อาพาธสูตร .. ทรงแสดงสัญญา ๑๐ ประการแก่พระคิริมานนท์ผู้อาพาธ
โดย Niranya  30 มี.ค. 2550
หัวข้อหมายเลข 3234

ขอความกรุณา ลงพระสูตร คิริมานทสูตร ค่ะ

ดิฉันเจอหัวข้อของคุณ tanya เรื่องความเจ็บป่วย

ดิฉันเคยฟังพระสูตรชื่อ คิริมานทสูตร ดีมากเลยค่ะ เรื่องความตายเป็นเรื่องธรรมดา

คิดว่าคงเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นด้วยค่ะ

ขอขอบพระคุณมาล่วงหน้าค่ะ



ความคิดเห็น 1    โดย study  วันที่ 30 มี.ค. 2550

ในพระไตรปิฎกใช้คำว่า อาพาธสูตร ครับ ไม่มี คิริมานนทสูตรถ้าผู้ศึกษาสูตรนี้ไม่เข้าใจคงไม่หายป่วยเหมือนท่านพระคิริมานนท์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ 190

๑๐. อาพาธสูตร ว่าด้วยทรงแสดงสัญญา ๑๐ ประการแก่พระคิริมานนท์ผู้อาพาธ [๖๐] สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชต-วัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระคิริมานนท์อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้นแลท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระคิริมานนท์อาพาธได้รับทุกข์เป็นไข้หนัก ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าได้โปรดอนุเคราะห์เสด็จเยี่ยมท่านพระคิริมานนท์ยังที่อยู่เถิด พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ถ้าเธอพึงเข้าไปหาแล้วกล่าวสัญญา ๑๐ ประการแก่คิริมานนท์ภิกษุไซร้ ข้อที่อาพาธของคิริมา-นนท์ภิกษุจะพึงสงบระงับโดยพลัน เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ประการนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ สัญญา ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ อนิจจสัญญา ๑อนัตตสัญญา ๑ อสุภสัญญา ๑ อาทีนวสัญญา ๑ ปหานสัญญา ๑ วิราคสัญญา ๑ นิโรธสัญญา ๑ สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑ สัพพสังขาเรสุ-อนิจจสัญญา ๑ อานาปานัสสติ ๑. ดูก่อนอานนท์ ก็อนิจจสัญญาเป็นไฉน ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อม พิจารณาเห็นดังนี้ว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ด้วยประการอย่างนี้ ดูก่อนอานนท์ นี้ เรียกว่าอนิจจสัญญา. ดูก่อนอานนท์ ก็ อนัตตสัญญา เป็นไฉน ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า จักษุเป็นอนัตตา รูปเป็นอนัตตา หูเป็นอนัตตาเสียงเป็นอนัตตา จมูกเป็นอนัตตา กลิ่นเป็นอนัตตา ลิ้นเป็นอนัตตา รสเป็นอนัตตา กายเป็นอนัตตา โผฎฐัพพะเป็นอนัตตา ใจเป็นอนัตตาธรรมารมณ์เป็นอนัตตา ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตาในอายตนะทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ๖ ประการเหล่านี้ ด้วยประการอย่างนี้ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า อนัตตสัญญา. ดูก่อนอานนท์ ก็อสุภสัญญาเป็นไฉน ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้นั่นแล เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไปเบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มโดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ ว่า ในกายนี้มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูกเยื่อในกระดูก ม้าม เนื้อหัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตาเปลวมัน น้ำลา น้ำมูก ไขข้อ มูตร ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่งามในกายนี้ ด้วยประการดังนี้ ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า อสุภสัญญา. ดูก่อนอานนท์ ก็อาทีนวสัญญาเป็นไฉน ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก เพราะฉะนั้น อาพาธต่างๆ จึงเกิดขึ้นในกายนี้ คือ โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรค กาย โรคศีรษะ โรคที่ใบหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เชื่อมซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิดโรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อโรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคิดทะราด หูด โรคละอองบวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพองโรคริดสีดวง อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐานอาพาพีไข้สันนิบาต อาพาธอันเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธอันเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธอันเกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธอัน เกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นโทษในกายนี้ ด้วยประการดังนี้ ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า อาทีนวสัญญา. ดูก่อนอานนท์ ก็ปหานสัญญาเป็นไฉน ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไปย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งกามวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดี ย่อมละย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งพยาบาทวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งวิหิงสาวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดีย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลายอันชั่วช้า อันเกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นแล้ว ดูก่อนอานนท์นี้เรียกว่า ปหานสัญญา. ฯลฯ ลำดับนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เรียนสัญญา ๑๐ ประการนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้เข้าไปหาท่านพระคิริมานนท์ยังที่อยู่ครั้นแล้วได้กล่าวสัญญา ๑๐ ประการแก่ท่านพระคิริมานนท์ ครั้งนั้นแลอาพาธนั้นของท่านพระคิริมานนท์สงบระงับโดยพลัน เพราะได้ฟังสัญญา๑๐ ประการนี้ ท่านพระคิริมานนท์หายจากอาพาธนั้น ก็แล อาพาธนั้นเป็นโรคอันท่านพระคิริมานนท์ละได้แล้วด้วยประการนั้นแล. จบอาพาธสูตรที่ ๑๐


