชำนาญในการเข้าสมาธิ.
บทว่า สมาธิสฺส ฐิติกุสฺลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในการตั้งสมาธิ ได้แก่ ความเป็นผู้ฉลาดในการตั้งสมาธิที่เข้าแล้วตามความชอบใจด้วยสามารถความสืบต่อกันไป. ด้วยบทนี้เป็นอันท่านกล่าวถึงความเป็นผู้ชำนาญในการตั้งใจ.
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อพระโยคาวจรนั้นยังอาการเหล่านั้นให้ถึงพร้อมด้วยการถือเอานิมิต ย่อมสำเร็จเพียงอัปปนาเท่านั้น, ไม่ยั่งยืน. ส่วนฐานะที่ยั่งยืนย่อมมีได้ เพราะชำระธรรมอันเป็นอันตรายแก่สมาธิไว้ด้วยดี. จริงอยู่ภิกษุใดข่มกามฉันทะ ด้วยการพิจารณาโทษของกาม เป็นต้นไว้ด้วยดีไม่ได้, กระทำความหยาบช้าทางกายด้วยกายปัสสัทธิให้สงบด้วยดีไม่ได้, บรรเทาถีนมิทธะด้วยความใส่ใจถึงอารัมภธาตุ คือความเพียรให้ดีไม่ได้. ถอนอุทธัจจะกุกกุจจะด้วยใส่ใจถึงสมถนิมิตให้ดีไม่ได้, ชำระธรรมอันเป็นอันตรายของสมาธิให้ดีไม่ได้ แล้วเข้าฌาน, ภิกษุนั้นย่อมออกจากฌานโดยเร็วทันที ดุจภมรเข้าไปยังที่อยู่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 621
อันไม่สะอาด และพระราชาเสด็จเข้าไปสู่อุทยานที่แสนจะสกปรก ย่อมออกไปโดยเร็วพลัน.
ส่วนภิกษุใดชำระธรรมอันเป็นอันตรายแก่สมาธิได้ดี แล้วเข้าฌาน, ภิกษุนั้นย่อมเข้าฌานภายในสมาบัติได้ตลอดวันทั้งสิ้น ดุจภมรเข้าไปยังที่อาศัยอันสะอาด, และพระราชาเสด็จเข้าไปยังอุทยานอันเรียบร้อย ย่อมอยู่ได้ตลอดวัน. ดังที่พระโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า
กาเมสุ ฉนฺทํ ปฏิฆํ วิโนทเย
อุทฺธจฺจถีนํ วิจิกิจฺฉปญฺจมํ,
วิเวกปามุชฺชกเรน เจตสา
ราชาว สุทฺธนฺตคโต ตหึ รเม.
พระโยคาวจรผู้มีจิตทำความปราโมทย์ในวิเวก พึงบรรเทาความพอใจในกามทั้งหลาย ความเคียดแค้น ความฟุ้งซ่าน ความหดหู่ และความสงสัย เป็นที่ ๕, ดุจพระราชาเสด็จไปสู่สถานที่โดยเป็นระเบียบเรียบร้อย ทรงพึงพอพระทัย ณ ที่นั้น.
เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า อันพระโยคาวจรผู้ประสงค์จะตั้งอยู่ตลอดกาลนาน พึงชำระธรรมอันเป็นข้าศึก แล้วจึงเข้าฌาน เป็นอันท่านกล่าวถึงความเป็นผู้ฉลาดในการยังวิธีนั้นให้ถึงพร้อมแล้ว จึงทำสมาธิให้ตั้งอยู่ได้นาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 622
บทว่า สมาธิสฺส วุฏฺานกุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ ได้แก่ ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ ด้วยการออกตามเวลาที่กำหนดไว้แห่งสมาธิที่เป็นไปแล้วตามความพอใจด้วยการสืบต่อกันไป. พึงทราบว่าท่านทำเป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถแห่งปัญจมีวิภัตติ ดุจในประโยคมีอาทิว่า ยสฺสาปิ ธมฺมํ ปุริโส วิชญฺา (๑) - บุรุษพึงรู้แจ้งธรรมแม้จากผู้ใด. ด้วยบทนี้เป็นอันท่านกล่าวถึงความเป็น ผู้ชำนาญในการออกจากสมาธิ.
