เราเคยคิดว่า ตัวเองเป็นคนดี พูดตรงไปตรงมา ใครๆ ก็ไว้ใจในเรื่องพูดตรง แต่เมื่อได้มาศึกษาธรรมมากขึ้น ก็รู้ว่า ที่จริงเป็นคนขาดเมตตา อยากจะพูดอะไรก็พูดโพล่งออกไป โดยไม่ขัดเกลาคำพูดเสียก่อน เราอาจจะพูดในความหมายเดียวกัน แต่ถ้าเป็นจิตที่ประกอบด้วยเมตตา คำพูดนั้นก็จะไม่ทำร้ายใคร และก็คงจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ฟังมากกว่าคำพูดที่ออกไปตรงๆ โดยไม่ได้ขัดเกลาให้สละสลวย น่าฟังเสียก่อน
แต่อย่างไรก็ตาม ก็ทำให้เห็นประโยชน์ของการศึกษาธรรมมากขึ้น เพราะเป็นกระจกเงาที่ส่องให้เห็นกิเลสที่หนาแน่นของตัวเอง ทำให้รู้ว่า ควรจะต้องขัดเกลาอะไรบ้าง และที่สำคัญทำให้รู้ว่า เวลาอีกแสนโกฏิกัปป์ก็ยังน้อยเกินไปที่จะขัดเกลากิเลสที่มีอยู่ให้หมดสิ้น
กราบนมัสการพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงพระมหากรุณาตรัสสั่งสอนเรื่องต่างๆ ไว้โดยละเอียด ยิ่งศึกษา ก็ยิ่งรู้ว่ามีเรื่องที่ยังไม่รู้อีกมากมาย เพียงใบไม้ในกำพระหัตถ์ของพระผู้มีพระภาค ก็ยังไม่สามารถจะรู้ได้หมด แล้วยังอยากจะรู้เรื่องอื่นๆ ที่ไม่เป็นประโยชน์ในการขัดเกลากิเลสอยู่อีกหรือ?
อยากเรียนถามท่านผู้รู้ว่า พระผู้มีพระภาคตรัสเรื่องการพูดไว้อย่างไรบ้างคะ
ลักษณะของผู้ตรงจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาเมตตสูตรมีว่า
[๑๐] กิจนั้นใด อันพระอริยะบรรลุบทอันสงบ ทำแล้ว กิจนั้นอันกุลบุตรผู้ฉลาดพึงทำ กุลบุตรนั้น พึงเป็นผู้อาจหาญ ตรงและตรงด้วยดี พึงเป็นผู้ว่าง่าย อ่อนโยน ไม่มีอติมานะ พึงเป็นผู้สันโดษ เลี้ยงง่าย เป็นผู้มีกิจน้อย ประพฤติเบากายจิต.....
อรรถกถาขยายความบางตอนดังนี้ชื่อว่า ตรง (อุชุ) เพราะทำด้วยความไม่อวดดี ชื่อว่า ตรงดี (สุหุชู) เพราะไม่มีมายา. หรือว่า ชื่อว่า ตรง เพราะละความคดทางกายและวาจา ชื่อว่าตรงดี เพราะละความคดทางใจ. หรือชื่อว่า ตรง เพราะไม่อวดคุณที่ไม่มีจริง ชื่อว่า ตรงดี เพราะไม่อดกลั้นต่อลาภที่เกิดเพราะคุณที่ไม่มีจริง..... (ข้อความบางส่วนเกี่ยวข้องกับพระวินัยสิกขาบทของพระภิกษุไม่ได้ยกมาครับ)
ผมว่าพูดตรงในการที่ไม่ได้ศึกษาธรรมในสังคมก็ควรระวัง แต่ถ้าพูดในการศึกษาธรรมต้องตรงเสมอ ไม่ต้องเกรงใจกลัวไปทำร้ายใคร เพราะกำลังศึกษาเรื่องจริง บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ข้อสุดท้าย ทิฎฐุชุกรรม ทำความเห็นให้ถูกต้องตามความเป็นจริง ครับ
ขออนุญาตเสริมความเห็นที่ 1 ครับ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ ๔๓๙
๘. วาจาสูตร
[๑๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วาจาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ
เป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นทุพภาษิต และเป็นวาจาไม่มีโทษ วิญญูชนไม่ติเตียน
องค์ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ วาจานั้นย่อมเป็นวาจาที่กล่าวถูกกาล ๑
เป็นวาจาที่กล่าวเป็นสัจ ๑ เป็นวาจาที่กล่าวอ่อนหวาน ๑
เป็นวาจาที่กล่าวประกอบด้วยประโยชน์ ๑ เป็นวาจาที่กล่าวด้วยเมตตาจิต ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วาจาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล
เป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นทุพภาษิต และเป็นวาจาไม่มีโทษ วิญญูชนไม่ติเตียน.
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
............................ดูก่อนพราหมณ์ แท้จริงเมื่อบุคคลกล่าวสิ่งที่ได้เห็นอันใด ทำให้อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป เรากล่าวสิ่งที่ได้เห็น เห็นปานนั้นว่า ไม่ควรกล่าว แต่เมื่อบุคคลกล่าวสิ่งที่ได้เห็นอันใด ทำให้อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญขึ้น เรากล่าวสิ่งที่ได้เห็น เห็นปานนั้นว่า ควรกล่าว ..............เชิญคลิกอ่าน..ปาฏิโภคสูตร - สุตสูตร ขออนุโมทนาคะ
สะสมอกุศลมามากมาย พระธรรมเท่านั้นค่อยๆ ขัดกลาแม้แต่การพูด
ใคร่ครวญก่อนทำและพูดเป็นสิ่งที่ดี
หากสติเกิดนะ
ทุกอย่างเป็นธรรมและอนัตตา
แม้ขณะที่พูดก็มีธรรมให้รู้
อนุโมทนา
เรื่องของการพูดที่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน แต่คนทีมีปัญญาจะไม่เดือดร้อน เช่น ตอนที่
พระพุทธเจ้าแสดงธรรมกับพราหมณ์สองสามีภรรยา พราหมณ์ทั้งสองพอฟังจบได้บรรลุ
เป็นพระอนาคามี ส่วนลูกสาวชื่อนางมาคันทิยาผูกอาฆาตในคำพูดของพระพุทธเจ้าค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
"...กุลบุตรนั้น พึงเป็นผู้อาจหาญ ตรงและตรงด้วยดี..."
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาค่ะ