"การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังศรัทธาให้บริบูรณ์ ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์ การทำไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์ สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์ การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์"
จากข้อความข้างต้น ขอความกรุณาท่านผู้รู้ และพี่ๆ (ทางธรรม) ช่วยอธิบายขยายความแต่ละข้อ หรือแนะนำ link ที่จะช่วยให้เกิดความเข้าใจที่มากเพียงพอต่อการน้อมไปประพฤติปฏิบัติด้วยค่ะ โดยเฉพาะคำว่า "ที่บริบูรณ์" นั้น มีความหมายลึกซึ้งเพียงใดคะ
๑. การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์
๒. การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์
๓. ศรัทธาที่บริบูรณ์
๔. การทำไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์
๕. สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์
๖. การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์
๗. สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์
๘. สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์
ขอขอบพระคุณ และขออนุโมทนาล่วงหน้าค่ะ
คำว่า บริบูรณ์ ก็มีความหมายเหมือนคำภาษาไทยที่ใช้กันทั่วไป คือ เต็ม มากไม่ใช่เพียงเล็กน้อย นิดหน่อย แต่ต้องเต็มที่ บ่อยๆ เนืองๆ จนเพียงพอที่จะทำให้เป็นปัจจัยเกื้อกูลแก่ธรรมขั้นนั้นๆ เจริญขึ้น..
ขอขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอถามเพิ่มเติมนะคะว่า
ในข้อ ๔ การทำไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ นั้น มีความหมายความเหมือนหรือแตกต่างอย่างไรจากการไตร่ตรองพระธรรมอยู่เนื่องๆ คะ
ในข้อ ๕ สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ นั้น สติและปัญญาในขั้นนี้ แตกต่างจาก สติและปัญญา ในขั้นของสติปัฏฐานอย่างไรคะ
กราบอนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนา
ขออนุโมทนาค่ะ
เรียน ความเห็นที่ 2
การกระทำไว้ในใจโดยแยบคายมีความหมายกว้างขวางมาก รวมกุศลทุกระดับและรวมถึงการพิจารณาไตร่ตรองพระธรรมอยู่เนื่องๆ แม้ข้อว่า สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ก็มีความหมายกว้างเช่นกัน รวมถึงกุศลขั้นสมถะและสติปัฏฐานด้วยครับ
ลองอ่านที่ อาหารของสติปัฏฐาน ค่ะ อยู่ในคำบรรยาย "แนวทางเจริญวิปัสสนา" ของท่านอาจารย์ค่ะ
"คนผู้ถูกอวิชชาหุ้มห่อไว้ พรากจากสัทธรรม จักเสวยแต่สงสาร คือ ชาติและมรณะสิ้นกาลนาน ส่วนชนเหล่าใดได้อัตภาพเป็นมนุษย์แล้ว เมื่อพระตถาคตประกาศสัทธรรม ได้กระทำแล้ว จักกระทำ หรือกระทำอยู่ ตามพระดำรัสของพระศาสดา ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้ประสบขณะ คือ การประพฤติพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยมในโลก..."
[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ ๔๕๔
ขออนุโมทนาครับ
ขอขอบพระคุณ และอนุโมทนา อ.ประเชิญ พี่กาญจนา และคุณวันชัยค่ะ
แต่ขอความกรุณา อ.ประเชิญ หรือท่านอื่นๆ ที่พอจะมีความรู้และีมีเวลาช่วยขยายความตรง "สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์" ว่า สติและปัญญา ตามข้อความนี้ ทำกิจอย่างไร จึงยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์ได้ ขอความกรุณาด้วยค่ะ
ความเห็นส่วนตัวนะครับ
เมื่อฟังธรรมเข้าใจ ขณะที่เข้าใจ ขณะนั้นเป็นปัญญาเกิดขึ้นทำกิจเข้าใจถูก เห็นถูกในธรรมที่ได้ฟัง เมื่อปัญญาขั้นการฟัง คิด พิจารณาเหตุผลของพระธรรมมีการสะสมมากขึ้น จนมีปัจจัยให้ถึงความบริบูรณ์ ก็ย่อมจะเป็นปัจจัยให้กาย วาจา ใจเป็นไปในทางที่เป็นกุศลมากขึ้น เพราะอาศัยความเข้าใจพระธรรมที่ได้ฟัง จึงมีการระลึกได้ที่จะน้อมประพฤติปฏิบัติตามคำสอนด้วยปัญญาที่เห็นถูกในหนทาง และโสภณธรรมต่างๆ ก็จะ
เจริญขึ้นไม่ว่าจะเป็นไปในขั้นทาน ขั้นศีล และขั้นภาวนา ทั้งหมดก็เพราะอาศัยปัญญากุศลต่างๆ จึงเจริญขึ้นได้ ปัญญาที่เข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริงมากขึ้น จะเป็นปัจจัยให้เกิดการสำรวมที่จะรู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ซึ่งไม่รู้มาก่อน จึงไม่เคยละอายใจที่จะสำรวม สำเหนียก สังเกต ที่จะพิจารณารู้สิ่งนี้ครับ
ขอเชิญคลิกอ่านเพิ่มเติม >>>
สติสัมปชัญญะ
สัมปชัญญะ ๔
สติปัฏฐานและสติสัมปชัญญะ
สัมปชัญญะเป็นอย่างไร
ระวัง สังวร สัมปชัญญะ
ขอบพระคุณมากมากค่ะ
ที่กรุณาสละเวลาให้ความเห็น ซึ่งช่วยทำให้เกิดความเข้าใจที่เป็นลำดับขั้นเพิ่มมากขึ้นค่ะ และที่กรุณาแนะนำ link ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมให้ด้วย
ขออนุโมทนานะคะ
จากข้อความที่ท่านกล่าวมาด้าน บนสุด เป็นข้อความที่ถูกต้อง แต่มีเงื่อนไข ท่านต้องตีข้อความดังกล่าวด้วยปัญญาเพื่อการหลุดพ้น (ปัญญาวิมุติ) ดังนั้น จากข้อความดังกล่าว ท่านต้องรู้องค์ธรรม ของแต่ละหมวดที่ท่านกล่าวถึง นั่นหมายถืง เป็นการแกะรอยหรือถอดรหัส ของสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ การรู้องค์ธรรมต่างๆ เป็นความหมาย ของคำว่าบริบูรน์ ท่านมีความจำเป็น ที่ต้องเรียนโดยหาโอกาส มาเจอเรา * ไม่ทราบว่าท่านเอาข้อความดังกล่าวนี้มาจากที่ใหน *
ขออนุโมทนาครับ