บทว่า สมาธิสฺส กลฺลตากุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในความงามแห่งสมาธิ ความว่า ความเป็นผู้ไม่เจ็บไข้ ความเป็นผู้ไม่มีโรค ชื่อว่า กลฺลตา. ความเจ็บไข้ท่านกล่าวว่า อกลฺลโก แม้ในวินัยท่านก็กล่าวไว้ว่า นาหํ ภนฺเต อกลฺลโก (๒) - ท่านขอรับผมไม่เจ็บไข้. ความเป็นผู้ฉลาดในการทำความไม่เจ็บไข้แห่งสมาธิ ด้วยความไม่มีความปรารถนาอันลามก ซึ่งเป็นข้าศึกของการได้ฌานดังที่ท่านกล่าวไว้ในอนังคณสูตร และวัตถุสูตร (๓) และด้วยความปราศจากอุปกิเลสของจิตมีอภิชฌาเป็นต้น, ท่านกล่าวว่า ความเป็นผู้ฉลาดในความงามของสมาธิ คือความเป็นผู้ฉลาดในความเป็นผู้ไม่มีความเจ็บไข้ คือกิเลส.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า กลฺลตา ได้แก่ ความเป็นผู้ควรแก่การงาน เพราะความที่คำว่า กลฺล เป็นไวพจน์ของกัมมัญญตา - ความเป็นผู้
๑. ขุ. ชา. ๒๗/๑๔๗๐.
๒. วิ. มหาวิภังค ๑/๑๕๒.
๓. ม.มู. ๑๒/๕๔.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 623
ควรแก่การงาน. ดังที่ท่านกล่าวว่า ยา จิตฺตสฺส อกลฺยตา อกมฺมญฺตา (๑) - ความที่จิตไม่สมประกอบ ความที่จิตไม่ควรแก่การงาน. และว่า กลฺลจิตฺตํ มุทุจิตฺตํ วินีวรณจิตฺตํ (๒) - จิตควรแก่การงาน จิตอ่อนโยน จิตปราศจากนิวรณ์. กลฺล ศัพท์ในบทนี้ มีความว่า ควรแก่การงาน. เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวไว้ว่า ความเป็นผู้ฉลาดใน การทำความคล่องแคล่วแห่งสมาธิด้วยการฝึกจิต โดยอาการ ๑๔ อย่างเหล่านี้ คือ โดยอนุโลมแห่งกสิณ ๑ โดยปฏิโลมแห่งกสิณ ๑ โดยอนุโลมปฏิโลมแห่งกสิณ ๑ โดยอนุโลมแห่งฌาน ๑ โดยปฏิโลมแห่งฌาน ๑ โดยอนุโลมปฏิโลมแห่งฌาน ๑ โดยการก้าวเข้าไปสู่ฌาน ๑ โดยการก้าวเข้าไปสู่กสิณ ๑ โดยการก้าวเข้าไปสู่ฌานและกสิณ ๑ โดยการก้าวไปสู่องค์ ๑ โดยการก้าวไปสู่อารมณ์ ๑ โดยการก้าวไปสู่องค์และอารมณ์ ๑ โดยการกำหนดองค์ ๑ โดยการกำหนดอารมณ์ ๑ หรือโดยอาการ ๑๕ เพิ่มบทว่า โดยกำหนดองค์และอารมณ์ ๑.
บทว่า สมาธิสฺส โคจรกุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในโคจรแห่งสมาธิ ความว่า เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์มีกสิณเป็นต้น อันเป็นโคจรแห่งสมาธิในอารมณ์เหล่านั้น ด้วยการทำความนึกถึงตามความพอใจ เพราะประสงค์จะเข้าฌานนั้นๆ. ด้วยบทนี้เป็นอันท่านกล่าวถึงความเป็นผู้ชำนาญในการนี้ถึงด้วยการนึกถึงกสิณ.
๑. อภิ. สํ. ๓๔/๗๕๑.
๒. วิ. มหา ๔/๒๖.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 624
อีกอย่างหนึ่ง ความเป็นผู้ฉลาดในโคจรแห่งสมาธิด้วยสามารถการแผ่กสิณไปในทิศาภาคนั้นๆ และด้วยสามารถการตั้งไว้นานแห่งกสิณที่ถูกต้องแล้วอย่างนี้.
