[เล่มที่ 5] พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓
พระวินัยปิฎก เล่ม ๓
ภิกขุนีวิภังค์
ปาจิตติยกัณฑ์
จิตตาคารวรรคที่ ๕
สิกขาบทที่ ๑ 295/317
พระบัญญัติ ๙๖.๑ 318
อรรถกถาสิกขาบทที่ ๑ 319
สิกขาบทที่ ๒ 298/321
พระบัญญัติ ๙๗.๒ 322
อรรถกถาสิกขาบทที่ ๒ 323
สิกขาบทที่ ๓ 301/324
พระบัญญัติ ๙๘.๓ 325
อรรถกถาสิกขาบทที่ ๓ 326
สิกขาบทที่ ๔ 304/327
พระบัญญัติ ๙๙.๔ 327
อรรถกถาสิกขาบทที่ ๔ 328
สิกขาบทที่๕ 307/330
พระบัญญัติ ๑๐๐.๕ 331
อรรถกถาสิกขาบทที่ ๕ 333
สิกขาบทที่ ๖ 311/334
พระบัญญัติ ๑๐๑.๖ 335
อรรถกถาสิกขาบทที่ ๖ 336
สิกขาบทที่ ๗ 314/337
พระบัญญัติ ๑๐๒.๗ 338
อรรถกถาสิกขาบทที่ ๗ 339
สิกขาบทที่ ๘ 318/340
พระบัญญัติ ๑๐๓.๘ 341
อรรถกถาสิกขาบทที่ ๘ 343
สิกขาบทที่ ๙ 322/344
พระบัญญัติ ๑๐๔.๙. 345
อรรถกถาสิกขาบทที่ ๙ 346
สิกขาบทที่ ๑๐ 325/347
พระบัญญัติ ๑๐๕.๑๐ 348
อรรถกถาสิกขาบทที่ ๑๐ 349
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 5]
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 317
ปาจิตตีย์ จิตตาคารวรรคที่ ๕
จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๑
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๒๙๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ใน พระราชอุทยานของพระเจ้าปเสนทิโกศล มีลายภาพสวยงามซึ่งจิตกรเขียนไว้ใน ห้องภาพ คนเป็นอันมากพากันไปดูห้องภาพ แม้ภิกษุณีเหล่าฉัพพัคคีย์ก็ได้ไป ดูห้องภาพ ชาวบ้านพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพวกภิกษุณี จึงได้ไปดูห้องภาพ เหมือนสตรีชาวบ้านผู้บริโภคกามเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินชาวบ้านพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา อยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุณีเหล่าฉัพพัคคีย์จึงได้ไปดูห้องภาพเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีเหล่านี้ฉัพพัคคีย์ไปดูห้องภาพ จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีเหล่าฉัพพัคคีย์จึงได้ไปดูห้องภาพเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่ เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 318
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๙๖. ๑. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไปดูโรงละครหลวงก็ดี อาคาร ประกวดภาพก็ดี สถานที่หย่อนใจก็ดี อุทยานก็ดี สระโบกขรณีก็ดี เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๒๙๖] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า โรงละครหลวง ได้แก่ สถานที่เขาสร้างขึ้นไว้ถวายพระ ราชาเพื่อให้ทรงเพลิดเพลิน เพื่อทรงพระสำราญ.
ที่ชื่อว่า อาคารประกวดภาพ ได้แก่ สถานที่เขาสร้างขึ้นไว้ เพื่อ ให้คนทั้งหลายชมเล่น เพื่อความรื่นเริง.
ที่ชื่อว่า สถานที่หย่อนใจ ได้แก่ สถานที่เขาสร้างขึ้นไว้เพื่อให้ คนทั้งหลายเล่น เพื่อหย่อนอารมณ์.
ที่ชื่อว่า อุทยาน ได้แก่ อุทยานที่เขาจัดไว้เพื่อให้คนทั้งหลายเล่น กีฬา เพื่อพักผ่อน.
