ขันธ์ ๕ เป็น รูปขันธ์ ๑ เป็น นามขันธ์ ๔
โดย พุทธรักษา  17 ธ.ค. 2552
หัวข้อหมายเลข 14765

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

จิต เจตสิก รูป ซึ่งเป็น สังขารธรรม จำแนกได้อีกนัยหนึ่ง คือ โดยความเป็น "ขันธ์ ๕" ซึ่งหมายถึง กลุ่ม หรือ กอง

"ขันธ์ ๕" ที่เป็น "รูปขันธ์" ได้แก่ รูป ทุก รูป

"เวทนาขันธ์" ได้แก่ ความรู้สึก (เวทนาเจตสิก)

"สัญญาขันธ์" ได้แก่ ความจำ (สัญญาเจตสิก) "สังขารขันธ์" ได้แก่ เจตสิก ๕๐ ประเภท (เว้น เวทนาเจตสิก และสัญญาเจตสิก)

"วิญญาณขันธ์" ได้แก่ จิตทุกประเภท

เจตสิก ทุกประเภท จำแนกเป็น "ขันธ์ ๓" คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์หมายความว่า เวทนาเจตสิก คือ "เวทนาขันธ์" สัญญาเจตสิก คือ "สัญญาขันธ์" และ เจตสิกที่เหลือ ๕๐ ประเภท คือ "สังขารขันธ์" เช่น เจตนา โลภะ โทสะ โมหะ เมตตา อโลภะ อโทสะ ปัญญา เป็นต้น

ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ "สังขารขันธ์" หมายถึง สภาพธรรมซึ่ง "กระทำ" หรือ "นามธรรมที่ปรุงแต่งจิต" สำหรับ "จิตปรมัตถ์" คือ "วิญญาณขันธ์" ในภาษาบาลี คำว่า วิญญาณ มโน จิต ฯลฯ เป็นคำที่หมายความถึง สภาพธรรมอย่างเดียวกัน คือ สภาพธรรม ที่มีลักษณะ "รู้อารมณ์"

เมื่อจำแนกจิต โดยนัยของ "ขันธ์" ก็ใช้ คำว่า "วิญญาณขันธ์"

"ขันธ์ ๕" จึงเป็น "รูปขันธ์" ๑ ประเภท เป็น "นามขันธ์" ๔ ประเภท (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) และโดยนัยของ "นามขันธ์ ๓" ได้แก่ เจตสิก ๕๒ ประเภท (เวทนา สัญญา สังขาร) โดยนัยของ "นามขันธ์ ๑" ได้แก่ จิต ๘๙ ประเภท หรือโดยละเอียด คือ จิต ๑๒๑ ประเภท
ข้อความบางตอนจากหนังสือ พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน โดย Nina Van Gorkorm แปลโดย อาจารย์ดวงเดือน บารมีธรรม

... ขออนุโมทนา ...



ความคิดเห็น 1    โดย คุณ  วันที่ 19 ธ.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 2    โดย chatchai.k  วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