บทว่า สมาธิสฺส อภินีหารกุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในการน้อมไปแห่งสมาธิ ความว่า ความเป็นผู้ฉลาดในการน้อมไปในการทำสมาธิต่างๆ โดยนัยความเป็นอันเดียวกัน ด้วยการน้อมเข้าไปสู่ความเป็นสมาธิสูงๆ. จริงอยู่ อุปจารฌานถึงความชำนาญ ย่อมน้อมเข้าไปเพื่อประโยชน์แก่ปฐมฌาน หรือเพื่อประโยชน์แก่วิปัสสนา. ปฐมฌาน เป็นต้นก็อย่างนั้น ย่อมน้อมเข้าไปเพื่อประโยชน์แก่ทุติยฌานเป็นต้น หรือเพื่อประโยชน์แก่วิปัสสนา, จตุตถฌานย่อมน้อมไปเพื่อประโยชน์แก่อรูปสมาบัติ หรือเพื่อประโยชน์แก่อภิญญา หรือเพื่อประโยชน์แก่วิปัสสนา, อากาสานัญจายตนะย่อมน้อมเข้าไปเพื่อประโยชน์แก่วิญญาณัญจายตนะเป็นต้น หรือเพื่อประโยชน์แก่วิปัสสนา ความเป็นผู้ฉลาดในการน้อมไปแห่งสมาธิในญาณนั้นๆ อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้. ก็เพราะปัญญา ชื่อว่าความเป็นผู้ฉลาด. ปัญญานั้นไม่ใช่สมาธิ. ฉะนั้น พึงทราบว่า สมาธิ ๗ อย่าง ท่านกล่าวด้วยสามารถปัญญานำไปสู่สมาธิ.
ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า บทว่า สมาธิกุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ได้แก่ ความเป็นผู้ฉลาดในความใส่ใจที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 625
บทว่า สมาปตฺติกุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติ ได้แก่ ความเป็นผู้ฉลาดในความใส่ใจที่องค์ฌานปรากฏแก่ผู้เข้าฌาน.
บทว่า ิติกุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในการตั้ง ได้แก่ ความรู้การออกจากนิวรณ์ในความใส่ใจที่สมาธิแน่นแฟ้นไม่ฟุ้งซ่าน.
บทว่า วุฏานกุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในการออก ได้แก่ รู้การออกจากนิวรณ์ในปฐมฌาน, รู้การออกจากองค์ในฌาน ๓, รู้การออกจากอารมณ์ในอรูปสมาบัติ, รู้การออกจากความฟุ้งซ่านในลักษณะอันมีประมาณยิ่ง, รู้การออกจากความพอใจของตนในกาลมีที่สุดและในกาลมีกิจที่ควรทำครั้งสุดท้าย.
บทว่า กลฺลตกุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในความงาม ได้แก่ รู้ว่าความเป็นผู้ฉลาดในความงามแห่งสมาธิ เพราะจิตสบาย ร่างกายสบาย อาหารสบาย เสนาสนะสบาย และบุคคลสบาย.
บทว่า โคจรกุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในโคจร ได้แก่ รู้เพื่อทำความกำหนดอารมณ์, รู้เพื่อทำความแผ่ไปยังทิศ, รู้เพื่อความเจริญ.
บทว่า อภินีหารกุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในการน้อมเข้าไป ได้แก่ น้อมนำจิตเข้าไปด้วยการใส่ใจโดยชอบในสมาธินั้นๆ , เมื่ออุปจาระถึงความชำนาญแล้ว ย่อมนำจิตเข้าไปในปฐมฌาน, ย่อมนำจิตเข้าไปในฌานสูงๆ ในอภิญญา ในอรูปสมาบัติ และในวิปัสสนา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 626
อาจารย์ทั้งหลายย่อมพรรณนาความแห่งบททั้งหลายเหล่านี้อย่างนี้ว่า ความเป็นผู้ฉลาดในการน้อมไปในสมาธินั้นๆ ด้วยประการฉะนี้.
หมวด ๘ มีอรรถดังกล่าวแล้ว. ในหมวด ๙ บทว่า รูปาวจโร ธรรมเป็นรูปเป็นไฉน? รูปาวจรเนื่องในรูปาวจรธรรม ดังที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า เหฏฺโต พฺรหฺมโลกํ ปริยนฺตํ กริตฺวา อุปริโต อกนิฏฺเ เทเว อนฺ โตกริตฺวา (๑) เบื้องล่าง ทำพรหมโลกใหัมีที่สุด เบื้องบนทำเทพชั้นอกนิฏฐ์เป็นที่สุด. ในข้อนี้มีวจนัตถะดังต่อไปนี้ นี้ ชื่อว่า รูปาวจร เพราะอรรถว่ารูป ได้แก่ รูปขันธ์ ย่อมเที่ยวไปในรูปภพนี้, ไม่ใช่กามภพ, เพราะว่าแม้รูปขันธ์ท่านก็กล่าวว่ารูป ดุจในบทมีอาทิว่า รูปกฺขนฺโธ รูปํ (๒) - รูปขันธ์เป็นรูป. อนึ่ง รูปพรหมนั้นมี ๑๖ ชั้น คือ
พรหมปาริสัชชะ ๑
พรหมปุโรหิต ๑
มหาพรหม ๑
ปริตตาภา ๑
อัปปมาณาภา ๑
อาภัสสรา ๑
ปริตตสุภา ๑
๑. อภิ. สํ. ๓๔/๘๒๙.
