อโทสเจตสิก มี สัตว์บุคคลเป็นอารมณ์
โดย peeraphon  20 เม.ย. 2558
หัวข้อหมายเลข 26474

เรียนท่านอาจารย์ทุกท่านครับ

สงสัยเรื่อง จิตที่ประกอบด้วย จิตที่ประกอบด้วยเมตตา จะต้องมีสัตว์บุคคลเป็นอารมณ์เสมอ ซึ่งต้องไม่ใช่สภาพธรรมอื่นๆ เป็นอารมณ์.

หาก นึกถึงบุคคลที่ตกทุกข์ได้ยาก โดยที่ขณะนั้น ไม่ได้เห็นบุคคลนั้น ไม่ได้ยินเสียงบุคคลนั้น ไม่ได้กลิ่น ฯลฯ.. และมีความประสงค์ช่วยเหลือเกื้อกูล ด้วย กาย วาจา ขณะนั้นมี สภาพธรรมนึกคิดตรึกถึงสัตว์,บุคคลนั้นๆ เป็นอารมณ์ ซึ่งมีแต่การนึกคิด ขณะนั้นจิตประกอบด้วยเมตตาเจตสิกหรือไม่ หรือขณะนั้นมีแค่ กุศลจิตโดยมีโสภณเจตสิกเกิดขึ้นเท่านั้น? หรือขณะนั้นจิตมีบัญญัติเป็นอารมณ์ครับ?

ขอบพระคุณ และ ขออนุโมทนาครับ



ความคิดเห็น 1    โดย paderm  วันที่ 20 เม.ย. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขณะที่เกิดจิตคิดหวังดี ขณะนั้น มี อโทสเจตสิกเกิดขึ้น ซึ่ง เมตตา ความหวังดี มีบัญญัติเป็นอารมณ์ คือ เรื่องราว เพราะฉะนั้น แม้ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน บุคคลที่จะทำให้เกิดเมตตา แต่เมื่อนึกถึงเรื่องราว ที่เป็นบุคคลอื่น ขณะนั้นก็มีบัญญัติเป็นอารมณ์ เช่นกัน ก็สามารถเกิด เมตตาจิตในขณะนั้น โดยที่เป็นจิตที่ดีงาม ที่มีบัญญัติเป็นอารมณ์ เป็นจิตที่มีเมตตา ครับ

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 2    โดย khampan.a  วันที่ 20 เม.ย. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สภาพธรรมแต่ละหนึ่ง ก็เป็นแต่ละหนึ่ง ไม่ใช่อย่างเดียวกัน และที่สำคัญ เมื่อกุศลเกิดขึ้นนั้น ว่าโดยสภาพธรรมก็ได้แก่ กุศลจิตและเจตสิกธรรมที่เกิดร่วมด้วย แสดงถึงความเป็นจริงของสภาพธรรมที่ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนอย่างสิ้นเชิง เมตตา ต้องเมตตาต่อสัตว์บุคคล ไม่ใช่สิ่งอื่น เมตตา เป็นสภาพธรรมที่ดีงาม เป็นสภาพจิตที่ดีงามที่เกิดขึ้นในขณะที่มีความเป็นมิตร มีความเป็นเพื่อน มีความหวังดี มีความปรารถนาดี ไม่มีความหวังร้ายหรือมุ่งร้ายต่อผู้อื่น ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ การที่เมตตาจะมีหรือจะเกิดขึ้นจนมีกำลังยิ่งขึ้นในจิตใจของแต่ละบุคคลได้นั้น ต้องอาศัยการศึกษาและอบรม ในเบื้องต้นต้องเห็นโทษของความโกรธ และเห็นคุณของความไม่โกรธ ประการที่สำคัญคือ การได้ฟัง ได้ศึกษาพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงที่เป็นปัจจัยแก่เมตตา ย่อมจะทำให้ความโกรธลดลงและทำให้เมตตาเกิดในชีวิตประจำวันได้ ขณะที่มีเมตตานั้น ก็คือ กุศลจิต ประกอบด้วยเจตสิกธรรม มี อโลภะ อโทสะ สติ หิริ โอตตัปปะ เป็นต้น ตามควรแก่กุศลจิตขณะนั้นๆ

กรุณา ก็เป็นธรรมฝ่ายดีอีกประเภทหนึ่ง หมายถึง ความสงสารคิดจะช่วยบุคคลอื่นให้พ้นจากทุกข์ เมื่อเห็นผู้อื่นเป็นทุกข์ ได้รับความลำบากแล้วมีการช่วยเหลือ ขณะนั้นเป็นกุศลจิต แต่ความรู้สึกเศร้าใจ หดหู่ใจ เมื่อเห็นผู้อื่นเป็นทุกข์ อย่างนี้ไม่ใช่กุศล แต่เป็นกุศล เป็นโทสะ เป็นความไม่สบายใจ, เมื่อเห็นสัตว์อื่นมีความทุกข์ ถ้าจิตใจของเราเกิดความเศร้าหมอง โศกเศร้า ขณะนั้นย่อมเป็นกุศล ซึ่งมีลักษณะที่ต่างจากความใคร่จะช่วยเหลือให้เขาพ้นจากทุกข์ประการนั้นๆ อย่างสิ้นเชิง ขณะที่ความสงสารเกิดขึ้น ก็ต้องเกิดพร้อมกับกุศลจิตและเจตสิกธรรมทั้งหลายที่เกิดร่วมด้วย ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 3    โดย ธุลีพุทธบาท  วันที่ 21 เม.ย. 2558

กราบขอบพระคุณและอนุโมทนาอาจารย์ทั้งสองท่าน ครับ.


ความคิดเห็น 4    โดย wannee.s  วันที่ 21 เม.ย. 2558

การเจริญเมตตา แม้ไม่ได้เห็นสัตว์ บุคคล ก็เจริญได้ เช่น สาราณียธรรม ที่ท่านว่า เจริญเมตตา กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ค่ะ


ความคิดเห็น 5    โดย peem  วันที่ 26 เม.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 6    โดย Jarunee.A  วันที่ 26 พ.ย. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