ที่ชื่อว่า สระโบกขรณี ได้แก่ ชลาลัยที่เขาขุดไว้เพื่อให้คนทั้งหลาย เล่นกีฬา เพื่อรื่นเริง.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 319
ไปดู ต้องอาบัติทุกกฏ ยืนอยู่สถานที่ใดมองเห็น ต้องอาบัติปาจิตตีย์. พ้นสายตาไปแล้วกลับมามองดูอีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ไปดูอย่างหนึ่งๆ ต้อง อาบัติทุกกฏ ยืนดูอยู่ในสถานที่ใดมองเห็น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ พ้นสายตาไป แล้วกลับมามองดูอีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๒๙๗] ยืนอยู่ในอารามมองเห็น ๑ เดินไปหรือเดินมาแลเห็น ๑ มี กิจธุระเดินไปพบเข้า ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้อง อาบัติแล.
จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ
อรรถกถาจิตตาคารวรรคที่ ๕
อรรถกถาจิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๑
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑ แห่งจิตตาคารวรรค พึงทราบดังต่อไปนี้:-
บทว่า ราชาคารํ ได้แก่ โรงละครหลวง.
บทว่า จตฺตาคารํ ได้แก่ ศาลาแสดงจิตรกรรมน่าเพลิดเพลิน.
บทว่า อารามํ ได้แก่ สวนที่เป็นสถานที่หย่อนใจ.
บทว่า อุยฺยานํ ได้แก่ อุทยานเป็นที่หย่อนอารมณ์.
บทว่า โปกฺขรณึ ได้แก่ สระโบกขรณีเป็นที่สำหรับเล่นกีฬา เพราะ เหตุนั้นแล ในบทภาชนะ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสคำว่า ยตฺถ กตฺถจิ รญฺโ กีฬิตุํ เป็นต้น.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 320
ในคำว่า ทสฺสนาย คจฺฉติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส นี้ พึงทราบ วินิจฉัยดังนี้:- เป็นทุกกฏ โดยนับย่างเท้า.
ก็ในคำว่า ยตฺถ ิตา ปสฺสติ นี้ มีวินิจฉัยว่า ถ้าภิกษุณียืนใน ที่เดียวนั่นแหละ ไม่ยกเท้าไปมาดูอยู่ถึง ๕ ครั้ง ก็เป็นปาจิตตีย์ตัวเดียวเท่านั้น. แต่เมื่อภิกษุณีมองดูทิศภาคนั้นๆ แล้วดูอยู่ เป็นอาบัติ แยกออกไปหลายตัว. แต่เป็นทุกกฏแก่ภิกษุในที่ทั้งปวง.
สองบทว่า อาราเม ิตา มีความว่า ชนทั้งหลายสร้างพระราชวังหลวงเป็นต้นใกล้อารามที่อยู่ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุณีมองเห็นพระราชวังหลวง เป็นต้นนั้น.
สองบทว่า คจฺฉนฺตี วา อาคจฺฉนฺตี วา มีความว่า มองเห็น พระราชวังหลวงเป็นต้นนั้น ซึ่งมีอยู่ใกล้ทางของภิกษุณีผู้เดินไปเพื่อประโยชน์ แก่บิณฑบาตเป็นต้น ไม่เป็นอาบัติ.
คำว่า สติ กรณีเย คนฺตฺวา มีความว่า ภิกษุณีไปยังราชสำนัก ด้วยกิจจำเป็นบางอย่าง แล้วเห็น ไม่เป็นอาบัติ.
บทว่า อาปทาสุ มีความว่า ภิกษุณีถูกอันตรายบางอย่างรบกวน หลบเข้าไปแล้วเห็นไม่เป็นอาบัติ. บทที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๓ แล.
อรรถกถาจิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 321
จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๒
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๒๙๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ทั้งหลายนั่งนอนบนตั่งบ้าง บนแคร่บ้าง คนทั้งหลายเที่ยวชมวิหารพบเห็นแล้ว พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพวกภิกษุณีจึงได้ใช้ตั่งบ้าง แคร่ บ้าง เหมือนสตรีคฤหัสห์ผู้บริโภคกามเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพวก ภิกษุณีจึงได้ใช้ตั่งบ้าง แคร่บ้าง เล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกภิกษุณีใช้ตั่งบ้าง แคร่บ้าง จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก ภิกษุณีจึงได้ใช้ตั่งบ้าง แคร่บ้างเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไป เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 322
พระบัญญัติ
๙๗. ๒. อนึ่ง ภิกษุณีใด ใช้ตั่งก็ดี แคร่ก็ดี เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๒๙๙] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ตั่ง ได้แก่ ตั่งชนิดที่เรียกกันว่าเกินประมาณ.