๒. อภิ. ยมก. ๓๘/๒๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 627
อัปปมาณสุภา ๑
สุภกิณหา ๑
อสัญญีสัตว์ ๑
เวหัปผลา ๑
อวิหา ๑
อตัปปา ๑
สุทัสสา ๑
สุทัสสี ๑
อกนิฏฐา ๑.
ที่อยู่กล่าวคือรูปาวจรภพนั้นท่านกล่าวว่า รูป เพราะลบบทหลัง, ชื่อว่า รูปาวจร เพราะเที่ยวไปในรูปนั้น. อีกอย่างหนึ่ง รูป คือ รูปภพ, ชื่อว่า รูปาวจร เพราะเที่ยวไปในรูปภพนั้น. จริงอยู่ สมาธินี้เที่ยวไปแม้ในกามภพ แม้เมื่อเที่ยวไปในที่อื่น ท่านก็กล่าวว่า รูปาวจรภพ เหมือนช้างได้ชื่อว่า สงฺคามาวจร เพราะเที่ยวไปในสงความ แม้เที่ยวไปในเมืองก็เรียกว่าสังคามาวจร, เหมือนสัตว์ทั้งหลายเที่ยวไปบนบก และเที่ยวไปในน้ำ แม้สัตว์เหล่านั้นจะอยู่ในที่ไม่ใช่บก ไม่ใช่น้ำ ก็เรียกว่า เที่ยวไปบนบก เที่ยวไปในน้ำ ฉะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า รูปาวจร เพราะยังปฏิสนธิให้เที่ยวไปในรูปคือรูปภพ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 628
บทว่า หีโน - เลว ได้แก่ ลามก. ภพในท่ามกลางของสมาธิเลวและสมาธิสูง ชื่อว่า มชฺโฌ - มัชฌะ - ปาฐะว่า มชฺฌิโม - มัชฌิมะบ้าง. ความอย่างเดียวกัน, สมาธิถึงความเป็นประธาน ชื่อว่า ปณีโต - ประณีต ความว่าสูงที่สุด. พึงทราบสมาธิเหล่านั้นด้วยการประกอบไว้. ในขณะประกอบฉันทะ วีริยะ จิตตะหรือวิมังสา ของสมาธิใดเลว, สมาธินั้นชื่อว่า หีนะ. ธรรมเหล่านั้นของสมาธิใดปานกลาง, สมาธินั้นชื่อว่า มัชฌิมะ. ของสมาธิใดประณีต สมาธินั้น ชื่อว่า ปณีตะ, หรือสมาธิสักว่าให้เกิดขึ้นก็ชื่อว่า หีนะ, เจริญไม่ค่อยดีนัก ชื่อว่า มัชฌิมะ, เจริญอย่างดียิ่งถึงความชำนาญ ชื่อว่า ปณีตะ. อรูปาวจรสมาธิพึงทราบทำนองเดียวกับนัยดังกล่าวแล้วในรูปาวจรสมาธิ.
พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า สุญฺโต สมาธิ ดังต่อไปนี้
เมื่อการออกจากมรรคเกิดแล้ว ด้วยอนัตตานุปัสนาของพระโยคาวจรผู้เห็นตามลำดับแห่งวิปัสสนาว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา ทุกฺขา อนตฺตา - สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เพราะวิปัสสนานั้นเป็นไปแล้ว โดยความเป็นของสูญในสังขารทั้งหลายที่ไม่มีตัวตน, ฉะนั้นจึงชื่อว่า สุญตา. อริยมรรคสมาธิ สำเร็จดัวยสุญญตานั้น ชื่อว่า สุญญตสมาธิ, อธิบายว่า สมาธิที่เป็นไปแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 629
ด้วยอำนาจแห่ง สุญญตะ. จริงอยู่ สมาธินั้นย่อมเป็นไปโดยอาการที่วิปัสสนาเป็นไปแล้ว.
