พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕- หน้าที่ 230
๒. กัณฏกสูตร
ว่าด้วยธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ ๑๐ ประการ [๗๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา
ป่ามหาวัน ใกล้พระนครเวสาลี พร้อมด้วยพระเถระผู้เป็นสาวกซึ่งมีชื่อเสียงหลายรูป คือ ท่านพระปาละ ท่านพระอุปปาละ ท่านพระกักกฏะ ท่านพระกฬิมกะ ท่านพระนิกฏะ ท่านพระกฏิสสหะ และพร้อมด้วยพระเถระผู้เป็นสาวกซึ่งมีชื่อเสียงเหล่าอื่น ก็สมัยนั้นแล พวกเจ้าลิจฉวีมีชื่อเสียงเป็นอันมาก ขึ้นยานชั้นดีมีเสียงอื้ออึงต่อกันเข้าไปยังป่ามหาวันเพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้งนั้นแล ท่านผู้มีอายุเหล่านั้นได้มีความปริวิตกว่า เจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมากเหล่านี้แล ขึ้นยานชั้นดีมีเสียงอื้ออึงต่อกันเข้ามายังป่ามหาวันเพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสฌานว่า มีเสียงเป็นปฏิปักษ์ ไฉนหนอ เราทั้งหลายพึงเข้าไปยัง โคสิงคสาลทายวันณ ที่นั้น เราทั้งหลายพึงเป็นผู้มีเสียงน้อย ไม่เกลื่อนกล่น อยู่ให้ผาสุก ครั้งนั้นแล ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น เข้าไปยังโคสิงคสาลทายวัน ณ ที่นั้น ท่านผู้มีอายุเหล่านั้นเป็นผู้มีเสียงน้อย ไม่เกลื่อนกล่น อยู่เป็นผาสุก ครั้งนั้นแลพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปาลภิกษุไปไหน อุปปาลภิกษุ กักกฏภิกษุ กฬิมภ-
ภิกษุ นิกฏภิกา กฏิสสหภิกษุไปไหน พระเถระผู้เป็นสาวกเหล่านั้นไปไหนภิกษุทั้งหลายกรามทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาสท่านผู้มีอายุเหล่านั้นคิดว่า เจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมากเหล่านี้แลขึ้นยานชั้นดีมีเสียงอื้ออึงต่อกันเข้ามายังป่ามหาวัน เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสฌานว่า มีเสียงเป็นปฏิปักษ์ ไฉนหนอ เราทั้งหลายพึงเข้าไปยังโคสิงคสาลทายวัน ในที่นั้น พวกเราพึงเป็นผู้มีเสียงน้อยไม่เกลื่อนกล่น อยู่เป็นผาสุก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านผู้มีอายุเหล่านั้นเข้าไปยังโคสิงคสาลทายวัน ในที่นั้นท่านเหล่านั้นเป็นเป็นผู้มีเสียงน้อย ไม่เกลื่อนกล่น อยู่เป็นผาสุก พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลา ดีละ ดีละ จริงดังที่มหาสาวกเหล่านั้น เมื่อพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์ดังนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวฌานว่ามีเสียงเป็นปฏิปักษ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิปักษ์๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นไฉน คือความเป็นผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะเป็นปฏิปักษ์ต่อความเป็นผู้ยินดีในที่สงัด ๑ การประกอบสุภนิมิตเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้ประกอบอสุภนิมิต ๑ การดูมหรสที่เป็นข้าศึก เป็นปฏิปักษ์
ต่อผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ การติดต่อกับมาตุคาม เป็น
ปฏิปักษ์ต่อพรหมจรรย์ ๑ เสียงเป็นปฏิปักษ์ต่อปฐมฌาน ๑ วิตกวิจาร
เป็นปฏิปักษ์ต่อทุติยฌาน ๑ ปีติเป็นปฏิปักษ์ต่อตติยฌาน ๑ ลมอัสสาส-
ปัสสาสะเป็นปฏิปักษ์ต่อจตุตถฌาน ๑ สัญญาและเป็นปฏิปักษ์ต่อสัญญา-เวทยิตนิโรธสมาบัติ ๑ ราคะเป็นปฏิปักษ์ โทสะเป็นปฎิปักษ์ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่มีปฎิปักษ์อยู่เถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอรหันต์ทั้งหลาย เป็นผู้ไม่มีปฎิปักษ์ พระอรหันต์ทั้งหลาย
ไม่มีปฎิปักษ์ เป็นผู้หมดปฎิปักษ์.
จบกัณฏกสูตรที่ ๒
อรรถกถากัณฏกสูตรที่ ๒
กัณฏกสูตรที่ ๒ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อภิญฺาเตหิ อภิญฺาเตหิ ได้แก่ อันใครๆ ก็รู้จัก คือ ปรากฏแล้วเหมือนดวงจันทร์เพ็ญ เหมือนดวงอาทิตย์กลางท้องฟ้า. ในคำว่า ปรมฺปุรายนี้ ส่วนข้างหลังเรียกว่า ปร. ส่วนข้างหน้าเรียกว่า ปุรา. อธิบายว่า บริวารจำนวนมากผู้ที่แล่นไปข้างหน้า และที่ติดตามไปข้างหลัง. บทว่า กณฺฏเสียงเป็นปฏิปักษ์ต่อปฐมฌาน ๑ กา ได้แก่ ชื่อว่าหนาม เพราะอรรถว่าทิ่มตำ. บทว่า วิสูกทสฺนน ได้แก่ ดูการเล่นที่เป็นปฏิโลมอันเป็นข้าศึก.บทว่า มาตุคามูปจาโร ได้แก่ ความเป็นผู้เที่ยวไปใกล้มาตุคาม [ผู้หญิง].
จบอรรถกถากัณฏกสูตรที่ ๒