ที่ชื่อว่า แคร่ ได้แก่ แคร่ที่เขาถักด้วยเครือเถาหญ้านางที่คนหามา
บทว่า ใช้ คือ นั่งก็ดี นอนก็ดี บนตั่งหรือแคร่นั้น ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๓๐๐] ใช้ตั่งที่ตัดเท้าแล้ว ๑ ใช้แคร่ที่ทำลายเคลือหญ้านางแล้ว ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 323
อรรถกถาจิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๒
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๒ พึงทราบดังนี้:-
บัณฑิตพึงทราบว่าเป็นอาบัติมากตัว ด้วยการนับประโยคในกาลนั่งทับ และนอนทับ. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานเหมือนเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.
อรรถกถาจิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 324
จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๓
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๓๐๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ฉัพพัคคีย์ พากันกรอด้าย คนทั้งหลายเที่ยวชมวิหารพบเห็นแล้ว พากัน เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้กรอด้ายกัน เหมือน สตรีชาวบ้านผู้บริโภคกามเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี ฉัพพัคคีย์จึงได้กรอด้ายกันเล่า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีฉัพพัคคีย์พากันกรอด้าย จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้กรอด้ายกัน การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้น แสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 325
พระบัญญัติ
๙๘. ๓. อนึ่ง ภิกษุใด กรอด้าย เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๐๒] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็น ผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ด้าย ได้แก่ ด้าย ๖ ชนิด คือ ด้ายทำด้วยเปลือกไม้ ทำ ด้วยฝ้าย ทำด้วยไหม ทำด้วยขนสัตว์ ทำด้วยป่าน ทำด้วยสัมภาระเจือกัน.
บทว่า กรอ คือ กรอเอง เป็นทุกกฏในประโยค ม้วนไปๆ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๓๐๓] กรอด้ายที่เขากรอไว้แล้ว ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ ต้องอาบัติแล.
จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 326
อรรถกถาจิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๓
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๓ พึงทราบดังนี้:-
บทว่า อุชฺชวูชฺชเว มีความว่า เมื่อภิกษุณีม้วนด้ายเท่าที่สาวออก ไปด้วยมือเข้ามา เป็นอาบัติตัวเดียว. แต่เป็นทุกกฏ ในทุกๆ ประโยค โดย นับครั้งขยับมือ ตั้งต้นแต่เลือกฝ้ายก่อนจะกรอ.
บทว่า กนฺติตสุตฺตํ ความว่า กรอด้ายเชิงชายให้ควบกันเป็นต้น หรือกรอด้ายที่เขากรอไว้ไม่ดีใหม่. บทที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.
อรรถกถาจิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 327
จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๔
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๓๐๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ทั้งหลายช่วยทำงานของชาวบ้าน บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ช่วยทำงานของชาวบ้านเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกภิกษุณีช่วยทำงานของชาวบ้าน จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีจึงได้ช่วยทำงานของชาวบ้านเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็น ไปเพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๙๙. ๔. อนึ่ง ภิกษุณีใด ทำงานช่วยเหลือสำหรับคฤหัสถ์ เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 328
สิกขาบทวิภังค์
[๓๐๕] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า งานช่วยเหลือสำหรับคฤหัสถ์ คือ ต้มยาคูก็ดี หุงข้าว ก็ดี ทำของเคี้ยวก็ดี หรือซักผ้าสาฎกก็ดี ผ้าโพกก็ดี ของชาวบ้าน ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๓๐๖] ต้มยาคูถวายสงฆ์ ๑ หุงข้าวถวายสงฆ์ ๑ ในการบูชาเจดีย ๑ ต้มยาคูก็ดี หุงข้าวก็ดี ทำของเคี้ยวก็ดี ซักผ้าสาฎกก็ดี ผ้าโพกก็ดี ให้แก่ ไวยาวัจกรของตน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ
อรรถกถาจิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๔
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๔ พึงทราบดังนี้ :-
ในบทว่า ยาคู วา เป็นต้น พึงทราบว่า เป็นทุกกฏ โดยนับประโยค ในทุกๆ ประโยค ตั้งต้นแต่การบดข้าวสารเป็นต้น. ในข้าวต้มและข้าวสวย พึงทราบว่า เป็นปาจิตตีย์มากตัว โดยการนับภาชนะ. ในของควรเคี้ยวเป็นต้น เป็นปาจิตตีย์มากตัว โดยการนับชนิดของ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 329
บทว่า ยาคุปาเน มีความว่า เมื่อพวกชาวบ้านกำลังปรุงข้าวยาคู ทำ น้ำปานะหรือสังฆภัตเพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ ภิกษุณีหุงต้มโภชนะอย่างใดอย่าง หนึ่ง โดยสมบทเข้าร่วมกับชาวบ้านเหล่านั้น ไม่เป็นอาบัติ. ภิกษุณีเป็นเพื่อน บูชาพระเจดีย์ บูชาของหอมเป็นต้น ควรอยู่.