เมื่อการออกจากมรรคเกิดแล้วด้วย อนิจจานุปัสนา เพราะวิปัสสนานั้นเป็นไปแล้วด้วยเป็นปฏิปักษ์ต่อนิมิตว่าเที่ยง, ฉะนั้นจึงชื่อว่า อนิมิตตวิปัสสนา. อริยมรรคสมาธิ สำเร็จด้วยวิปัสสนานั้น จึงชื่อว่า อนิมิตตสมาธิ. อธิบายว่า สมาธิที่เว้นจากนิมิตที่เที่ยง. จริงอยู่ สมาธินั้นย่อมเป็นไปด้วยอาการอันเป็นไปแล้วแห่งวิปัสสนา เมื่อการออกจากมรรคเกิดแล้วด้วย ทุกขานุปัสนา เพราะวิปัสสนานั้นเป็นไปแล้วด้วยเป็นปฏิปักษ์ต่อความตั้งใจปรารถนา, ฉะนั้นจึงชื่อว่า อัปปณิหิตสมาธิ, อธิบายว่า สมาธิที่เว้นจากความตั้งใจปรารถนา. เพราะสมาธินั้นย่อมเป็นไปด้วยอาการเป็นไปแล้วด้วยวิปัสสนา. พึงทราบว่า แม้ผลสมาธิ ๓ ก็เป็นเช่นนั้น เป็นอันท่านถือเอาด้วยสมาธิ ๓ เหล่านั้น. แต่ท่านไม่ยกประเภทของสมาธิ มีสมาธิเลวเป็นต้น เพราะโลกุตรสมาธิเป็นสมาธิประณีต.
ในหมวด ๑๐ พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า อุทฺธุมาตกสญฺาวเสน ด้วยสามารถความสำคัญศพที่อืด ชื่อว่า อุทฺธุมาตํ เพราะขึ้นอืดด้วยความพองขึ้นพองขึ้นตามลำดับในเบื้องบนด้วยลมดุจเครื่องสูบลม เพราะหมดชีวิต การขึ้นอืดนั่นแล ชื่อว่า อุทฺธุมาตกํ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 630
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อุทฺธุมาตกํ เพราะขึ้นอืดน่าเกลียด เพราะเป็นสิ่งปฏิกูล, บทนี้เป็นชื่อร่างซากศพเห็นปานนั้น
สีที่แตกออกเรียก วินีลํ - เขียวน่าเกลียดนั้นแล ชื่อว่า วินีลกํ. ชื่อว่า วินีลกํ เพราะสีเขียวน่าเกลียดเพราะเป็นสิ่งปฏิกูล. บทนี้เป็นชื่อของร่างซากศพมีสีแดงในที่ที่มีเนื้อสมบูรณ์, มีสีขาวในที่ที่อมหนอง, โดยมากมีสีเขียวในที่ที่มีเขียวคล้ายห่มผ้าสีเขียว.
หนองไหลในที่ที่ผิวแตก ชื่อว่า วิปุพฺพํ, หนองไหลนั่นแล ชื่อว่า วิปุพฺพกํ. ชื่อว่า วิปุพฺพกํ เพราะหนองน่าเกลียด เพราะเป็นสิ่งปฏิกูล. บทนี้เป็นชื่อของร่างซากศพเห็นปานนั้น
ศพที่คลุมไว้โดยขาดออกเป็น ๒ ท่อน ท่านเรียก วิจฺฉิทฺทํ, ศพขาดเป็นท่อนนั่นแล ชื่อว่า วิจฺฉิทฺทกํ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วิจฺฉิทฺทกํ เพราะศพขาดเป็นท่อนน่าเกลียด เพราะเป็นสิ่งปฏิกูล. บทนี้เป็นชื่อของร่างซากศพที่ขาดกลาง.
ซากศพชื่อว่า วิกฺขยิตํ เพราะถูกสุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอก เป็นต้นกัด โดยอาการต่างๆ ข้างนี้และข้างโน้น, เมื่อควรกล่าวว่า วิกฺขายิตํ ท่านกล่าวว่า วิกฺขายิตกํ - ซากศพที่ถูกสัตว์กัด, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วิกฺขายิตกํ เพราะซากศพถูกสัตว์กัดน่าเกลียดเพราะเป็นสิ่งปฏิกูล. นี้เป็นชื่อของร่างซากศพเห็นปานนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 631
ซากศพที่กระจายไปในที่ต่างๆ ชื่อว่า วิกฺขิตฺตํ, ซากศพที่กระจายไปนั่นแล ชื่อว่า วิกฺขิตฺตกํ, ชื่อว่า วิกฺขิตฺตกํ เพราะซากศพกระจายไปน่าเกลียดเพราะเป็นสิ่งปฏิกูล. บทนี้เป็นชื่อของซากศพที่กระจายไปจากที่นั้นๆ อย่างนี้ คือ มือไปข้างหนึ่ง เท้าไปข้างหนึ่ง ศีรษะไปข้างหนึ่ง.
