ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขันธ์ ๕ ได้ชื่อว่า "อุปาทานขันธ์" เพราะ เป็นที่ตั้งแห่งการยึดถือ ฯ เมื่อยึดมั่นในขันธ์ ๕ และ ไม่รู้ขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง ก็ย่อมเป็นทุกข์ ตราบใด "ขันธ์ ๕" ยังเป็น "ที่ตั้งแห่งการยึดถือ" ตราบนั้น เราก็เป็นเสมือน บุคคล ที่ถูกเบียดเบียนด้วยโรคาพยาธิ
ใน สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค นกุลปีตวรรคที่ ๑ นกุลปีตสูตร มีข้อความว่า
คฤหบดี ชื่อ นกุลบิดา เป็นผู้แก่เฒ่า เจ็บป่วยเนืองๆ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคฯ ซึ่งขณะนั้น ประทับอยู่ ณ เภสกฬาวัน (ป่าอันเป็นที่นางยักษ์ชื่อ เภสกฬา อาศัยอยู่) อันเป็นที่ให้อภัยแก่หมู่มฤค ใกล้เมืองสุงสุมารคิระ ในภัคคชนบท พระผู้มีพระภาคฯ ตรัสให้ นกุลบิดาคฤหบดี พิจารณา ว่า "เมื่อเรามี กายกระสับกระส่ายอยู่ จิตของเรา จักไม่กระสับกระส่าย" หลังจากนั้น ท่านพระสารีบุตร ก็ได้อธิบาย ขยายความ ว่า "ดูกร คฤหบดี ก็อย่างไรเล่า บุคคล จึงชื่อว่า เป็นผู้มี กายกระสับกระส่าย ด้วยจึงชื่อว่า เป็นผู้มี จิตกระสับกระส่าย ด้วย ดูกร คฤหบดีคือ "ปุถุชน" ผู้มิได้สดับแล้ว ในโลกนี้มิได้รับแนะนำ ใน "อริยธรรม"
ย่อมเห็น รูป โดยความเป็น ตน ๑ ย่อมเห็น ตน มี รูป ๑ ย่อมเห็น ตน ใน รูป ๑ ย่อมเห็น รูป ใน ตน ๑ เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วย "ความยึดมั่น" ว่าเรา เป็น รูป รูป ของเรา รูปนั้น ย่อมแปรปรวน เป็นอย่างอื่นไป เพราะ รูป แปรปรวน เป็นอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ อุปายาส จึงเกิดขึ้น ย่อมเห็น เวทนา โดยความเป็น ตน ย่อมเห็น สัญญา โดยความเป็น ตน ฯลฯ
ดูกร คฤหบดี ด้วยเหตุนี้ แลบุคคล จึงชื่อว่า เป็นผู้มี กายกระสับกระส่าย และ เป็นผู้มี จิตกระสับกระส่าย
ดูกร คฤหบดี ก็อย่างไรเล่า บุคคล แม้เป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย แต่ หาเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่าย ไม่ คือ "อริยสาวก" ในธรรมวินัยนี้ ย่อม ไม่เห็น รูป ในความเป็น ตน ๑ ย่อม ไม่เห็น เวทนา ในความเป็น ตน ๑ ย่อม ไม่ห็น สัญญา ในความเป็น ตน ๑ ย่อมไม่เห็น สังขาร โดยความเป็น ตน ๑ ย่อม ไม่เห็น วิญญาณ โดยความเป็น ตน ๑ เมื่อ วิญญาณ นั้น ย่อมแปรปรวน เป็นอย่างอื่นไป เพราะ วิญญาณ แปรปรวน เป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ อุปายาส จึงไม่เกิดขึ้น ดูกร คฤหบดี อย่างนี้ แล บุคคลนั้น แม้มี กายกระสับกระส่าย แต่ หาเป็น ผู้มี จิต-กระสับกระส่าย ไม่ ฯ"
หนังสือ "พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน" [Abhidhamma in Daily Life] โดย นีน่า วันกอร์คอม แปลโดย อ. ดวงเดือน บารมีธรรม จัดพิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดย มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
เปิดอ่านหรือดาวน์โหลดหนังสือ...
พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน
เมื่อยึดมั่นในขันธ์ ๕ และ ไม่รู้ขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง ... ก็ย่อมเป็นทุกข์
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