สองบทว่า อตฺตโน เวยฺยาวจฺจกรสฺส มีความว่า ถ้าแม้นว่า มารดาและบิดามาหา ภิกษุณีจะวานให้ท่านทำของอย่างใดอย่างหนึ่งให้ เป็น พัด หรือด้ามไม้กวาดก็ได้ ตั้งในไว้ฐานะแห่งไวยาจักรก่อนแล้วหุงต้มโภชนะ อย่างใดอย่างหนึ่งให้ ควรอยู่. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สมุฏฐานเป็นต้น เป็นเช่นเดียวกับสิกขาบทที่ ๓ ทั้งนั้นแล.
อรรถกถาจิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 330
จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๕
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๓๐๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี รูปหนึ่งเข้าไปหาภิกษุณีถุลลนันทา แล้วได้กล่าวขอร้องว่า ขอเชิญแม่เจ้า โปรดไปช่วยระงับอธิกรณ์นี้ เธอรับคำว่าได้ แล้วไม่ช่วยระงับ ไม่ขวนขวาย เพื่อระงับ ภิกษุณีรูปนั้นจึงได้เล่าเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย. บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ว่า แม่เจ้าถุลลนันทา อันภิกษุณีกล่าวขอร้องว่า ขอเชิญแม่เจ้าได้โปรดช่วย ระงับอธิกรณ์นี้ ดังนี้ รับคำว่าได้ แล้วไฉนจึงไม่ช่วยระงับ ไม่ขวนขวายเพื่อ จะระงับเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทารับปากคำภิกษุณีรูปหนึ่งว่าจะช่วยระงับอธิกรณ์ แล้ว ไม่ช่วยระงับ ไม่ขวนขวายเพื่อจะระงับ จริงหรือ. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณี ถุลลนันทาอันภิกษุณีรูปหนึ่งกล่าวขอร้องว่า ขอเชิญแม่เจ้าช่วยระงับอธิกรณ์นี้ รับคำเขาแล้ว ไฉนจึงไม่ระงับ ไม่ขวนขวายเพื่อจะระงับ การกระทำของนาง นั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 331
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๑๐๐. ๕. อนึ่ง ภิกษุณีใด ผู้อันภิกษุณีกล่าวอยู่ว่า มาเถิด แม่เจ้า จงช่วยระงับอธิกรณ์นี้ รับคำว่าดีละแล้ว นางไม่มีอันตราย ในภายหลัง ไม่ระงับ ไม่ทำการขวนขวายเพื่อระงับ เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๐๘] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า อันภิกษุณี คือ อันภิกษุณีรูปอื่น.
ที่ชื่อว่า อธิกรณ์ ได้แก่ อธิกรณ์ ๔ คือ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิ- กรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์.
คำว่า มาเถิดแม่เจ้า จะช่วยระงับอธิกรณ์นี้ ความว่า ขอเชิญ แม่เจ้า โปรดตัดสินอธิกรณ์นี้.
คำว่า นางไม่มีอันตรายในภายหลัง คือ ในเมื่อเหตุขัดขวางไม่มี
บทว่า ไม่ระงับ คือ ไม่ระงับด้วยตนเอง.