ซากศพชื่อว่า หตวิกฺขิตฺตกํ เพราะซากศพนั้นถูกฟันและกระจัดกระจายไปโดยนัยก่อนนั่นแล. บทนี้เป็นชื่อของซากศพที่ถูกฟันด้วยศัสตราที่อวัยวะน้อยใหญ่ โดยอาการเหมือนตีนกาแล้วกระจัดกระจายไปโดยนัยดังกล่าวแล้ว.
ซากศพชื่อว่า โลหิตกํ เพราะโลหิตไหลเรี่ยราดไปข้างโน้นข้างนี้. บทนี้เป็นชื่อของร่างซากศพที่เปรอะเปื้อนโลหิตไหลเรี่ยราดไป.
ซากศพชื่อว่า ปุฬุวกํ เพราะหนอน ท่านเรียกว่า ปุฬุวา, โลหิตกระจายไปบนหนอน. บทนี้เป็นชื่อของร่างซากศพที่เต็มไปด้วยหนอน.
กระดูกนั่นแล ชื่อว่า อฏฺิกํ, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อฏฺิกํ เพราะกระดูกน่าเกลียด เพราะเป็นสิ่งปฏิกูล. บทนี้เป็นชื่อของโครงกระดูกบ้าง ของกระดูกชิ้นเดียวบ้าง ชื่อเหล่านี้เป็นชื่อของนิมิตที่เกิดเพราะอาศัยซากศพที่เป็น อุทธุมตกะ เป็นต้นบ้าง ของฌานที่ได้แล้วในนิมิตทั้งหลายบ้าง. แต่ในอุทธุมาตกนิมิตนี้ สัญญาที่เกิดด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 632
สามารถอัปปนากำหนดเอาอาการที่น่าเกลียด ชื่อว่า อุทธุมาตกสัญญา, ด้วยสามารถแห่ง อุทธุมาตกสัญญา นั้น ชื่อว่า อุทธุมาตกสัญญาวสะ. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้แล. บทว่า ปญฺจปฺาส สมาธี สมาธิ ๕๕ ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งธรรมหมวดหนึ่งเป็นต้น.
๙๓] พระสารีบุตรครั้นแสดงถึงประเภทของสมาธิด้วยสามารถหมวดหนึ่งเป็นต้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ประสงค์จะแสดงสมาธิโดยปริยาย แม้อื่นจึงแสดงปรารภปริยายอื่น อปิจ ดังนี้แล้วกล่าวบทมีอาทิว่า ปญฺจวีสติ - ๒๕. ในบทเหล่านั้นบทว่า สมาธิสฺส สมาธิฏฺา คือ สภาพในความเป็นสมาธิแห่งสมาธิ, สมาธินั้นย่อมมีได้โดยสภาพใด, สภาพเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นประโยชน์ในสมาธินั้น.
บทว่า ปริคฺหฏฺเน สมาธิ คือ เพราะสมาธิอันอินทรีย์มี สัทธินทรีย์ เป็นต้น กำหนดถือเอา ฉะนั้น ชื่อว่า สมาธิ โดยสภาพอัน สัทธินทรีย์ เป็นต้น กำหนดถือเอา. อนึ่ง อินทรีย์เหล่านั้นนั่นแล ย่อมเป็นบริวารของกันและกัน, และย่อมเป็นอินทรีย์บริบูรณ์ด้วยการบำเพ็ญภาวนา. เพราะฉะนั้น ชื่อว่าสมาธิ เพราะอรรถว่า อินทรีย์เป็นบริวารของกันและกัน เพราะอรรถว่า สัทธินทรีย์เป็นต้น บริบูรณ์. เพราะอรรถว่ามีอารมณ์เป็นอันเดียว เพราะเพ่งอารมณ์เดียว ด้วยอำนาจสมาธิแห่งอินทรีย์เหล่านั้น, เพราะอรรถว่า ไม่ฟุ้งซ่าน เพราะเพ่งความไม่มีความฟุ้งซ่านในอารมณ์ต่างๆ , พึงทราบว่า ท่านไม่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 633
ถืออรรถว่ากำหนดถือเอาความเที่ยง และอรรถว่าไม่แส่ไปไว้ในที่นี้ในภายหลัง เพราะควรบรรลุด้วยการกำหนดถือวีริยพละใหญ่แห่งโลกุตระนั่นเอง และเพราะไม่มีความแส่ไปด้วยความเสื่อมแห่งโลกุตรมรรค. ชื่อว่าสมาธิ เพราะอรรถว่า ไม่ขุ่นมัวโดยไม่มีกิเลสเกิดขึ้น. ชื่อว่าสมาธิ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหว เพราะความไม่หวั่นไหว, ชื่อว่าสมาธิ เพราะอรรถว่า หลุดพ้นจากกิเลส เพราะพ้นจากกิเลสด้วยการข่มไว้ หรือด้วยการตัดเด็ดขาด และเพราะน้อมไปในอารมณ์.