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 30 มี.ค. 2550
ขออนุโมทนา

ความคิดเห็น 3    โดย wannee.s  วันที่ 30 มี.ค. 2550

มีหลายเรื่องในพระไตรปิฎกว่า พระพุทธเจ้า พระโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ

ตอนที่ท่านป่วย เมื่อฟังโพชฌงค์ 7 ก็หายป่วย

โพชฌงค์ 7 คือ

สติสัมโพชฌงค์ ๑ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ๑ วิริยสัมโพชฌงค์ ๑

ปีติสัมโพชฌงค์ ๑ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๑ สมาธิสัมโพชณงค์ ๑

อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ๑


ความคิดเห็น 4    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 30 มี.ค. 2550

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 190 ข้อความบางตอนจาก ปรินิพพานสูตร

[๖๒๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ท้าวสหัมบดีพรหมได้กล่าวคาถานี้พร้อมกับกาลเป็นที่ปรินิพพานว่า สัตว์ทุกหมู่เหล่า จักทอดทิ้งร่างกาย ไว้ในโลก พระตถาคตผู้ศาสดา ผู้หาบุคคล เปรียบมิได้ในโลก ถึงแล้วซึ่งกำลังพระ- ญาณเป็นพระสัมพุทธะเช่นนี้ ยังปรินิพพาน แล้ว. [๖๒๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่ของทวยเทพได้กล่าวคาถานี้ พร้อมกับกาลเป็นที่ปรินิพพานว่า สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยงหนอ มี ความเกิดขึ้น และเสื่อมไปเป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ความเข้าไปสงบ สังขารเหล่านั้นเป็นสุข. [๖๒๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวคาถานี้พร้อมกับกาลเป็นที่ปรินิพพานว่า เมื่อพระสัมพุทธเจ้าผู้ประกอบด้วย อาการอันประเสริฐทั้งปวงปรินิพพานแล้ว ความสยดสยอง (และ) ความชูชันแห่งขน ได้มีแล้วในกาลนั้น. [๖๒๕] เมือพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ท่านพระอนุรุทธะได้กล่าวคาถานี้ พร้อมกับกาลเป็นที่ปรินิพพานว่า ลมอัสสาสปัสสาสะ (หายใจเข้า ออก) มิได้มีแล้วแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีจิตตั้งมั่นคงที่ พระผู้มีพระภาคเจ้ามี จักษุไม่ทรงหวั่นไหว ทรงปรารถสันติ ปรินิพพานแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้ามีจิต ไม่หดหู่ ทรงอดกลั้นเวทนาเสียได้ ความ พ้นแห่งจิตได้มีแล้ว เหมือนความดับแห่ง ประทีป ฉะนั้น .


ความคิดเห็น 5    โดย วันชัย๒๕๐๔  วันที่ 30 มี.ค. 2550
ขออนุโมทนา

ความคิดเห็น 6    โดย suwit02  วันที่ 9 เม.ย. 2551
สาธุ