บทว่า ไม่ทำการขวนขวายเพื่อระงับ คือไม่ใช้ผู้อื่น.
พอทอดธุระว่าจักไม่ระงับละ จักไม่ทำการขวนขวายเพื่อระงับละ ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตติย์.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 332
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๓๐๙] อธิกรณ์ของอุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่า ของอุปสัมบัน ไม่ ระงับ ไม่ทำการขวนขวายเพื่อระงับ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อธิกรณ์ของอุปสัมบัน ภิกษุณีมีความสงสัย ไม่ระงับ ไม่ทำการ ขวนขวายเพื่อระงับ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อธิกรณ์ของอุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่า ของอนุปสัมบัน ไม่ระงับ ไม่ทำการขวนขวายเพื่อระงับ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
จตุกกะทุกกฏ
อธิกรณ์ของอนุปสัมบัน ภิกษุณีไม่ระงับ ไม่ทำการขวนขวายเพื่อ ระงับ ต้องอาบัติทุกกฏ. อธิกรณ์ของอนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าของอุปสัมบัน ต้องอาบัติ ทุกกฏ.
อธิกรณ์ของอนุปสัมบัน ภิกษุณีมีความสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
อธิกรณ์ของอนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฎ.
อนาปัตติวาร
[๓๑๐] ในเมื่ออันตรายมี ๑ แสวงหาแล้วไม่ได้ ๑ อาพาธ ๑ มีเหตุ ขัดข้อง ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 333
จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๖
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๓๑๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ถุลลนันทาให้ของเคี้ยวของบริโภค แก่พวกครูฟ้อนรำบ้าง แก่พวกฟ้อนรำบ้าง แก่พวกโดดไม้สูงบ้าง แก่พวกจำอวดบ้าง แก่พวกเล่นกลองบ้าง ด้วยมือของ ตน พร้อมกับสั่งว่า ท่านทั้งหลายจงกล่าวสรรเสริญข้าพเจ้าในที่ชุมนุมชน พวก ครูฟ้อนรำก็ดี พวกฟ้อนรำก็ดี พวกโดดไม้สูงก็ดี พวกจำอวดก็ดี พวกเล่น กลองก็ดี ต่างก็สรรเสริญภิกษุณีถุลลนันทาในชุมนุมชนว่า แม่เจ้าถุลลนันทา เป็นพหูสูต เป็นคนช่างพูด เป็นผู้องอาจ สามารถเจรจาถ้อยคำมีหลักฐาน ท่านทั้งหลายจงถวายแก่แม่เจ้า จงทำแก่แม่เจ้า ดังนี้.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้ให้ของเคี้ยวของบริโภคแก่พวกชาวบ้านด้วยมือ ของตนเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีถุลลนันทาให้ของเคี้ยวของบริโภคแก่ชาวบ้านด้วยมือของตนเอง จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 334
อรรถกถาจิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๕
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๕ พึงทราบดังนี้:-
สองบทว่า อสติ อนฺตราเย ได้แก่ เมื่อไม่มีอันตราย ๑๐ อย่าง. ภิกษุณีทอดธุระแล้ว ภายหลังจึงวินิจฉัย ชื่อว่า ต้องอาบัติก่อนแล้วจึงวินิจฉัย.
สองบทว่า ปริเยสิตฺวา น ลภติ มีความว่า ไม่ได้ภิกษุณีทั้งหลาย ผู้ร่วมมือ. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีการทอดธุระเป็นสมุฏฐาน เป็นอกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศล เป็นทุกขเวทนา แล.
อรรถกถาจิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 335
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีถุลลนันทา จึงได้ให้ของเคี้ยวของบริโภคแก่ชาวบ้านด้วยมือของตนเอง เล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๐๑. ๖. อนึ่ง ภิกษุณีใด ให้ของเคี้ยวหรือของบริโภคแก่ ชาวบ้านก็ดี แก่ปริพาชกก็ดี แก่ปริพาชกาก็ดี ด้วยมือของตัวเอง เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๑๒] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ชาวบ้าน ได้แก่ บุคคลผู้ครองเรือนผู้ใดผู้หนึ่ง.