บทว่า เอกตฺตุปฏฺานวเสน จิตฺตสฺส ิตตฺตา เพราะความที่จิตตั้งอยู่ด้วยสามารถความตั้งมั่นในความเป็นจิตมีอารมณ์เดียว ความว่า เพราะความที่จิตตั้งมั่นโดยไม่หวั่นไหวในอารมณ์แห่งจิต ด้วยสามารถการตั้งมั่นอย่างหนักในอารมณ์เดียว ด้วยการประกอบสมาธินั่นเอง. พึงทราบว่า ในคู่ ๘ ท่านกล่าวถึงคู่เหล่านี้ คือ ย่อมแสวงหา ย่อมไม่แสวงหา คู่ที่ ๑, ย่อมถือเอา ย่อมไม่ถือเอา คู่ที่ ๒ ย่อมปฏิบัติ ย่อมไม่ปฏิบัติคู่ที่ ๓ ด้วยความไม่เหลือแห่งจิตที่น้อมไปในท่ามกลาง ความอ่อนแห่งอุปจาระในส่วนเบื้องต้นจากวิถีแห่งอัปปนา, พึงทราบบทนี้ว่า ฌายติ ฌาเปติ - ย่อมเพ่ง ย่อมเผา ด้วยสามารถอุปจาระในวิถีแห่งอัปปนา. พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงคู่ ๔ เหล่านี้ คือ เพราะแสวงหา เพราะไม่แสวงหา คู่ที่ ๑, เพราะยึดมั่น เพราะไม่ยึดมั่น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 634
คู่ที่ ๒, เพราะปฏิบัติแล้ว เพราะไม่ปฏิบัติแล้ว คู่ที่ ๓, เพราะเผาแล้ว เพราะไม่เผาแล้ว คู่ที่ ๔ ด้วยสามารถแห่งอัปปนา.
ในบทเหล่านั้นบทว่า สมํ ในบทมีอาทิว่า สมํ เอสตีติ สมาธิิ ได้แก่ อัปปนา. จริงอยู่ อัปปนานั้น ชื่อว่า สมา เพราะสงบ คือ ยังธรรมเป็นข้าศึกให้ฉิบหายไป, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สมา เพราะเกิดจากความไม่มีความไม่สงบอันเป็นข้าศึก. สมาธิย่อมแสวงหาความสงบนั้น คือ ย่อมแสวงหาด้วยอัธยาศัย. อิติ ศัพท์ เป็น การณัตถะ แปลว่า เพราะเหตุนั้น, อธิบายว่า เพราะแสวงหาความสงบ ฉะนั้น จึงชื่อว่า สมาธิ. บทว่า วิสมํ เนสติ ความว่า ไม่แสวงหาความไม่สงบ อันเป็นข้าศึกของฌานนั้นๆ.
จริงอยู่ สมาธิอันเป็นส่วนเบื้องต้นเป็นสมาธิก่อน ชื่อว่าย่อมแสวงหาความสงบ, ไม่แสวงหาความไม่สงบ เพราะเป็นสมาธิต้น. สมาธิเป็นกลาง ชื่อว่าย่อมถือเอาความสงบ, ไม่ถือเอาความไม่สงบ เพราะเป็นสมาธิมั่นคง.
สมาธิมีประมาณยิ่ง ชื่อว่าย่อมปฏิบัติความสงบ, ไม่ปฏิบัติความไม่สงบ เพราะเป็นสมาธิใกล้วิถีแห่งอัปปนา.