ที่ชื่อว่า ปริพาชก ได้แก่ บุรุษผู้ใดผู้หนึ่ง ผู้บวชเป็นปริพาชก เว้นภิกษุ และสามเณร.
ที่ชื่อว่า ปริพาชิกา ได้แก่ สตรีผู้ใดผู้หนึ่ง ผู้บวชเป็นปริพาชิกา เว้นภิกษุณี สิกขมานา และสามเณรี.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 336
ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว ได้แก่ ของเคี้ยว เว้นโภชนะ ๕ น้ำและไม้ ชำระฟัน นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว.
ที่ชื่อว่า ของบริโภค ได้แก่ โภชนะ ๕ คือข้าวสุก ขนมสด ขนม แห้ง ปลา เนื้อ.
บทว่า ให้ คือ ให้ด้วยกายก็ดี ด้วยของเนื่องด้วยกายก็ดี ด้วยโยน ให้ก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ให้น้ำ ไม้ชำระฟัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๓๑๓] ใช้ผู้อื่นให้ ๑ มิได้ให้ ๑ วางให้ ๑ ให้ขอลูบไล้ภายนอก ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ
อรรถกถาจิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๖
คำทั้งหมดในสิกขาบทที่ ๖ บัณฑิตพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้ว ใน อาคารริกสิกขาบท ในนัคควรรคนั่นแล. แต่มีความแปลกกันอย่างนี้;- อาคาริกสิกขาบทนั้น มีสมุฏฐาน ๖ สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลม สิกขาบท เพราะท่านกล่าวว่า ด้วยมือของตนเอง เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.
อรรถกถาจิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 337
จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๗
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๓๑๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้น ภิกษุณี ถุลลนันทาใช้ผ้าอาศัยคนเดียว ไม่ยอมสละ ภิกษุณีเหล่าอื่นที่มีประจำเดือน ย่อมไม่ได้ใช้ บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้ใช้ผ้าอาศัยไม่ยอมสละเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทาใช้ผ้าอาศัยไม่ยอมสละ จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้ใช้ผ้าอาศัยไม่ยอมสละเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่ เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 338
พระบัญญัติ
๑๐๒. ๗. อนึ่ง ภิกษุใด ใช้ผ้าอาศัยไม่ละ เป็นปาจิตตีย์ เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๑๕] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ผ้าอาศัย ได้แก่ ผ้าที่เขาถวายไว้สำหรับให้ภิกษุณีผู้มี ประจำเดือนใช้.
บทว่า ใช้ ... ไม่ละ คือใช้ ๒ - ๓ ราตรี ซักในวันที่ ๔ แล้วยัง ใช้อีก ไม่ยอมให้ภิกษุณี สิกขมานา หรือสามเณรี ใช้บ้าง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๓๑๖] ยังไม่ละ ภิกษุณีสำคัญว่ายังไม่ละ ใช้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ยังไม่ละ ภิกษุณีมีความสงสัย ใช้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ยังไม่ละ ภิกษุณีสำคัญว่าละแล้ว ใช้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกะทุกกฏ
ละแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่ายังไม่ล ะ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ละแล้ว ภิกษุณีมีความสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ละแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่าละแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 339
อนาปัตติวาร
[๓๑๗] ละแล้วจึงใช้ ๑ ใช้คราวต่อไป ๑ ภิกษุณีพวกอื่นผู้มีประจำเดือนไม่มี ๑ ถูกแย่งชิงผ้าไป ๑ ผ้าหาย ๑ มีเหตุฉุกเฉิน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ
อรรถกถาจิตตาคาวรรค สิกขาบทที่ ๗
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๗ พึงทราบดังนี้;-
บทว่า ปุนปริยาเย แปลว่า คราวต่อไป.
บทว่า อาปทาสุ มีความว่า พวกโจรลักจีวรที่มีราคาแพงซึ่งภิกษุณี เปลื้องออกจากกาย เก็บไว้ดีแล้วไป ในอันตรายเห็นปานนี้ไม่เป็นอาบัติ แก่ ภิกษุณีผู้นุ่งไม่สละ. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจกฐินสิกขาบท เกิดขึ้นทางกายกับวาจา ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา เป็นโนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.
อรรถกถาจิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 340
จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๘
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๓๑๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ถุลลนันทา ไม่มอบหมายห้องที่อยู่หลีกไปสู่จาริก ต่อมาห้องที่อยู่ของนางถูก ไฟไหม้ ภิกษุณีทั้งหลายจึงพากันกล่าวอย่างนี้ว่า แม่เจ้าทั้งหลาย พวกเราจง ช่วยกันขนสิ่งของออก.
ภิกษุณีบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า พวกดิฉันไม่ขนเจ้าข้า เพราะของสิ่ง ใดสิ่งหนึ่งหายไป แม่เจ้าจักทวงเอากะพวกเราจนครบ.
เมื่อภิกษุณีถุลลนันทากลับมายังห้องที่อยู่นั้นแล้ว ถามภิกษุณีทั้งหลาย ว่า แม่เจ้าทั้งหลายได้ช่วยขนสิ่งของออกบ้างหรือเปล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายตอบว่า พวกดิฉันไม่ได้ขนออกเลยเจ้าข้า.
ภิกษุณีถุลลนันทาจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี ทั้งหลายเมื่อห้องที่อยู่ถูกอัคคีภัย จึงได้ไม่ช่วยกันขนสิ่งของออกเล่า.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงไม่มอบหมายห้องที่อยู่ หลีกไปสู่จาริกเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทาไม่มอบหมายห้องที่อยู่หลีกไปสู่จาริก จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 341
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้ไม่มอบหมายห้องที่อยู่หลีกไปสู่จาริกเล่า การกระทำของ นางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๐๓. ๘. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่มอบหมายห้องที่อยู่หลีกไปสู่ จาริก เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๑๙] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ห้องที่อยู่ ได้แก่ อาคารที่เรียกกันว่าห้อง มีบานประตูติด
คำว่า ไม่มอบหมาย ... หลีกไปสู่จาริก นั้น ความว่า ไม่มอบ หมายแก่ภิกษุณี สิกขมานา หรือสามเณรี เมื่อเดินพ้นเขตห้องที่อยู่ซึ่งมีเครื่อง ล้อมต้องอาบัติปาจิตตีย์ เดินพ้นอุปจารห้องที่อยู่ซึ่งไม่มีเครื่องล้อม ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 342
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๓๒๐] มิได้มอบหมาย ภิกษุณีสำคัญว่ามิได้มอบหมาย หลีกไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
มิได้มอบหมาย ภิกษุณีมีความสงสัย หลีกไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
มิได้มอบหมาย ภิกษุณีสำคัญว่ามอบหมายแล้ว หลีกไป ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
ติกะทุกกฏ
ห้องที่อยู่มิได้ติดบานประตู ภิกษุณีมิได้มอบหมาย หลีกไป ต้อง อาบัติทุกกฏ.
ห้องที่อยู่ซึ่งมิได้ติดบานประตู ภิกษุณีมอบหมายแล้ว สำคัญว่ามิได้ มอบหมาย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ห้องที่อยู่ซึ่งมิได้ติดบานประตู ภิกษุณีมอบหมายแล้ว มีความสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ห้องที่อยู่ซึ่งมิได้ติดบานประตู ภิกษุณีมอบหมายแล้ว สำคัญว่า มอบหมายแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๓๒๑] มอบหมายแล้วหลีกไป ๑ หลีกไปในเมื่อมีอันตราย ๑ แสวง หาแล้วไม่ได้ ๑ อาพาธ ๑ มีเหตุขัดข้อง ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้อง อาบัติแล.
จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 343
อรรถกถาจิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๘
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๘ พึงทราบดังนี้ :-
บทว่า อนิสฺสชฺชิตฺวา มีความว่า ไม่มอบให้เพื่อประโยชน์แก่การ รักษา คือ ไม่มอบหมายอย่างนี้ว่า พึงช่วยกันรักษาดูแลห้องที่อยู่นี้ให้ด้วย ดังนี้.
สองบทว่า ปริเยสิตฺวา น ลภติ คือ ไม่ได้ผู้ดูแลรักษา.
บทว่า คิลานาย คือ ไม่สามารถจะพูดได้.