บทว่า สมํ ฌายติ เป็นภาวนปุงสกะ ความว่า เป็นความสงบจึงเพ่ง, หรือ เพ่งด้วยอาการสงบ, จริงอยู่ สมาธิในวิถีแห่งอัปปนา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 635
ย่อมเป็นไปโดยอาการสงบ เพราะสงบโดยปราศจากธรรมอันเป็นข้าศึก และเพราะตั้งอยู่ด้วยความเป็นสมาธิเกื้อหนุนอัปปนาอันสงบแล้ว.
บทว่า ฌายติ มีความรุ่งเรือง ดุจในประโยคมีอาทิว่า ประทีปในพลับพลาเหล่านี้ ย่อมรุ่งเรือง (๑) ตลอดคืน, และประทีปน้ำมัน ย่อมรุ่งเรืองตลอดคืน, ประทีปน้ำมันพึงรุ่งเรือง (๒) ในพลับพลานี้. ปาฐะว่า สมํ ชายติ บ้าง ความว่า สมาธิย่อมเกิดด้วยอาการสงบ, ปาฐะก่อนดีกว่า เพราะความเป็นคู่ว่า ฌายติ ฌาเปติ - เพ่งความสงบ เผาความไม่สงบ.
อนึ่ง บทว่า ฌาเปติ - เอาความว่าเผา. เพราะว่าสมาธินั้น ชื่อว่าย่อมเผาธรรมเป็นข้าศึกด้วยทำให้ไกลกว่า. ท่านกล่าวอัปปนาสมาธิ ด้วยบทมีอาทิว่า เอสิตตฺตา เนสิตตฺตา - เพราะแสวงหา เพราะไม่แสวงหา เพราะการแสวงหาและการไม่แสวงหาเป็นต้น สำเร็จด้วยอัปปนา.
บทว่า สมํ ฌาตตฺตา - เพราะเพ่งความสงบ, คือ เพราะรุ่งเรืองเสมอ. ปาฐะว่า สมํ ชาตตฺตา - เพราะเกิดเสมอบ้าง. ความเป็นสมาธิแห่งสมาธิ ๒๕ เหล่านี้ คือ สมาธิ ๑๖ ด้วยสามารถแห่งคู่ ๘ เหล่านี้, และสมาธิ ๙ มีข้างต้น.
๑. ที. สี. ๙/๙๒
๒. สํ. นิ. ๑๖/๒๐๑.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 636
ก็บทนี้ว่า สโม จ หิโต จ สุโข จา สมาธิ ชื่อว่าสมาธิเพราะเป็นธรรมสงบ เป็นสภาพเกื้อกูลและเป็นความสุข ท่านกล่าวเพื่อให้สำเร็จประโยชน์แห่งสมาธิอันสำเร็จแล้วด้วยอาการ ๒๕.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สโม มีความแห่ง สม ศัพท์, หรือ สํ ศัพท์
จริงอยู่ สมาธินั้น ชื่อว่า สโม เพราะเว้นจากความไม่สงบอันกำเริบที่เป็นข้าศึก.
บทว่า หิโต มีความแห่ง อธิ ศัพท์. อธิบายว่าตั้งอยู่ในอารมณ์ คือ ให้ตั้งอยู่ด้วยทำความไม่หวั่นไหว. ท่านอธิบายว่า ด้วยบททั้ง ๒ ชื่อว่าสมาธิ เพราะสงบและตั้งมั่น.
บทว่า สุโข ชื่อว่า สุโข เพราะอรรถว่า สงบ. แม้สมาธิสหรคตด้วยอุเบกขา ท่านก็ถือเอาด้วย สุข ศัพท์. มีอรรถว่าสงบเพราะท่านกล่าวไว้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อทุกขมสุขเวทนา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในความสงบ คือ ในความสุขอันประณีต และอุเบกขาท่านกล่าวว่าเป็นความสุขเพราะสงบ. ท่านกล่าวสมาธิทั้งหมดไว้ในที่นี้โดยไม่มีกำหนด. จึงเป็นอันท่านกล่าวเหตุของความตั้งมั่นด้วย สุข ศัพท์
๑. ม. มู. ๑๓/๙๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 637
นั้น. พึงทราบคำอธิบายว่า เพราะสมาธิเป็นความสงบ, ฉะนั้น สมาธิจึงตั้งมั่นในอารมณ์เดียว ด้วยประการฉะนี้.
จบ อรรถกถาสมาธิภาวนามยญาณนิทเทส