บทว่า อาปทาสุ มีความว่า เมื่อแว่นแคว้นแตกทะลาย พวกภิกษุณี ทั้งหลาย ทิ้งอาวาสแล้วหนีไป ในอันตรายเห็นปานนี้ ไม่เป็นอาบัติ. บทที่ เหลือ ตื้นทั้งนั้น. สมุฏฐานเป็นต้น ก็เป็นเช่นกับสิกขาบทถัดไปนั่นแล.
อรรถกถาจิตตคารวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 344
จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๙
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๓๒๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ฉัพพัคคีย์พากันเรียนติรัจฉานวิชา คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงเรียนติรัจฉานวิชา เหมือนสตรีคฤหัสถ์ผู้ บริโภคกามเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลาย ได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี ฉัพพัคคีย์จึงได้เรียนติรัจฉานวิชาเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีฉัพพัคคีย์พากันเรียนติรัจฉานวิชา จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้พากันเรียนติรัจฉานวิชาเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 345
พระบัญญัติ
๑๐๔. ๙. อนึ่ง ภิกษุณีใด เรียนดิรัจฉานวิชา เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๒๓] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ติรัจฉานวิชา ได้แก่ ศิลปวิทยาการนอกพระศาสนาชนิดใด ชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่กอปรด้วยประโยชน์.
บทว่า เรียน คือ เรียนโดยบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ บท เรียน โดยอักขระ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ ตัวอักขระ.
อนาปัตติวาร
[๓๒๔] เรียนหนังสือ ๑ เรียนวิชาท่องจำ ๑ เรียนวิชาป้องกันเพื่อ ประสงค์คุ้มครองตัว ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 346
อรรถกถาจิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๙
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๙ พึงทราบดังนี้ :-
สองบทว่า พาหิรกํ อนตฺถสํหิตํ ได้แก่ (ศิลปวิทยาการ) ทำลาย ผู้อื่น มีชนิดเช่นศิลปะเนื่องด้วยช้าง ม้า รถ ธนู และดาบ กับมนต์อาถรรพณ์ มนต์ฝังหุ่น มนต์ทำให้มีอำนาจ มนต์ทำให้ผอมแห้งและวิชาประกอบยาพิษ เป็นต้น.
บทว่า ปริตฺตํ ได้แก่ (วิชาป้องกันตัว) มีชนิดเช่นวิชาป้องกันพวก ยักษ์ และป้องกันพวกนาค (งู) เป็นต้น แม้ทุกอย่าง ย่อมสมควร. บทที่ เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจปทโสธรรมสิขาบท เกิดขึ้นทางวาจา ๑ ทาง วาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.
อรรถกถาจิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 347
จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๓๒๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ฉัพพัคคีย์พากันสอนติรัจฉานวิชา คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้สอนติรัจฉานวิชา เหมือนเหล่าสตรีคฤหัสถ์ ผู้บริโภคกามเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี ฉัพพัคคีย์จึงได้สอนติรัจฉานวิชาเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีฉัพพัคคีย์สอนติรัจฉานวิชา จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้พากันสอนติรัจฉานวิชาเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 348
พระบัญญัติ
๑๐๕. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุณีใด สอนติรัจฉานวิชา เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๒๖] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ขอว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ติรัจฉานวิชา ได้แก่ ศิลปวิทยาการนอกพระศาสนาชนิดใด ชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่กอปรด้วยประโยชน์.
บทว่า สอน ความว่า สอนโดยบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ บท สอนโดยอักขระ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ ตัวอักขระ.
อนาปัตติวาร
[๓๒๗] สอนหนังสือ ๑ สอนวิชาท่องจำ ๑ สอนวิชาป้องกันเพื่อ ประสงค์คุ้มครองตัว ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
จิตตาคารวรรคที่ ๕ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 349
อรรถกถาจิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑๐ พึงทราบดังนี้:-
บทว่า วาเจยฺย แปลว่า พึงสอน (นี้) แปลกกัน. บทที่เหลือ พร้อมด้วยสมุฎฐาน เป็นต้น พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในสิกขาบทที่ ๙ ทั้งนั้นแล.
อรรถกถาจิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
อรรถกถาจิตตาคารวรรคที่ ๕ จบ